380 likes | 760 Views
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ของคณะเกษตรศาสตร์ ในระบบ e-budgeting. เอกสารประกอบการบรรยายการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ในระบบ e-budgeting คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2554 ห้องประชุมสุขุม อัศเวศน์.
E N D
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ของคณะเกษตรศาสตร์ ในระบบ e-budgeting เอกสารประกอบการบรรยายการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ในระบบ e-budgeting คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2554 ห้องประชุมสุขุม อัศเวศน์ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาระการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป้าหมายสูงสุดขององค์กรเป้าหมายสูงสุดขององค์กร • นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จ (อย่างยั่งยืน) • สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้ • สามารถก่อให้เกิดคุณค่าหรือประโยชน์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ • มุ่งสู่องค์กรชั้นเลิศ องค์กรการเรียนรู้(Excellence Organization, Learning Organization) • บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล มีประสิทธิภาพ มุ่งสู่ระดับสากล พึ่งพาตนเองได้ บุคลากรมีคุณภาพและมีความสุขในการทำงาน • และเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง (High Performance Organization: HPO) รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ 3 องค์ประกอบ และเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ : บันไดสู่เป้าหมาย รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) • 3 องค์ประกอบ และ 2 เงื่อนไข : บันไดสู่เป้าหมาย • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่น้อยเกินไปไม่มากเกินไป หรือสุดโต่ง • ไปข้างใดข้างหนึ่งและต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น • ความมีเหตุผล หมายถึง ทุกการตัดสินใจ การกระทำ การลงทุน ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล คำนึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ • การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเผชิญผลกระทบ และเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งภายในและภายนอก รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy) • ทั้งนี้ ต้องมีเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ • มีความรู้ คือ มีความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวังในการนำความรู้ วิทยาการ • เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการปฏิบัติ • มีคุณธรรม คือ มีความตระหนัก มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียรและใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ การนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ระดับครอบครัว • พอดีพอประมาณ รายจ่ายสมดุลหรือไม่มากกว่ารายรับ • มีเหตุมีผล ใช้จ่ายมีเหตุผล / มีความจำเป็น / สมประโยชน์ • คุ้มค่า / ไม่เกินฐานะ • สร้างภูมิคุ้มกัน มีเงินออม / แบ่งปันผู้อื่น / ดูแลสุขภาพ • คุณธรรม ประกอบอาชีพสุจริต ขยันหมั่นเพียร • ความรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงบประมาณ การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ กับการบริหารจัดการ • พอดีพอประมาณ- ต้องการพอประมาณสอดคล้องกับปัญหา • - เป้าหมายพอประมาณ • - ไม่เบียดเบียนใคร • - ขยายงานค่อยเป็นค่อยไป • มีเหตุมีผล - มุ่งประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น • - มุ่งประโยชน์ส่วนรวมที่ยั่งยืนมากกว่าความพึงพอใจของ - บุคคลที่ละเลยต่อหลัก “ขยันและพึ่งตนเอง” • สร้างภูมิคุ้มกัน - ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า - เตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง - การจัดการความเสี่ยง รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2.กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ :Strategic Management (SM)Result-Based Management (RBM) วิเคราะห์ สถานการณ์ ผลที่ต้องการ วิธีการ การนำไปปฏิบัติ ติดตามประเมิน วิเคราะห์ สถานการณ์ ผลที่ต้องการ การนำไปปฏิบัติ ติดตามประเมิน 9 สถานการณ์ ภายใน สถานการณ์ ภายใน วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) กลยุทธ์ (Strategies) วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) กลยุทธ์ (Strategies) จัดทำแผน ปฏิบัติงาน (Action Plans) ทบทวน Review ทบทวน Review สถานการณ์ภายนอก แผนงาน (Plans) ที่จะทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริง แผนงาน (Plans) ที่จะทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริง สมมุติฐาน เป้าหมายเชิง ยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์ (Goal) โครงการ/กิจกรรม/ตัวชี้วัด/งปม. (Programs/ Activities) KPI) กำหนดประเด็น ยุทธ์ศาสตร์ วัดผล วัดผล ที่ทำมาเป็นอย่างไร? จะไปทางไหน อย่างไร? ใครจะต้อง ทำอะไร? เราอยู่ที่ไหน? เราจะไปเป็น อะไร? รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กระบวนการจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Plan) รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3.ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์กับการบริหารงบประมาณ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่11 (พ.ศ. 2555-2559) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล ในคุณภาพบัณฑิตที่เป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติและมีการบริหารจัดการที่ดี มีธรรมาภิบาลตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน วิสัยทัศน์ 6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ 5. พัฒนาความเป็นสากลของมหาวิทยาลัย 3. พัฒนาการบริการวิชาการและการใช้บริการบนฐานความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น 4. มุ่งทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทยท้องถิ่นล้านนาและกลุ่มชาติพันธ์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. พัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของท้องถิ่น ประเทศและสากล 1. พัฒนาการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพในระดับสากล ยุทธศาสตร์ ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย เอเชียและระดับโลกและได้บัณฑิตที่ตรงตามความต้องการ มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย พัฒนาทรัพยากรบุคคลและพัฒนาหมาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นที่พึ่งให้แก่สังคมและร่วมพัฒนาชุมชน การเป็นผู้นำวิชาการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในอาเซียนและสากลรวมถึงเพิ่มโครงการศึกษาและการวิจัยทุกปี เป็นแหล่งรวบรวมสะสมองค์ความรู้และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนที่ยุทธศาสตร์(Road Map)คณะเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) (< พ.ศ.2525) • งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) (พ.ศ.2525>) • งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ (Planning - Programming - Budgeting System : PPBS ) • งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ( Performance Based Budgeting: PBB ) (พ.ศ. 2546) • งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือ SPBBS(พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน) รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line - Item Budgeting) • มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน มิให้มีการใช้จ่ายเงินเกินไปจากที่กำหนดหรือแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ • มุ่งเน้นในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบ Input ให้เป็นไปตามที่กำหนด (Control Orientation) รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • จำแนกค่าใช้จ่ายตามหมวดค่าใช้จ่ายและรายการใช้จ่ายในการของบประมาณ จะต้องกำหนดรายการตามหมวดค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและใช้งบประมาณตามรายการที่กำหนดไว้ จะใช้งบประมาณผิดหมวดหรือต่างไปจากรายการที่กำหนดไม่ได้ • ประเมินความสำเร็จหรือล้มเหลวของงบประมาณจากความสามารถที่จะใช้งบประมาณที่ได้รับให้หมดไป • ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการบริหารและผลงานที่เกิดจากการใช้งบประมาณ • ขาดการยืดหยุ่นและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • 2. งบประมาณแบบแสดงผลงาน ( Performance Budgeting ) • มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยได้รับอิทธิพลทางแนวความคิดมาจากการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ซึ่งมีแนวคิดว่า "การบริหารงานต้องทำโดยมีหลักเกณฑ์ ซึ่งกำหนดขึ้นจากการศึกษาวิเคราะห์โดยรอบคอบเพื่อให้มีวิธีที่ดีที่สุด (The one best way) ในอันที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น" • ริเริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1949 ลักษณะของงบประมาณระบบนี้คือ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • จำแนกงบประมาณตามลักษณะงาน (Functional Classification) หรือวัตถุประสงค์ของงาน( Objective Classification ) เช่น จำแนกงบประมาณเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ฯลฯ • มีการวัดประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (เปรียบเทียบ Output กับ Input ) เพื่อหาวิถีทางที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน Output จะเป็นตัวชี้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน • กำหนดมาตรการในการวัดงาน ( Work Measurement ) และระบบบัญชีแสดงราคาต่อหน่วย( Cost Accounting System ) สำหรับคำนวณค่าใช้จ่ายของงานต่าง ๆ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • 3.งบประมาณแบบการวางแผน การวางโครงการ และการทำงบประมาณ (Planning-Programming -Budgeting System: PPBS ) • บางทีเรียกว่า งบประมาณแบบแสดงแผนงาน ( Program Budgeting ) เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1964 มีจุดเริ่มต้นการพัฒนาจากบริษัท ( General Motors ในปี 1924 ) • นำเอาการวางแผนระยะยาว ( 3 - 5 ปี ) มาใช้ในการกำหนดวงเงินงบประมาณ การวางแผนจะเชื่อมโยงกับนโยบาย เป้าหมายของรัฐบาล และเห็นภาพการดำเนินงานที่ต่อเนื่องไปในอนาคต จัดทำแผนงานแยกตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละด้าน เช่น นโยบายด้านเศรษฐกิจ การศึกษา ฯลฯ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • จำแนกแผนงานเป็นแผนงานหลัก แผนงานรอง โครงการหลัก โครงการรอง และกิจกรรม และจำแนกงบประมาณตามแผนงาน / โครงการ • จะต้องกำหนดและวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของโครงการ ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นของโครงการ • วิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ เพื่อเลือกวิถีทางที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • พิจารณาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ • PPBS จะเน้นการวิเคราะห์ ซึ่งมีเทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ ได้แก่ System analysis, Zero base budget analysis, Quantitative analysis, Qualitative analysis, Marginal analysis และ Cost effectiveness หรือ Cost - benefit analysis รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • 4. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting: PBB ) • เป็นระบบงบประมาณที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้ไป กับผล (Results) ที่จะได้รับจากโครงการ • ให้ความสำคัญกับ Output และ Outcome ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของรัฐบาล • ใช้การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning ) เป็นเครื่องมือในการกำหนด Output Outcomeและงบประมาณ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • กระจายอำนาจในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน • จัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวม ( Block Grant ) ทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้งบประมาณ • คำนวณค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณจากผลผลิตหรือกิจกรรม ABC Activities based costing • กำหนดวงเงินงบประมาณล่วงหน้า ( Medium term Expenditure Framework :(MTEF) รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • ใช้ระบบบัญชีพึงรับพึงจ่าย ( Accrual Basis ) 3D • เน้นการควบคุมภายใน • การรายงานผลจะเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินงานกับนโยบายของหน่วยงานและรัฐบาล รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • 5. งบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting System) หรือ SPBBS (พ.ศ. 2545) • ให้ความสำคัญกับการกำหนดพันธกิจ (Mission) ขององค์กร จุดมุ่งหมาย • วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ แผนงาน งาน/โครงการ อย่างเป็นระบบ • จัดสรรงบประมาณโดยมี ยุทธศาสตร์เป็นตัวนำ • มีการติดตามและประเมินผลสำเร็จของงานตามเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. พัฒนาการของระบบการจัดทำงบประมาณ • มีการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบในการวางแผนจัดการ และบริหารงานแก่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ โดยสามารถแสดงความรับผิดชอบของฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม • ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เป็นการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใส และตรวจสอบได้ • กำหนดยุทธศาสตร์บูรณาการที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คืองานตามยุทธศาสตร์กระทรวงและหน่วยงาน (Function) , งานตามยุทธศาสตร์เฉพาะของรัฐบาล (Agenda) และ งานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area) เช่น จังหวัด/กลุ่มจังหวัด รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. กระบวนการจัดทำงบประมาณ (วงจรงบประมาณ ) ประกอบด้วยการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. กระบวนการจัดทำงบประมาณ (วงจรงบประมาณ ) • การทบทวนงบประมาณ • ทบทวนงบประมาณที่ได้อนุมัติการดำเนินงานไปแล้วตามยุทธศาสตร์คณะฯ • ทบทวนภารกิจประจำ และทบทวนค่าใช้จ่ายที่สามารถลดต้นทุน • ทบทวนเป้าหมายการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ฯ และตามภารกิจประจำ • ทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อปรับลด ชะลอ หรือยกเลิกผลผลิต / กิจกรรมที่หมดความจำเป็น • ทบทวนงบประมาณกลางปีเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. กระบวนการจัดทำงบประมาณ (วงจรงบประมาณ ) • การวางแผนงบประมาณ • เป็นการกำหนดวงเงินงบประมาณ • การวางแผนงบประมาณ จะต้องคำนึงถึง และตั้งอยู่บนพื้นฐานของเป้าหมายยุทธศาสตร์ระดับชาติ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย คณะเกษตรศาสตร์ โดยครอบคลุม 5 มิติยุทธศาสตร์ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. กระบวนการจัดทำงบประมาณ (วงจรงบประมาณ ) • การจัดทำงบประมาณ • ส่วนราชการจัดทำรายละเอียดคำของบประมาณฯโดยสำนักงบประมาณพิจารณาคำขอฯของหน่วยงาน และนำเสนอต่อ ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบในรายละเอียด นำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร • (ภาควิชา/ศูนย์จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณฯโดยคณะฯจะพิจารณาคำขอฯของหน่วยงาน และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารฯ กรรมการอำนวยการ และมหาวิทยาลัยเพื่อให้ความเห็นชอบ) รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. กระบวนการจัดทำงบประมาณ (วงจรงบประมาณ ) 4. การอนุมัติงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบต่อร่าง พรบ. งบประมาณฯ และหากผ่านการพิจารณาจะประกาศใช้เป็น พรบ.งบประมาณประจำปี พ.ศ. ... ต่อไป 5. การบริหารงบประมาณ หน่วยงาน/กรม บริหารงบประมาณตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. กระบวนการจัดทำงบประมาณ (วงจรงบประมาณ ) • 6. การติดตามประเมินผลและการรายงาน • 1) รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่แสดงผลสำเร็จระดับผลผลิต/โครงการตามเกณฑ์การชี้วัดที่กำหนดไว้ • 2) รายงานประจำปีที่แสดงผลสำเร็จของกระทรวง/หน่วยงาน ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวง รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ของคณะเกษตรศาสตร์ ในระบบ e-budgeting เอกสารประกอบการบรรยายการจัดทำคำของบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ในระบบ e-budgeting คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2554 ห้องประชุมสุขุม อัศเวศน์ รศ.ดร.สุรพลเศรษฐบุตร : รองคณบดีฝ่ายบริหารฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่