1 / 43

Knowledge Management for Executives

Knowledge Management for Executives. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบมีอัตราเร่งของสิ่งแวดล้อม การปฏิวัติทางข้อมูลข่าวสาร ประกอบกับความรวดเร็วของคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ท ทำให้ความรู้ต่างๆ ทุกแขนงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ในทุกสองหรือสามปี.....

Download Presentation

Knowledge Management for Executives

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Knowledge Management for Executives

  2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบมีอัตราเร่งของสิ่งแวดล้อม การปฏิวัติทางข้อมูลข่าวสาร ประกอบกับความรวดเร็วของคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ท ทำให้ความรู้ต่างๆ ทุกแขนงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ในทุกสองหรือสามปี..... จึงทำให้องค์กรต้องมีความสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว.....

  3. ในอนาคตต่อไปประมาณ 5 - 10 ปี โลกยิ่งมีการเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่งที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว..... จากหนังสือ IT’S ALIVE ของ Christopher Meyer กล่าวไว้ว่า “Every enterprise either adapts to its environment, or dies” นั่นคือ....... ท่านจะยอมปรับเปลี่ยนตัวเองหรือท่านจะยอมตายจากไปกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น !!!

  4. ในช่วงศตวรรษที่ 20 แรงงานที่ไร้ทักษะในโรงงานอุตสาหกรรมเคยเป็นพลังอันสำคัญยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง........ แต่ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นช่วงเวลานับจากนี้....นักเทคโนโลยีเปรื่องปัญญาจะกลายเป็นพลังสำคัญ ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

  5. ความรู้และเทคโนโลยีจะเป็นปัจจัยที่เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้ามากกว่าวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของสินค้า ดังนั้นแรงสมองจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันมากกว่าแรงงาน และเทคโนโลยี จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการแข่งขันมากกว่าทรัพยากรธรรมชาติ

  6. ความรู้เป็นสิ่งที่ล้าสมัยได้อย่างรวดเร็วมาก มีการคาดไว้ว่าใน 5 ปีข้างหน้า ความรู้จะเพิ่มพูนขึ้น 100% ในทุกๆ 6 เดือน.......... นั่นคือมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ Knowledge Workers จะต้องขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลา

  7. ทุนทางปัญญา Intellectual Capital ทุนทางปัญญา เป็นสิ่งที่วัดมูลค่าได้ยาก จะซ่อนอยู่ในสินทรัพย์ขององค์กร เช่น คน ความรู้ สิทธิบัตร Brand name เป็นต้น โดยทุนทางปัญญานี้เกิดตามการเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมาเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ เมื่อโลกเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้จะทำให้ความสำคัญของสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible asset) ลดลง ทุนทางปัญญาที่มีอยู่ในองค์กรจะถูกกำหนดจากความแตกต่างของ Market Value ซึ่งเป็นมูลค่าทรัพย์สินขององค์กรตามระบบมาตรฐาน

  8. ทำไมต้อง จัดการความรู้ ??? ในยุคของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการแข่งขันที่รุนแรง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการอยู่รอด หรือเพื่อการรักษาความเป็นเลิศให้ยั่งยืน ความรู้ (Knowledge) ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ในองค์กร จำเป็นต้องมีการจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถต่อยอดความรู้ โดยการสร้างนวัตกรรมใหม่และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง

  9. เราสามารถจัดการกับนวัตกรรมได้หรือไม่ ? ความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ในทุกรูปแบบ(ทำให้ดีขึ้น -Do Betterและ ทำให้แตกต่าง-Do difference) เป็นสิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับ องค์กรชั้นนำต่างๆของโลก

  10. Today Digital Content Film killer !!!

  11. เศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้ หรือ Knowledge Economy ต้องพึ่งพา Knowledge Workers เป็นอย่างมาก ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีความรู้ด้านทฤษฎี มีความรู้เฉพาะทางและมีประสบการณ์ เช่น แพทย์ ทนายความ อาจารย์ นักการเงินการบัญชีและวิศวกร เป็นต้น แต่กลุ่มที่มีความต้องการสูงในขณะนี้คือ Knowledge Workersที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมและอาจรวมถึงนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งเราอาจเรียกเป็นภาษาไทยว่า “นักเทคโนโลยีเปรื่องปัญญา”

