460 likes | 2.01k Views
หลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่. หมวดที่ 1 ปลูกฝังปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี. รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1. รพีพรรณ แสงกระจ่าง 2. ฤทัยรัตน์ แผนทอง 3. นวรัตน์ จันทร์กระเวน 4. ธีระวรรธน์ ขวัญเมือง. Free Powerpoint Templates. 2. 1. ชุดวิชาที่ 2 การเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท.
E N D
หลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่หลักสูตรฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ หมวดที่ 1 ปลูกฝังปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม 1. รพีพรรณ แสงกระจ่าง 2. ฤทัยรัตน์ แผนทอง 3. นวรัตน์ จันทร์กระเวน 4. ธีระวรรธน์ ขวัญเมือง Free Powerpoint Templates
2 1 ชุดวิชาที่ 2 การเรียนรู้ ตามรอยพระยุคลบาท ชุดวิชาที่ 1 การเป็นข้าราชการ หมวดที่ 1 ปลูกฝังปรัชญาการเป็นข้าราชการที่ดี
(1) การเป็นข้าราชการ • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการเป็นข้าราชการที่ดี • สถานภาพของข้าราชการ • บทบาทของข้าราชการ • ประโยชน์ของการเป็นข้าราชการ • การปฏิบัติตนของข้าราชการ • ธงชัยแห่งชีวิตข้าราชการ
สถานภาพของข้าราชการ • พ่อปกครองลูก • กษัตริย์: พ่อขุน • ข้าราชการ: ลูกขุน • ประชาชน: ลูกบ้าน • ข้าราชการ: พี่เลี้ยงของประชาชน • ระบอบเทวสิทธิ์ • กษัตริย์: สมมติเทพ • ข้าราชการ: ขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณ • ข้าราชการ: ผู้ปกครองประชาชน • ระบอบประชาธิปไตย • กษัตริย์: ประมุข • ข้าราชการ: ผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน • ข้าราชการ: ลูกจ้างของประชาชน • ข้าราชการ: พนักงานของรัฐ • ข้าราชการ: กลไกผลิตผลสัมฤทธิ์ในภารกิจของรัฐ
บทบาทของข้าราชการ ผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน ลูกจ้างของประชาชน พนักงานของรัฐ กลไกผลิตผลสัมฤทธิ์ในภารกิจของรัฐ • คนทำงานของประชาชน • นัดหยุดงาน เพื่อประท้วงหรือต่อรองกับนายจ้าง เพราะนายจ้างคือ ประชาชน • ไม่กระทำการเพื่อให้เกิดผลกระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน • ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง • คนทำงานให้ประชาชน • ทำงานของแผ่นดิน ให้แก่ประชาชน ประเทศชาติ • ไม่อารยะขัดขืน / ดื้อแพ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ • คนทำงานเพื่อประชาชน • ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประชาชน และตนเองด้วย • ไม่ทำงานแบบใส่เกียร์ว่าง ไม่พอใจในระบบงาน นโยบายของรัฐ และผู้บริหาร • คนทำงานให้รัฐบาล • มีความเป็นกลางทางการเมือง • ไม่ทำงานให้พรรคการเมือง ไม่แต่งเครื่องแบบของพรรคการเมือง ไม่หาเสียงให้พรรคการเมือง • คนปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล • สนับสนุนและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล • ไม่วิพากวิจารณ์คัดค้านนโยบายของรัฐบาล • คนรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาล • ทำหน้าที่ให้รัฐบาล ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ให้ประชาชนเชื่อถือ และประชาชนจะได้ให้ความร่วมมือแก่รัฐบาล • คนรักแผ่นดิน • จงรักภักดีต่อแผ่นดิน ทำงานให้แผ่นดินด้วยความเข้มแข็ง ด้วยความเสียสละให้สำเร็จผล • คนขยัน • ทำงานด้วยความทุ่มเท เข้มแข็ง เสียสละ ไม่เช้าชามเย็นชาม • คนมีปัญญา • ใช้ปัญญาใช้ความรอบรู้ ความคิดพินิจพิเคราะห์ • คนซื่อสัตย์สุจริต • ทำงานเพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง • คนค้ำจุนแผ่นดิน • แก้ปัญหาของแผ่นดิน ไม่ละเลยหน้าที่ • ตัวขับเคลื่อนภารกิจของรัฐ • ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ และขับเคลื่อนให้งานดำเนินต่อไป • ตัวประสานภารกิจของรัฐ • ประสานงานในหน้าที่ของตนเอง และของผู้อื่น เพื่อให้เกิดผลรวมเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ • ตัวบริการประชาชน • เป็นผู้นำประโยชน์ไปให้แก่ประชาชน โดยปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม และจรรยาบรรข้าราชการ • ต้อนรับให้ความสะดวกและให้ความสงเคราะห์แก่ผู้มาติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
ประโยชน์ของการเป็นข้าราชการ ประโยชน์ของการเป็นข้าราชการ คุณภาพชีวิต ความเป็นธรรม ความมั่นคง ความก้าวหน้า • สุขภาพกาย และ สุขภาพจิต • สุขภาพของข้าราชการ • ครอบครัวของข้าราชการ • เกียรติภูมิของข้าราชการ • ระบบคุณธรรม (Merit System) มีหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดปฏิบัติไว้แน่นอน • การบำเหน็จความชอบ • การเลื่อนตำแหน่ง และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง • การลงโทษ • การให้ออกจากราชการ • มีคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม • การขอรับความเป็นธรรม • ความมั่นคงในอาชีพ • ไม่มีการเลิกประกอบกิจการ ไม่เลิกจ้าง ไม่มีการปิดงาน งดจ้าง • ความมั่นคงในการดำรงชีวิต • ปัจจัย 4 เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ • ความมั่นคงในสังคม • การเป็นที่ยอมรับนับถือ • ความก้าวหน้าในคุณวุฒิ • จะได้เพิ่มพูนคุณวุฒิ ทักษะ และสมรรถนะ พร้อมที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น • ความก้าวหน้าในรายได้ • เหมือนน้ำซึมบ่อทรายที่ไหลออกมาเรื่อย ๆ โดยไม่เหือดแห้ง • ความก้าวหน้าในฐานะการงาน • ความเจริญในฐานะการงาน
วินัยข้าราชการ วินัยข้าราชการ วินัยข้าราชการ จรรยาข้าราชการ • มาตรฐานทางจริยธรรม • ของข้าราชการ • มารยาททางการเมือง • ของข้าราชการ • จรรยาข้าราชการ การปฏิบัติตนของข้าราชการ เป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรมของข้าราชการ รักษาชื่อเสียงไม่ให้เสื่อมเสี่ย วางตนเป็นกลางทางการเมือง สุภาพเรียบร้อย สามัคคี ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ / ผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนบริษัท ทำงานบนหลักวิชาการที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต และมุ่งมั่น อุตสาหะ เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้การสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน ยึดมั่นในจริยธรรม ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง แยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานในหน้าที่ มีจิตสำนึกที่ดี รับผิดชอบต่อหน้าที่ อุทิศตน และ เที่ยงธรรม ยึดมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย เคารพในรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย • ข้าราชการจะต้อง • การดำเนินการทางการเมือง • การสนับสนุนพรรคการเมือง • การแสดงตนทางการเมือง (ประดับเครื่องหมายพรรคการเมือง / ใส่เครื่องแบบราชการไปร่วมประชุมพรรค) ผลของการไม่ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการ ได้แก่ ถูกลงโทษทางวินัย ถูกตักเตือน ไม่ได้เลื่อนเงินเดือนความดีความชอบ ถูกสั่งให้ออกจากราชการ
ธงชัยแห่งชีวิตข้าราชการ ธงชัยแห่งชีวิตข้าราชการ • ความเจริญเติบโตในสถานภาพ • ความมั่นคงในอาชีพ และในการดำรงชีวิต • ความนับถือในวงสังคม การรับราชการต้องมีการเติบโต ทั้งทางกาย และตำแหน่ง หน้าที่การงาน ฐานะทางสังคม โดยต้องอาศัย สมรรถนะ พฤติกรรม ผลสัมฤทธิ์ของงาน ความสมบูรณ์และแข็งแรงของร่างกาย มีความรู้ ความคิด สติปัญญา พลังกายภาพ พลังจิตภาพ ขวัญกำลังใจ แรงจูงใจ คุณธรรมต่าง ๆ ต้องเป็นคนดี ประพฤติดี มีเกียรติและศักดิ์ศรี ประชาชนในการยอมรับนับถือ
(2.1) การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท: บุญของคนไทยที่มีในหลวง (2.2) การน้อมนำพระราชจริยวัตรและพระบรมราโชวาทเป็นแนวประพฤติปฏิบัติ ของข้าราชการที่ดี (2.3) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทของข้าราชการ (2) การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
(2.1) การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท: บุญของคนไทยที่มีในหลวง ความเป็นมา โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ปี 2527 สำนักงาน ก.พ. เริ่มดำเนินโครงการเสริมสร้างวินัยและคุณธรรมของข้าราชการพลเรือน และโครงการปลุกจิตสำนึกข้าราชการตามรอย พระยุคลบาท ซึ่งมีทั้งการฝึกอบรม ฝึกสมาธิ รวมทั้งการผลิตสื่อชุด “ตามรอยพระยุคลบาท” ต่อมา สำนักงาน ก.พ. ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัด“โครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท”
1. เพื่อให้ข้าราชการได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท 2. เพื่อเชิญชวนให้ข้าราชการมีความมุ่งมั่นและแน่วแน่ในอันที่จะประพฤติ ปฏิบัติและรักษาคุณงามความดีถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว วัตถุประสงค์ การดำเนินการตามโครงการ ปี 2541 สำนักงาน ก.พ. จัดประชุมและสัมมนาระดมความคิดผู้ทรงคุณวุฒิและข้าราชการระดับสูง จากนั้นได้สร้าง “หลักสูตรการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน”
ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่คาดว่าจะได้รับ คือ การที่ข้าราชการได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ได้ปรับจิตสำนึก ทัศนคติ พฤติกรรม ที่จะประพฤติปฏิบัติเป็นข้าราชการที่ดี ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติสืบไป
พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็ก ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัย ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ในปีพ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุ 19 พรรษา และต่อมาใน วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการแด่ประชาชนชาวไทยว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ปีพ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทั้งสองพระองค์ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์
พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภาคของประเทศ พระองค์ทรงทราบถึงปัญหาต่างๆ และมีพระราชดำริที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ ซึ่งทรงใช้หลักการในการพัฒนาประเทศ คือ การพัฒนาโดยเป็นไปตามภูมิประเทศและความต้องการของประชาชนในพื้นที่นั้น ดังจะเห็นได้จากโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีมากกว่า 4,000 โครงการ
สิ่งที่ข้าราชการควรเรียนรู้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและนำมาปรับใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิต มีอยู่ 7 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ บุญของคนไทยที่มีในหลวง 1. ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับพสกนิกร 5. ทรงยึดมั่นในความยุติธรรม 3. ทรงเป็นผู้ให้ในเรื่องที่ผู้รับประสงค์ 4. ทรงเป็นตัวอย่างดั่งที่ทรงเสนอแนะไว้ 7. ทรงยึดถือเอาความถูกต้องชอบธรรมเป็นคติธรรม 6. ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยสันติวิธีและภายในกรอบของความชอบธรรม 2. ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
การเรียนรู้หลัก 10 ประการตามรอยพระยุคลบาท
(2.2)การน้อมนำพระราชจริยวัตรและพระบรมราโชวาท (2.2)การน้อมนำพระราชจริยวัตรและพระบรมราโชวาท • เป็นแนวประพฤติปฏิบัติของข้าราชการที่ดี • “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการ พระราชทานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2493 การเรียนรู้ทศพิธราชธรรมสู่การปฏิบัติ • หลักธรรมะ 10 ประการสำหรับพระราชาหรือนักปกครองเรียกว่า “ทศพิธราชธรรม”
การเรียนรู้ทศพิธราชธรรมสู่การปฏิบัติ (ต่อ) • 1. ทาน หมายถึง การให้ • 2. ศีล หมายถึง ความประพฤติที่ดีงาม เกิดจากการรักษาศีล • 3. ปริจจาคะ หมายถึง การเสียสละ • 4. อาชชวะหมายถึง ความเป็นคนตรง ซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจ • 5. มัททวะ หมายถึง ความสุภาพ อ่อนโยน • 6. ตปะหมายถึง ความเพียรไม่ลดละเบื่อหน่าย • 7. อักโกธะ หมายถึง ไม่โกรธ • 8. อวิหิงสา หมายถึง การไม่เบียดเบียน • 9. ขันติ หมายถึง ความอดทน • 10. อวิโรธนะ หมายถึง ความยุติธรรม
การเรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การเรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การสร้างความดีแก่สังคมและการร่วมสร้างพลังของแผ่นดิน การสร้างความดีแก่สังคมและการร่วมสร้างพลังของแผ่นดิน • การเรียนรู้และปฏิบัติตนตามรอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสในเรื่องต่างๆ ล้วนทรงคุณค่า เปี่ยมไปด้วย หลักคุณธรรมและจริยธรรม เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาแนวคิดและแนวทาง ในการปฏิบัติราชการ สมควรอย่างยิ่งที่ข้าราชการทุกคนจะได้น้อมนำ ใส่เกล้าใส่กระหม่อมเป็นแนวทาง ด้วยจิตสำนึกที่จะทำงานตามรอย พระยุคลบาทเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติและประชาชน อย่างยั่งยืนสืบไป
(2.3) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทของข้าราชการ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มอาชีพต่างๆ สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2546ทั้งนี้เพื่อนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจให้ข้าราชการเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนทั่วไป
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขามูลนิธิชัยพัฒนา ได้กล่าวว่า ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ประการและ 2 เงื่อนไข ดังนี้ การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มอาชีพต่างๆ (ต่อ) ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 ประการ 1.ความพอประมาณ 2.ความมีเหตุผล 3.การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ 1. เงื่อนไขความรู้ 2. เงื่อนไขคุณธรรม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้บรรจุไว้ในกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 10 โดยได้มุ่งเน้นเรื่องสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มุ่งสร้างความสุขให้คนไทยและสังคมไทยอย่างยั่งยืน โดยมี 5 ยุทธศาสตร์ สำคัญประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการ เรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของ ประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความ มั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประทศ
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทของข้าราชการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารงานบุคคล จำแนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
ประเด็นเรียนรู้ • รับรู้และเข้าใจ แนวคิด บทบาท ประโยชน์ และการปฏิบัติตนของข้าราชการ เพื่อจะได้นำมาปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม ให้สมกับการเป็นข้าราชการยุคใหม่ อีกทั้ง ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการ • ข้าราชการควรเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท มีความมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด โดยยึดมั่น ในพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำมาเป็นหลัก และแนวทางประพฤติปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