650 likes | 1.15k Views
หัวข้อบรรยาย. การปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง การพัสดุ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงินฯลฯ พ . ศ . 2530. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ . ศ . 2538และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ . ศ . 2548 ,
E N D
หัวข้อบรรยาย การปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง การพัสดุ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงินฯลฯพ.ศ.2530
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการพัสดุพ.ศ.2538และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548, (ฉบับที่3)พ.ศ.2552,(ฉบับที่4)พ.ศ.2553 • ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วย การรับเงิน การเบิกจ่ายเงินฯลฯ พ.ศ.2530 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 -9) • คำสั่งมอบอำนาจที่เกี่ยวข้อง • หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง • มติที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง มติคณะกรรมการว่าด้วยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์(กวอ.) หนังสือตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ/จัดจ้าง ข้อสังเกตของผู้ตรวจสอบภายใน ข้อสังเกตของสตง.
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง • บทกำหนดโทษ • พระราชบัญญัติความรับผิดว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 • เรื่องที่กฎหมายอนุญาตให้ถือปฏิบัติได้ • ข้อห้ามที่กฎหมายบัญญัติไว้ • ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลังพ.ศ.2544
หลักเกณฑ์การซื้อ/การจ้างหลักเกณฑ์การซื้อ/การจ้าง • เปิดเผย โปร่งไส เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม • หลักความคุ้มค่า ความสมประโยชน์ของทางราชการ ความประหยัด • หลักความถูกต้อง หลักเหตุผล หลักความเป็นไปได้ • หลักความรอบคอบ ระมัดระวัง • หลักประสิทธิภาพทั้งเงินและเวลา
วิธีซื้อ/วิธีจ้าง มี 6 วิธี • วิธีตกลงราคา ครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท • วิธีสอบราคา ครั้งหนึ่งเกินกว่า 100,000 บาทแต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท • วิธีประกวดราคา ครั้งหนึ่งเกินกว่า 2,000,000 บาทขึ้นไป • วิธีพิเศษ ครั้งหนึ่งเกินกว่า 100,000 บาทแต่ต้องอยู่ภายในเงื่อนไขของกฎหมาย • วิธีกรณีพิเศษ ไม่กำหนดวงเงินแต่จำกัดผู้ขายหรือผู้รับจ้างตามข้อ 22 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง การพัสดุ(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2552 • วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เกินกว่า 2,000,000บาทขึ้นไป
อำนาจในการสั่งซื้อ สั่งจ้าง นอกจากวิธีพิเศษและกรณีพิเศษ ข้อ60 (1)ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงาน ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่า ไม่เกิน 5,000,000บาท ข้อ 60(2) เลขานุการสภากทม. เลขานุการผว.กทม. ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลไม่เกิน 15,000,000 บาท ข้อ 60(3) ผู้อำนวยการสำนัก,หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการ กทม.นอกจากวงเงินใน(1)และ(2)แต่ไม่เกิน 50,000,000 บาท ข้อ 60 (4) ปลัดกรุงเทพมหานคร นอกจากวงเงินใน (1) (2)และ(3)แต่ ไม่เกิน 70,000,000 บาท ข้อ 60 (5) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เกินกว่า 70,000,000บาท
วิธีพิเศษวงเงินลดลงกึ่งหนึ่งวิธีพิเศษวงเงินลดลงกึ่งหนึ่ง วิธีกรณีพิเศษเป็นอำนาจของ ผู้ว่าราชการ.กทมโดยไม่จำกัดวงเงิน อำนาจในการลงนามหนังสือตอบตกลงวงเงินเป็นไปตามที่ผู้ว่าราชการกทม. มอบอำนาจ(ตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 1895/2552ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2552)
เริ่มต้นอย่างไร • แผนการจัดซื้อ/จัดจ้าง • เหตุผลความจำเป็นในการซื้อหรือจ้าง • จะใช้ของเมื่อใด หรืองานต้องแล้วเสร็จเมื่อใด • วงเงินเท่าไร เงินที่จะจัดหามาจากแหล่งใด • มีเงินประจำงวดสำหรับการก่อหนี้หรือไม่ • ปัญหาในการซื้อ/จ้างมีหรือไม่
การรายงานขอซื้อ ขอจ้าง(ทุกวิธี)ต้องมีข้อความเสนอผู้มีอำนาจดังนี้:- • เหตุผล ความจำเป็นในการซื้อหรือจ้าง/ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดไม่เกิน 2ปีงปม./รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อ/จ้าง • ระยะเวลาที่จะใช้พัสดุหรืองานจ้าง • วงเงินที่จะซื้อ/จ้าง • วิธีซื้อหรือจ้างครั้งนั้น • อำนาจในการสั่งซื้อ/สั่งจ้างตามข้อ 60,61,62 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัสดุพ.ศ.2538 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548,(ฉบับที่ 4)พ.ศ.2553แล้วแต่กรณี
ขั้นตอนการจัดหาพัสดุตามข้อบัญญัติฯ(ทุกวิธี)ขั้นตอนการจัดหาพัสดุตามข้อบัญญัติฯ(ทุกวิธี) • รายงานขอความเห็นชอบ • เสนอราคา รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม(ถ้ามี) /ต่อรองราคา • อนุมัติซื้อหรือจ้าง • ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง/สัญญา/หนังสือตอบตกลง • ใบส่งของ ใบกำกับภาษี(ถ้ามี) หนังสือแจ้งส่งมอบงานจ้าง • ใบตรวจรับพัสดุ ใบตรวจรับงานจ้าง • รายงานการตรวจรับพัสดุ/งานจ้างต่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้าง • ใบแจ้งหนี้ • เอกสารขอเบิก
การซื้อจ้างโดยวิธีสอบราคาการซื้อจ้างโดยวิธีสอบราคา การขอความเห็นชอบระบุเหตุผลความจำเป็นเช่นเดียวกับวิธีตกลงราคาแต่ต้องเพิ่มข้อความต่อไปนี้... • ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่า 3 คน • กรรมการต้องเป็นข้าราชการระดับ 3หรือเทียบเท่าขึ้นไป
การซื้อจ้างโดยวิธีสอบราคาการซื้อจ้างโดยวิธีสอบราคา • วงเงินซื้อจ้างเกินกว่า 100,000 บาทแต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท • อำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้างตามข้อ60 แห่งข้อบัญญัติกทม.เรื่องการพัสดุพ.ศ.2538และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2553 • ต้องแนบร่างประกาศสอบราคาพร้อมข้อกำหนดให้ผู้เสนอราคาแสดงเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณานอกซองใบเสนอราคาเป็น 2ส่วนคือ • บัญชีเอกสารส่วนที่ 1 เอกสารแสดงคุณสมบัติและ ความสามารถของผู้เสนอราคาเพื่อตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน • บัญชีเอกสารส่วนที่ 2ประกอบด้วยแคตตาล็อก,หนังสือมอบอำนาจ,หลักประกันซอง และอื่นๆ
การซื้อจ้างโดยวิธีสอบราคาการซื้อจ้างโดยวิธีสอบราคา • บทนิยามแสดงความหมายของ • “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” • “การกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม”
ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หมายถึง :- บุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางตรง / ทางอ้อม ในการเสนอราคาคราวเดียวกัน 3 ลักษณะ 1) เชิงบริหาร 2) เชิงทุน 3) เชิงไขว้กัน
ความสัมพันธ์เชิงบริหารความสัมพันธ์เชิงบริหาร ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลหนึ่งไปมีอำนาจในการบริหารกิจการของบุคคล / นิติบุคคล อีกรายหนึ่งหรือหลายรายในการเสนอราคาคราวเดียวกัน เช่น • ผู้จัดการ • กรรมการผู้จัดการ • ผู้บริหาร • หุ้นส่วนผู้จัดการ ฯลฯ • กิจการของ บุคคล หรือ นิติบุคคลอื่น มีอำนาจบริหาร
ความสัมพันธ์เชิงทุน 1) หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ 2) หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดใน หจก. 3) ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท จำกัด, บริษัทมหาชนถือหุ้นเกิน 25% • เป็นหุ้นส่วนใน หสม. หจก. • เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด/บริษัทมหาชน ขณะ เดียว กัน ในการเสนอราคาคราวเดียวกัน
ความสัมพันธ์เชิงไขว้กันความสัมพันธ์เชิงไขว้กัน เป็นหุ้นส่วนใน หสม. / หจก. • ผู้จัดการ • หุ้นส่วนผู้จัดการ • กรรมการผู้จัดการ • ผู้บริหาร • ผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจำกัด / บริษัทมหาชน ในการเสนอราคาคราวเดียวกัน
การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม สมยอม ให้ ขอให้หรือ รับว่าจะให้ เรียก รับหรือยอมรับ เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์ อื่นใด ใช้กำลังประทุษร้าย แสดงเอกสารเท็จ ทุจริต
1) แสวงประโยชน์ระหว่างผู้เสนอราคาด้วยกัน 2) ให้ประโยชน์แก่ผู้เสนอราคา / งานรายหนึ่ง รายใดได้สิทธิ 3) หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม 4) ได้เปรียบกรุงเทพมหานครโดยมิใช่เป็น ไปในทางธุรกิจปกติ
การเป็นหุ้นส่วน ให้นับรวม - คู่สมรส - บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติได้เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ปฏิบัติได้ • การซื้อ/จ้างวงเงินไม่เกิน 10,000บาทให้แต่งตั้งข้าราชการหรือลูกจ้างประจำเป็นผู้ตรวจรับพัสดุคนเดียวได้ • มติของคณะกรรมการแต่ละคณะใช้เสียงข้างมาก ยกเว้นมติคณะกรรมการตรวจรับพัสดุและกรรมการตรวจการจ้างถือ มติเอกฉันท์ • กรณีจำเป็นเร่งด่วน วงเงินครั้งละไม่เกิน 3,000บาทให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการไปก่อนได้แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบและขออนุมัติซื้อหรือจ้าง
ข้อกำหนดในการจัดซื้อครุภัณฑ์ข้อกำหนดในการจัดซื้อครุภัณฑ์ • ครุภัณฑ์ที่มีราคามาตรฐานให้จัดซื้อตามบัญชีราคามาตรฐานของสำนักงบประมาณ • ครุภัณฑ์ไม่มีราคามาตรฐาน หรือรายละเอียดแตกต่างหรือไม่มากพอให้ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะ(Specification) • กรรมการSpec.ต้องได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อ • Spec.ต้องได้รับความเห็นชอบหรือการอนุมัติจากผู้มีอำนาจสั่งซื้อ • คณะกรรมการต้องถือปฏิบัติตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ 3109/2548ลงวันที่ 26สิงหาคม 2548
ข้อห้ามตามกฎหมาย • ห้ามกำหนดรายละเอียดฯกีดกันผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศ • ห้ามแบ่งซื้อหรือแบ่งจ้างโดยลดวงเงินเพื่อให้วิธีซื้อ/จ้างหรืออำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้างเปลี่ยนไป • ห้ามแต่งตั้งผู้เป็นกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาเป็นกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา • ห้ามแต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือกรรมการพิจารณาผลประกวดราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง • มติของกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ถือมติเอกฉันท์
ข้อห้ามตามกฎหมาย • ห้ามตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดซึ่งยังขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดซึ่งมีผลต่อความสมบูรณ์ในการใช้งาน • ถ้าผู้ขายส่งมอบส่วนประกอบนั้นเกินสัญญาให้ปรับ เต็มราคาของทั้งชุด • ถ้าพัสดุต้องมีการติดตั้งทดลองแม้จะส่งของแล้วแต่ยัง ไม่ติดตั้งทดลองให้ปรับเต็มราคาพัสดุโดยนับวันที่ติดตั้งทดลองเกินสัญญาเป็นรายวัน • ห้ามหน่วยงานก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานและได้เวียนแจ้งชื่อแล้ว
ข้อกำหนดให้ปฏิบัติ • เอกสารเสนอราคาต้องถูกต้องสมบูรณ์ดังนี้ • หนังสือจดทะเบียนการค้า กรณีเป็นเจ้าของคนเดียว • หลักฐานการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ถ้ามี) • บุคคลธรรมดาต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนและสำเนา ทะเบียนบ้าน • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียน บริษัทหรือหจก.อายุไม่เกิน 1ปีนับถึงวันเสนอราคา • หนังสือบริคณฑ์สนธิ (กรณีบริษัท) • หนังสือแสดงรายชื่อผู้มีอำนาจควบคุม • หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมสำเนาบัตร ของผู้มอบและผู้รับมอบ • เอกสารทั้งหมดต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้า
ส่วนสำคัญของใบเสนอราคาที่ควรทราบ • รายการในใบเสนอราคาต้องตรงกับงบประมาณ • ราคาต้องมีทั้งต่อหน่วยและราคารวมและรวมภาษีแล้ว • ต้องระบุยี่ห้อและรุ่นของสินค้า มอก.(ถ้ามี) ประเทศผู้ผลิต • กำหนดส่งมอบและกำหนดยืนราคา(การส่งมอบต้องไม่เกินเวลาที่กำหนด กำหนดยืนราคาต้องไม่สิ้นสุดก่อนระยะเวลายืนราคาที่กำหนด) • จำนวนเงินเป็นตัวอักษร • ต้องลงนามโดยเจ้าของหรือผู้รับมอบอำนาจ • ต้องมีการต่อรองราคา
ประกาศประมูลทุกวิธีต้องตรวจสอบหลักเกณฑ์และสิทธิในการพิจารณาว่าประกาศประมูลทุกวิธีต้องตรวจสอบหลักเกณฑ์และสิทธิในการพิจารณาว่า กำหนดไว้อย่างไร ? เช่น ตัดสินด้วยราคารวม / ราคาต่อรายการ / ราคาต่อหน่วย (ต้องระบุไว้ ให้ชัดเจนเพื่อมีให้เกิดข้อโต้แย้งหรือเกิดปัญหาในการพิจารณา)
ตรวจสอบหลักประกันซอง • กรณีเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร 1. ต้องมีข้อความครบถ้วนถูกต้องตามแบบตัวอย่าง 2. ระบุจำนวนเงินร้อยละ 5 ของราคาซื้อ/จ้าง 3. ระบุข้อความว่า มีผลผูกพันแต่วันยื่นซองข้อเสนอด้าน เทคนิค จนถึงวันสิ้นสุดการยืนราคา
การตรวจสอบกรณีนำเช็คมาวางเป็นประกันการตรวจสอบกรณีนำเช็คมาวางเป็นประกัน • ต้องเป็นเช็คสั่งจ่ายกรุงเทพมหานครเท่านั้น • ต้องมียอดเงินถูกต้องตามที่กำหนด (ร้อยละ 5 ของราคาซื้อ / จ้าง) • ต้องเป็นเช็คลงวันที่ยื่นซองเอกสารด้านเทคนิค หรือก่อนหน้านั้นไม่เกิน 3 วันทำการ (เช็คล่วงหน้าผิดเงื่อนไข)
กรณีเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารกรณีเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ต้องตรวจสอบจำนวนเงิน และระยะเวลา (นับวัน) ยืนราคาไม่ต่ำกว่ากำหนดยืนราคาในประกาศประมูล
กรณีหลักประกันเป็นพันธบัตรรัฐบาลกรณีหลักประกันเป็นพันธบัตรรัฐบาล • ให้ตรวจสอบว่าอายุพันธบัตรต้องไม่สิ้นสุดลงก่อนระยะเวลายืนราคา
การกำหนดค่าปรับในเอกสารประมูลซื้อหรือจ้างการกำหนดค่าปรับในเอกสารประมูลซื้อหรือจ้าง • อัตราปรับต้องเป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
การซื้อ กำหนดค่าปรับในอัตราตายตัวร้อยละ 0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ กำหนดอัตราปรับในอัตราร้อยละ 0.20 ต่อวัน • กำหนดค่าปรับเป็นรายวัน เป็นจำนวนเงินตายตัว ในอัตราร้อยละ 0.01 – 0.10 ของราคาจ้างแต่ไม่ต่ำกว่า วันละ 100.- บาท (กรณีต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกัน) การจ้าง
สำหรับงานจ้างก่อสร้างที่มีผลกระทบสำหรับงานจ้างก่อสร้างที่มีผลกระทบ ต่อการจราจรคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุให้กำหนดอัตราปรับเป็นรายวันในอัตรา ร้อยละ0.50ของมูลค่างานตามสัญญา
ระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่องระยะเวลาการรับประกันความชำรุดบกพร่อง ต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีซื้อครุภัณฑ์ ต้องไม่น้อยกว่า 2 ปี กรณีจ้างก่อสร้าง ต้องไม่น้อยกว่า 2 ปี กรณีก่อสร้างงานเขื่อน ดาดท้องคลอง ต้องไม่น้อยกว่า 6 เดือน กรณีงานขุดลอกคลอง กรณีจัดซื้อวัสดุอื่นให้กำหนดตามความเหมาะสม และควรจะสัมพันธ์กับจำนวนเงินจัดซื้อ / จัดจ้างและประเภทของพัสดุที่ซื้อหรือจ้างครั้งนั้น
การอนุมัติซื้อหรือจ้างการอนุมัติซื้อหรือจ้าง • ขออนุมัติซื้อ/จ้างจากรายใด จำนวนเงินหลังต่อรองราคาแล้วเหลือเท่าไหร่และระบุว่าโดยวิธีใด กำหนดส่งมอบกี่วัน • ขออนุมัติออกใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างหรือสัญญา(ต้องมีเงินประจำงวด)หรือไม่ทำสัญญา(ถ้าวงเงินไม่เกิน 10,000บาท)ระบุอัตราปรับครั้งนั้นซึ่งต้องตรงกับที่แจ้งไว้ในประกาศสอบราคา • ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง • ขออนุมัติเบิกจ่ายเงินเมื่อคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างครบถ้วนถูกต้องแล้วโดยอ้างอิงงบประมาณที่จะเบิกจ่ายให้ถูกต้อง • อ้างอำนาจอนุมัติว่าเป็นไปตามข้อบัญญัติและระเบียบใด ข้อใด
ขั้นตอนการตรวจสอบสัญญาขั้นตอนการตรวจสอบสัญญา ตรวจสอบจำนวนเงินค้ำประกัน และหลักฐานอ้างอิงให้ถูกต้องว่าเป็นเงินสด หนังสือค้ำประกันธนาคาร (ระบุชื่อธนาคาร เลขที่ และวันที่ให้ครบถ้วน) ฯลฯ ตรวจสอบกำหนดระยะเวลาส่งมอบพัสดุว่าถูกต้องหรือไม่
ขั้นตอนการตรวจสอบสัญญาขั้นตอนการตรวจสอบสัญญา ตรวจสอบสำเนาหนังสือแจ้งธนาคารยืนยันหนังสือค้ำประกัน (กรณีนำหลักประกันของธนาคารมาวางเป็นประกัน) เมื่อผู้มีอำนาจสั่งซื้อ / สั่งจ้างลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้ว แจ้งธนาคารลงเลขที่ และวันที่ทำสัญญาลงในหนังสือค้ำประกันของธนาคาร
ขั้นตอนการตรวจสอบสัญญาขั้นตอนการตรวจสอบสัญญา ตรวจสอบอัตราปรับว่าถูกต้องหรือไม่ ตรวจสอบระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง(ครุภัณฑ์ 1ปี)(สิ่งก่อสร้าง 2ปี) ตรวจสอบจำนวนเงินตราสาร (กรณีงานจ้าง) ว่าถูกต้องหรือไม่ การปิดตราสารต้องทำให้เสร็จสิ้นก่อนวันกระทำตราสาร(จำนวนเงิน 200,000บาทขึ้นไป)ถ้าต่ำกว่าต้องปิดอากรแสตมป์
ขั้นตอนการตรวจสอบสัญญาขั้นตอนการตรวจสอบสัญญา ตรวจสอบรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์แนบท้ายสัญญา ต้องถูกต้องตรงตามที่อนุมัติจัดซื้อ กรณีจัดจ้างตรวจสอบ รูปแบบ รายการ ข้อกำหนดเฉพาะงานและมาตรฐานงานทางหรืออาคาร ( แล้วแต่กรณี)
ขั้นตอนการตรวจสอบสัญญาขั้นตอนการตรวจสอบสัญญา ตรวจสอบสัญญาที่จัดพิมพ์แล้วกับร่างสัญญาที่ผ่านการตรวจสอบจากนิติกรผู้รู้กฎหมาย หรือสำนักงานกฎหมายและคดี (แล้วแต่กรณี) ตรวจสอบรายละเอียดการซื้อ / จ้างให้ตรงตามงบประมาณและใบเสนอราคา และบันทึกต่อรองราคา
การจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์วงเงินเกินกว่า 10 ล้านบาทต้อง ส่งร่างสัญญาให้สำนักงานกฎหมายและคดีตรวจร่างสัญญาเว้นแต่ กรณีร่างสัญญาการจัดหา ซึ่งเป็นพัสดุแบบที่เคยผ่านการตรวจร่างสัญญาจากสำนักงานกฎหมายและคดีมาแล้ว อาจอนุมัติใช้แบบร่างสัญญาเดิมได้ • สัญญากับร่างสัญญาต้องตรงกัน ร่างสัญญาต้องมีลายเซ็นผู้ตรวจร่าง ต้นฉบับและคู่ฉบับสัญญาทุกหน้าต้องมี • ลายเซ็นคู่สัญญา ไม่มีรอยแก้ไข ถ้ามี 2ฝ่ายต้องเซ็นกำกับ
ตรวจสอบว่าร่างสัญญาผ่านการตรวจสอบจากนิติกรหรือผู้รู้กฎหมายแล้วตรวจสอบว่าร่างสัญญาผ่านการตรวจสอบจากนิติกรหรือผู้รู้กฎหมายแล้ว งานจ้างที่วงเงินตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปต้องส่งสำนักงานกฎหมายและคดีตรวจร่างสัญญา
ข้อควรจำ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ต้องส่งสำเนาสัญญาหรือใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง หรือข้อตกลงให้สตง. และกรมสรรพากรทุกครั้ง ภายใน 30 วัน นับแต่วันทำสัญญา หรือ ข้อตกลง ข้อ 129 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัสดุ พ.ศ. 2538 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 การแก้ไขสัญญา หรือข้อตกลงเป็นหนังสือได้ลงนามแล้ว ต้องอยู่ภายในเงื่อนไขดังนี้ 1. จำเป็นต้องแก้ไข 2. การแก้ไขนั้นไม่ทำให้ กทม. เสียประโยชน์ หรือแก้ไขเพื่อประโยชน์ของ กทม.
อำนาจในการแก้ไขสัญญา • เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างที่จะ พิจารณาอนุมัติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ • กรณีมีการเพิ่มวงเงินตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นสูงเกินอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานให้เป็นอำนาจของปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร(แล้วแต่กรณี) • ความข้างต้นได้แก้ไขโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร(ฉบับที่ 4)พ.ศ.2553
ขั้นตอนบริหารสัญญา ตรวจสอบว่า หน่วยงานจัดหาพัสดุดำเนินการบริหารสัญญาถูกต้องตามสัญญาหรือไม่ เช่น • กรณีจัดซื้อครุภัณฑ์ (ส่งมอบครบถ้วนถูกต้องตามข้อกำหนดของรายละเอียดและคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์) • ส่งมอบภายในกำหนดสัญญา
เมื่องานแล้วเสร็จและคู่สัญญาแจ้งส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างเมื่องานแล้วเสร็จและคู่สัญญาแจ้งส่งมอบพัสดุหรืองานจ้าง ต้องมีหนังสือแจ้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างทราบ ให้ประธานคณะกรรมการนัดกรรมการตรวจรับพัสดุทันทีในวันที่พัสดุมาส่ง (กรณีซื้อ) ให้ประธานคณะกรรมการนัดวันตรวจรับงานจ้างโดยเร็วโดยปกติภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบการส่งมอบงาน (กรณีจ้าง)
เมื่องานแล้วเสร็จและคู่สัญญาแจ้งส่งมอบพัสดุหรืองานจ้างเมื่องานแล้วเสร็จและคู่สัญญาแจ้งส่งมอบพัสดุหรืองานจ้าง ตรวจสอบรายการพัสดุที่ส่งมอบว่าครบถ้วนถูกต้องตามสัญญา กรณีจ้างตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องตามแบบรูปรายการสัญญา ข้อกำหนดเฉพาะงาน ตรวจสอบหลักฐานการตรวจรับพัสดุ หรืองานจ้างให้ ถูกต้องมีการลงลายมือชื่อของคณะกรรมการครบถ้วนถูกต้อง มีหลักฐานการรายงานผู้มีอำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้างทราบตามข้อ 66(4) หรือ67(4)แล้วแต่กรณี
กรณีส่งมอบเกินสัญญา • 1. มีหนังสือแจ้งผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบเมื่อครบกำหนดสัญญาพร้อมแจ้งอัตราปรับ • 2. เมื่อผู้ขายส่งมอบพัสดุ หรืองานจ้าง ต้องมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการปรับ