380 likes | 852 Views
การแปลภาพถ่ายด้วยสายตา (Visual interpretation). ข้อมูลในพื้นที่ ที่จะอ่านแปล. สอดคล้องกับปัญหา/ ช่วงเวลาถ่าย/ ปี. ภาพถ่ายทางอากาศ. สถานที่ตั้งของโครงการ. สภาพภูมิประเทศ/ ประเภทการใช้ที่ดิน. การใช้ประโยชน์ในพื้นที่. ถ้อยคำของผู้ครอบครองที่ดิน. สภาพพื้นที่/ ความสูงต่ำของพื้นที่.
E N D
ข้อมูลในพื้นที่ ที่จะอ่านแปล สอดคล้องกับปัญหา/ ช่วงเวลาถ่าย/ ปี ภาพถ่ายทางอากาศ สถานที่ตั้งของโครงการ สภาพภูมิประเทศ/ ประเภทการใช้ที่ดิน การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ถ้อยคำของผู้ครอบครองที่ดิน สภาพพื้นที่/ ความสูงต่ำของพื้นที่ แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่อื่นๆ การใช้ประโยชน์พื้นที่/ การเปรียบเทียบ
ป่าแน่ๆ จิตสำนึกในการอ่านแปล มีความเป็นกลาง คิดโดยไม่เข้าข้างด้านใด ทำในอำนาจหน้าที่เท่านั้น รู้ถึงภารกิจหน้าที่ ป้องกันการร้องเรียน อธิบายได้ มีเหตุผล ถูกต้อง
ความรู้พื้นฐานเรื่องการอ่านแปลความความรู้พื้นฐานเรื่องการอ่านแปลความ ความเข้มของสี รูปร่าง ความหยาบละเอียด รูปแบบ ขนาด เงา ที่ตั้งในเชิงภูมิประเทศ
ความเข้มของสี (Grey Tone) วัตถุที่สะท้อนแสงมากจึงปรากฏเป็นสีขาวในรูปถ่าย ในขณะที่วัตถุที่ดูดกลืนแสงจะมีสีดำในรูปถ่าย • สิ่งที่ควรคำนึงถึง • การอัดภาพถ่ายแต่ละครั้งความเข้มของสีอาจไม่เท่ากัน • ความเข้มของสีอาจเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล • ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งของกล้องถ่ายรูปทางอากาศ เช่น การสะท้อนของแสงดวงอาทิตย์บนพื้นผิวน้ำ
พื้นที่สี่เหลี่ยมที่สีดำ หมายเลข 2 เป็นพื้นที่น้ำ ขณะที่พื้นที่สีขาว หมายเลข 1 เป็นพื้นที่ว่างหรือเป็นแผ่นดิน พื้นที่สีเทา หมายเลข 3 เป็นพื้นที่น้ำที่มีพืชขึ้นปนอยู่ หรือเป็นน้ำตื้นที่มีตะกอน
รูปร่าง (Shape) รูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าของขอบคันนา (หมายเลข1) ลักษณะรูปร่างของไม้ผลหรือไม้ยืนต้นจะเห็นเป็นทรงพุ่มกลมๆ (หมายเลข2) เส้นทางน้ำธรรมชาติ หรือแม่น้ำลำคลองจะเป็นเส้นคดเคี้ยว (หมายเลข3) พื้นที่ที่เป็นเส้นตรงๆ เล็กๆ อาจเป็นถนนหรือคลองชลประทาน (หมายเลข4) และ พื้นที่หมายเลข 5 แสดงภาพพื้นที่ราบลุ่มใช้ทำนาซึ่งอดีตเป็นทางน้ำเก่า
ความหยาบละเอียด (Texture) จุดที่ 1 จุดที่ 2 จุดที่ 3 จะหยาบมากถึงละเอียดมาก ตามลำดับ พื้นที่จุดที่ 1 เป็นป่าไม้ที่สมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมหนาแน่น จุดที่ 2 เป็นพื้นที่ป่าไม้ที่มีไผ่ปะปนอยู่มาก จุดที่ 3 จะพบว่าเป็นพื้นที่ที่มีความละเอียดมากที่สุดซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ถูกเปิดพื้นที่เกษตรกรรม
รูปแบบ (Pattern) ลักษณะเป็นแถวเป็นแนว เกิดจากการกระทำโดยมนุษย์ ซึ่งเป็นการเรียงตัวของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่แตกต่างจากบ้านเรือนอาคารที่ตั้งไปตามแนวถนน โดยจะเห็นลักษณะทรงสี่เหลี่ยมสีขาวเล็กของอาคารเลี้ยงไก่ ต่างจากที่อยู่อาศัยที่ขึ้นอยู่ติดกันอย่างหนาแน่นบริเวณมุมล่างขวาของภาพถ่าย