  12. อย่างไรก็ตาม บางองค์กรยังสับสนระหว่าง ข้อมูล (Information) กับความรู้ (Knowledge) หลายองค์กรมีความเชื่อว่า ทั้งสองอย่างนี้เหมือนกัน เป็นสิ่งเดียวกัน จึงให้ความสำคัญเท่ากันและมักเข้าใจอีกด้วยว่าการที่มีข้อมูลไหลเวียนด้วยปริมาณมากๆในองค์กรเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งจริงๆแล้วการที่เรามีปริมาณข้อมูลที่มากเกินไปนั้น มันไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย แต่สิ่งที่เราควรทำคือการหาวิธีหรือการจัดการกับข้อมูลที่เรามีอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้สูงที่สุด

  13. ความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ • ข้อมูล (Data) หมายถึงเนื้อหา และตัวเลข ของข้อเท็จจริงที่ได้เก็บรวบรวมไว้โดยไม่ได้คำนึงถึงสาระที่เกิดจากข้อมูลเหล่านั้น • ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ตีความ ประมวล แยกส่วนที่ผิดพลาดออก หรือสรุปย่อให้สั้นลง • ความรู้ (Knowledge) ความรู้คือ สารสนเทศบวกกับประสบการณ์ ความคิด และความเชี่ยวชาญของแต่ละบุคคล

  14. ความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ Data  Information  Intelligence  Knowledge การวิเคราะห์กลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อที่จะค้นหารูปแบบหรือลักษณะเฉพาะของข้อมูลเพื่อใช้ช่วยในการตัดสินใจและช่วยทำนายพฤติกรรมในอนาคต....นั่นคือเราจะใช้ผลที่ได้นี้เองไปช่วยผู้บริหารกำหนดกลยุทธ....มันก็คลายๆกับว่าเรากำลังกลั่นกรองจากข้อมูลดิบ (Data) จนในที่สุดไปเป็นความรู้ (Knowledge) ตามขั้นตอนดังนี้ครับ

  15. การจัดการความรู้คือการดึงเอาความรู้ที่กระจัดกระจายฝังอยู่ทั่วไปภายในองค์กรออกมารวบรวม แลกเปลี่ยน และจัดเก็บ เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆให้เกิดขึ้นในองค์กร

  16. เข้าใจผิด !!!??? นอกจากนั้น บางองค์กรก็เข้าใจผิดว่าเทคโนโลยีต่างๆก็คือ การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management (KM) ทำให้องค์กรที่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีคิดว่าองค์กรตัวเองมี การจัดการความรู้ที่ดีแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วเป็นความคิดที่ผิด เพราะระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านั้นเป็นแค่เพียงส่วนประกอบหนึ่งของ การจัดการความรู้เท่านั้น

  17. ความรู้ +กลยุทธ์+ เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์กรมีความต้องการที่จะเชื่อมโยงความรู้ กลยุทธ์และเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์ องค์กรจะเจริญเติบโตและมีประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้จัดการกับความรู้ของคนในองค์กรในทางที่จะสามารถนำไปใช้งานได้ทันที แนวทางนี้จะช่วยในการพัฒนากระบวนการทำงาน การกระจายอำนาจ การตัดสินใจ ช่วยให้การดำเนินงานดีขึ้น ทำงานได้ทันเวลา ความผิดพลาดลดลง และเป็นที่พึงพอใจของลูกค้า ซึ่งการจัดการความรู้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถแนวทางนี้ได้

  18. ความรู้เป็นสิ่งที่คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้โดยง่ายความรู้เป็นสิ่งที่คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้โดยง่าย การจัดการความรู้จะนำมาซึ่งความสำเร็จ ดังนี้คือ การจัดการความรู้ จะทำให้องค์กรเป็นผู้นำตลาด เนื่องจากความรู้จะช่วยให้องค์กรสามารถลดการใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนาสินค้า การจัดการความรู้ที่ดี โดยการนำประสบการณ์และความรู้ที่ได้มาในอดีตขององค์กรมาใช้ให้เป็นประโยชน์จะทำให้องค์กรนำเอาความรู้นั้น มาสร้างความแตกต่างและสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว (Unique) ให้แก่สินค้าและบริการขององค์กร

  19. มุมมองที่เปลี่ยนไปในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ มุมมองที่เปลี่ยนไปในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ ในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่นั้น กระบวนการผลิตไม่ได้เน้นที่วัตถุดิบหรือ Input เพียงอย่างเดียวดังเช่นในอดีต แต่ได้เน้นที่ขั้นตอนและ กระบวนการผลิต (Process) ตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟ Starbucks มีจุดเด่นในด้านรสชาติของกาแฟ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเทคนิคการชงกาแฟเป็นสำคัญเช่น อุณหภูมิในการต้มกาแฟ และความรู้ความชำนาญของพนักงานประจำร้านเป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า ที่ร้านกาแฟอื่นไม่สามารถให้กับลูกค้าได้ เนื่องจาก Starbucks มีการให้การนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มีการพัฒนาอยู่เสมอมาถ่ายทอดให้แก่พนักงานอยู่ตลอดเวลา

  20. มุมมองที่เปลี่ยนไปในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่มุมมองที่เปลี่ยนไปในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ ตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟ Starbucks มีจุดเด่นในด้านรสชาติของกาแฟ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเทคนิคการชงกาแฟเป็นสำคัญเช่น อุณหภูมิในการต้มกาแฟ และความรู้ความชำนาญของพนักงานประจำร้านเป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า ที่ร้านกาแฟอื่นไม่สามารถให้กับลูกค้าได้ เนื่องจาก Starbucks มีการให้การนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มีการพัฒนาอยู่เสมอมาถ่ายทอดให้แก่พนักงานอยู่ตลอดเวลา

  21. มุมมองที่เปลี่ยนไปในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่มุมมองที่เปลี่ยนไปในโลกยุคเศรษฐกิจใหม่ ในการทำงานนั้น หลายองค์กรยังยึดติดกับความคิดและค่านิยมแบบเก่าๆ คือในแต่ละแผนก ต่างฝ่ายจะต่างทำงานแต่ในโลกของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน องค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำงานร่วมกันมากขึ้น ดังนั้น จึงต้องใช้ KM มาช่วยแก้ปัญหานี้

  22. ปัญหาขององค์กร...ความรู้หาย !!! ปัญหาในเรื่องความรู้จะออกไปพร้อมๆกับตัวพนักงาน กล่าวคือ ถ้าพนักงานที่เก่ง มีความรู้ ความสามารถและมีความชำนาญขององค์กรลาออกจากองค์กรแล้วไปอยู่ในองค์กรของคู่แข่ง ดังนั้นความรู้และความชำนาญต่างๆที่ติดตัวพนักงานคนนั้นก็จะออกไปด้วย ทำให้องค์กรสูญเสียรายได้ ซึ่ง KM ก็จะช่วยแก้ปัญหาบางส่วนตรงจุดนี้ได้

  23. Types of Knowledge ความรู้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. ความรู้โดยนัยTacit Knowledgeเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางคนจึงเรียกว่า เป้นความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ชัดแจ้งExplicit Knowledgeเป็นความรู้ที่สามารถรวบรวมถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าความรู้แบบรูปธรรม

  24. The SECI Model ความรู้ใหม่จะเริ่มต้นที่ปัจเจกบุคคลเสมอ และจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นความรู้ขององค์กรต่อไป ความรู้ใหม่ขององค์กรนี้จะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้งหรือ Explicit Knowledge กับความรู้โดยนัยหรือ Tacit Knowledge เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวงจร (Nonaka’s SECI Model)

  25. The SECI Model จากแผนภาพจะเห็นได้ว่า องค์กรมีการสร้างความรู้ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้ที่ปรากฏชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) กับความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) ซึ่งเรียกปฏิสัมพันธ์แบบนี้ว่า “การเปลี่ยนแปลงความรู้” (Knowledge Conversion)

  26. Road Map ของการจัดการความรู้ Road map ของการจัดการความรู้นั้นอาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะ 10 ขั้นตอน โดยในทางปฏิบัติ ต้องใช้เวลาเป็นปีต่อเนื่องกันในการสะสมความรู้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่และไม่ว่าอุตสาหกรรมใด โดย Road Map ที่กำลังจะกล่าวต่อไปนั้น จะช่วยสร้างการเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ทางธุรกิจกับการจัดการองค์ความรู้ขององค์กร

  27. Road Map ของการจัดการความรู้ ขั้นตอนสู่การจัดการองค์ความรู้ทั้ง 10 ขั้นตอนสามารถจำแนกออกได้ 4 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ประเมินโครงสร้างพื้นฐาน ระยะที่ 2 วิเคราะห์, ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ ระยะที่ 3 ควบคุมระบบการจัดการองค์ความรู้ให้อยู่ในทิศทางที่ต้องการ ระยะที่ 4 ประเมินผล

  28. ขั้นที่ 1 ระยะที่ 1 : ประเมินโครงสร้างพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 5 ขั้นที่ 6 ขั้นที่ 7 ขั้นที่ 8 ขั้นที่ 9 ขั้นที่ 10

  29. ขั้นที่ 1 ระยะที่ 1 : ประเมินโครงสร้างพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 ระยะที่ 2 : การวิเคราะห์ระบบการจัดการ องค์ความรู้ ออกแบบ และพัฒนา ขั้นที่ 5 ขั้นที่ 6 ขั้นที่ 7 ขั้นที่ 8 ขั้นที่ 9 ขั้นที่ 10

  30. ขั้นที่ 1 ระยะที่ 1 : ประเมินโครงสร้างพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 ระยะที่ 2 : การวิเคราะห์ระบบการจัดการ องค์ความรู้ ออกแบบ และพัฒนา ขั้นที่ 5 ขั้นที่ 6 ขั้นที่ 7 ขั้นที่ 8 ระยะที่ 3 : ควบคุมระบบการจัดการองค์ความรู้ให้อยู่ใน ทิศทางที่ต้องการ ขั้นที่ 9 ขั้นที่ 10

  31. ขั้นที่ 1 ระยะที่ 1 : ประเมินโครงสร้างพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 ระยะที่ 2 : การวิเคราะห์ระบบการจัดการ องค์ความรู้ ออกแบบ และพัฒนา ขั้นที่ 5 ขั้นที่ 6 ขั้นที่ 7 ขั้นที่ 8 ระยะที่ 3 : ควบคุมระบบการจัดการองค์ความรู้ให้อยู่ใน ทิศทางที่ต้องการ ขั้นที่ 9 ระยะที่4 เมทริกซ์สำหรับการประเมินการปฏิบัติ ขั้นที่ 10

  32. ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 “ 10 ขั้นตอน road map ต้องใช้เวลาหลายปีในการสะสมความรู้ในองค์กร ซึ่งช่วยสร้างการเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ทางธุรกิจกับการจัดการองค์ความรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อองค์กรอย่างแท้จริงได้ โดยจะช่วยนำพาให้สามารถสร้างทั้งกลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้และระบบการจัดการองค์ความรู้ให้องค์กรมีความทันสมัยอยู่เสมอ ” ขั้นที่ 3 ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 5 ขั้นที่ 6 ขั้นที่ 7 ขั้นที่ 8 ขั้นที่ 9 ขั้นที่ 10

  33. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ KM

  34. บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในปัจจุบันบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไม่ใช่เพียงที่จะมาช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานและดำเนินงานเท่านั้น แต่จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กลยุทธ์ของบริษัทประสบความสำเร็จ โดยจะช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารตัดสินใจถูกต้องและแม่นยำบนพื้นฐานของข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา รวมทั้งการนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ในการวางแผนและการกำหนดกลยุทธ์ต่างๆของบริษัท เพื่อความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม อย่างยั่งยืน

  35. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ KM การศึกษาของ MIT ในปี 1989ได้พบว่าความล้มเหลวของบริษัทในสหรัฐฯ เกิดจากการที่ผู้บริหารระดับสูงมองเทคโนโลยีในฐานะที่เป็นทรัพยากรการดำเนินงานมากกว่าที่จะเป็นปัจจัยที่ช่วยในการกำหนดรูปแบบกลยุทธ์ของธุรกิจ การที่บริษัทไม่สนใจในการทำ R&D ด้านข้อมูลข่าวสารและไม่สนใจในการจัดการข้อมูลขององค์กรเพื่อนำมาช่วยในการปรับกลยุทธ์ขององค์กร ก็จะทำให้ความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กรลดต่ำลง

  36. Legacy Data Mobile Client Data Servers Distributed Data Sources System Files Archived Data Data Loader Online Analysis Processing Server OLAP Interface or Web Connection Front End แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานของ data warehouse ในการที่จะร่วมกันกับระบบ OLAP

  37. On-Line Analytical Processing (OLAP) On-Line Analytical Processing (OLAP) คือเทคโนโลยีซอฟท์แวร์ประเภทหนึ่งที่ทำให้นักวิเคราะห์และผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถช่วยแปลงข้อมูลให้สามารถมองได้ในหลายมิติและหลายแง่มุม

  38. เพื่อความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหาร ต้องตระหนักถึงประเด็นต่างๆที่สำคัญ เกี่ยวกับการบริหารและจัดการด้าน IT ดังต่อไปนี้ (1) ผู้บริหารด้านธุรกิจ (Business Manager) และผู้บริหารด้าน IT (IT manager) จะต้องมีความเห็นร่วมกันว่าบริษัทจะกำลังไปทิศทางไหน และอะไรที่ IT สามารถช่วยได้ (2) ต้องมีแนวคิดนวัตกรรมใหม่ๆในด้านผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางธุรกิจเดิม โดยประยุกต์ความสามารถของ IT และจะต้องทำให้ IT เป็นตัวผลักดันให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น

  39. เพื่อความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหาร ต้องตระหนักถึงประเด็นต่างๆที่สำคัญ เกี่ยวกับการบริหารและจัดการด้าน IT ดังต่อไปนี้ (3) จัดลำดับความสำคัญของโครงการ ITและจัดสรรทรัพยากรไปสู่โครงการที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งบริษัทควรใช้จ่ายงบประมาณลงไปในโครงการที่มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic intention) ของธุรกิจเท่านั้น (4) ต้องมีการประเมินผลทางธุรกิจที่ได้จาก IT ในโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยผู้บริหารด้านธุรกิจและผู้บริหารด้าน IT จะต้องช่วยกันตัดสินใจว่าโครงการ IT เดิมโครงการใดควรจะได้รับงบประมาณสนับสนุนต่อไปในระดับใด

  40. เพื่อความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหาร ต้องตระหนักถึงประเด็นต่างๆที่สำคัญ เกี่ยวกับการบริหารและจัดการด้าน IT ดังต่อไปนี้ (5) ต้องมีการวัดผลงานของ IT ว่ามีส่วนช่วยและสัมพันธ์กับธุรกิจเพียงใด ซึ่งเป็นการง่ายที่จะวัดประสิทธิผล IT ในเชิงการปฏิบัติงานแต่เป็นการยากที่จะวัดผลของ IT ที่มีต่อธุรกิจในส่วนที่จับต้องไม่ได้ เช่น ผลของการเก็บข้อมูลในระยะยาวเพื่อช่วยผู้บริหารตัดสินใจการวางทิศทางขององค์กรในอนาคต เป็นต้น

  41. บริษัทส่วนใหญ่มักจะมีการเชื่อมโยงกันแบบหลวมๆ ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในระดับบริหารกับ IT ผลก็คือทำให้การลงทุนด้าน IT ไม่สนับสนุนกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทได้อย่างชัดเจน ทำให้ CEO ไม่สามารถบอกได้ว่าบริษัทได้อะไรจากการลงทุนด้าน IT บ้าง ผู้บริหารด้าน IT ก็มีความยากลำบาก โดยไม่สามารถสื่อสารกับผู้บริหารด้านธุรกิจและ CEO ได้ว่า IT ทำอะไรให้องค์กรบ้าง ซึ่งปัญหาการขาดการเชื่อมโยงระหว่างการบริหารทางธุรกิจกับ IT นี้จำเป็นต้องถูกแก้ไข

  42. “ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ” ซุนวู พ.ท.รศ.ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ http://www.guru-ict.com email: settapong_m@hotmail.com Mobile 01-870-9621

More Related