820 likes | 1.78k Views
โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่า..จับตามอง (ปี 2556). หัวข้อการนำเสนอ. ความหมาย ความสำคัญ ผลกระทบ และความ เสี่ยง ของ โรคติดต่ออุบัติ ใหม่ของโลก/ประเทศไทย โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่าจับตามอง ปี 2556 โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ( Avain Influenza H7N9 )
E N D
โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่า..จับตามอง (ปี 2556)
หัวข้อการนำเสนอ • ความหมาย ความสำคัญ ผลกระทบ และความเสี่ยงของ โรคติดต่ออุบัติใหม่ของโลก/ประเทศไทย • โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่าจับตามอง ปี 2556 • โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (Avain Influenza H7N9) • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012(Novel Coronavirus) • โรคไข้กาฬหลังแอ่น(Meningococcal Meningitis) • โรคไข้เหลือง (Yellow Fever) • การเตรียมความพร้อมรับมือ • สรุป
ความหมายของโรคติดต่ออุบัติใหม่ • โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ (New infectious diseases) • โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ (New geographical areas) • โรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) • เชื้อโรคดื้อยา (Antimicrobial resistant organisms) • อาวุธชีวภาพ (Deliberate use of bio-weapons)
ความสำคัญของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผลการศึกษาในรอบกว่า 50 ปีที่ผ่านมา พบว่า ทั่วโลก จะมีโรคติดต่ออุบัติใหม่เกิดขึ้นใหม่ ทุกปี >70% are zoonotic, % increasing Many are of transboundary in nature มีผลกระทบรุนแรงหลายด้าน การป้องกันควบคุมโรค ที่ยุ่งยากซับซ้อน ความสำคัญและมีผลกระทบต่อทั่วโลกและระหว่างประเทศ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซาร์ส China, Hong Kong, Singapore, Canada $30-50bn $50bn $40bn $30bn มือ เท้า ปาก UK $25–30bn ประมาณการราคา/ต้นทุน $20bn ไข้หวัดใหญ่ในสุกร, Netherlands $2.3bn วัวบ้า Japan $1.5bn ไข้หวัดนก Asia, $5–10bn $10bn วัวบ้าUK, $10-13bn มือ เท้า ปาก Taiwan, $5-8bn วัวบ้าCanada $1.5bn ไข้หวัดนก, Italy $400m วัวบ้าU.S., $3.5bn นิปาห์, Malaysia $350-400m ไข้หวัดนก, NL $500m 2004 2006 2003 2005 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 1994 1995 ไข้หวัดนก $$$$$ Figures are estimates and are presented as relative size.
ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั่วโลก • 2 ล้าน ล้าน • เหรียญสหรัฐ
ผลกระทบด้านการเดินทางและท่องเที่ยว (จากการระบาดของโรคซาร์ส ปี 2003) สนามบิน ของไทย..ติดขัด...Delay สนามบิน..ร้าง..ที่ฮ่องกง
ประเทศไทยควรสนใจโรคใดบ้างประเทศไทยควรสนใจโรคใดบ้าง • การเดินทาง ท่องเที่ยว • ธุรกิจ การค้าขาย • การรุกพื้นที่ป่า ขยายพื้นที่เกษตรกรรม • การอพยพย้ายถิ่น • การบริโภคสัตว์ป่า นำเข้าสัตว์ต่างถิ่น • อื่นๆ โรคติดต่อที่มีอยู่ โรคใดจะเพิ่ม/ลด ปัจจัย เสริมอื่นๆ ภาวะ โลกร้อน โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคใดจะเกิด สภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
ที่มา : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
ผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีเมื่อเข้าสู่...ประชาคมอาเซียนผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีเมื่อเข้าสู่...ประชาคมอาเซียน แรงงานข้ามชาติเข้ามามากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของกลุ่มประชากรมนุษย์ สัตว์ พืช อาหาร และสินค้า
ตัวอย่างปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตัวอย่างปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น • การแพร่ระบาดมากขึ้นของโรคติดต่อ เช่น เอดส์ วัณโรค มาลาเรีย เท้าช้าง ไข้เลือดออก และอหิวาต์ • เกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคที่ถูกกำจัดให้หมดไปจากประเทศไทยแล้ว เช่น กาฬโรค โปลิโอ รวมทั้ง ปัญหาเชื้อดื้อยามากขึ้น • การป้องกัน ควบคุมโรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
