1.2k likes | 1.5k Views
สานฝันความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายคน QA . โดย ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การประกันคุณภาพการศึกษา.
E N D
สานฝันความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่ายคน QA โดย ผศ.ปรานี พรรณวิเชียร รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
การประกันคุณภาพการศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบประเมิน การดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสาธารณชน ได้มั่นใจว่าสถาบันนั้นๆ สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
คุณภาพ • มีมาตรฐานตามที่กำหนด • ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ • มีประสิทธิภาพ • ตอบสนองความคาดหวัง • มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ความจำเป็นของการประกันคุณภาพความจำเป็นของการประกันคุณภาพ • การตื่นตัวเรื่องการประกันคุณภาพทั่วโลก • การสื่อสารไร้พรมแดน • การเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ • สิทธิเสรีภาพการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร • ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
การประกันคุณภาพตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ เจตนารมณ์ของ หมวด 6 จุดเริ่มต้นจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ หมวดที่ 6 1. การประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือของการบริหารและการกระจายอำนาจ 2. มาตรฐานการศึกษาต้องสอดคล้องกับเจตนารม ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 3. การกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ของระบบประกันคุณภาพ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานระดับสูง
การประกันคุณภาพตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ เจตนารมณ์ของ หมวด 6 4. การประกันคุณภาพภายใน เป็นหน้าที่ของสถานศึกษา 5. การประกันคุณภาพภายนอก เป็นหน้าที่องค์กรอิสระ 6. การนำผลประเมินไปใช้ปรับปรุงการบริหารถือเป็น หน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา
การพัฒนาคุณภาพ (QC) กระบวนการ พัฒนาสู่คุณภาพ กระบวนการ ปรับปรุงคุณภาพ การประกันคุณภาพ (QA) การประเมินคุณภาพ - ภายใน (IQA) - ภายนอก (EQA) การตรวจติดตามคุณภาพ (QAu)
ระบบการประกันคุณภาพ • การพัฒนาคุณภาพ (Quality Control) • กำหนดมาตรฐาน • วิธีการพัฒนา • จัดทรัพยากรสนับสนุน การตรวจติดตามคุณภาพ (Quality Auditing) การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment) • ภายใน • ภายนอก
มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษา การประกัน คุณภาพภายใน การประกัน คุณภาพภายนอก
ร่วมกันวางแผน Plan การควบคุมคุณภาพ Act Do ร่วมกันปรับปรุง ร่วมกันปฏิบัติ Check การตรวจสอบและ ประเมินคุณภาพ ร่วมกันตรวจสอบ และประเมิน
มาตรา 48 หน่วยงานที่กำกับดูแล & สถานศึกษา ประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของ การบริหารที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน เป็นการสร้างระบบและกลไกลในการควบคุมและตรวจสอบประเมินการดำเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย และระดับคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดโดยสถานศึกษา
มาตรา 48 สถานศึกษาทุกแห่ง มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน จัดทำรายงานประเมินตนเองเป็นรายงานประจำปีเสนอต้นสังกัด หน่วยเกี่ยวข้อง และสาธารณชนทุกปี นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและพร้อมรับการประเมินภายนอก
มาตรา 49 การประเมินคุณภาพภายนอก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) สมศ. รับผิดชอบ ให้สถานศึกษารับการประเมินภายนอก อย่างน้อย 1 ครั้งทุก 5 ปี
มาตรา 50 สถานศึกษาทุกแห่งให้ความร่วมมือ สมศ. เตรียมรายงานการประเมินตนเอง หลักฐานและให้ข้อมูลจากการปฏิบัติงาน
มาตรา 51 สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของ สมศ.
เงื่อนไขความสำเร็จ ของการประกันคุณภาพ • ผู้บริหารมุ่งมั่น สมาชิกทุกคนร่วมมือ • ผู้บริหารมีความเข้าใจในแนวปฏิบัติ • มีระบบและกลไกการประกันที่เหมาะสม • มีฐานข้อมูลและระบบการใช้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง • กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพ • จัดตั้งคณะกรรมการและจัดระบบบริหารการประกันคุณภาพ • จัดหน่วยงานรองรับเป็นฐานปฏิบัติงานประกันคุณภาพ • สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็น
การสนับสนุนจากบุคลากรการสนับสนุนจากบุคลากร • บุคลากรทุกคนต้องทำความเข้าใจ • ให้ความร่วมมือ • สร้างวัฒนธรรม • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
นักศึกษา/ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย • ทำความเข้าใจ • ให้ความร่วมมือ • สนับสนุนส่งเสริม • ดำเนินการอย่างต่อเนื่องยั่งยืน • เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ระบบและกลไกการประกันคุณภาพระบบและกลไกการประกันคุณภาพ • กำหนดปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยที่ด้รับการดูแล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ องค์ประกอบคุณภาพ • กำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินปัจจัยดังกล่าวซึ่งอาจเป็นการเมิน INPUT – PRRCESS – OUTPUT – OUTCOME (โดยกำหนดตัวบ่งชี้) • มีข้อกำหนดและตัวบ่งชี้เพื่อใช้ตัดสินคุณภาพ(เกณฑ์) • มีขั้นตอน วิธีการและผู้รับผิดชอบ ดำเนินงานตามแผนตรวจประเมินตามตัวบ่งชี้เพื่อนำไปสู่การพัฒนา
ภารกิจอุดมศึกษา • การจัดการเรียนการสอน • งานวิจัย • บริหารทางวิชาการแก่สังคม • อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
ตรงเวลา ความรู้ สติปัญญาดี คิดอย่างเป็นระบบ คุณธรรม ใฝ่รู้ บุคลิกภาพดี เป็นผู้นำ ศักยภาพในการ สร้างงานสู่สากล มีวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง เอื้ออาทรสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น สุขภาพดี
เก่ง ดี มีสุข
แผนภูมิแสดงองค์ประกอบหลักในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาแผนภูมิแสดงองค์ประกอบหลักในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา ปรัชญา/ปณิธาน/วัตถุประสงค์/ แผนการดำเนินงานของสถาบัน กระบวนการดำเนินงานตามภารกิจหลัก 1. การจัดการเรียนการสอน 2. การวิจัย 3. การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม 4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลลัพธ์ กระบวนการบริหาร 1. การบริหารและการจัดการ 2. การเงินและงบประมาณ 3. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานการอุดมศึกษามี 3 ด้าน 12 ตัวบ่งชี้ 1. มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต บัณฑิตระดับอุดมศึกษาเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการดำรงชีวิตในสังคม มีความสำนึกและรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลก
ตัวบ่งชี้ 1.1 บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน สามารถเรียนรู้ สร้างและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติงานและสร้างงานเพื่อแข่งขันได้ในระดับสากล 1.2 บัณฑิตมีจิตสำนึก ดำรงชีวิต และปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบโดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม 1.3 บัณฑิตมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
มาตรฐานการอุดมศึกษา 2. มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา มีการบริหารจัดการการอุดมศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล และพันธกิจของการอุดมศึกษาอย่างมีดุลยภาพ 2.1 มาตรฐานด้านธรรมาภิบาลของการบริหาร การอุดมศึกษา มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงความหลากหลายและเป็นอิสระทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ • มีการจัดการบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • มีการบริหารจัดการทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คล่องตัว โปร่งใส • มีระบบการประกันคุณภาพเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2.2 มาตรฐานด้านพันธกิจของการบริหารการอุดมศึกษา การดำเนินงานตามพันธกิจของการอุดมศึกษา ทั้ง 4 ด้านอย่างมีดุลยภาพ โดยมีการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดการความรู้
ตัวบ่งชี้ • มีหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัย ยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของสถาบันและสังคม • มีการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ • มีการให้บริการวิชาการที่ทันสมัย เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของสถาบัน • มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. มาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ การแสวงหา การสร้าง และการจัดการความรู้ตามแนวทาง/หลักการ อันนำไปสู่สังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ 3.1 มีการแสวงหา การส้ราง และการใช้ประโยชน์ความรู้ 3.2 มีการบริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ โดยใช้หลักการวิจัยแบบบูรณาการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างเครือข่าย และการประสานความร่วมมือ อันนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
บทบาทของนิสิตนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษาบทบาทของนิสิตนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา 1. ความจำเป็นของการพัฒนาบทบาทนิสิตนักศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา นิสิตนักศึกษาในฐานะผู้รับบริการและเป็นผลผลิตสำคัญของสถาบันอุดมศึกษา และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงของสถาบันอุดมศึกษา มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา จึงกำหนดให้มีตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาไว้ในตัวบ่งชี้ที่ 9.2
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2:ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา คำอธิบายตัวบ่งชี้ :สถาบันอุดมศึกษาต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมนักศึกษาต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและครบถ้วน กิจกรรมนักศึกษาหมายถึงกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ดำเนินการทั้งโดยสถาบันและโดยองค์กรนักศึกษา เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสได้รับการพัฒนาสติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกาย และคุณธรรมจริยธรรมสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ (1) คุณธรรม จริยธรรม (2) ความรู้ (3) ทักษะทางปัญญา (4) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่สภา/องค์กรวิชาชีพได้กำหนดเพิ่มเติม ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
แนวปฏิบัติที่ดี : 1. สถาบันจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทุกด้าน 2. มีกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา 3. มีการส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการโดยนักศึกษาอย่างน้อย 5 ประเภท สำหรับระดับปริญญาตรี และอย่างน้อย 2 ประเภทสำหรับระดับบัณฑิตศึกษา 4. มีการสนับสนุนให้นักศึกษาสร้างเครือข่ายพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันและระหว่างสถาบันและมีกิจกรรมร่วมกัน
เกณฑ์มาตรฐาน : 1. มีระบบการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา 2. มีระบบส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้กับกิจกรรมนักศึกษา 3. มีกลไกให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน 4. นักศึกษามีการใช้กระบวนการคุณภาพ ในการพัฒนาคุณภาพของกิจกรรมหรือโครงการนักศึกษา
5. มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา 6. มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา
2. บทบาทนิสิตนักศึกษากับการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา บทบาทนิสิตนักศึกษาในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา มีดังต่อไปนี้ 1.1 บทบาทในการให้ความร่วมมือให้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการ ดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยการให้ข้อมูล ที่ตรงไปตรงมา ให้ข้อเท็จจริงมากที่สุด 1.2 บทบาทในการรับรู้ ติดตามและให้ข้อเสนอแนะหรือให้ข้อมูล ย้อนกลับเกี่ยวกับระบบการประกันคุณภาพของสถาบัน
1.3 บทบาทในการศึกษา ติดตาม กำกับว่าข้อมูลที่ให้ไปมีการนำไปรับ ปรุงหรือใช้ประโยชน์จากการประเมินหรือไม่อย่างไร 1.4 บทบาทในการสนับสนุนให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถาบันดำเนินไปได้ โดยนิสิตนักศึกษาสามารถแสดงบทบาท ในการส่งเสริมสถาบันได้หลายรูปแบบ 1.5 บทบาทในการนำความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพไปใช้ ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองพัฒนางานกิจกรรมนิสิตนักศึกษา เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานกิจการนักศึกษา
3. ภารกิจของนิสิตนักศึกษากับการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา 3.1 ภารกิจด้านการเรียนการสอน นิสิตนักศึกษาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การพัฒนาขบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการริเริ่มวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง กำกับการดำเนินการตามแผน ประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองและร่วมทำงานกับอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน
ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมของนักศึกษามีจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ โดยนิสิตนักศึกษาจะมีบทบาทในการดำเนินการในแต่ละตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ 2.6ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน คำอธิบายตัวบ่งชี้ : กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและยืดหยุ่น โดยการมีส่วนร่วมจากบุคคล สถาบัน หรือชุมชนภายนอก มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวของนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อความสนใจใฝ่รู้และต่อศักยภาพในการแสวงหาความรู้ของนักศึกษา เช่น การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ค้นคว้าวิจัยโดยอิสระในรูปโครงการวิจัยส่วนบุคคล การจัดให้มี
ตัวบ่งชี้ 2.6ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (ต่อ) ชั่วโมงเรียนในภาคปฏิบัติ ในห้องปฏิบัติการ รวมทั้งมีการฝึกประสบการณ์ภาคสนามอย่างพอเพียง มีการจัดสัมมนา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำโครงการ มีการเรียนการสอนทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Internet) และมีห้องสมุดและระบบสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เพียงพอสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
เกณฑ์มาตรฐาน: 1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 2. ทุกรายวิชาของทุกหลักสูตร มีรายละเอียดของรายวิชาและของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา ตามที่กำหนดในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ 3. ทุกหลักสูตรมีรายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย
เกณฑ์มาตรฐาน: 4. มีการให้ผู้มีประสบการณ์ทางวิชาการหรือวิชาชีพจากหน่วยงานหรือชุมชนภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกหลักสูตร • มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 6. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา ทุกภาคการศึกษา โดยผลการประเมินความถึงพอใจแต่ละรายวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
เกณฑ์มาตรฐาน: 7. มีการพัฒนาหรือปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอน หรือการประเมินผลการเรียนรู้ ทุกรายวิชา ตามผลการประเมินรายวิชา
ตัวอย่างการแสดงบทบาทของนิสิตนักศึกษาตัวอย่างการแสดงบทบาทของนิสิตนักศึกษา 1. ให้ข้อมูลแก่สถาบันเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร 2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพการสอนของคณาจารย์ 3. มีส่วนร่วมในการความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลผลการดำเนินการหลักสูตรที่สถาบันเผยแพร่ต่อสาธารณะ 4. ติดตามการปรับปรุงหลักสูตรของสถาบัน
ตัวบ่งชี้ 2.8ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้าง คุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา คำอธิบายตัวบ่งชี้ : คุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพบัณฑิตตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตและสังคม ดังนั้น สถาบันจึงควรมีการวัดระดับความสำเร็จของการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่สถาบันจัดให้กับนักศึกษา