1.51k likes | 2.72k Views
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540. แนวคิด ความเป็นมา …. หลักประชาธิปไตยสมัยใหม่ ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิตลอดเวลาไม่ใช่แค่เพียง ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญจึงให้สิทธิ ในการตรวจสอบ แสดงความคิดเห็น เสนอกฎหมาย และถอดถอนออกจากตำแหน่ง.
E N D
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
แนวคิดความเป็นมา … หลักประชาธิปไตยสมัยใหม่ ประชาชนเป็นผู้ทรงสิทธิตลอดเวลาไม่ใช่แค่เพียง ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญจึงให้สิทธิ ในการตรวจสอบ แสดงความคิดเห็น เสนอกฎหมาย และถอดถอนออกจากตำแหน่ง
สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิตั้งตนในการใช้สิทธิอื่น ๆ • มาตรา 36 เสรีภาพในการ สื่อสาร • มาตรา 40 สิทธิในกระบวนการ ยุติธรรม • มาตรา 45 เสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็น • มาตรา 57 สิทธิแสดงความคิดเห็น ในการดำเนินการของรัฐ สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิเสรีภาพ ขั้นพื้นฐานในการใช้ สิทธิอื่นๆ เพื่อการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี และถูกต้อง เช่น
มาตรา 56รธน. แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูล หรือข่าวสารสาธารณะ ในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ”
มาตรา 35 รธน. แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 “สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพ ไม่ว่าด้วยวิธีใด ไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของข้อมูลนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (เพื่อมั่นคง ความสงบ ศีลธรรม)”
วัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ มีขึ้นเพื่อรองรับสิทธิได้รู้ของประชาชน ซึ่งเป็นหลักสำคัญของสังคมประชาธิปไตย โดยอาจพิจารณาได้จากบทบาท 2 ด้าน ดังนี้ 1. ในทางการเมือง - เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้และเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. ในการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ - เพื่อที่ประชาชนจะปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้ - เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ
ความหมายของข้อมูลข่าวสารความหมายของข้อมูลข่าวสาร ความหมายของข้อมูลข่าวสารจะช่วยให้เห็น ความมุ่งหมายและขอบเขตการใช้งกฎหมายการทำหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งสิทธิของประชาชน ตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสาร • “ข้อมูลข่าวสาร” • “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” • “ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล”
ความหมายของข้อมูลข่าวสารของราชการความหมายของข้อมูลข่าวสารของราชการ • “ข้อมูลข่าวสาร”หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว ข้อเท็จ ข้อมูลหรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าจะสื่อความหมายนั้นจะทำได้ โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่ายฟิล์ม การบันทึกภาพ หรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้
ความหมายของข้อมูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 “ข้อมูลข่าวสารของราชการ”หมายความว่า ข้อมูลข่าวสาร ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน การครอบครอง คือ การที่เราสามารถใช้กำลังทางกายภาพในการยึดถือไว้ ควบคุมดูแล คือ อยู่ในความครอบครองของผู้อื่น แต่รัฐเป็นผู้มีอำนาจว่าจะเปิดเผยให้แก่ใคร เมื่อใด
ข้อมูลข่าวสาร คำวินิจฉัยฯที่ 120/2556 รองศาสตราจารย์ ก. เป็นผู้สมัครเข้ารับการ สรรหาเป็นคณบดีคณะฯ ขอข้อมูลข่าวสาร เทปบันทึกเสียงการประชุมของคณะกรรมการสรรหาคณบดีคณะฯ ผู้แทนมหาวิทยาลัยฯชี้แจงว่า โดยทั่วไปการประชุมคณะกรรมการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯนั้น ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องบันทึกเสียงการประชุม แต่การประชุม จะต้องมีการจัดทำรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมไว้เป็นหลักฐาน และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์จะยึดถือรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมที่คณะกรรมการรับรองแล้ว
ข้อมูลข่าวสาร คำวินิจฉัยฯที่ 120/2556 หากมีการบันทึกเสียงไว้ก็เพื่อความสะดวกหรือใช้ประโยชน์เพื่อจัดทำรายงานการประชุมหรือบันทึกการประชุมของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่ได้มีการจัดเก็บ ข้อความเสียงไว้ในระบบข้อมูลของหน่วยงาน ผู้แทนฯได้ชี้แจงอีกประการหนึ่ง ว่าการ เปิดเผยข้อความเสียงอาจนำมาซึ่งการฟ้องคดีต่อศาลได้ และอาจจะส่งผลเสียต่อระบบการสรรหา ผู้บริหารที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัยเพราะในโอกาสต่อไปอาจไม่มีผู้ใดแสดงความ คิดเห็นอย่างเป็นอิสระ หรือรับเป็นกรรมการสรรหาฯ อีกทั้งอาจมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง บุคลากรภายในหน่วยงาน
ข้อมูลข่าวสาร คำวินิจฉัยฯที่ 120/2556 นอกจากนั้นเมื่อสอบถามไปยังคณะกรรมการ สรรหาฯ ปรากฏว่า มีผู้คัดค้านการเปิดเผยข้อความเสียงจำนวน 4คน มหาวิทยาลัยฯมหาวิทยาลัย คณะกรรมการฯ วนฉ.ว่า ข้อความเสียงการประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ มีข้อพิจารณาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารตาม อุทธรณ์นี้ คือ ข้อความเสียงที่บันทึกไว้เป็นข้อมูลข่าวสารของราชการหรือไม่ หากไม่เป็นข้อมูลข่าวสาร ของราชการก็ไม่ต้องพิจารณาในเรื่องอื่นใดอีก แต่หากเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการจึงจะพิจารณา ว่าสมควรเปิดเผยให้ผู้อุทธรณ์ทราบได้เพียงใดหรือไม่
ข้อมูลข่าวสาร คำวินิจฉัยฯที่ 120/2556 เห็นว่า พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ข้อมูลข่าวสารของ ราชการ หมายความว่า ข้อมูลข่าวสาร ที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ....” การควบคุมดูแลนั้นหมายความรวมถึงการเก็บรักษาตลอดจนการทำลายข้อมูลข่าวสารด้วย หากเป็น ข้อมูลข่าวสารของราชการแล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะทำลายข้อมูลข่าวสารนั้น โดยพลการไม่ได้ ต้องดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ
ข้อมูลข่าวสาร คำวินิจฉัยฯที่ 120/2556 ข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่ได้มีข้อกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องบันทึกเสียงการประชุมไว้เป็นหลักฐาน และไม่มีการจัดระบบการเก็บข้อความเสียงอย่างเป็นทางการ แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของ เจ้าหน้าที่เองที่จะดำเนินการบันทึกเสียงการประชุมและจัดระบบการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ใน การทำงานของตน ทั้งยังสามารถทำลายข้อมูลดังกล่าวนั้นได้เมื่อเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องเก็บไว้ แล้วด้วย การบันทึกเสียงดังกล่าวจึงเป็นเพียงวิธีการอย่างหนึ่งของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานเท่านั้น ดังนั้น ข้อความเสียงในกรณีนี้จึงไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการ เมื่อไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการ คณะกรรมการฯ จึงไม่ต้องพิจารณาว่าสมควร จะเปิดเผยให้หรือไม่
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล”“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ สิ่งเฉพาะตัว ของบุคคล เช่นการศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของ ผู้นั้น หรือมีเลขหมาย รหัส หรือ สิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย
ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล สิ่งเฉพาะตัวบุคคล สิ่งที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้น เช่น เช่น ฐานะการเงิน ชื่อ-นามสกุล การศึกษา ลายพิมพ์นิ้วมือ ประวัติสุขภาพ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง ประวัติอาชญากรรม รูปภาพ ประวัติการทำงาน ฯลฯ
หลักการของ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ - ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย - เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น - ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
หน้าที่และวิธีดำเนินการของหน่วยงานของรัฐหน้าที่และวิธีดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ ข้อมูลข่าวสารของราชการ จัดให้ เฉพาะราย ( มาตรา 11 ) เรื่องที่อยากรู้ จัดให้ประชาชน เข้าตรวจดู ( มาตรา 9 ) เรื่องที่สนใจ ลงพิมพ์ ในราชกิจจาฯ (มาตรา 7 ) เรื่องที่ต้องให้รู้
สอบแข่งขัน สอบประจำ ภาคเรียน ผลการศึกษา การพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง การร้องเรียน การอุทธรณ์ การดำเนินการ ทางวินัย มาตรา 9พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร ฯ • สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวข้องในด้านใด ? ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา
คำวินิจฉัย คณะก.ก. วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ด้านสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค. 1/2541 มารดาและผู้ปกครองของด.ญ. น ได้มีหนังสือ ถึง มหาวิทยาลัย ก. ขอตรวจดูและถ่ายสำเนาเอกสาร กระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของและของด.ญ. น และนักเรียนผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเรียน ชั้น ป. 1อีกจำนวน 120 คน แต่ไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา สอบแข่งขันสอบประจำภาคเรียน ผลการศึกษา • สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวข้องในด้านใด ?
คณะก.ก. วินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้กฎหมาย มีมติให้มหาวิทยาลัย ก. เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร คือกระดาษคำตอบและบัญชีคะแนนของเด็กหญิง น. และของนักเรียนผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 อีกจำนวน 120 คน ให้มารดาและผู้ปกครองของ ด.ญ. น ตรวจดูและถ่ายสำเนาเอกสารได้ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 35 และมาตรา 37 สอบแข่งขันสอบประจำภาคเรียน ผลการศึกษา
ประชาชนได้ขอเข้าตรวจดูและขอสำเนาเอกสารของเทศบาลฯ ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2535 – 2549 สมุดคุมสัญญาจ้าง สมุดคุมฎีกาเบิกจ่ายฯ โดยขอใช้เวลาตรวจดู 2 สัปดาห์ เทศบาลฯ เห็นว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้ขอและคณะได้ขอเข้าตรวจดูและขอสำเนาเอกสารของเทศบาลฯ บ่อยครั้งและเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเอกสารที่ขอตรวจดู เป็นเอกสารหลักฐานทางการเงินการคลังที่ สำนักงาน ตรวจเงิน แผ่นดิน เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง อยู่แล้ว การพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง • สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวข้องในด้านใด ?
การขอข้อมูลข่าวสารของราชการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2535 – 2549 ถือได้ว่าเป็นข้อมูลจำนวนมาก กรณีเคยมีการขอ และเทศบาลฯ แจ้งเปิดเผยข้อมูลนั้นแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลในการจะไม่เปิดเผยข้อมูล อย่างไรก็ดีเทศบาลฯ สามารถเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมการขอสำเนาได้ การพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง
กรณีดังกล่าวเห็นได้ว่า การใช้สิทธิของประชาชนตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เป็นกรณีการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานของรัฐโดยประชาชนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแต่ประชาชนไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการใดๆ เพื่อดำเนินการตาม พรบ.ที่เกี่ยวข้องต่อไป การพัสดุ จัดซื้อ จัดจ้าง
การแปลงหน้าที่ตามกฎหมายสู่การปฏิบัติในระดับผู้บริหารของหน่วยงานการแปลงหน้าที่ตามกฎหมายสู่การปฏิบัติในระดับผู้บริหารของหน่วยงาน • กำหนดเป็นนโยบายสำคัญของหน่วยงาน • อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ • แต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินการ • กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ และค่าธรรมเนียม • จำแนกประเภทข้อมูลข่าวสาร • การจัดทำคู่มือปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ • ปฏิบัติตามกฎหมาย และให้บริการประชาชนที่มาใช้สิทธิ • ควบคุม กำกับ ติดตาม และรายงาน
คู่มือการปฏิบัติ • การให้บริการขั้นตอนต่างๆ • กำหนด แบบฟอร์มต่างๆ • กำหนด ขั้นตอน/กระบวนการ ร้องเรียน /อุทธรณ์ • กำหนด ผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน • จัดทำข้อแนะนำ /ตัวอย่างคำถาม-คำตอบ • การรายงาน /ประเมินผล
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ 1. สอดส่องดูแลและแนะนำ 2. ให้คำปรึกษาแก่ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงาน 3. เสนอแนะในการตรากฎและระเบียบ 4. พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียน 5. ทำรายงานเสนอคณะรัฐมนตรี 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ
หลักการและเหตุผลของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ให้ประชาชนมีโอกาสในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากขึ้น สมควรกำหนดให้ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการทั้งนี้ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนประการหนึ่ง กับสมควรคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อม อีกประการหนึ่ง
มาตรา 7 1. สิทธิได้รู้ (Right to Know) สิทธิได้รู้ตามมาตรา 7 (เรื่องที่ต้องให้รู้) หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ ในราชกิจจานุเบกษา (1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน (2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
มาตรา 7 (3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ (4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 7 (5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อมูลข่าวสารที่มีการพิมพ์แพร่หลายจำนวนพอสมควรแล้วถ้าพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา โดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐรวบรวม และจัดให้มีข้อมูลข่าวสารไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำหน่วยจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร
ข้อมูลข่าวสารที่ต้องพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (ม.7) 1. โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน [ม.7(1)] 2. สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน [ม.7(2)] * หน่วยงานของรัฐมีอยู่อย่างไร มีบทบาทหน้าที่เช่นไร เป็นสิ่งที่ประชาชนควรรู้ เพราะเป็นสิ่งที่รัฐจัดให้มีขึ้นเพื่อบริการประชาชน และจะเป็นประโยชน์เบื้องต้นที่ประชาชนอาจค้นหาหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้องได้
ข้อมูลข่าวสารในราชกิจจานุเบกษา (ม.7) ต่อ 3. สถานที่ติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสาร [ม.7(3)] * เป็นการเพิ่มความสะดวกแกประชาชนว่าจะไปติดต่อได้ที่ใด* 4. กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง * กฎที่มีผลเฉพาะต่อเจ้าหน้าที่ในองค์กรไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา* 5. ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา 9 1.2 สิทธิได้รู้ตามมาตรา 9 (การจัดให้ประชาชนได้ตรวจดู : public inspection) ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารอย่างน้อยดังนี้ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ (1) ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชนรวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัย (2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4)
มาตรา 9 (ต่อ) (3) แผนงานโครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ (4)คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน (5)สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา 7 วรรคสอง (6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
มาตรา 9 (ต่อ) (7)มติคณะรัฐมนตรี หรือ มติคณะกรรมการ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผย ตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 อยู่ด้วย ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น
ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการฯ กำหนดตามมารา 9 (8) ขณะนี้คณะกรรมการได้ประกาศกำหนดไว้ 3 ประเภท (1) ประกาศประกวดราคา ประกาศสอบราคา (2) สรุปผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างประจำเดือน (แบบ สขร.1) (3) เอกสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ *มติครม. 28 ธันวาคม 2547 ให้นำข้อมูลข้อ 1) – 2) เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน*
พรฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 หลักตามมาตรา 44 - ส่วนราชการต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณนั้น และสัญญาใดๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อจัดจ้างแล้วให้ประชาชนสามารถขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ ที่ทำการ และระบบเครือข่ายสารสนเทศ 41
การจัดซื้อจัดจ้าง คำวินิจฉัยฯที่ 29/2556 การจัดซื้อจัดจ้าง ห้าง ก. ได้ขอ เอกสารการเสนอราคาของผู้เสนอราคาทุกราย และ เอกสารคำอนุมัติและสัญญาที่ได้ลงนามกับผู้ขายเครื่องบริโภค ทัณฑสถานบำบัดจังหวัด อ. ได้มีหนังสือ ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยให้เหตุผลว่า เป็นข้อมูล ข่าวสารที่มีการกำหนดชั้นความลับไว้ และไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 วรรคท้าย
การจัดซื้อจัดจ้าง คำวินิจฉัยฯที่ 29/2556 คณะกรรมการฯ สรุปความได้ว่า ห้าง ก. เป็นผู้ประกอบ อาชีพ และมีผลงานการขายอาหารดิบให้กับเรือนจำมาก่อน ได้ไปเสนอราคาในการจัดซื้อไว้ แต่ไม่ทราบผลการเสนอราคา วิธีการและขั้นตอนในการจัดซื้อ ตลอดจนงบประมาณในการจัดซื้อของเรือนจำ จึงต้องการข้อมูลข่าวสาร เพื่อใช้ประกอบการดำเนินการของห้าง ก. ต่อไป
คำวินิจฉัยฯที่ 29/2556 ทัณฑสถานบำบัดจังหวัด อ. ให้เหตุผล เป็นการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ตามระเบียบฯพัสดุ ส่วนเหตุผลที่ไม่เปิดเผยข้อมูล เนื่องจาก ทัณฑสถานประสบปัญหาบุคคลภายนอกพยายามลักลอบนำสิ่งของต้องห้ามรวมถึงยาเสพติด เข้าทัณฑสถานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการป้องกันและ ลดช่องทางของขบวนการหรือเครือข่ายยาเสพติดมิให้ ได้รับทราบข้อมูลการ ส่งอาหารดิบในทัณฑสถาน เช่น การซุกซ่อนอยู่ในไก่ ในปลา หรือในบรรจุภัณฑ์ บางประเภทซึ่งยากต่อการตรวจค้น ประกอบกับการดำเนินการใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายจำเป็น ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
การจัดซื้อจัดจ้าง คำวินิจฉัยฯที่ 29/2556 เอกสารที่ผู้อุทธรณ์ ขอคัดถ่ายเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้ออกประกาศ ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำสรุปผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานของรัฐเป็นรายเดือนทุกๆ เดือน โดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่จัดซื้อจัดจ้าง วงเงิน งบประมาณ วิธีซื้อหรือจ้าง รายชื่อผู้เข้าเสนอราคาและราคาที่เสนอ ผู้ได้รับการคัดเลือกและราคา และเหตุผลที่คัดเลือกผู้เสนอราคารายนั้นโดยสรุป เพื่อเป็นดรรชนีสำหรับการตรวจดูของประชาชน ตามแบบ สขร.1
คำวินิจฉัยฯที่ 29/2556 ทัณฑสถานบำบัดจังหวัด อ. ได้จัดทำข้อมูลตามแบบ สขร.1 พร้อมรายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง ปิดประกาศไว้ ณ ทัณฑสถาน เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้เป็น ปกติทุกเดือนที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินการ ดังกล่าวเป็นการถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 แล้ว
คำวินิจฉัยฯที่ 29/2556 คณะกรรมการฯ พิจารณาเหตุที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ อ. ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยให้เหตุผลว่าได้จัดทำข้อมูลตามแบบ สขร.1 พร้อม รายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง ปิดประกาศไว้ ณ ทัณฑสถานฯ เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เป็นข้อมูล ข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชน เข้าตรวจดูได้ตามมาตรา 9 (8) แต่คำขอ ในกรณีนี้เป็นการขอเฉพาะราย ตามมาตรา 11 จึงเป็นกรณีที่หน่วยงาน ของรัฐต้องใช้ดุลพินิจตามมาตรา 14 และมาตรา 15 พิจารณาว่าจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นหรือไม่
คำวินิจฉัยฯที่ 29/2556 เหตุที่อ้างว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอาจเป็นช่องทางให้มีการลักลอบนำยาเสพติดและสิ่งของ ต้องห้ามเข้าไปภายในทัณฑสถานนั้น การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมิได้เป็นเหตุในการลักลอบนำ ยาเสพติดและสิ่งของต้องห้ามเข้าไปในทัณฑสถานโดยตรง อีกทั้งทัณฑสถานก็มีมาตรการที่รัดกุม ข้ออ้างดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนัก เมื่อพิเคราะห์ถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์ สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกันแล้วเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเปิดเผยพร้อมทั้งให้สำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องแก่ผู้ขอได้
มาตรา 9 (ต่อ) บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มี คำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้ ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของรัฐจะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้ ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ บุคคลภายนอกทั่วไปแม้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเช่น กรณีเกิดแผ่นดินไหวและเขื่อนในจังหวัดกาญจนบุรีเกิดเสียหายและมีน้ำท่วม แม้ประชาชนผู้ขอข้อมูลข่าวสารนั้นไม่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีหรือจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหรือมีญาติหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่อาศัยแต่อย่างใดเพียงต้องการทราบเรื่องราวการอพยพหรือต้องการตรวจสอบแผนการอพยพของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตบุคคลนั้น ก็มีสิทธิขอข้อมูลข่าวสารแผนการอพยพดังกล่าวได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย