250 likes | 611 Views
บทที่ 9. การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจ SMEs. การจัดการสินค้าคงคลัง Inventory Management.
E N D
บทที่ 9 การจัดการสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจ SMEs. www.ssru.ac.th
การจัดการสินค้าคงคลัง Inventory Management การเก็บวัตถุดิบ ชิ้นส่วนการผลิต สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูปไว้ในการผลิตเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธุรกิจโดยทั่วไป แต่ต้องมีปริมาณที่เหมาะสมต่อการใช้และไม่ควรเก็บไว้มากเกินไป เพราะจะเกิดต้นทุนจม (Sunk Cost) และหากมีน้อยเกินไปก็อาจเกิดต้นทุนเนื่องจากสินค้าขาดมือ (Shortage Cost) www.ssru.ac.th
การจัดการสินค้าคงคลัง Inventory Management ปัจจุบัน ธุรกิจส่วนใหญ่หันมาใช้เทคโนโลยีด้านการจัดการสินค้าคงคลังเพื่อลดต้นทุนในองค์กรกันมาก ตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการสินค้า ใช้บาร์โค้ด ใช้ซอฟท์แวร์ ช่วยควบคุมต่างๆ เพื่อให้สินค้าคงคลังมีปริมาณที่เหมาะสมและเกิดการประหยัดในการสั่งซื้อ (Economic Order Quantity = EOQ) www.ssru.ac.th
ข้อกำหนดพื้นฐานของการใช้ตัวแบบ EOQ • การควบคุมสินค้าคงเหลือมีจุดเดียวเท่านั้น เช่น ในโรงเก็บสินค้า • ความต้องการสินค้า (Demand) มีค่าคงที่ตลอดเวลา • ห้ามเกิดสภาพการขาดแคลนสินค้าคงเหลือ (No-shortage) • ระยะเวลาในการนำส่งสินค้า (Lead-time) คงที่ • ต้นทุนในการสั่งซื้อและเก็บรักษาสินค้าคงที่ • ราคาต่อหน่วยสินค้าต้องมีค่าเท่ากันไม่ว่าจะสั่งปริมาณเท่าใด • ใช้ได้กับสินค้าครั้งละ 1 ชนิด • ในการนำส่งสินค้าให้ส่งครั้งเดียวครบจำนวนห้ามทยอยส่งมอบ www.ssru.ac.th
กิจกรรมหลักของการจัดการสินค้าคงคลังกิจกรรมหลักของการจัดการสินค้าคงคลัง • การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและการปฏิบัติการด้านการรับ-จัดเก็บ และการส่งมอบสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานควบคุมและดำเนินการต่างๆ เช่น งานด้านเอกสาร , การควบคุมสินค้าที่จัดเก็บ, การจัดสรรพื้นที่ (Space Utilize) ในคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด • การบริหารต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) เป็นการบริหารจัดการ เพื่อให้มีการถือครองสินค้าคงคลังน้อยที่สุด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เพื่อประสิทธิภาพของการบริหารสินค้าคงคลังให้ตํ่าสุด www.ssru.ac.th
ปัจจัยที่ทำให้มีความจำเป็นต้องมีสินค้าคงคลังปัจจัยที่ทำให้มีความจำเป็นต้องมีสินค้าคงคลัง • การประหยัดจากขนาด (Economies of Scale) • การจัดการความสมดุลของซัพพลายเออร์ (Suppliers Balancing) • สินค้าตามฤดูกาล (Seasonal Stock) • สินค้าที่เก็บเพื่อการเก็งกำไร (Speculative Stock) • สินค้าส่วนเกินเผื่อขาด (Buffer Stock) • การเก็บสินค้าเพื่อให้การผลิตไม่หยุดชะงัก (Stock for Stable Production) www.ssru.ac.th
สินค้าคงคลัง (Inventory) • ประกอบด้วย • วัตถุดิบ (Raw Material) • สินค้าระหว่างผลิต (Work in Process) • วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance / Repair / Operating Supplies) • สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) www.ssru.ac.th
ลักษณะสินค้าที่เป็น DeadStock • สินค้าคืนจากลูกค้าและขายไม่ได้ • สินค้าเสียหาย • สินค้าล้าสมัยขายไม่ได้ • สินค้าซื้อมากแต่ใช้น้อย (จนไม่ใช้) • สินค้าไม่เคลื่อนไหว (ตลอดกาล) • เศษซาก/ของเสีย • สินค้ามีแต่ในบัญชีแต่สินค้าจริงไม่มี • สินค้าไม่มีราคา (แต่ทางบัญชียังคงมีมูลค่า) www.ssru.ac.th
Activity Based Costing = ABC Theory การจัดการสินค้าคงคลังแบบ ABC คือ การจัดกลุ่มสินค้าให้มีความสำคัญตามมูลค่าและปริมาณของสินค้า ในทางปฏิบัติจะพบเสมอว่า สินค้าที่มีปริมาณมากมักมีมูลค่าไม่สูง ในทางตรงกันข้ามสินค้าที่มีมูลค่าสูงจะมีปริมาณไม่มาก ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 Class คือ สินค้ากลุ่ม A เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าสูงถึง 80% ของมูลค่าสินค้าทั้ง หมดในคลังสินค้าแต่มีปริมาณไม่เกิน 20% ของจำนวนรายการทั้งหมด สินค้ากลุ่ม B เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าประมาณ 15% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด แต่มีปริมาณในคลังประมาณ 30% ของจำนวนทั้งหมด สินค้ากลุ่ม C เป็นกลุ่มที่มีมูลค่าน้อยที่สุด ประมาณ 5% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด แต่มีปริมาณสูงเกิน 50% ของจำนวนรายการทั้งหมด www.ssru.ac.th
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจ www.ssru.ac.th
การบริหารทรัพยากรขององค์กรการบริหารทรัพยากรขององค์กร Enterprise Resource Planning :ERP หมายถึงการบริหารจัดการภายในองค์กร เนื่องจากมีการแข่งขันกันที่สูง องค์กรต่างๆจึงต้องมีการพัฒนากระบวนการและข้อมูลทั้งหมด ในองค์กร เพื่อที่จะได้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น โดยจะมีการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยตรง โดยการผลิตตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะมีการติดต่อระหว่างสายการผลิตไปจนถึงช่องทางจำหน่ายทั้งนี้เพื่อที่จะลดขั้นตอนใน Supply Chain จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต www.ssru.ac.th
BarcodeTechnique Barcodeเป็นรหัสแท่งที่สามารถช่วยจำแนกประเภทและชนิดของสินค้าได้ จาก ประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด สี ที่แตกต่างกัน ด้วยการสื่อความหมายระหว่างสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับผู้ใช้ ทำให้เกิดความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ระบบ Barcode เป็นระบบรหัสชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปสัญลักษณ์แท่งสีขาวสลับสีดำ ขนาดต่างๆกัน ยาว สั้น หนา บาง ต่างๆกัน เพื่อที่เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) จะสามารถอ่านและแปลความหมายออกมาในรูปตัวเลขและเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้ด้วยการแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) www.ssru.ac.th
885 รหัสประเทศไทย • 0088 รหัสสมาชิกสถาบันรหัสแท่งไทย • 60801 รหัสสินค้า สมาชิกต้องกำหนดขึ้นเอง • 6 ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของ • คอมพิวเตอร์เพื่อพิสูจน์ว่าตัวเลขทั้งหมดที่ • อยู่ด้านหน้านั้นถูกต้อง เรียกว่า Digit • Number 885 0088 6 0 801 6 www.ssru.ac.th
เครื่องอ่าน Barcode www.ssru.ac.th
รหัส Barcode www.ssru.ac.th
จบการบรรยาย www.ssru.ac.th
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน • ปัจจัยที่ทำให้การจัดการคลังสินค้าประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง • ให้นักศึกษายกตัวอย่างธุรกิจหรือองค์กรที่ได้นำระบบสารสนเทศมาใช้ อธิบายโดยละเอียด www.ssru.ac.th