850 likes | 1.2k Views
บทที่ ๓ ระบบควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญและ ศาลรัฐธรรมนูญไทย. ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ ๑.๑ องค์กรที่ควบคุม ๑.๒ ระยะเวลาที่ควบคุม. ๑.๑ องค์กรที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ - รัฐสภา : ระบบฝรั่งเศส , รัฐธรรมนูญ ฯ 2475 มาตรา 61 , 62
E N D
บทที่ ๓ ระบบควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญและ ศาลรัฐธรรมนูญไทย • ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ • ๑.๑ องค์กรที่ควบคุม • ๑.๒ ระยะเวลาที่ควบคุม
๑.๑ องค์กรที่ควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ - รัฐสภา: ระบบฝรั่งเศส , รัฐธรรมนูญ ฯ 2475 มาตรา 61 , 62 - ศาลยุติธรรม: คดี Marbury V. Madison (1803) - องค์กรพิเศษ: ตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ Hans Kelsen ศาลรัฐธรรมนูญออสเตรีย 1955 ตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส 1958
คดีMarbury V. Madison (1803 U.S. Lexis 352) ประธานาธิบดี John Adams ตั้งผู้พิพากษา Circuit Court 16 คน และผู้พิพากษาศาลแขวง 42 คน เที่ยงคืนของวันที่ 3 มีนาคม 1801 และสภา Senate เห็นชอบ วันที่ 4 มีนาคม ตอนเช้า แต่ตาม Judiciary Act 1789 การแต่งตั้งจะมีผลต่อเมื่อรัฐมนตรียุติธรรมส่งคำสั่งให้ผู้รับแต่งตั้ง เมื่อประธานาธิบดี Jefferson เข้ารับหน้าที่วันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1201 ประธานาธิบดีสั่งห้าม James Madison ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมส่งคำสั่งให้ Marbury
Marbury จึงมาฟ้องศาลฎีกา ให้ออกหมายสั่ง Madison ให้ส่งคำสั่งให้ตน โดยอาศัย Judiciary Act 1789 ซึ่งให้อำนาจศาลฎีกาไว้ รัฐธรรมนูญอเมริกัน หมวด 3 มาตรา 2 วรรค 2 บัญญัติว่า “ในคดีที่กระทบทูต รัฐมนตรี และกงสุล และคดีที่มลรัฐเป็นคู่กรณี อาจนำคดีมาฟ้องยังศาลฎีกาได้ (original jurisdiction)……” พรบ. Judiciary Act 1789 มาตรา 13 “ศาลฎีกา มีอำนาจ...ออกหมาย mandamas สั่งศาลทั้งหลาย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งอยู่ในอำนาจของสหรัฐอเมริกา
ศาลฎีกาโดยประธานศาล John Marshall ตั้งประเด็นว่า Marbury มีสิทธิที่จะได้รับคำสั่ง การไม่ส่งคำสั่งให้จึงเป็นการละเมิดสิทธิที่ได้รับมาแล้ว แต่เมื่อมาถึงคำถามที่ว่า ศาลฎีกามีอำนาจออกหมายหรือไม่? Marshall เห็นว่า พรบ. Judiciary Act 1789 ขัดรัฐธรรมนูญอเมริกัน หมวด 3 มาตรา 2 วรรค 2
มีปัญหาว่า ศาลจะมีอำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ (Judicial Review) ศาลเห็นว่า เป็นหน้าที่ของศาลที่จะชี้ว่ากฎหมายใดที่จะใช้บังคับคดี เพราะศาลต้องตีความกฎหมาย ดังนั้น เมื่อกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ ศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายฉบับใดจะใช้บังคับแก่คดี
ศาลเห็นว่า รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรได้บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของแผ่นดิน และศาลเองก็เคยสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญมาก่อนกฎหมาย ดังนั้น เมื่อกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญย่อมอยู่เหนือกฎหมาย และจะใช้กฎหมายดังกล่าวบังคับมิได้ ศาลจึงไม่อาจออกหมาย mandamus
ข้อดีของระบบที่ให้ศาลยุติธรรมวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญข้อดีของระบบที่ให้ศาลยุติธรรมวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ - เป็นระบบกระจายอำนาจ ข้อเสีย - เป็นระบบที่อาจมีความไม่แน่นอนสูง - คำพิพากษาผูกพันคู่ความในคดี (Inter partes) ไม่ยกเลิกกฎหมาย - คำพิพากษารับรองสิทธิคู่กรณี จึงย้อนหลัง (ดู ฎีกาที่ 766/2505)
Kelsen คิดระบบรวมศูนย์การวินิจฉัยคดีไว้ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อ - เอกภาพ และความมั่นคงทางกฎหมาย - คำวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ ต้องยกเลิกกฎหมายที่ขัด (Erga omnes) เพราะฉะนั้น อำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจนิติบัญญัติทางลบ มีผลผูกพันทั่วไป - คำวินิจฉัยมีผลไปในอนาคต
ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธรัฐออสเตรีย องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ • รองประธานศาลรัฐธรรมนูญ • ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ๑๒ คน • ผู้พิพากษาสำรอง ๖ คน
ที่มาของผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ โดยการเสนอชื่อของรัฐบาลสหพันธรัฐ และรัฐสภา โดย • รัฐบาลแห่งสหพันธรัฐจะเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ รองประธาน ผู้พิพากษา ๖ คน และ ผู้พิพากษาสำรอง ๓ คน
๒. รัฐสภาจะเป็นผู้เสนอชื่อผู้พิพากษา ๖ คน และผู้พิพากษาสำรองอีก ๓ คน ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญจะต้องสำเร็จการศึกษาวิชานิติศาสตร์ หรือรัฐศาสตร์ และมีประสบการทำงานไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี และห้ามดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี ไม่ว่าจะในระดับสหพันธ์ หรือมลรัฐ และห้ามเป็นเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง ทั้งนี้ ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยมีวาระ ๑๒ ปี แต่ต้องมีอายุไม่เกิน ๗๐ ปีบริบูรณ์
อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ • พิจารณา และวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าหากศาลยุติธรรม หรือศาลปกครองสูงสุดร้องขอ • อำนาจหน้าที่อื่นๆ เช่น ตรวจสอบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหพันธ์ และสมาชิกรัฐสภา, พิจารณากฤษฎีกาที่ออกโดยฝ่ายบริหารของสหพันธ์ หรือมลรัฐว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เป็นต้น
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐฝรั่งเศสคณะตุลาการรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐฝรั่งเศส องค์ประกอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ • ตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่ง ได้แก่ อดีตประธานาธิบดีทุกคนซึ่งจะได้รับสิทธิดำรงตำแหน่งตลอดชีวิต • ตุลาการรัฐธรรมนูญที่มาจากการแต่งตั้ง ๙ คน ได้แก่ ผู้ที่ประธานาธิบดีแต่งตั้ง ๓ คน ประธานสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้ง ๓ คน และประธานวุฒิสภาแต่งตั้ง ๓ คน
ตุลาการรัฐธรรมนูญจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา หรือตำแหน่งอื่นใดที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญระบุห้ามไว้ไม่ได้ และมีวาระการดำรงตำแหน่ง ๙ ปี โดยจะได้รับแต่งตั้งอีกไม่ได้
อำนาจหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญอำนาจหน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญ • ควบคุมกฎหมายก่อนประกาศใช้ไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ - ในกรณีของร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ส่งร่างกฎหมายดังกล่าวไปให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้
- ในกรณีของร่างรัฐบัญญัติ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างรัฐบัญญัติได้ ก็ต่อเมื่อประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๖๐ คน หรือสมาชิกวุฒิสภา ๖๐ ร้องขอให้มีการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
๒.ควบคุมกฎหมายหลังประกาศใช้ไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยได้เฉพาะกรณีที่ศาลปกครองสูงสุด หรือศาลฎีการ้องขอให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดต่อสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้เท่านั้น ๓.อำนาจหน้าที่อื่นๆ เช่น อำนาจหน้าที่ในการดูแลความถูกต้องในการเลือกตั้งในกรณีที่มีการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา และดูแลความถูกต้องของวิธีการออกเสียงประชามติ และการออกเสียงประชามติ เป็นต้น
ศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี องค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ๒ องค์คณะ แต่ละองค์คณะมีผู้พิพากษา ๘ คน โดยแต่ละองค์คณะนั้น... • ครึ่งหนึ่ง (องค์คณะที่ ๑ จำนวน ๔ คน และองค์คณะที่ ๒ จำนวน ๔ คน) ต้องได้รับการแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์ (Bundestag)
๒. อีกครึ่งหนึ่ง (องค์คณะที่ ๑ อีก ๔ คน และองค์คณะที่ ๒ อีก ๔ คน) ต้องได้รับการแต่งตั้งจากสภาที่ปรึกษาแห่งสหพันธ์ (Bundesrat) และต้องคัดเลือกจาก โดยสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์ และสภาที่ปรึกษาแห่งสหพันธ์ ต้องคัดเลือกจากผู้พิพากษาศาลสูงสุดต่างๆ องค์คณะละ ๓ คน
ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญจะต้องสำเร็จการศึกษาวิชาชีพทางกฎหมาย และไม่เป็นสมาชิกของรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี และสามารถดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว โดยมีวาระ ๑๒ ปี อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ • ตรวจสอบ และควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ • อำนาจหน้าที่อื่นๆ เช่น - อำนาจในการตัดสินข้อขัดแย้งระหว่างองค์กรของรัฐ หรือข้อขัดแย้งระหว่างมลรัฐกับสหพันธ์
- พิจารณาวินิจฉัยคำร้องทุกข์ว่ามีการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานหรือไม่ (ซึ่งบุคคลจะนำคดีขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ได้มีการใช้สิทธิในการดำเนินคดีต่อองค์กรอื่นๆที่กำหนดไว้จนถึงที่สุดแล้ว) เป็นต้น
๑.๒ ระยะเวลาที่ควบคุม - ระบบควบคุมหลังกฎหมายประกาศใช้ รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา เยอรมัน ไทย ( ม. 211,212) - ระบบควบคุมก่อนประกาศใช้กฎหมาย รัฐธรรมนูญฝรั่งเศส 1958 รัฐธรรมนูญไทย ม. 141 และ 154
๒. ความเป็นมาของการควบคุมกฎหมายมิให้ขัด รัฐธรรมนูญในประเทศไทย ๒.๑. สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีอำนาจ 2475 คำพิพากษา คดีอาชญากรสงคราม 1/2489 ๒.๒. รัฐสภา + คณะตุลาการ ม. 86 รัฐธรรมนูญ 2489 ม. 88 รัฐธรรมนูญ 2490 ม. 94
รัฐธรรมนูญ 2492 ม. 177 ตีความปัญหาอันอยู่ในวงงานของสภา รธน. 2495 ม.112 ม.114 รธน. 2511 ม. 173 ม. 175 รธน. 2521 ๒.๓. คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจตีความแต่ผู้เดียว รธน. 2534 ๒.๔ ศาลรัฐธรรมนูญตาม รธน. 2540และ2550
ปัญหาของ “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ๑. องค์ประกอบ - มีลักษณะคล้ายองค์กรการเมือง ๒. การแต่งตั้ง/สรรหา - ขึ้นอยู่กับการเมือง ๓. วาระการดำรงตำแหน่ง - สั้น/ขึ้นกับการเมือง ๔. ไม่อิสระอย่างแท้จริง - วาระสั้น ตั้งใหม่ได้ ๕. การทำงานเป็นคณะกรรมการ
๒.๕. หากไม่มีองค์กรใด ตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ศาลยุติธรรมก็มีอำนาจ - บรรทัดฐานคดีอาชญากรสงครามที่ 1, 2 , 4 /2489 - ฎ. 21/2492 พ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่าฯ 2490 ที่ใช้บังคับย้อนหลังไม่ขัด รัฐธรรมนูญ เพราะ รธน. ไม่มีบทบัญญัติห้ามการใช้ กม. แพ่งย้อนหลัง - ฎ. 222/2494 ฎ. 1212/2497 ฎ. 1460/2497
ฎ. 766/2505 ฎ. 222/2506 ฎ. 225/2506 ฎ. 562/2508 ฎ. 1602-1603/ 2509 ฎ. 1781/2513 ฎ. 1240/2514 และ ฎ. 912/2536 ฎ. 913/2536 ฎ. 921/2536 ฎ. 1131/2536 ฎ. 1132-1136/2536
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ 1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2505 ข้อเท็จจริง ช่วงบังคับใช้ รธน. 2475 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495) - มีคณะตุลาการ รธน. ทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหากฎหมายขัด รธน. ช่วงบังคับใช้ ธรรมนูญฯ พ.ศ. 2502 - ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ 9 กุมภาพันธ์ 2497 พ.ศ. 2505 ออก พรบ.เวนคืนฯ พ.ศ.2497 (กำหนดให้ใช้ค่าเวนคืนตาม พรฎ. ฯ พ.ศ. 2475 (20 บาท ต่อตารางวา)) ศาลพิพากษาคดี จ.และ จล. ตกลงค่าเวนคืนไม่ได้ เพราะใน พ.ศ. 2497 ที่ดินราคา ตารางวาละ 390 บาท จ. จึงยื่นคำร้องว่า พรบ.เวนคืนฯ ดังกล่าว ไม่ชอบด้วย รธน. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม 2495
ประเด็นปัญหาที่สำคัญที่ต้องวินิจฉัย คือ... • องค์กรใดจะมีอำนาจวินิจฉัยว่า พรบ. เวนคืนฯ ดังกล่าวขัด รธน. พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 (เนื่องจาก รธน. ดังกล่าว กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่วันที่ศาลพิจารณาคดีนั้น ไม่มีองค์กรที่เป็นคณะตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว) 2. พรบ. เวนคืนฯ ดังกล่าว จะขัดกับ รธน. พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ได้อย่างไร ในเมื่อวันที่ศาลพิพากษาคดีนี้ รธน. ฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว
ศาลฎีกา ได้วินิจฉัยว่า... “ศาลฎีกาเห็นว่า โดยหลักกฎหมายทั่วไป และหลักการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ศาลเป็นผู้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาใช้บังคับแก่คดี...ดังนี้ ศาลจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายฉบับหนึ่งฉบับใดหรือบทหนึ่งบทใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใด..... ในระหว่างการใช้ รธน. พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 ได้มีบทบัญญัติใน รธน. ฉบับนั้น มาตรา 114 ว่า ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นไปให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ต่อมาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษาคดีนี้ ได้มี ปว. ฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าว ฉะนั้น ในขณะที่พิจารณาคดีนี้ จึงไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้อำนาจหน้าพี่พิจารณาดังกล่าวไปตกอยู่แก่สถาบันอื่น อำนาจหน้าที่นี้จึงคงอยู่ที่ศาลยุติธรรมดังเดิม....ศาลยุติธรรมจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่.....
.....การพิจารณาว่าบทกฎหมายใดมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นการพิจารณาถึงบทกฎหมายนั้น เมื่อขณะประกาศออกใช้บังคับ หาใช่เฉพาะแต่เวลาที่จะยกขึ้นใช้บังคับแก่คดีหนึ่งคดีใดไม่ทั้งนี้ เพราะถ้าบทกฎหมายใดใช้บังคับมิได้แล้ว ก็ย่อมจะใช้บังคับมิได้มาตั้งแต่เริ่มแรก หาใช่เพิ่งจะมาใช้บังคับมิได้เอาเมื่อจะยกขึ้นบังคับแก่คดีใดโดยเฉพาะไม่ คดีนี้ พรบ. เวนคืนฯ ได้ประกาศออกใช้บังคับในขณะที่ มาตรา 29 ของ รธน. พ.ศ. 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 มีผลใช้บังคับอยู่....การที่ศาลวินิจฉัยว่า พรบ. ดังกล่าวขัดหรือแย้งกับ รธน.พ.ศ. 2475ฯ เช่นนี้ ก็หาใช่เป็นการที่ศาลยกเอากฎหมาย (รธน.) ที่ยกเลิกไปแล้วมาเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ หากแต่ศาลวินิจฉัยว่า กฎหมายที่จำเลยขอให้ยกขึ้นปรับแก่คดีในเวลานั้น เป็นบทกฎหมายที่ไม่มีผลบังคับมาตั้งแต่เริ่มประกาศใช้แล้ว จึงยกขึ้นปรับแก่คดีไม่ได้ เท่านั้น....”
ข้อสังเกต คำพิพากษาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า.... 1. ถ้าหากในช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้องค์กรใดมีอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย อำนาจในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว เป็นของศาลยุติธรรม 2. การจะวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดหรือแย้งกับ รธน. ฉบับใด จะต้องพิจารณาในวันที่ออกกฎหมายฉบับนั้น ว่าออกในช่วงที่ รธน. ฉบับใดมีผลบังคับใช้อยู่ แม้ว่าในวันที่ศาลพิพากษาคดีนั้น รธน. ฉบับดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปแล้วก็ตาม มิใช่ถือตาม รธน. ฉบับที่มีบังคับใช้อยู่ในวันที่ศาลพิพากษา (แต่หลักดังกล่าวไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้อีก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปเมื่อกล่าวถึง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552)
3. คำพิพากษาของศาลยุติธรรมว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งกับ รธน.นั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่มีการออกกฎหมายนั้น โดยถือว่า กฎหมายนั้นสิ้นผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้บังคับ ไม่ใช่ตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษา อย่างไรก็ดี หลักผลย้อนหลังดังกล่าวไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้อีกต่อไป เนื่องจาก มาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน บัญญัติว่า “บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัด หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้” ไม่ได้บัญญัติว่าบทบัญญัตินั้นเป็นโมฆะซึ่งเสียเปล่ามาแต่ต้น ดังนั้น จึงต้องถือว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนั้น มีผลนับแต่วันที่ได้มีการออกคำวินิจฉัยกลาง
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2536 ข้อเท็จจริง 9 ธันวาคม 2534 1 มีนาคม 2534 รธน. พ.ศ. 2534 - มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่วินิจฉัยปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. 2502 - ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ (ไม่มี รธน. ใดใช้บังคับ) 25 กุมภาพันธ์ 2534 23 กุมภาพันธ์ 2534 พ.ศ. 2536 ประกาศ รสช. ฉ.26 ให้อายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน รัฐประหารยึดอำนาจโดย รสช. ศาลพิพากษาคดี ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ประกาศ รสช. ขัดต่อธรรมนูญการปกครองแห่งประเทศไทย และประเพณีการปกครองของประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
ประเด็นปัญหาสำคัญที่ต้องวินิจฉัย คือ.... 1. ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับใด (ธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. 2534 หรือ รธน. พ.ศ. 2534) 2. ศาลยุติธรรม หรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 (เนื่องจากในวันที่พิพากษาคดี เป็นช่วงที่ รธน. 2534 มีผลใช้บังคับ และ รธน. ฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย)
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า...ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า... “....ระหว่างที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 มีผลบังคับใช้ ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ซึ่งตามมาตรา 30 ว. 2 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าการกระทำหรือการปฏิบัติใดขัดต่อธรรมนูญฯ 2534 หรือไม่ ซึ่งคำว่า “การกระทำหรือการปฏิบัติ” ไม่ได้หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย....และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหานี้ ได้มีการประกาศใช้ รธน. 2534 แล้ว แต่ตามมาตรา 206 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รธน. พ.ศ. 2534 หรือไม่เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. 2534 หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักทั่วไป....”
ข้อสังเกต คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า อำนาจในการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆไม่ใช่อำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ แต่เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม อย่างไรก็ตาม คำพิพากษานี้ไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานได้อีกต่อไป เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยที่ 3/2552 ซึ่งเป็นกรณีที่วินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535ขัดหรือแย้งต่อ รธน. พ.ศ. 2540 หรือไม่ (โดยที่ในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย รธน. 2540 ได้ถูกยกเลิก และได้มีการประกาศใช้ รธน. 2550 แล้ว)
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552 “.....ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคำร้องนี้ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แล้ว โดยบทบัญญัติมาตรา 56 วรรค 2 ของ รธน. พ.ศ. 2540 ที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายไปขัดหรือแย้งนั้น มีหลักการเดียวกันกับบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสอง ของ รธน. พ.ศ. 2550 จึงวินิจฉัยคำร้องนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสอง ของ รธน. พ.ศ. 2550 .......”
ข้อสังเกต จากคำวินิจฉัยดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ในกรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อ รธน. 2540ที่ถูกยกเลิกไป แต่ รธน. 2550ยังคงบัญญัติหลักการเช่นเดิมไว้ ให้ถือเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยได้เอง โดยศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งกับ รธน. ฉบับปัจจุบัน (ไม่ได้วินิจฉัยว่ากฎหมายขัด หรือแย้งต่อ รธน. ฉบับเก่าที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้
3. ลักษณะของศาลรัฐธรรมนูญ มีลักษณะเป็นศาล 3.1 ต้องมีปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแล้วจริง คำวินิจฉัยที่ 6/2549 การที่ กกต. ส่งปัญหามาให้ วินิจฉัย 3 ประเด็น ยังไม่เป็นปัญหา เพราะ กกต.ยังไม่ได้ใช้อำนาจ และเป็นการคาดการณ์ และหารือมา ไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เป็นการวินิจฉัยตามมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ 2540
คำวินิจฉัยที่ 60 /2548 คตง.ขอให้วินิจฉัยว่าการสรรหาผู้ว่าตรวจเงินแผ่นดินใหม่ชอบหรือไม่ นั้น คตง. ได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่แล้วแม้มีการได้แย้งจาก คุณหญิงจารุวรรณ และองค์กรภายนอก ก็ไม่ได้เป็นการโต้แย้งขององค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นปัญหาต่อการดำเนินการสรรหาที่เสร็จไปแล้ว
รธน. 2550 มาตรา 214 “ในกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป ให้ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรีหรือองค์กรนั้น เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย”
คำสั่งศาลรธน.ที่ 44/2551 ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของส.ว. 25 คนให้ศาล รธน. วินิจฉัยว่าความเป็นรมต.ของครม. สิ้นสุดลงเพราะความเป็นรมต. ของนายกฯ สิ้นสุดลงเพราะถูกยุบพรรคและตัดสิทธิเลือกตั้งหรือไม่? และนายชวรัตน์ ชาญวีรกูลซึ่งเป็น ส.ส. สัดส่วน ก็ควรพ้นตำแหน่ง ส.ส. ไปด้วยและไม่อาจเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้ ศาลเห็นว่าความเป็นรมต. ของนายกฯ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามม.182แล้ว รมต.ที่เหลืออยู่ซึ่งไม่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามต้องอยู่ในตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าครม.ใหม่จะเข้ารับหน้าที่ คำร้องนี้จึง มีลักษณะเป็นการหารือ หรือขอความเห็น ถึงการปฏิบัติหน้าที่นายกฯหรือรมต. ในครม. จึงไม่เข้าเกณฑ์ตามม.182 กรณีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูลศาลก็เห็นว่า เป็นการหารือไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามม.182 ทั้งยังไม่เป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่องค์กรตามรธน.ตามม.214 ศาลจึงไม่รับคำร้อง
3.2. มีการนำเสนอคดีต่อศาลโดยผู้มีอำนาจ กำหนดให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญกลั่นกรองก่อน - ร่างพรบ. ให้นายกฯ หรือ ส.ส. , ส.ว. 1/10 ส่ง (ม.154) - พระราชกำหนดให้ ส.ส. หรือ ส.ว. 1/5 แต่ละสภา (ม.185)
- กฎหมายที่ใช้บังคับแล้ว ศาลยุติธรรม, ศาลปกครอง, ศาลทหารส่งตาม ม. 211 ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งตาม ม.245 (1) คณะกรรมการสิทธิฯ ส่งตาม ม.257 (2)
ม.212 บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ การใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งต้องเป็นกรณีไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้ว ทั้งนี้ ตามที่บทบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
หลักเกณฑ์และวิธีการตามม.212 • ต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ • บุคคลนี้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ • เป็นกรณีที่บุคคลนั้นไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นๆได้แล้ว
ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้ หมายถึง ถ้ามีช่องทางอื่น เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ม.245 (1) ) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ม.257 (2) ) ก็ต้องใช้ก่อน
หรือใช้สิทธิแล้วแต่ไม่สมดังสิทธิ เช่น ศาลยกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ ผู้ตรวจการไม่รับเรื่อง หรือ คกก.สิทธิมนุษยชน ไม่รับเรื่อง คำวินิจฉัยที่ 47/2554 (คดีถึงที่สุดในศาลปกครองแล้วถือว่าผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้อีก)