310 likes | 776 Views
กรอบแนวคิด สุขภาวะและระบบสุขภาพ. สุขภาวะและดัชนีภาวะสุขภาพ ระบบสุขภาพ แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 การกำหนดนโยบายและแผนงานด้านสุขภาพ. Health as Actualization and Stability
E N D
กรอบแนวคิดสุขภาวะและระบบสุขภาพกรอบแนวคิดสุขภาวะและระบบสุขภาพ • สุขภาวะและดัชนีภาวะสุขภาพ • ระบบสุขภาพ • แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 • การกำหนดนโยบายและแผนงานด้านสุขภาพ
Health as Actualization and Stability • สุขภาวะ คือ ความรู้สึกผาสุก สามารถทำงาน/ บทบาทที่ได้เต็มศักยภาพ และสามารถยืดหยุ่น/ ปรับตัวได้ ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ที่รายรอบ • สุขภาวะ คือ ภาวะที่ไม่หยุดนิ่งของวงจรชีวิตของบุคคล ซึ่งต้องใช้การปรับตัวต่อภาวะเครียดในสิ่งแวดล้อม โดยการใช้แหล่งประโยชน์ที่มีอยู่ เพื่อให้บรรลุศักยภาพสูงสุดในการดำรงชีวิต • สุขภาวะ = ภาวะที่ทำหน้าที่ได้ในวงจรชีวิต • ทุกขภาวะ = การรบกวนในวงจรชีวิต
The Components of Health • สุขภาวะทางกาย Physical Health • สุขภาวะทางใจ Psychological Health • สุขภาวะทางสังคม Social Health • สุขภาวะทางปัญญา Intellectual Health • สุขภาวะทางจิตวิญญาณ Spiritual Health • สุขภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Health
องค์ประกอบ 4 ส่วนของ สุขภาพ 1. สุขภาพกาย :สภาพที่ดีของร่างกาย คือ อวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน 2. สุขภาพจิต: สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส ไม่เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข
องค์ประกอบ 4 ส่วนของ สุขภาพ 3. สุขภาพสังคม: สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 4. สุขภาพศีลธรรม: บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ สามารถปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุข
Mental Health and Wellbeing ( HAPPY ) • (feels, grows ,develops, learns, the best you can be) • Physical Health and Wellbeing ( HEALTHY ) • (being fit and active and prospering, economic success ) • Social Health and Wellbeing ( ASPIRING ) • (aspirations, loves, passions, connections to others) • Spiritual Health and Wellbeing ( COMMUNITIES ) • (sense of community, social contribution, and legacy) http://healthservant.blogspot.com/2013/01/constructing-plymouths-joint-health-and.html#!/2013/01/constructing-plymouths-joint-health-and.html
ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางบริการตติยภูมิศูนย์การแพทย์เฉพาะทางบริการตติยภูมิ ระบบบริการสุขภาพประเทศไทย
โครงสร้างระบบบริการสุขภาพ • การบริการปฐมภูมิ (Primary Care) เป็นบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมากที่สุด เน้นที่ความครอบคลุม มีการบริการผสมผสาน ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพ -ในเขตพื้นที่ชนบท สถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน -ในเขตเมืองอาจเป็น ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือศูนย์แพทย์ชุมชน • การบริการทุติยถูมิ (Secondary Care) เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับที่สูงขึ้น เน้นการบริการรักษาพยาบาลโรคที่ยาก ซับซ้อนมากขึ้น - โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอ -โรงพยาบาลทั่วไปในระดับจังหวัด -โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม
โครงสร้างระบบบริการสุขภาพ • การบริการตติยภูมิ และศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Tertiary Care and Excellent Center) การบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง มีความสลับซับซ้อนมาก มีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาเฉพาะทาง -โรงพยาบาลศูนย์ สถาบันเฉพาะทางต่างๆ สังกัดมหาวิทยาลัย -โรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์ • ระบบส่งต่อผู้ป่วย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติว่า รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง กระทรวงสาธารณสุข ใช้นโยบาย 3 ประการ คือ 1) การพัฒนาคุณภาพของสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ 2) การสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคน 3) ระบบส่งต่อและเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข
การป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพของประเทศองค์การอนามัยโลก:WHOการป้องกันและแก้ไขปัญหาระบบสุขภาพของประเทศองค์การอนามัยโลก:WHO • เสนอวิธีการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) เป็นแนวทางที่สำคัญ โดยจัดเป็นกระบวนการเพื่อให้ประชาชนเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมและสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม • กฎบัตรออตตาวาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ (Ottawa Charter for Health Promotion) ได้เสนอแนะกิจกรรม เพื่อการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Action) ไว้ 5 ประการ
Ottawa Charter for Health Promotion 1 ) สร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ เกี่ยวข้องกับกฎหมายมาตรการทางเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การเก็บภาษี 2) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ ได้แก่ การอนุรักษ์ทรัพยากรตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการดำเนินชีวิต การทำงาน และการใช้เวลาว่าง
Ottawa Charter for Health Promotion 3) การเพิ่มความสามารถของชุมชน เป็นการสร้างพลังและอำนาจให้กับชุมชนให้สามารถกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพ 4) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ให้เกิดความรู้และมีทักษะในการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง
Ottawa Charter for Health Promotion 5) การปรับระบบบริการสาธารณสุข ให้เน้นกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น ในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพสามารถดำเนินการโดยเริ่มจากงานใดงานหนึ่งทั้ง ๔ งาน ของการส่งเสริมสุขภาพ คือ 5.1 การพัฒนาสุขภาพ ได้แก่ การแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เป็นต้น 5.2 การส่งเสริมสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยต่างๆ กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง 5.3 พื้นที่เป้าหมาย อาจเริ่มต้นที่ครอบครัว โรงเรียน หรือสถานที่ทำงาน 5.4 กลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การจัดกิจกรรมสุขปัญหา การสร้างเครือข่ายสุขภาพ การออกกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ
Assignment • ศึกษาแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 - 2559) • ศึกษาดัชนีสุขภาพ • ภาระกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล