140 likes | 311 Views
SCRUM. สมาชิก. นายอับดุลเลาะ กาแบ รหัส 501463133 นายเอกสิทธิ โอมณี รหัส 501463137 นางสาว ลินดา ลูกหยี รหัส 501463121 วิทยาการคอมพิวเตอร์ 501. ที่มา ของสครัม.
E N D
สมาชิก นายอับดุลเลาะ กาแบ รหัส 501463133นายเอกสิทธิ โอมณี รหัส 501463137 นางสาว ลินดา ลูกหยี รหัส 501463121 วิทยาการคอมพิวเตอร์ 501
ที่มาของสครัม ชื่อสครัมมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในการแข่งขันรักบี้ สครัมเป็นกระบวนการอาไจลที่พัฒนาโดย Jeff Sutherland และทีมงาน เมื่อต้นทศวรรษ 1990 ในปีหลังๆ มานี้ การพัฒนาสครัมได้ทำโดย Schwaber และ Beedle
ความหมายของสครัม Scrum เป็น development process ที่อยู่บนพื้นฐานของ Sprint ให้นึกถึงเวลาวิ่งแข่งระยะไกล เวลาวิ่งเราจะวิ่งเต็มแรงไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะหากวิ่งเต็มแรงเราจะเหนื่อยเสียก่อน อย่าว่าแต่จะชนะหรือเปล่าเลย อาจจะไม่ถึงเส้นชัยเสียด้วยซ้ำ วิธีการเราคือจะวิ่งแบบออมแรงไว้ก่อน แล้ว sprint เป็นช่วงๆไปตามช่วง check point ต่างๆ เช่นกันครับ Scrum ก็จะ sprint เป็นช่วงๆ ตามหลักการแล้วคือช่วงละ 2-4 สัปดาห์ โดยจะเป็นช่วงที่เราจะวิ่งกันอย่างเต็มที่เต็มขีดจำกัด หลังจบ sprint ก็จะพักบ้างสัก 3-5 วันให้เบาๆหน่อยก่อนที่จะ sprint กันต่อ (อันนี้จะผิดกับวิ่งแข่งหน่อย เพราะปกติเราจะ sprint สั้นๆ แต่ออมแรงยาวๆ แต่ scrum จะ sprint ยาวๆ แต่พักสั้นๆ
หลักการของสครัม - จัดตั้งทีมทำงานขนาดเล็ก “เกิดการสื่อสาร การแบ่งปันเทคนิค และข่าวสารที่ไม่เป็นทางการให้มากที่สุด ขณะที่ลดค่าใช้จ่ายส่วนเกินให้น้อยที่สุด”- กระบวนการต้องสามารถปรับเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและเทคนิคได้ เพื่อผลิตผลงานให้ดีที่สุด- กระบวนการต้องผลิตซอฟต์แวร์ขึ้นมาใหม่ๆ เพื่อตรวจสอบ ปรับแต่ง ทดสอบ บันทึกและต่อยอดได้
หลักการของสครัม - งานที่พัฒนาและนักพัฒนาจะแบ่งออกเป็น แพ็กเก็ตหรือพาร์ติชั่นที่สะอาดและขึ้นแก่กันน้อยที่สุด- มีการทดสอบและบันทึกเอกสารอย่างสม่ำเสมอขณะที่สร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา- กระบวนการสครัมจะต้อง “สามารถแจ้งว่า พัฒนาผลิตภัณฑ์เสร็จแล้ว” เมื่อใดก็ตามที่ต้องการอันเนื่องมาจากคู่แข่งขันอออกผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน หรือบริษัทต้องการเงินสด หรือลูกค้าต้องการใช้งาน เป็นต้น
หลักการของสครัม หลักการสครัมใช้นำทางกิจกรรมพัฒนา ภายใต้กระบวนการที่รวมเอากิจกรรมกรอบงานต่อไปนี้ คือ การหาความต้องการ การวิเคราะห์ การออกแบบ การวิวัฒน์ และการส่งมอบ แต่ละกิจกรรมกรอบงาน มีงานย่อยๆ เกิดขึ้นภายใน เป็นแบบรูปกระบวนการ เรียกว่า สปริ้น (Sprint) งานที่ทำภายใต้สปริ้นหนึ่งๆ จะปรับตัวตามปัญหาที่พบขณะนั้น และถูกนิยามและปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเหตุการณ์ เฉพาะหน้าโดยทีมสครัมกระแสกระบวนการสครัม
ส่วนประกอบของสครัม • ทีมงาน • กระบวนการทำงาน • การสาธิตและการประเมินผลงาน
ทีมงาน (1.1) Scrum Teamคือกลุ่มบุคคลที่ปฏิบัติงานจริงประมาณ 5 – 9 คนแต่ละคนไม่ได้กำหนดงานตายตัว สามารถทดแทนกันได้เสมอ นอกจากนี้แต่ละคนในทีมงานมีหน้าที่ประเมินเวลาของงานที่ต้องทำ แบ่งงานและส่งงานกันเอง(1.2) Product Ownerคือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการเรื่อง product backlog คิด รวบรวม เผยแพร่ให้ทุกคนรับรู้ ได้เห็น เพื่อให้คนในทีมเห็นแนวปฏิบัติในอนาคตว่ามีงานอะไรบ้าง ซึ่งบุคคลคนนี้จะเป็นคนเขียนรายละเอียดและความต้องการของผู้ใช้ด้วย(1.3) Scrum Masterคือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลทีมงาน เป็นโค้ชของทีมงาน เป็นคนที่รับ ผิดชอบคุณภาพของผลงาน จัดลำดับความสำคัญของงาน แตกงานให้ที่ประชุมตัดสินใจตามความเหมาะสม
กระบวนการทำงาน (2.1) Backlogเป็นรายการของคุณลักษณะที่ต้องทำซึ่งรวมถึงความต้องการจากผู้ใช้การแก้ไขข้อผิดพลาด และกำหนดคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของตัวผลงานโดยคนที่ทำคือ product owner ซึ่งจะจัดลำดับคุณลักษณะตามความสำคัญ จัดรายการเพื่อนำเข้า sprint และจัดการกับรายละเอียดต่างๆของคุณลักษณะเหล่านั้น(2.2) Sprint phaseคือช่วงที่จะต้องทำงานซ้ำๆโดยมีกำหนดไม่เกิน 30 วัน ก่อนเริ่ม sprint ก็จะมีการนำ product backlog มาจัดลำดับความสำคัญเพื่อเลือกมาเป็น sprint backlog จากนั้น scrum team จะดู backlog และแตกเป็นงานย่อยๆออกมาและทำการประมาณเวลาที่ใช้ในแต่ละงาน หลังจากได้เวลาและต่อรองกันระหว่างทีมงานแล้ว ก็จะได้รายการของงานและรายการของ backlog
กระบวนการทำงาน (2.3) Daily scrumมีลักษณะเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ อาจเป็นการยืนคุยกัน โดยทุกๆวัน scrum master และ scrum team จะพบปะพูดคุยกันเพื่อทบทวนว่าเมื่อวานทำอะไรไปบ้าง และวันนี้จะทำอะไร มีการถกกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบเมื่อวาน และจัดการกำหนดงานให้กับทีมงานแต่ละคน
การสาธิตและการประเมินผลงาน • จุดเด่นของ Scrum คือสามารถวัดผลการทำงานได้ มีผังการทำงานที่เรียบง่าย และธรรมดา แต่ทำให้เห็นภาพของ sprintได้อย่างชัดเจนโดยหลักการแล้วก็คือกราฟของงานโดยแกน y แทนจำนวนงานที่เหลือ ส่วนแกน x แทนวันแต่ละวันของ sprint โดยในแต่ละรายการจะมีการปรับเปลี่ยนกราฟ เพื่อแสดงให้เห็นภาพความคืบ หน้าของงาน หลังจากจบ sprint ก็จะเอากราฟนี้มาประเมินผลงานของทีมงาน • Beedle และคณะ กล่าวว่า “สครัมมีสมมติฐานถึงความยุ่งเหยิงในช่วงแรกๆ …”แบบรูปกระบวนการสครัมช่วยให้ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้สำเร็จในโลกที่ไม่สามารถกำจัดความไม่แน่นอน