ขนาด (Size) รูปร่างสี่เหลี่ยมเล็กหรือใหญ่ ของหลังคา ลักษณะสี่เหลี่ยมสีขาวจุดที่ 1 และ 2 มีสีใกล้เคียงกัน และมีรูปทรงเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า เหมือนกัน แต่มีขนาดต่างกัน ช่วยวิเคราะห์ได้ว่า จุดที่ 1 ขนาดเล็กกว่า คือ หลังคาของอาคารของบ้านเรือน และ จุดที่ 2 เป็นหลังคาของอาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม
เงา (Shadow) • เงาจะบดบัง รายละเอียดที่สำคัญที่ทำให้ไม่สามารถตีความได้ เช่น เงาของพื้นที่ภูเขาที่บังการใช้ที่ดินบริเวณด้านข้าง • เงาสามารถช่วยในการวิเคราะห์ความสูงของวัตถุ เช่น ลักษณะอาคารที่มีความสูง ต่างกัน หรือเสาไฟฟ้าได้จากเงา • เงาก่อให้เกิดภาพทรวดทรงได้ดี เช่น ภาพพื้นที่เนินเขา หรือภูเขา
สีขาวทรงสี่เหลี่ยม ณ จุดที่ 1 และ จุดที่ 2 จะมีเงาทำให้ทราบว่าเป็นอาคารที่มีความสูงไม่ใช่พื้นที่ราบ ขณะที่ จุดที่ 3 และ จุดที่ 4 ไม่มีเงา เป็นพื้นที่น้ำแต่มีสีขาว เนื่องจากการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์ และทำให้ทราบว่าเป็นที่ราบไม่มีความสูงของพื้นที่ดังกล่าว
ที่ตั้งในเชิงภูมิประเทศ (Site and Associated Features) รูปร่างทรงสี่เหลี่ยม ที่มีเงา ของแนวสันเขื่อนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง สร้างกั้นระหว่างแนวเขาสองลูกเพื่อกักเก็บน้ำ ที่ตั้งในเชิงภูมิประเทศเป็นบริเวณพื้นที่สูงซึ่งประกอบด้วยภูเขาและเนินเขาต่างๆ อันเป็นแหล่งต้นกำน้ำลำธารในภาคเหนือของประเทศไทย
การวิเคราะห์การใช้ที่ดินการวิเคราะห์การใช้ที่ดิน (LAND USE ANALYSIS)
หมู่บ้าน (U2) ลักษณะที่สามารถสังเกตได้จากหลังคาบ้าน ที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม มักล้อมรอบด้วยสวนไม้ผลต่างๆ ซึ่งจะเห็นเป็นทรงกลมสีเทารอบๆ ทรงสี่เหลี่ยม นอกจากนี้มักจะเห็นถนนที่เป็นแนวเส้นพาดผ่านพื้นที่
สถานที่ราชการ (U3) ตัวอย่างสถานที่ราชการ ของสภากาชาดไทย ใช้เป็นสี่เหลี่ยมม้า อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี จะสังเกตเห็นสนามหญ้าบริเวณกลางพื้นที่ สถานที่ราชการจะมีลักษณะการตั้งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และปัจจัยอื่นๆ ประกอบ เช่น โรงเรียน หรือวัด จะพบอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนเป็นส่วนใหญ่ อาคารเรียนจะพบสนามหรือพื้นที่บริเวณกว้างอยู่ด้านหน้าอาคาร
นาข้าว (A1) • รูปแบบของนาข้าวจากรูปถ่ายทางอากาศส่วนมากจะตรงกับนาข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้วจึงเห็นเป็นที่ว่างสีขาวที่เป็นส่วนของดิน ดูได้จากคันดินที่เห็นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม พื้นที่ส่วนมากจะอยู่ในที่ราบลุ่ม จะพบว่านามีความชื้นที่ต่างกันดังจะเห็นว่านามีสีคล้ำขาวไม่เท่ากัน และเห็นเส้นดำของทางน้ำ รวมทั้งหมู่บ้านที่อยู่เป็นกลุ่มๆ ล้อมรอบบ้านด้วยไม้
พืชไร่ (A2) • พืชไร่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกบนที่ดอน มีการระบายน้ำดี ยกเว้นพื้นที่ปลูกอ้อย สามารถปลูกในที่ลุ่มได้ ดังนั้นสิ่งที่น่าสังเกตพื้นที่ปลูกสามารถดูได้จาก ตำแหน่งที่ปลูก และรูปแบบที่เป็นผืนๆ หรือแปลงๆ มีลักษณะความหยาบละเอียด จากตัวอย่างจะพบพื้นที่ปลูกข้าวโพด ในเขตจังหวัดลพบุรีบริเวณหมายเลข 1 ซึ่งมีสีค่อนข้างอ่อนกว่า พื้นที่ปลูกกระถินยักษ์ ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นบริเวณหมายเลข 2
ไม้ผล (A4) • ไม้ผล ลักษณะจะคล้ายไม้ยืนต้น แต่จะมีระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวที่ห่างกว่าไม้ยืนตน จึงสามารถเห็นความเป็นแถว เป็นแนวได้ชัดเจนกว่า และจะเห็นรูปร่างเป็นทรงกลม เช่นเดียวกับพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน และหากใช้แว่นขยายดูจะพบยอดทรงพุ่มเป็นทรงกลมที่ไม่เป็นระเบียบอยู่โดยรอบบริเวณบ้านพัก
พืชไร่ (A2) • พืชไร่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกบนที่ดอน มีการระบายน้ำดี ยกเว้นพื้นที่ปลูกอ้อย สามารถปลูกในที่ลุ่มได้ ดังนั้นสิ่งที่น่าสังเกตพื้นที่ปลูกสามารถดูได้จาก ตำแหน่งที่ปลูก และรูปแบบที่เป็นผืนๆ หรือแปลงๆ มีลักษณะความหยาบละเอียด จากตัวอย่างจะพบพื้นที่ปลูกข้าวโพด ในเขตจังหวัดลพบุรีบริเวณหมายเลข 1 ซึ่งมีสีค่อนข้างอ่อนกว่า พื้นที่ปลูกกระถินยักษ์ ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นบริเวณหมายเลข 2
ไร่หมุนเวียน (A6) • ไร่หมุนเวียนโดยเฉพาะพื้นที่บนภูเขาภาคเหนือ ซึ่งเกษตรกรจะปลูกจนดินมีความอุดมสมบูรณ์เสื่อมโทรม ผลผลิตต่ำ จึงทิ้งพื้นที่หยุดปลูกพืชไปประมาณ 2-3 ปี จึงหันกลับมาปลูกในพื้นที่เดิมใหม่ พืชที่ปลูกมาก ได้แก่ ข้าวโพด ข้าไร่ เป็นต้น ตัวอย่างจะพบเป็นสีเท่าถึงขาว หากพื้นที่ทิ้งร้างจะพบหญ้าขึ้นปกคลุมพื้นที่เป็นสีคล้ำกว่าพื้นที่ที่ดำเนินการอยู่ ในปัจจุบันซึ่งเกษตรกรจะถางและเห็นกินชัดซึ่งจะสะท้อนแสงมากเห็นเป็นสีขาวกว่า
ทุ่งหญ้าและโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ (A7) • ลักษณะโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โรงเรือนเลี้ยงหมู และไก่ สามารถสังเกตเห็นอาคารขนาดเล็กเป็นแนวยาวและมักมีจำนวนโรงเรือนมากกว่า 1 วางตัวขนานกันตามทิศทางการระบายลมที่ดี ดังตัวอย่างจะเห็นเป็นแนวเส้นตรงสีขาวเรียงตัวขนานกัน
พืชน้ำ (A8) • พืชน้ำ ได้แก่ กก บัว ผักกะเฉด แห้ว กระจับ และผักบุ้ง เป็นต้น เป็นพืชที่ปลูกบนพื้นที่น้ำ ดังนั้นช่องว่างระหว่างพืชที่ปลูกจะเป็นน้ำที่มีค่าการสะท้อนแสงน้อยเห็นเป็นสีดำ ส่วนพืชที่ปลูกจะเห็นสีจางกว่า และมักมีลักษณะเป็นทรงกลมเนื่องจากการเจริญเติบโตจะแพร่กระจายออกจากจุดที่ปลูกตรงกลาง ดังตัวอย่าง เป็นพื้นที่ปลูกบัวในบริเวณพื้นที่เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี ก่อนการสร้างเขื่อนที่มีปริมาณน้ำท่วมพื้นที่
สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (A9) • พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย เป็นต้น จะเห็นลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายนาข้าวแต่มีสีเข้มของน้ำมากกว่าจากการที่น้ำมีความลึกกว่าและที่สำคัญมักจะอยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือริมแม่น้ำและจากตัวอย่างสามารถพบพื้นที่ทำนาบริเวณด้านล่างของภาพจะสามารถเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
พื้นที่ป่าไม้ (F) • พื้นที่ป่าไม้ จะประกอบด้วยป่าชนิดต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งสามารถอาศัยลักษณะเฉพาะของพื้นที่ป่าช่วยในการวิเคราะห์ได้ เช่น ป่าดิบเขา จะพบเมื่อพื้นที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,000 เมตร หรือ พื้นที่ป่าไม้ในภาคใต้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าดิบชื้นเนื่องจาก ปริมาณน้ำฝนเกินกว่า 1,600 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณน้ำฝนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดชนิดป่า โดยทั่วไปจะพบพื้นที่ป่าไม้บนพื้นที่สูงและในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงมีระดับการขึ้นลงของน้ำทะเลจะเป็นป่าชายเลน
พื้นที่น้ำ (W) • พื้นที่น้ำ ประกอบด้วยแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น • 1. พื้นที่น้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำธาร หนอง บึง • 2. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ เช่น อ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำในไร่นาต่างๆ เป็นต้น • ลักษณะระหว่างพื้นที่น้ำทั้งสองประเภทแตกต่างกันโดยสามารถสังเกตจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ของเขตพื้นที่ไม่แน่นอน ไม่มีรูปแบบของเส้นตรง หรือทรงสี่เหลี่ยม บางครั้งไม่สามารถเห็นได้โดยตรงของพื้นน้ำ แต่สามารถสังเกตจากลักษณะของต้นไม้ที่ขึ้นระหว่างสองริมฝั่งน้ำ
ทุ่งหญ้าธรรมชาติ (M1) • พื้นที่ทุ่งหญ้าธรรมชาติ • ประกอบด้วย ทุ่งหญ้า (M101) ไม้พุ่ม (M102) เป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือพื้นที่ที่พัฒนาจากการทิ้งร้างของพื้นที่เกษตรมาเป็นเวลานาน เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ดินเสื่อมโทรม สภาพเนื้อดินมีปริมาณกรวดหินปะปนมาก หรือเป็นพื้นที่หินโผล่ที่มีปริมาณมากไม่สามารถทำการเกษตรได้ จะเห็นความไมมีแบบแผนของการใช้ที่ดิน
พื้นที่ลุ่ม (M2) • พื้นที่ลุ่ม ได้แก่ พื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศลุ่มน้ำ อาจมีน้ำขังตลอดปี หรือมีลักษณะน้ำท่วมขังชื้นแฉะ บางช่วงเวลาของปีจึงเห็นรูปร่างไม่แน่นอนแต่มักมีลักษณะเป็นทรงกลมและจะพบสีคล้ำของน้ำ
พื้นที่เหมืองแร่เก่า (M300) • พื้นที่เหมืองแร่ที่เคยดำเนินมาก่อน ปัจจุบันถูกทิ้งร้าง สามารถพบเห็นขุมเหมืองที่มีน้ำขังเป็นสีดำ และสีขาว มากจากการสะท้อนแสงของพื้นที่ทรายที่ถูกร่อนแร่เรียบร้อยแล้ว จากตัวอย่างแสดงให้เห็นเหมืองแร่ดีบุกที่ทิ้งร้างในภาคใต้ของประเทศไทย
บ่อดิน (M304) • บ่อดินที่มีการขุดเอาดินไปใช้เพื่อการก่อสร้างหรือถมพื้นที่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสภาพลุ่ม เช่น จังหวัดสมุทรปราการ จะพบบ่อดินเป็นจำนวนมาก จะเห็นจากค่าการสะท้อนแสงของดินที่สูงทำให้เป็นสีขาว และมักมีน้ำขังบริเวณกลางพื้นที่
พื้นที่หาดทราย (M402) • สีขาวมากของการสะท้อนแสงจากทรายบริเวณชายหาด และพื้นที่จะติดทะเลที่เห็น น้ำมีสีคล้ำถึงดำ และเห็นหญ้าบนชายหาดเป็นสีเทา จากการสะท้อนพลังงานที่แตกต่างกันของดิน น้ำ และพืช