290 likes | 1.63k Views
ไฟลัมเนมาโทดา ( Phylum Nematoda ). ลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต. สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่า หนอนตัวกลม( Round worm) หรือเนมาโทด ( Nematode) มีสมมาตรแบบผ่าซีก ( Bilateral symmetry)
E N D
ลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิตลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่า หนอนตัวกลม(Round worm) หรือเนมาโทด (Nematode) • มีสมมาตรแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) • มีช่องว่างในลำตัวแบบเทียม (Pseudocoelomate animal) โดยมีช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน • ลำตัวกลม ยาว แหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีข้อปล้อง ผิวลำตัวเรียบ มีสารคิวทิเคิลหนาหุ้มตัว • ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด แต่ใช้ของเหลวในช่องว่างเทียมช่วยในการลำเลียงสาร
ไม่มีอวัยวะหายใจโดยเฉพาะ พวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่พวกที่อยู่อย่างอิสระใช้ผิวหนังเป็นส่วนแลกเปลี่ยนก็าซกับสิ่งแวดล้อม • ระบบขับถ่ายประกอบด้วยเส้นข้างลำตัว (Lateral line) ซึ่งภายในบรรจุท่อขับถ่าย (Excretory canal) ไว้ • ทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยปากและทวารหนัก
ระบบประสาท ประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอยและมีแขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง • มีระบบกล้ามเนื้อยาวตลอดลำตัว (Longitudinal muscle) • เป็นสัตว์แยกเพศตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เนื่องจากตัวเมียต้องทำหน้าที่ในการออกไข่
โรคพยาธิปากขอหรือ Ancylostomiasis • เป็นโรคพยาธิลำไส้เล็กซึ่งมีสาเหตุจากพยาธิ Necatoramericanusและ Ancylostomaduodenale • ทำให้ผู้ป่วยเสียเลือด และเกิดอาการจะโรคโลหิตจาง
ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) Annelidaมาจากภาษาละติน (annullus = little ring) แปลว่า วงแหวนหรือปล้อง หมายถึง หนอนปล้อง สัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา มีร่างกายที่ประกอบด้วยปล้อง (segment หรือ somite) แต่ละปล้องคล้ายวงแหวนเรียงต่อกันจนตลอดลำตัว แสดงการเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอก เช่นลักษณะกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหมุนเวียนโลหิต อวัยวะขับถ่ายตลอดจนอวัยวะสืบพันธุ์ ต่างก็จัดเป็นชุดซ้ำ ๆ กันตลอดลำตัว และมีเยื่อกั้น (septum) กั้นระหว่างปล้อง ทำให้ช่องตัว ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ด้วย สัตว์ในไฟลัมนี้ที่รู้จักมีประมาณ 15,000 สปีชีส์ มีขนาดยาวน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร จนยาวถึง 3 เมตร พบอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และที่ชื้นแฉะ
ลักษณะสำคัญ • ร่างกายแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) • เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 3 ชั้น - เอพิเดอร์มิสซึ่งมีชั้นคิวติเคิลบางๆ ปกคลุมอยู่ - กล้ามเนื้อวงกลม (circular muscle) - กล้ามเนื้อชั้นในเป็นชั้นกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) • มีรยางค์เป็นแท่งเล็ก ๆ เรียกว่า เดือย (setae) เป็นสารไคติน (citin) เช่นไส้เดือนดิน มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่และการขุดรู ส่วนไส้เดือนทะเลมีเดือยและแผ่นขาหรือพาราโพเดีย (parapodia) ยื่นออกมาทางด้านข้างของลำตัวใช้ในการเคลื่อนที่ แต่ปลิงไม่มีรยางค์ใด ๆ
Polycheate พาราโพเดีย (parapodia)
4. มีช่องตัวที่แท้จริง ช่องตัวถูกแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยมีเยื่อกั้น (septum) กั้นช่องตัวไว้ ภายในช่องตัวมีของเหลว (coelomic fluid) บรรจุอยู่ทำให้ร่างกายไม่แฟบ 5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดร่างกาย 6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด (closed circulatory system) น้ำเลือดมีสีแดงเพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่ 7. หายใจผ่านทางผิวหนังหรือเหงือก 8. ระบบขับถ่ายจะเป็นอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า เนฟริเดีย (nephridia) อยู่ทุกปล้อง ๆ ละ 1 คู่ เนฟริเดียจะช่วยขับของเสียออกจากช่องตัวและกระแสโลหิตออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (nephridiopores)
9. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทสมอง (cerebral ganglia) ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nerve cord) ซึ่งทอดตามยาวของร่างกาย เส้นประสาทใหญ่ทางด้านหลังจะมีปมประสาทประจำปล้อง (segment ganglia) ปล้องละ 1 ปม
10. หนอนปล้องบางชนิดเป็นกะเทย (hermaphrodite) แต่มีการปฏิสนธิข้ามตัว เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด พวกนี้มีการเจริญเติบโตโดยไม่ต้องผ่านระยะตัวอ่อน หนอนปล้องบางชนิดมีเพศแยกกัน(dioecious) และการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต้องผ่านระยะตัวอ่อน ที่เรียกว่า โทรโคฟอร์ (trochophore) เช่น แม่เพรียง เพรียงดอกไม้ ด้วยเหตุที่หนอนปล้องมีระยะตัวอ่อนโทรโคฟอร์ เช่นเดียวกับพวกมอลลัสก์ที่อยู่ในทะเล ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
Leech hirudin
ไฟลัมอาร์โทรโพดา (PHYLUM ARTHROPODA)
ลักษณะที่สำคัญ • ลำตัวเป็นปล้อง • รยางค์เป็นข้อ ๆ ต่อกัน • รยางค์เป็นลักษณะพิเศษที่เปลี่ยนทำหน้าที่ได้หลากหลาย • เปลือกภายนอกแข็ง ประกอบด้วยไคทิน
มีระบบประสาทที่เจริญดี ศูนย์รวมระบบประสาทอยู่บริเวณส่วนหัว • ระบบเลือดแบบเปิด • สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
คลาสเมอโรสโตมาตา (Class Merostomata) • สัตว์พวกแมงดาทะเล • พบตามทะเลน้ำตื้นในป่าชายเลน • ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก (ส่วนอกและท้องรวมกัน)