โรคติดต่อที่มีอยู่ โรคใดจะเพิ่ม/ลด โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคใดจะเกิด • มาลาเรีย • ไข้เลือดออก • ไข้ปวดข้อยุงลาย (chik.) • ไข้สมองอักเสบ • โรคเท้าช้าง • วัณโรค • ไข้รากสาด • ไข้รากสาดน้อย และไข้รากสาดเทียม • อาหารเป็นพิษ • อุจจาระร่วง จากเชื้อต่างๆ • โรคฉี่หนู (leptospirosis) • โรคติดต่อ อื่นๆ • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • ไข้สมองอักเสบ นิปาห์ • HFMD (EV71) • ไข้หวัดนก • โรคซารส์ • กาฬโรค • ลิชมาเนีย • อาวุธชีวภาพ • วัณโรคดื้อยา • เชื้อแบคทีเรียดื้อยา • ไข้สมองอักเสบเวสต์ไนล์ • โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อื่นๆ
หัวข้อการนำเสนอ • โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่าจับตามอง (ปี 2556) • โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (Avian Influenza H7N9) • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 (Novel Coronavirus) • โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis) • โรคไข้เหลือง (Yellow Fever)
สถานการณ์ปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 • ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน ทั้งสิ้น • พบผู้ป่วยใน 11 พื้นที่ ได้แก่ ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) เจียงซี หูหนาน เซี่ยงไฮ้ เจียงซู เจ้อเจียง อันฮุย เหอหนาน ปักกิ่ง ซานตง และไต้หวัน • ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนสู่คน(ได้อย่างต่อเนื่อง และ ในวงกว้าง) • อาจมีการติดต่อจากคนสู่คนในวงจำกัด เช่น ในครอบครัว จำนวน 131 ราย เสียชีวิต 36 ราย (อัตราป่วยตาย = 27%)
สถานการณ์ปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 • ประเทศไทย :ยังไม่มีรายงานการตรวจพบโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ทั้งในคนและในสัตว์ นกธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม • ข้อมูลจาก OIE :ตรวจพบเชื้อในสัตว์ (เป็ด ไก่ นกพิราบ) จาก จากมณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลอันฮุย มณฑลเซี่ยงไฮ้ มณฑลเหอหนาน มณฑลซานตง มณฑลเจียงซี และมณฑลกวางตุ้ง
องค์ความรู้โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 เชื้อสาเหตุ : • เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Orthomyxoviridaeในสกุลของเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ มีรูปทรงกลม • พบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ ได้ใน คน นก สุกร ม้า และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด โดยไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ ที่พบว่าติดเชื้อในคนได้บ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ H5N1, H9N2, H7N7, H7N2, H7N3 • เชื้อไข้หวัดนกโดยปกติจะไม่ทนความร้อน และเชื้อจะตายที่อุณหภูมิ 650 C৹นาน 30 นาที หรือต้มในน้ำเดือดนาน 2 นาที *
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ระบาดวิทยา : • แหล่งของการแพร่เชื้อ อาจจะมาจากสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ และจนถึงวันที่ 11เมษายน 2556 ยังไม่พบหลักฐานการแพร่ติดต่อของเชื้อจากคนสู่คนแต่อย่างใด • วิธีการแพร่ติดต่อของเชื้อ สามารถแพร่ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ, จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือของเสียจากสัตว์ปีก หรือการสัมผัสกับเชื้อไวรัสโดยตรง • ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ บุคคลที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และมีประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกภายใน 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มมีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีประวัติทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก ได้แก่ ให้อาหาร ขนส่ง ขาย ฆ่า หรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสัตว์ปีก จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ได้
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (ต่อ) ระยะฟักตัว : ระยะฟักตัวของเชื้อ ภายในระยะเวลา 7 วัน อาการและอาการแสดงทางคลินิก • ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ไอ (มีหรือไม่มีเสมหะร่วมด้วยก็ได้) ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย • ผู้ป่วยอาจพัฒนาไปจนมีอาการรุนแรงอย่างรวดเร็ว โดยมี*อาการปอดอักเสบรุนแรงเกิดขึ้นภายใน 5 -7 วัน
ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (ต่อ) การพยากรณ์โรค:พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีอาการรุนแรง มีแนวโน้มที่จะมีผลการรักษาที่ไม่ดี ทั้งนี้ ขึ้นกับอายุโรคประจำตัวของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วย การรักษา: • ผู้ป่วยสงสัยและผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อควรมีการแยกผู้ป่วย (Isolation)และมีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร • ใช้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ออกซิเจน การให้ยาลดไขการให้ยาลดอาการไอเมื่อมีข้อบ่งชี้ รวมถึงให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนเท่านั้น • การให้ยาต้านไวรัสโดยให้หลังจากมีการเก็บตัวอย่างในระบบทางเดินหายใจ(เพื่อตรวจยืนยัน) ควรให้ยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ
การประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำของ WHO • ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานชัดเจน ว่ามีการติดต่อจากคนสู่คนเป็นวงกว้าง • อาจมีการติดต่อจากคนสู่คนในวงจำกัด ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด เช่น บุคคลในครอบครัวเดียวกัน • ยังไม่มีข้อมูลการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปยังประเทศอื่นๆ • มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ติดเชื้อ (ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการ) เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ได้ • ไม่แนะนำให้ดำเนินการตรวจคัดกรองพิเศษที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ • ไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด • ในภูมิภาคเอเชีย มีโอกาสจะได้รับเชื้อไข้หวัดนก (H7N9) (ความเสี่ยงมากกว่าภูมิภาคอื่นที่อยู่ห่างไกลกว่า)
เฝ้าระวังและควบคุมโรค ดูแล รักษาผู้ป่วย ชันสูตรทาง ห้องปฏิบัติการ สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ มาตรการ ป้องกันและควบคุม ไข้หวัดนกในคน
มาตรการที่ดำเนินการจากข้อแนะนำที่ประชุม National Expert Committee ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ • การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข • เฝ้าระวังใน 4 กลุ่มเป้าหมายเดิม คือ - ผู้ที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง - ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและมีอาการปอดบวม - ผู้ป่วยปอดบวมที่พบเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในชุมชน - บุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยเป็นปอดบวม • ให้มีการฝึกอบรมแพทย์ในระดับจังหวัดให้ทราบแนวทางการเฝ้าระวัง แนวทางการรักษาพยาบาลโรคไข้หวัดนก และการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาล • การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ • เตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการตรวจจับ H7N9 ทั้งใน ส่วนของกระทรวงสาธารณสุข และภาคมหาวิทยาลัย
มาตรการที่ดำเนินการ. จากที่ประชุม National Expert Committee ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ • การดูแลรักษาพยาบาล • ใช้แนวทางของการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ และการป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐานของไข้หวัดนก • การสื่อสารความเสี่ยงของประเทศไทย • เพิ่มระดับการสื่อสารความเสี่ยง เช่น โอกาสการระบาด การรักษาพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น ล้างมือ ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย และหยุดพักอยู่บ้าน จากข้อมูลวิชาการ พบว่า การติดเชื้อ H7N9 ในสัตว์ พบว่ามีสัตว์จำนวนหนึ่งไม่มีอาการ ไม่ป่วย ไม่ตาย (เพิ่มการสื่อสารความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ และล้างมือหลังสัมผัสสัตว์ ไม่นำสัตว์ป่วยตายผิดปกติ มาขายและรับประทาน)
มาตรการที่ดำเนินการ. จากที่ประชุม National Expert Committee ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ • การเตรียมความพร้อมของยาต้านไวรัสและวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย วัคซีน • เตรียมคลังยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์และควรสำรองยาต้านไวรัสในรูปแบบยาฉีด • เตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาวัคซีน H7N9 ของไทย • การคัดกรองบริเวณช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ • ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ ขณะนี้ไม่มีการจำกัดการเดินทาง หรือการคัดกรองใดเป็นพิเศษ บริเวณช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ
คำแนะนำสำหรับประชาชน • รับประทานเนื้อไก่และไข่ที่ปรุงสุก • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วยหรือตาย โดยเฉพาะเด็ก • ห้ามนำซากสัตว์ปีกที่ป่วยตายไปรับประทานหรือให้สัตว์อื่นกิน ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธาณณสุข • หากต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกในระยะที่มีการระบาดในพื้นที่ ให้สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือ • ล้างมือบ่อยๆ และทุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีก ด้วยสบู่และน้ำ
คำแนะนำสำหรับประชาชน (ต่อ) • การเดินทางระหว่างประเทศยังสามารถเดินทางได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องจำกัดการเดินทาง • ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ปีก รวมทั้งนกธรรมชาติ • หากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยสัมผัสสัตว์ปีก หรือผู้ป่วยปอดบวม ให้รีบไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติสัมผัสโรค หรือแจ้งประวัติการเดินทาง
คำถาม-คำตอบ -- เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 เหมือนกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 และ H5N1 หรือไม่? คําตอบ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 แตกต่างจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 และ H5N1 เนื่องจากเป็นคนละสายพันธุ์กัน แม้ว่าจะเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอเหมือนกัน โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 อาจจําแนกได้เป็นชนิดที่ปกติจะติดเชื้อในคน หรือชนิดที่ปกติจะติดเชื้อในสัตว์ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 และ H5N1 ส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่ติดเชื้อในสัตว์แต่บางครั้งก็ติดเชื้อในคนได้
คำถาม-คำตอบ -- เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่? คําตอบ จากจํานวนผู้ป่วยยืนยันที่มีจํานวนจํากัดในขณะนี้จึงยังคงไม่แน่ชัดว่าเชื้อไวรัสนี้ติดต่อมาจากนกได้อย่างไร รวมทั้งยังไม่พบความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยาระหว่างผู้ป่วยซึ่งการสอบสวนโรคยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่องแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่พบการติดเชื้อจากการตรวจเลือดผู้สัมผัสอย่างไรก็ตามยังไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ของการติดต่อระหว่างคนสู่คนออกได้จนกว่าจะมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของเชื้อไวรัส และผลจากการสอบสวนโรค
คำถาม-คำตอบ -- มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 หรือไม่? คําตอบขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 อย่างไรก็ตามมีการแยกเชื้อไวรัสได้จากผู้ป่วยยืนยันรายแรกๆโดยขั้นตอนแรกในการพัฒนาวัคซีน ได้แก่การคัดเลือกเชื้อไวรัสที่จะนําไปพัฒนาวัคซีน ซึ่งองค์การอนามัยโลกร่วมกับหน่วยงานต่างๆจะดําเนินการคัดเลือกเชื้อไวรัสอันจะนําไปใช้ในการผลิตวัคซีนต่อไป หากจําเป็น
คำถาม-คำตอบ -- เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะทําให้เกิดการระบาดใหญ่ได้หรือไม่? คําตอบตามหลักทฤษฎีแล้วเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบในสัตว์สายพันธุ์ใดก็ตาม ที่สามารถพัฒนาศักยภาพมาจนติดเชื้อในคนได้จะสามารถทําให้เกิดการระบาดใหญ่ได้อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบแน่ชัดว่าศักยภาพของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะสามารถทําให้เกิดการระบาดใหญ่ได้หรือไม่ เนื่องจากเคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ในสัตว์หลายสายพันธุ์ซึ่งบางครั้งพบการติดเชื้อในคนได้แต่ก็ไม่ทําให้เกิดการระบาดใหญ
คำถาม-คำตอบ -- จะปลอดภัยหรือไม่ที่จะไปเที่ยวตลาดสดและฟาร์มปศุสัตว์ในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ติดเชื้อในคน? คําตอบ เมื่อไปเที่ยวตลาดสดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่มีชีวิตหรือพื้นผิวที่สัมผัสกับสัตว์สําหรับฟาร์มปศุสัตว์เช่น ฟาร์มสุกร หรือ ฟาร์มสัตว์ปีกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยหรือตายโดยเฉพาะเด็ก หากพบสัตว์ป่วยหรือตายไม่ควรนํามาประกอบอาหารและควรรายงานต่อทางการทันที -- การเดินทางไปยังประเทศจีนจะปลอดภัยหรือไม่? คําตอบ เนื่องจากจํานวนผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในขณะนี้ยังค่อนข้างน้อย องค์การอนามัยโลกจึงไม่แนะนําให้จํากัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งผู้เดินทางที่จะไปยังประเทศจีนหรือบุคคลที่จะเดินทางออกจากประเทศจีนแต่อย่างใด
บทสรุปและความคืบหน้าเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012(ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2556) • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 น่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์และติดต่อมาสู่คนแบบประปราย ซึ่งยังไม่ทราบช่องทางการแพร่การติดต่อของโรคที่ชัดเจน • การติดต่อระหว่างคนสู่คนพบในสถานพยาบาลและการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว แต่ยังไม่พบการแพร่ติดต่อในชุมชน • ผู้ป่วยที่พบอย่างต่อเนื่อง* ทำให้เพิ่มความกังวลถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการแพร่ติดต่อในชุมชน และอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค • จากกรณีการติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขที่สัมผัสกับผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเข้มงวดตามมาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
บทสรุปและความคืบหน้าเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012(ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2556) • โรคติดเชื้อโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 อาจมีอาการแสดงอย่างไม่เป็นแบบแผน และอาจไม่มีอาการแสดงในระบบทางเดินหายใจในระยะเริ่มแรกในคนที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ • การใช้ Nasopharyngeal swabs สำหรับการวินิจฉัยอาจไม่มีความไวเท่ากับการใช้ตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (ควรระมัดระวังในการเก็บตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ ให้เป็นไปตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด) • WHO คาดว่าจะพบรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการควบคุมโรคจะต้องอาศัยการเร่งสอบสวนโรคร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
สถานการณ์โรค • ต่างประเทศ:ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน (23/05/56) องค์การอนามัยโลกได้รับแจ้งจำนวนผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 แล้ว รวม 44 ราย เสียชีวิต 22 ราย ดังนี้ • ประเทศไทย:ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 จนถึง วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 • ยังไม่พบผู้ป่วย
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 เชื้อก่อโรค : • เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 • เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัส โคโรน่า ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ในปี พ.ศ. 2555
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 • ธรรมชาติการเกิดโรค: • โดยทั่วไป เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่ทําให้เกิดการติดเชื้อใน ระบบทางเดินหายใจหรือระบบอื่นๆ ในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัวควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร • ในคนที่เป็นโรคไข้หวัดก็มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ ประมาณร้อยละ 15 • อย่างไรก็ตามโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 นี้ไม่ใช่โรคซาร์สเป็นคนละโรคกัน เนื่องจากมีสาเหตุจากเชื้อ ไวรัสโคโรน่า คนละสายพันธุ์
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 • มีอาการไข้ ไอ หายใจหอบและหายใจลําบาก จะแสดงอาการคล้ายกับโรคปอดบวม ซึ่งเป็น สาเหตุของภาวะไตวาย และทําให้เสียชีวิตได้ • ผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อฯจะมีการติดเชื้อระบบ ทางเดินหายใจ ค่อนข้างรุนแรง • การติดเชื้อพบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่พบมาก ในเด็ก • อาจพบมีการติดเชื้อซ้ำได้เนื่องจากระดับภูมิ คุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังการติดเชื้อ
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 วิธีการแพร่โรค : • มีการแพร่กระจายของเชื้อผ่าน 3 ทาง หลักๆ คือ • ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านทางฝอยละออง (Droplet) ได้แก่ น้ำมูก น้ำลายจากผู้ป่วยที่มีเชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยการไอ หรือจาม • การสัมผัส(Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย • การแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne) มีโอกาสเป็นไปได้แต่น้อย
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระยะฟักตัว : • เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะ แสดงอาการเมื่อใดหลังจากติดเชื้อ • แต่สําหรับเชื้อไวรัสโคโรน่าโดยทั่วไป โดยเฉลี่ยมีระยะฟักตัวประมาณ 2 - 4 วัน
ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 การประเมินสถานการณ์ และความเสี่ยง: • ประเทศไทย :ยังไม่พบการเกิดโรคในประเทศไทย • องค์การอนามัยโลก :ยังไม่แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางไป ยังประเทศใด อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความเสี่ยง เนื่องจากจะมีประชาชนคนไทยไปแสวงบุญในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางเดินทางเพื่อเข้ามาท่องเที่ยว หรือท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
มาตรการการป้องกันและควบคุมโรคมาตรการการป้องกันและควบคุมโรค • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ หรือจาม • ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ เมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัดหรือที่ชุมชนสาธารณะมีคนอยู่เป็นจำนวนมาก หากจำเป็น ให้พิจารณาใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค • แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลา ไอ หรือจาม • ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
การดำเนินงานของประเทศไทย:การดำเนินงานของประเทศไทย: • มีการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกับระหว่างผู้เชี่ยวชาญของกระทรวง สาธารณสุข มหาวิทยาลัย และองค์กรระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยง และมาตรการของประเทศที่เหมาะสม • ด้านการเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา ได้ดำเนินการจัดระบบการเฝ้าระวัง ควบคู่ไปกับ โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) • มีหนังสือสั่งการไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง และขอความ ร่วมมือจากกรุงเทพมหานครให้ดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมรับ สถานการณ์ร่วมกับการเฝ้าระวังพิเศษในโรงพยาบาลเอกชน 5 แห่ง
การดำเนินงานของประเทศไทย(ต่อ): • ด้านการเฝ้าระวังโรค • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการประสานขอความร่วมมือกับสายการบินที่มาจากประเทศแถบตะวันออกกลางสังเกตผู้โดยสารที่มีอาการสงสัยให้ส่งมาที่แพทย์การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ • ด้านการรักษาพยาบาล • กรมการแพทย์ได้จัดทำและแจ้งแนวทางดูแลรักษาพยาบาล การป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในสถานพยาบาล ให้แก่สถานพยาบาลภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งสังกัดอื่นๆ ทราบ โดยให้เข้มงวดเป็นพิเศษในระดับสูงสุด • ด้านการสื่อสารความเสี่ยง • ให้คำแนะนำประชาชนทั่วไป และผู้เดินทาง มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์สำนัก-โรคติดต่ออุบัติใหม่ และมีการให้ข้อมูลแก่เครือข่ายในหลายช่องทาง
การดำเนินงานของประเทศไทย(ต่อ): • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ หรือจาม • ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย • ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค • แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปากปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม • ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
คำถาม-คำตอบ --โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่ ? ตอบ คือ ข้อมูลปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุได้ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่ สําหรับรายที่ติดเชื้อในครอบครัวเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่จะติดต่อจากคนสู่คนอย่างจํากัด (limited human-to-human transmission) หรือ อาจเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อภายในสมาชิกครอบครัวที่ติดเชื้อมาจากแหล่งเดียวกัน เช่น ที่บ้าน หรือที่ทํางาน ---มีวัคซีน ป้องกันโรค หรือไม่ ? ตอบ ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ที่ เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (http://beid.ddc.moph.go.th และ call center กรมควบคุมโรค โทร.1422)
โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis )