630 likes | 2.56k Views
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ( Ventilator – associated pneumonia). วัตถุประสงค์. 1.เพื่อศึกษาธรรมชาติและปัจจัยของการเกิดโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล 2.เพื่อศึกษาวิทยาการระบาดของโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล
E N D
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(Ventilator – associated pneumonia)
วัตถุประสงค์ • 1.เพื่อศึกษาธรรมชาติและปัจจัยของการเกิดโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล • 2.เพื่อศึกษาวิทยาการระบาดของโรคปอดอักเสบที่ติดเชื้อในโรงพยาบาล • 3.เพื่อศึกษาการเฝ้าระวังและการสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ • 4.เพื่อศึกษาการป้องกันและควบคุมโรคในแต่ระยะตามธรรมชาติของโรค
ที่มาและความสำคัญ • ข้อมูลการระบาดวิทยาและอุบัติการณ์ของการเกิดปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ข้อมูลจากการระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลของศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกาพบว่า อัตราการเกิดปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาลอันดับสองรอจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยอยู่ที่ 4.7-34.4 ครั้งต่อจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจ 1000 วัน
ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) • ในประเทศไทยจากการศึกษา อุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหออายุรกรรมโรงพยาบาลศีริราช อยู่ที่ 17 – 18.8 ครั้งต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และจากการรายงานของโรงพยาบาลรามาธิบดี 2542 พบว่า ตึกผู้ป่วยอายุรกรรม มีอุบัติการณ์ปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 17 ครั้งต่อ 1000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ความหมาย ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-associated Pneumonia : VAP)หมายถึง ภาวะปอดอักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจโดยเกิดหลังจากผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 48 ชั่วโมง หรือหลังจากถอดเครื่องช่วยหายใจภายใน 48-72 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจมีภาวะปอดอักเสบอยู่แล้ว และได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว (เช่น ไข้ลดลงติดต่อกัน 24-48 ชั่วโมง เสมหะน้อยลง ผู้ป่วยหายใจดีขึ้น) หากพบว่ามีอาการของปอดอักเสบเกิดขึ้นใหม่ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากเชื้อตัวเดิมหรือเชื้อตัวใหม่ ให้ถือเป็นการเกิดปอดอักเสบครั้งใหม่ (superinfection) (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552)
ความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ภาพที่ 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่าง Host Agent และ Environment A=Agent (สิ่งที่ทำให้เกิดโรค) H=Host (คนหรือกลุ่มชน) E=Environment (สิ่งแวดล้อม)
ความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)ความไม่สมดุลทางสุขภาพของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) • จากภาพสามารถอธิบายได้ว่า Host หรือผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เช่น ผู้สูงอายุที่ใส่ท่อช่วยหายใจ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เป็นต้น โดยที่มีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลมากกว่า 48 ชั่วโมงร่วมกับมีการใส่เครื่องช่วยหายใจ และมีสิ่งแวดล้อมบนหอผู้ป่วยที่เอื้อต่อการทำให้ Host มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย โดยที่ตัว Agent ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมบนหอผู้ป่วยอันได้แก่ ฝุ่น หรือสุขอนามัยในโรงพยาบาล(ความสะอาดทั่วไปและความสะอาดของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์) การใส่เครื่องช่วยหายใจ ระบบ IC ในโรงพยาบาล สภาพภูมิศาสตร์บน ward เป็นต้น
ผู้ป่วย สิ่งแวดล้อมใน เชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยเด็ก -สุขอนามัยในโรงพยาบาล (ความสะอาดทั่วไปและความสะอาดของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์) -การใส่เครื่องช่วยหายใจ -ระบบ IC ในโรงพยาบาล -สภาพภูมิศาสตร์บน ward (ความหนาแน่นของจำนวนผู้ป่วย และสภาพอากาศ) เชื้อกรัมลบที่พึ่งออกซิเจนได้แก่ Escherichia coli, Klebsiella pneumonia, Pseudomonas aeruginosa,Stenotrophomonasmaltophilia, Acinetobacter ผู้ป่วยผู้ใหญ่อายุ มากกว่า 70 ปี ผู้ป่วยภาวะชัก ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางสมอง เชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่พึ่งออกซิเจนได้แก่ S.areus ผู้ป่วยระดับความรู้สึกตัวลดลง การสูดสำลัก ผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ ภูมิต้านทานต่ำ ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(Ventilator – associated pneumonia)
Web of causation Ventilator – associated pneumonia • ประกอบด้วย Host , Agent ,Environment และสามารถแยกออกได้ดังนี้ Host ก็คือผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยเด็ก และผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ผู้ป่วยโรคปอด ผู้ป่วยทุกประเภทและมีภูมิต้านทานต่ำ เป็นผลให้เกิดความไวต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลและดับความรู้สึกตัวลดลงผู้ป่วยที่มีภาวะชัก ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางสมองและผู้ป่วยที่ได้รับยาสลบ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีระดับความรู้สึกตัวลดลงนี้จะมีความเสี่ยงต่อการสูดสำลัก ซึ่งการใส่ท่อช่วยหายใจจะไปขัดขวางการไออย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีการคั่งค้างของเสมหะ และการนอนราบก็จะทำให้เกิดการสำลักได้ง่ายจากการไหลย้อนของสารเหลวในกระเพาะอาหารมาอยู่ที่บริเวณหลอดคอ หากผู้ป่วยมีการสำลักมีโอกาสเกิดปอดอักเสบได้มากขึ้น
Web of causation Ventilator – associated pneumonia • Environment หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบตัว ผู้ป่วยก็เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิด VAP ได้ เช่น สุขอนามัยในโรงพยาบาล (ความสะอาดทั่วไปและความสะอาดของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์) ระบบ IC ในโรงพยาบาลและสภาพภูมิศาสตร์บน word เช่น ความหนาแน่นของจำนวนผู้ป่วยและการถ่ายเทของอากาศซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำอยู่แล้วมีความไวต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น จำทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิด VAP ได้มีความไวต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิด VAP ได้
Web of causation Ventilator – associated pneumonia • Agent ซึ่งได้แก่ เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ได้แก่ เชื้อกรัมลบที่พึ่ง ออกซิเจน escherichai coli, Klebsellapnenmonia,Pseudomonasaeruginosa ,Stenotrophomonasmaltophilia,Acinetobacterส่วนเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่พึ่งออกซิเจนได้แก่ S.arensซึ่งเชื้อเหล่านี้มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม เมื่อผู้ป่วยมีการสัมผัสกับเชื้อทั้งจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยตรงหรือทางอ้อมก็จะทำให้ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำรับเชื้อเข้าไปและร่างกายไม่สามารถต่อต้านกับเชื้อเหล่านี้ได้ทำให้เกิด การติดเชื้อ
ธรรมชาติของการเกิดโรคธรรมชาติของการเกิดโรค
ธรรมชาติของการเกิดโรคธรรมชาติของการเกิดโรค 1.ระยะมีความไวต่อการเกิดโรค (Stage of susceptibility) ปกติมนุษย์จะมีกลไกป้องกันตนเองตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและกำจัดเชื้อจุลชีพ ได้แก่ ภูมิคุ้มกันชนิดจำเพาะต้านแอนติบอดี ภูมิคุ้มกันชนิดต้านเซลล์ และภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ ระบบการกรองภายในโพรงจมูก เป็นต้น การใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ทางจมูก หรือท่อเจาะคอ การใช้เครื่องช่วยหายใจจะไปรบกวนความสามารถในการไอ ทำให้การไอไม่มีประสิทธิภาพ อากาศสามารถผ่านลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างได้ โดยไม่ผ่านระบบการกรองและจากระบบของเครื่องช่วยหายใจ ที่มีแรงดันเป็นบวกจะทำให้อากาศที่ผ่านเข้าไปเร็ว และแรงขึ้น ขัดขวางการทำงานของ cilia อีกทั้งการได้รับออกซิเจนเข้มข้นเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้ความถี่ในการโบกพัดของ cilia ลดลง เกิดการคั่งค้างของเสมหะในทางเดินหายใจ ทำให้แบคทีเรียในช่องปากมีการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้น
ธรรมชาติของการเกิดโรค (ต่อ) • 2.ระยะก่อนมีอาการของโรค (Stage of preclinical disease) ในระยะนี้จะเป็นระยะที่เริ่มมีพยาธิสภาพของโรคเกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไม่มีอาการ (symptom)ของโรค โดยที่ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ มีกลไกที่เชื้อจุลชีพจะเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อของเนื้อปอด ได้แก่การสำลักเชื้อจุลชีพจากปาก หรือลำคอผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอด การหายใจเอาละอองที่มีเชื้อจุลชีพเข้าไปในปอด การแพร่กระจายของเชื้อจุลชีพตามระบบเลือดหรือระบบน้ำเหลือง และการแพร่กระจ่ายของเชื้อจุลชีพจากบริเวณใกล้เคียง
ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ)ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ) • 3.ระยะมีอาการของโรค (Stage of clinical disease) เมื่อเชื้อจุลชีพเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะกระตุ้นให้ร่างกายมีการตอบสนอง โดยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ในการยับยั้งการทำงานของเชื้อจุลชีพหรือทำลายเชื้อจุลชีพเหล่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดโรค หากร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อจุลชีพที่เข้าไปได้ จะทำให้มีอาการแสดงของปอดอักเสบเกิดขึ้น ได้แก่ อาการไข้ ซึ่งมักเป็นแบบเฉียบพลัน ไอ เสมหะสีเขียวหรือเหลืองคล้ายหนอง ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในเลือดสูงกว่าปกติถ่ายภาพรังสีทรวงอกมองเห็น รอยเงาฝ้าทึบของสารเหลวในถุงลม (Infiltration)
ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ)ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ) • 4.ระยะมีความพิการของโรค (Stage of disability) 1.พวกที่เป็นโรคแล้วหายสนิท โดยเมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคเกิดขึ้นเม็ดเลือดขาวสามารถทำลายแบคทีเรียที่อยู่ในถุงลมได้หมดและเริ่มสลายตัวขณะเดียวกันก็มีเอนไซม์ออกมาละลายไฟบรินและสารเหลวชนิดเอ็กซูเดท (exudates) และส่วนใหญ่จะถูกกำจัดโดยเซลล์ชนิดโมโนนิวเคลียร์ที่เหลือจะหลุดออกมาเป็นเสมหะขณะไอ การอักเสบที่เยื่อหุ้มปอดจะหายไปและพยาธิสภาพของปอดอักเสบจะกลับคืนปกติ 2.พวกที่ป่วยเป็นโรคแล้วหายไม่สนิท มีความพิการเกิดขึ้นในระยะสั้นหรือยาว โดยที่ว่าจะมีในรายที่มีการทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ อย่างมากอาจพบพังพืดเกิดขึ้นแทน ที่ก่อให้เกิดความพิการและการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งในด้านหน้าที่และการทำงาน
ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ)ธรรมชาติของการเกิดโรค(ต่อ) • 4.ระยะมีความพิการของโรค (Stage of disability) 3.พวกที่ป่วยเป็นโรคแล้วมีอาการมากจนถึงแก่กรรมไปเลยก็จะเป็นพวกที่มีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการรักษา ภาวะแทรกซ้อนของโรค และภาวะแทรกซ้อนจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น มีการหายใจล้มเหลว และมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น มะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคปอดเรื้อรังและไตวายเป็นต้น
แนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจแนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ • จากวิธีการเฝ้าระวังในแบบต่างๆที่ได้ทำการศึกษามาแล้ว ทางกลุ่มเห็นว่าการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล จำเป็นที่จะต้องดำเนินการแบบ Hospital – wide Surveillance และเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงในการแก้ไขปัญหาการติดเชื้อในบางตำแหน่งที่พบมาก ควรมีการดำเนินการแบบ Priority directed Surveillance ร่วมด้วย • โดยที่ การเฝ้าระวังแบบ Hospital – wide Surveillance เป็นการเฝ้าระวังในทุกหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อผู้ป่วยทุกรายที่รับการรักษาในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อทุกตำแหน่ง การเฝ้าระวังวิธีมีประโยชน์ต่อการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ แต่การเฝ้าระวังวิธีนี้จะต้องใช้เวลาและบุคลากรจึงจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ(อะเคื้อ อุณหเลขกะ,2548)
แนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)แนวทางการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) • และการเฝ้าระวังแบบ Priority directed Surveillance เป็นการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เจาะจงเฝ้าระวังการติดเชื้อที่มีความรุนแรงก่อนดำเนินการจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาลตามตำแหน่งต่างๆ โดยใช้ข้อมูลจำนวนครั้งของการติดเชื้อตามตำแหน่งต่างๆ อัตราผู้ป่วยตายจากการติดเชื้อแต่ละตำแหน่ง (อะเคื้อ อุณหเลขกะ,2548)
การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจการสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ • ขั้นตอนการสอบสวนโรค (จรวย สุวรรณบำรุง,2555) 1.ตรวจสอบการวินิจฉัย (Verify diagnosis) • การวินิจฉัยทาง Clinic • การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ • ผลการตรวจทางพยาธิสภาพ 2.ตรวจสอบว่ามีการระบาดอยู่จริง (Verify the existence of en epidemic) เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบอัตราผู้ป่วยใหม่ที่เกิดขึ้นในระยะเวลานั้นกับผู้ป่วยใหม่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาหรือระยะเวลาเดียวกันในช่วงปีที่ผ่านมา
การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) 3.การประเมินอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆที่เป็นสาเหตุของการระบาด (Rapid evaluation of epidemiologic potentialities)เป็นการประมวลเหตุการณ์คร่าวๆว่ามีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้อง โดยมีการซักประวัติการมีประสบการณ์ร่วมกับ (Common experience)เป็นแนวทางชี้นำไปสู่การสอบสวน และการพิจารณาสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ป่วยว่าปัจจัยใดเป็นสาเหตุการระบาด 4.การรวบรวมข้อมูล (Collection data)การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการศึกษาทางวิทยาการระบาด 5.การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis data)โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาการระบาด
การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) 6.การตั้งสมมติฐาน (Information of hypothesis)การกำหนดสมมติฐานเกี่ยวกับการระบาดของโรคว่ามีลักษณะการระบาด แหล่งเพาะเชื้อ และวิธีการแพร่เชื้ออย่างไร 7.การทดสอบสมมติฐาน (Testing hypothesis)ในบางตำรากล่าวถึงในลักษณะการศึกษาทางวิทยาการระบาดในการทดสอบสมมติฐาน เพื่อจะบอกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่ • การเปรียบเทียบลักษณะหรือปัจจัยต่างๆ ในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้ไม่ป่วย • การเปรียบเทียบอัตราการป่วยในกลุ่มที่สัมผัสและไม่สัมผัสปัจจัยที่สงสัย • การตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดโรคและวิธีการแพร่โรค
การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ)การสอบสวนการระบาดของโรคปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(ต่อ) 8.การจัดการกับการระบาด (Manage of epidemic)การจัดการทางวิทยาการระบาดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคจะกระทำก่อนหรือขณะที่มีการสอบสวนโรค • การรักษาผู้ป่วย • การสืบหาประชากรที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคและประชากรที่เป็นพาหะนำโรค • การป้องกันการแพร่กระจายและวางมาตรการในการควบคุม 9.การรายงานผลการสอบสวน (Report of the investigation)การรายงานเป็นสิ่งสำคัญโดยมีหัวข้อเหมือนการเขียนรายงานตีพิมพ์โดยมี คำนำ วิธีการ ผล อภิปรายผล บทสรุป และเอกสารอ้างอิง โดยมีเนื้อหาครอบคลุม • ลักษณะการระบาดของโรคตามบุคคล สถานที่ และเวลา • สาเหตุของการระบาดของโรค สิ่งที่ทำให้เกิดโรค แหล่งแพร่เชื้อ และวิธีการแพร่เชื้อ • ข้อเสนอแนะในการป้องกันการระบาดครั้งต่อไป
แนวทางปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552) 1.การล้างมือทั้งก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วยและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 2.การดูแลจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30-45 องศา และพลิกตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง ในกรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมที่จำเป็นต้องนอนราบ และไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ 3.การดูแลผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอโดยระวังไม่ให้มีท่อมีการเลื่อนหลุด 4.การดูแลทำความสะอาดแผลเจาะคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งโดยยึดหลักเทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique) 5.การดูแลในการดูดเสมหะให้กับผู้ป่วยโดยจะต้องดูดในปากก่อนที่จะดูดในท่อช่วยหายใจ และจะต้องประเมินทั้งก่อนและหลังการดูดเสหะ บันทึกสีและลักษณะของเสมหะลงในบันทึกทางการพยาบาล
แนวทางปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552) (ต่อ) 6.การดูแลทำความสะอาดในช่องปากให้กับผู้ป่วยอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งและในขณะทำความสะอาดช่องปากต้องให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันการสำลัก 7.การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยาง หลังให้อาหารให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และจะต้องหลีกเลี่ยงการดูดเสมหะหลังให้อาหาร 1 ชั่วโมง 8.การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นโดยจะพิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเลือดออกเท่านั้น ได้แก่ -ใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่า 48 ชั่วโมง -มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
แนวทางปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ(คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค,2552) (ต่อ) 9.การช่วยผู้ป่วยในเรื่องของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ โดยจะต้องมีการประเมินความพร้อมที่จะถอดเครื่องช่วยหายใจออกและจะสอนการหายใจให้กับผู้ป่วย 10.การดูแลเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจไม่ควรเปลี่ยนบ่อยกว่าทุก 7 วันยกเว้นถ้าสกปรกหรือชำรุด