920 likes | 1.14k Views
การพัสดุภาครัฐ. The Comptroller General’s Department กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง. สำนัก มาตรฐาน การ จัดซื้อจ้าง ภาครัฐ. กรมบัญชีกลาง. The comptroller general’s Department. ระบบการเงินการคลังของหน่วยงาน. พัสดุ. งบประมาณ. บัญชี. การเงิน. สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ.
E N D
การพัสดุภาครัฐ The Comptroller General’s Department กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สำนักมาตรฐาน การจัดซื้อจ้างภาครัฐ
กรมบัญชีกลาง The comptroller general’s Department ระบบการเงินการคลังของหน่วยงาน พัสดุ งบประมาณ บัญชี การเงิน สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 “คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า (1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพ หรือสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราว หรือถาวร Ex. การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัย การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายรวมถึง การออกกฎ (2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง 5
กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2543) ให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครอง 1. การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหา หรือให้สิทธิประโยชน์ในกรณี (1) การสั่งรับ หรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (2) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ (3) การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอ หรือการดำเนินการอื่น ในลักษณะเดียวกัน (4) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน 6
พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 มาตรา 9 ข้อมูลข่าวสารที่รัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชน เข้าตรวจดูได้ (1) ผลการพิจารณา หรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรง ต่อเอกชน ... (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด 7
ประกาศคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการลงวันที่ 1 ธันวาคม 2543 เรื่อง กำหนดให้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง ของหน่วยงานของรัฐ เช่น ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ ตามมาตรา 9 (8) แห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารองราชการ พ.ศ. 2540 1. ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำสรุปผลการพิจารณาจัดซื้อจัดจ้าง วันเดือนปี งาน วงเงิน วิธี ชื่อผู้เสนอราคา ผู้ชนะ เหตุผลที่คัดเลือกรายนั้น 2. ทำตามแบบ สขร. 1 8
พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 - เจ้าหน้าที่มีอำนาจ อนุมัติ พิจารณา ดำเนินการเกี่ยวกับ การเสนอราคา รู้ หรือควรจะรู้ว่ามีพฤติการณ์ปรากฏว่า มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. - ไม่เสนอยกเลิก 9
มาตรา 11 เจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน - ทุจริต ออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข อันเป็น มาตรฐานในการเสนอราคา - มุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม - ช่วยเหลือผู้เสนอราคารายใดให้เข้าทำสัญญา - กีดกันมิให้เข้าเสนอราคาอย่างเป็นธรรม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 10
มาตรา 12 - เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดตาม พ.ร.บ. นี้ - กระทำการโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขัน เพื่อเอื้ออำนวยผู้เสนอราคาให้เป็นผู้มีสิทธิ ทำสัญญา พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 11
พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 “ที่ราชพัสดุ” หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินทุกชนิด ยกเว้น สาธารณสมบัติ... กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2537) ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2537 การต่อไปนี้ให้บังคับตามกฎกระทรวง - การโอนกรรมสิทธิ์ - การขายและแลกเปลี่ยน - การให้ - การโอนคืนให้แก่ผู้ยกให้ 12
ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. 2544 ข้อ 9 โทษปรับทางปกครองมี 4 ชั้น ........................ ส่วนที่ 6 ความผิดเกี่ยวกับการพัสดุ (ข้อ 37-49) แบ่งซื้อแบ่งจ้างเป็นเหตุให้เสียหาย. จัดซื้อที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ปฏิบัติ/ ละเว้น การปฏิบัติโดยมิชอบเป็นเหตุเสียหาย. กำหนดราคากลาง สเปคในการประกวด / สอบมิชอบ. ไม่ปิด/ส่งประกาศ. ไม่ซื้อ/จ้างรายต่ำโดยไม่มีเหตุผล . ทำสัญญามิชอบ . คุมงาน/ตรวจการจ้าง มิชอบ. ตรวจรับพัสดุมิชอบ.ลงบัญชี/ทะเบียน มิชอบ . เบิกจ่าย มิชอบ ตรวจสอบพัสดุมิชอบ /กรณีเป็นผู้บังคับบัญชา.ผู้กระทำ/ร่วมเป็น ผู้บังคบบัญชา ชั้น 4 . ( หมายเหตุ ต้องเป็น จ. มีหน้าที่ และเสียหาย )
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถยนต์ราชการ พ.ศ. 2523 รถยนต์ เป็นพัสดุ - คุณลักษณะ ขนาด - การใช้ - การเก็บรักษา - การจัดหาใหม่ (ส่วนกลาง 5 ปี ประจำตำแหน่ง 6 ปี) 14
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 23 วรรคแรก ห้ามมิให้จ่ายเงิน หรือก่อหนี้ผูกพัน ตาม พ.ร.บ. งบประมาณ รายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ---------- ฯลฯ---------- 15
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7)พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ยกเลิก มาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน (หน้าถัดไป)
มาตรา 38 อำนาจในการสั่ง อนุญาต อนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือ ดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตาม กฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใดหรือมีมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือ มติคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบหมายอำนาจ ไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น อาจมอบให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการ เดียวกัน หรือส่วนราชการอื่น หรือผู้ว่าฯ ได้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ 2 การใช้บังคับและการมอบอำนาจ ข้อ 9 ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึง ระดับตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบ ผู้รับมีหน้าที่ต้องรับ จะมอบต่อไม่ได้ ยกเว้น - ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจมอบต่อได้... - กลาโหม มอบต่อตามระเบียบกระทรวงกลาโหม
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ใช้บังคับกับ - สัญญาที่เกี่ยวกับการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ หรือระเบียบ ข้อกำหนด กฎ หรือข้อบังคับว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงานของรัฐ - สัญญาสัมปทาน และ - สัญญาให้ทุนสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐเพื่อการวิจัยหรือเพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง - มูลค่าตั้งแต่ 5 แสนบาทขึ้นไป เว้นแต่ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 55 – 31 มี.ค. 56 ใช้บังคับกับสัญญามูลค่าตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป
ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • เงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐต้องนำไปกำหนดไว้ใน TOR - ผู้เสนอราคา ต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อว่าเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้แสดงบัญชีรายรับรายจ่าย หรือแสดงบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ถูกต้องครบถ้วนในสาระสำคัญตามประกาศฯ - ผู้เสนอราคาต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ได้ลงทะเบียนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมบัญชีกลางที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ - ผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือก และหากมีการทำสัญญากับ (ชื่อหน่วยงาน) ต้องรับจ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากกระสายวัน เว้นแต่การรับจ่ายเงินแต่ละครั้งซึ่งมีมูลค่าไม่เกินสามหมื่นบาทสามารถรับจ่ายเป็นเงินสดได้ และต้องจัดทำบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายยื่นต่อกรมสรรพากร และต้องปฏิบัติตามประกาศฯ
กรมบัญชีกลาง The comptroller general’s Department มติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
มติ ครม. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ด่วนที่สุด ที่ นร0506/6579ลว.19 มี.ค. 55 มติ 13มี.ค. 55 หนังสือ สาระสำคัญ หลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐใช้หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ที่ปรับปรุงใหม่ เมื่อพ้น 30 วันนับแต่ ครม. อนุมัติ โดยสรุปสาระสำคัญของหลักเกณฑ์เป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1. การคำนวณค่างานต้นทุน 1.1 หลักเกณฑ์การถอดแบบคำนวณราคากลาง เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการถอดแบบก่อสร้าง เพื่อสำรวจและกำหนดรายการและปริมาณงาน วัสดุ และแรงงาน โดยจำแนกเป็นงานก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม และงานก่อสร้างชลประทาน 1.2 รายละเอียดประกอบการคำนวณราคากลาง เป็นส่วนของข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับราคา ค่าวัสดุ ค่าแรงงาน และค่างานต่อหน่วย ที่จะนำมาคำนวณกับรายการและปริมาณงานที่ได้จากการถอดแบบ ตามข้อ 1.1 ซึ่งประกอบด้วย ราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการ ถอดแบบคำนวณราคากลาง ค่าดำเนินการและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร อัตราราคางานดิน อัตราราคางาน ปรับปรุงฐานรากและงานระเบิดหิน และอัตราราคางานต่อหน่วยอื่นๆ สำหรับงานก่อสร้างชลประทาน 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง ประกอบด้วย ค่าอำนวยการ ดอกเบี้ย กำไร และค่าภาษี โดยจัดทำ ในรูปของตาราง Factor F งานก่อสร้างอาคาร Factor Fงานก่อสร้างทาง และFactor Fงานก่อสร้างสะพาน และท่อเหลี่ยม
มติ ครม. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ด่วนที่สุด ที่ นร0506/6579ลว.19 มี.ค. 55 มติ 13มี.ค. 55 หนังสือ สาระสำคัญ หลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง 3. หลักเกณฑ์การสรุปค่างานก่อสร้างทั้งหมดเป็นราคากลาง เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำค่างาน ต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นๆ มาคำนวณ รวมกันเป็นราคากลางงานก่อสร้าง ประกอบด้วย สรุปค่าก่อสร้างอาคาร งานก่อสร้างทาง สะพาน และ ท่อเหลี่ยม และงานก่อสร้างชลประทาน 4. แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง เป็นข้อบังคับ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ เพื่อเสริมการนำหลักเกณฑ์ไปใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ** กระทรวงการคลังได้แจ้งเวียนหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค0421.5/ว 27 ลว.30 มี.ค. 55 โดยมีสาระสำคัญอาทิเช่น ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนด ราคากลาง ให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้หลักเกณฑ์นี้ประกอบการพิจารณาจัดสรรหรือ ตั้งงบประมาณ
มติ ครม. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง มติ 24 ม.ค. 54 หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/2497 ลว. 3 ก.พ. 54 สาระสำคัญ หลักเกณฑ์การกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง • อนุมัติให้มีการทบทวนราคากลางงานก่อสร้างให้เป็นปัจจุบัน • กรณีหัวหน้าหน่วยงานได้ให้ความเห็นชอบราคากลางงานก่อสร้าง ที่คณะกรรมการ • กำหนดราคากลาง คำนวณไว้แล้ว และ ยังไม่ประกาศสอบราคา ประกวดราคา หรือ • ประกาศร่าง TOR • ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่หัวหน้าหน่วยงานเห็นชอบ • - ให้พิจารณาทบทวนราคากลางใหม่ให้เป็นปัจจุบัน
มติ ครม. เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือ มติ 22 ส.ค. 32 หนังสือ ที่ นร 0203/ว 109 ลว. 24 ส.ค. 32 สาระสำคัญ การช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง (สัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)) ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ นำสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่าK) มาใช้เป็นการถาวร โดยมีเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภทงาน ก่อสร้างสูตรและวิธีการคำนวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับราคาได้ สัญญาแบบปรับราคาได้นี้ให้ใช้กับงานก่อสร้าง ทุกประเภท รวมถึงงานปรับปรุงและซ่อมแซม ซึ่งเบิกจ่ายค่างานในลักษณะหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวด รายจ่ายอื่นที่เบิกจ่ายในลักษณะค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง และการนำสัญญาแบบปรับราคาได้ไปใช้นั้น ผู้ว่าจ้างต้องแจ้งและประกาศให้ผู้รับจ้างทราบ และต้องระบุในสัญญาจ้างด้วยว่างานจ้างเหมานั้นๆ จะใช้สัญญาแบบปรับราคาได้ พร้อมทั้งกำหนดประเภทของงานก่อสร้าง สูตรและวิธีการคำนวณ ที่ให้มีการปรับเพิ่มหรือลดค่างานไว้ให้ชัดเจน เป็นต้น ให้สำนักงบประมาณเป็นผู้วินิจฉัยข้อหารือและกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ตามความจำเป็น
มติ ครม. เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือ มติ 21 เม.ย. 52 ประกอบ 29 พ.ค. 50 หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร0505 /ว 89ลว.28 เม.ย. 52 และ ที่ นร 0505/ว 83 ลว. 30 พ.ค. 50 สาระสำคัญ การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศหรือกิจการของคนไทย • การใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศหรือกิจการของคนไทย ตามข้อ 16 ของระเบียบสำนักนายก • รัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • - ส่วนราชการ ให้เคร่งครัด • - รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน ขอความร่วมมือ • - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอความร่วมมือ • ระมัดระวังมิให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ เช่น ข้อตกลงองค์การการค้าโลก • การประกวดราคานานาชาติ เป็นต้น
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการแข่งขัน มติ 23 มี.ค. 20 หนังสือ ที่ สร 0203/ว 52 ลว. 28 มี.ค. 20 สาระสำคัญ 1. งานก่อสร้าง การกำหนดรายการในการก่อสร้าง 1.1 มี มอก. หรือ กระทรวงอุตสาหกรรมรับรองแล้ว หรือมีมาตรฐานที่ส่วนราชการอื่น กำหนดไว้ ก็ให้ระบุตามมาตรฐานนั้นได้ ตามความจำเป็น 1.2 กรณียังไม่มีมาตรฐาน ถ้าส่วนราชการจำเป็นต้องใช้สิ่งของที่เห็นว่ามีคุณภาพดี เป็นที่นิยมใช้ในขณะนั้น และจำเป็นต้องระบุชื่อยี่ห้อสิ่งของ ก็ให้ระบุได้ แต่ ต้องให้มากยี่ห้อที่สุดเท่าที่จะสามารถระบุได้ และสิ่งของที่มีคุณภาพเทียบเท่ากัน ก็ให้ใช้ได้ด้วย 2. งานซื้อจ้างทั่วไป การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specification) *** ห้าม *** 2.1 กำหนดให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง 2.2 ระบุยี่ห้อสิ่งของที่จะซื้อ เว้นแต่ ที่มีข้อยกเว้นไว้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่ เป็นต้น
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการป้องกันหรือลดโอกาสในการสมยอมกันในการเสนอราคา มติ 28 ธ.ค. 36 หนังสือ ที่ นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 37 สาระสำคัญ กรณีการจ้างเหมาก่อสร้าง 1. การประกวดราคา ให้ผู้ยื่นซองเสนอแผนการทำงานรวมทั้งแผนเวลาในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้าง กรณีไม่ได้กำหนดงวดงานในเอกสารประกวดราคา และถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา 2. ให้กำหนดระยะเวลารับประกันความชำรุดบกพร่อง อย่างน้อย 2 ปี ยกเว้น ถนนลูกรัง ถนนดิน งานขุด ขุดลอกคู คลอง สระ หนอง ซึ่งเป็นงานดินที่ไม่มีการดาดคอนกรีต 3. กำหนดผลงานของผู้เสนอราคาได้ไม่เกิน 50% ของวงเงินที่จะจ้าง 4. การปิดประกาศ ให้ทำ ณ สถานที่ซึ่งบุคคลภายนอกเข้าถึง ส่วนภูมิภาคให้ปิดที่ศาลากลางด้วย 5. ให้กรมประชาสัมพันธ์ และ อ.ส.ม.ท. จัดทำทะเบียนการรับทะเบียนการประกาศข่างประกวดราคา และบันทึกเทปการออกอากาศเก็บรักษาไว้เพื่อการตรวจสอบไม่ต่ำกว่า 90 วัน และแจ้งรายชื่อ ส่วนราชการที่ส่งข่าวประกวดราคาล้าช้าให้ สตง. ทุกรอบ 6 เดือน 6. ให้ผู้รักษาการตามระเบียบพัสดุ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของทางราชการมีความรู้ด้านการพัสดุ
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการประกวดราคา มติ หนังสือ 28 ธ.ค. 36 ที่ นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 37 สาระสำคัญ กรณีการประกวดราคาก่อสร้าง 1. ข้อกำหนด เงื่อนไข ในการประกาศแจ้งความประกวดราคา 1.1 ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ออกแบบบัญชีรายการก่อสร้าง เพื่อให้ ผู้เข้าประกวดราคากรอกปริมาณวัสดุและราคา เพื่อใช้ตรวจสอบเปรียบเทียบกับราคากลาง และราคา ของรายอื่นๆ 1.2 ให้กำหนดเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จไว้ในประกาศประกวดราคา เว้นแต่ไม่สามารถกำหนดได้ 2. การกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าประกวดราคา 2.1 การประกวดราคาวงเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ผู้เสนอราคาต้องเป็นนิติบุคคล ไม่รวมถึง การประกวดราคาระหว่างประเทศ การประกวดราคาโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ เว้นแต่ การทำ สัญญาซึ่งบริษัทต่างประเทศจะต้องตั้งตัวแทนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย 2.2 ต้องมีวัตถุประสงค์ทำการรับเหมาก่อสร้าง 2.3 กรณีจำเป็นต้องกำหนดผลงานและความชำนาญ ให้กำหนดตามความจำเป็น โดยคำนึงถึง ลักษณะสภาพของงาน ใบรับรองผลงานต้องเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับทางราชการ องค์การ หรือ หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่รัฐเชื่อถือ และเป็นผลงานประเภทเดียวกัน
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการประกวดราคา มติ 28 ธ.ค. 36 หนังสือ ที่ นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 37 สาระสำคัญ กรณีการประกวดราคาก่อสร้าง 3. การแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน กำหนดเวลาแล้วเสร็จ และการส่งมอบงาน 3.1 ให้แบ่งงวดงานให้สัมพันธ์กับการจ่ายเงินแต่ละงวด 3.2 ให้กำหนดงวดงาน งวดการจ่ายเงิน ให้ชัดแจ้งในประกาศ และอยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติได้ กรณีก่อหนี้ผูกพันข้ามปี ควรกำหนดเป็นอัตราร้อยละของจำนวนเงินที่ต้องจ่าย และแจ้งจำนวนปี ที่จะต้องก่อหนี้ผูกพันไว้ในประกาศด้วย 4. วิธีประกาศประกวดราคา ต้องปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ หน่วยงานและหรือศาลากลางจังหวัด กรณีวงเงินค่าก่อสร้าง เกิน 1 ล้านบาท ให้ส่งประกาศไปให้ อ.ส.ม.ท. ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ลงนามในประกาศ และส่งให้กรมประชาสัมพันธ์ด้วย
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการประกวดราคา มติ 28 ธ.ค. 36 หนังสือ ที่ นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 37 สาระสำคัญ กรณีการประกวดราคาก่อสร้าง 5. การขายแบบรูปรายการ 5.1 ให้กำหนดราคาขายในราคาพอสมควร โดยไม่หวังส่วนเกินเพื่อเป็นรายได้ของหน่วยงาน 5.2 ไม่กำหนดราคาขายในอัตราร้อยละของราคากลางหรือวงเงินงบประมาณ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้ ผู้เข้าประกวดราคาทราบราคากลาง หรือวงเงินงบประมาณก่อสร้าง (ปัจจุบัน หลักการนี้คลายไป) 5.3 ให้ขาย ณ หน่วยงานต้นสังกัด การขาย ณ หน่วยงานย่อยที่จะมีการก่อสร้างให้กระทำได้ 5.4 สถานที่ขาย ต้องเป็นที่สามารถติดต่อได้สะดวก ไม่ใช่เขตหวงห้าม 5.5 เตรียมแบบรูปรายการไว้ให้มากเพียงพอกับความต้องการของผู้ที่จะซื้อแบบ 5.6 เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อแบบที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนด ได้ซื้อแบบรูปรายการ ได้เท่าเทียมกัน
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเกี่ยวกับการประกวดราคา มติ 28 ธ.ค. 36 หนังสือ ที่ นร 0202/ว 1 ลว. 3 ม.ค. 37 สาระสำคัญ กรณีการประกวดราคาก่อสร้าง 6. การรับซองและการเปิดซองประกวดราคา การยกเลิกการประกวดราคา 6.1 การเปิดซองประกวดราคา ถ้าไม่ใช่เป็นการผิดพลาดในเงื่อนไขหรือข้อสาระสำคัญที่แจ้งไว้ ในประกาศ แต่เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย เช่น ไม่ขีดฆ่าอากรแสตมป์ ให้พิจารณาผ่อนปรนได้ 6.2 ในการเปิดซองประกวดราคา นอกจากพิจารณาราคารวมสุดท้ายเป็นเกณฑ์ตัดสินแล้ว ให้ พิจารณาราคาต่อหน่วยของแต่ละรายการว่า ถูกต้องเหมาะสมตามความเป็นจริงหรือไม่ประกอบด้วย 6.3 กรณีมีการรวมหัวหัน (ฮั้ว) หรือมีหลักฐานให้เชื่อได้ว่า การประกวดราคากระทำโดยไม่สุจริต หรือมีเหตุอันสมควรยกเลิกเพื่อประกวดราคาใหม่ ก็ให้ยกเลิกการประกวดราคา โดยไม่ต้องเกรงว่า จะเกิดปัญหาเรื่องสิ้นเปลืองเวลา หรือจะทำงานไม่ทันปีงบประมาณ
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ มติ 7 เม.ย. 53 หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 78 ลว. 12 เม.ย. 53 สาระสำคัญ เป็นการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e – Government Procurement: e-GP) 1. ให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ลงประกาศจัดซื้อจัดจ้างสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และ e – Auction ที่เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (www.gprocurement.go.th) และ เว็บไซต์ของหน่วยงาน 2. ให้หน่วยงานต่างๆ ปฏิบัติงานในระบบ (e – Government Procurement) ระยะที่ 1 ตั้งแต่ 1 เม.ย. 53 โดยกรมบัญชีกลางจัดฝึกอบรม จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และจัดทำสื่อ การเรียนรู้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้อง ** กรมบัญชีกลางได้แจ้งเวียนหลักเกณฑ์ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0421.4/ว 120 ลว. 31 มี.ค. 53 **
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการให้สิทธิพิเศษแก่หน่วยงานต่างๆ ตามระเบียบฯ 35 ข้อ 26(2) มติ ครม. หนังสือ หน่วยงาน รายการ 27 ต.ค. 41 15 มิ.ย. 42 11 มิ.ย. 45 13 พ.ย. 51 ที่ นร 0205/ว 180 ลว. 29 ต.ค. 41 ที่ นร 0205/ว 89 ลว. 16 มิ.ย. 42 ที่ นร 0205/7217 ลว. 13 มิ.ย. 45 ที่ นร 0506/ว(ล)18333 ลว. 18 ธ.ค. 51 บมจ. ปตท. การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงฯ ตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป และ การจัดซื้อน้ำมันเตาของ กฟผ. 28 ก.ค. 53 ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 155 ลว. 16 ส.ค. 53 หน่วยงานสร้างอาวุธ กระทรวงกลาโหม การจำหน่ายหรือรับจ้างผลิตอาวุธ ให้ส่วนราชการของกระทรวงต่างๆ 28 ก.ค. 53 ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 155 ลว. 16 ส.ค. 53 โรงกลั่นน้ำมันฝาง กรมพลังงานทหาร การจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงกลาโหม 28 ก.ค. 53 ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 155 ลว. 16 ส.ค. 53 อผศ. 1. การจำหน่ายหรือรับจ้างทำผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ที่ผลิตขึ้นเอง ตามรายการที่ กระทรวงการคลังได้พิจารณาและ แจ้งเวียน 2. การรับจ้างบริการ รปภ. ฯลฯ
มติ ครม. เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างในมิติด้านการปรับลดกำลังคนภาครัฐ มติ 8 ก.พ. 37 และ 26 พ.ค. 41 หนังสือ ที่ นร 0201/ว 24 ลว. 8 ก.พ. 37 และ ด่วนที่สุด ที่ นร 0205/ว 96 ลว. 29 พ.ค. 41 สาระสำคัญ เป็นมาตรการปรับลดกำลังคนภาครัฐ ให้ส่วนราชการยุบตำแหน่งข้าราชการที่เกษียณ ตำแหน่งลูกจ้างประจำหมวดแรงงานที่ว่างลง และให้ทบทวนงานที่สามารถถ่ายโอนให้เอกชนรับไปดำเนินการแทน โดยให้ส่วนราชการเร่ง ดำเนินการจ้างเหมาบริการโดยเฉพาะในเรื่องการรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการ การทำความ สะอาดการดูแลรักษาต้นไม้หรือสวนไม้ประดับ พร้อมทั้งให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการศึกษาว่า มีงานประเภทใดที่ควรให้จ้างเหมาบริการ เพิ่มเติมอีก ในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ กระทรวงการคลังได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับวิธีการจ้าง เอกชนดำเนินงาน ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0526.5/ว 131 ลว. 28 ธ.ค. 41 หนังสือ ที่ กค 0409.6/ว 86 ลว. 17 ก.พ. 48 และ หนังสือ ด่วนมาก ที่ กค 0406.4/ว 67 ลว. 14 ก.ค. 53 โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
กรมบัญชีกลาง การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุแบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ The comptroller general’s Department ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4 ระยะที่ 5 การจัดซื้อ จัดจ้าง การกำหนดความต้องการและการของบประมาณ การบริหารสัญญา การเตรียมการ จัดซื้อจัดจ้าง การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ระยะที่ 1 การกำหนดความต้องการและการของบประมาณ • การกำหนดความต้องการมี 2 ประเภท คือ • ความต้องการในลักษณะนโยบาย เช่น การสร้างเขื่อน การสร้างถนน การสร้างอาคารสำนักงาน ฯลฯ • ความต้องการในลักษณะเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานปกติ เช่น การจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน การจ้างเหมาทำความสะอาด การจัดซื้อเพื่อทดแทนของเดิม ฯลฯ • การของบประมาณ • เมื่อหน่วยงานรวบรวมความต้องการได้ ทั้งในส่วนของนโยบาย และ • เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานปกติแล้ว ก็จะต้องของบประมาณประจำปี สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ระยะที่ 2 การเตรียมการจัดซื้อจัดจ้าง • ก่อน พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีมีผลบังคับใช้ส่วนราชการ ยังไม่ทราบยอดเงิน สามารถเตรียมการในเรื่องภายในหน่วยงาน ดังนี้ • จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างของทุกโครงการ/งานที่ได้รับงบประมาณ • จัดเตรียมประกาศจัดซื้อจัดจ้าง • กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specification) • กำหนดช่วงเวลาการส่งมอบพัสดุ • สำหรับงานจ้างก่อสร้าง ต้องกำหนด ราคากลางงานก่อสร้างด้วย สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ระยะที่ 3 การจัดซื้อจัดจ้าง • เมื่อส่วนราชการ ทราบยอดเงิน แล้ว ต้องดำเนินการ ดังนี้ • ปรับปรุงแผนการจัดซื้อจัดจ้าง • การประกาศจัดซื้อจัดจ้างตามแผน • การยื่นเสนอราคา • การพิจารณาผลการเสนอราคา • การทำสัญญา • *** ต้องปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการพัสดุในทุกขั้นตอน • หากละเว้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็อาจถือได้ว่าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบ *** สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ระเบียบพัสดุ 35 ข้อ 13 ทราบยอดเงิน ทำสัญญา รีบดำเนินการ ตามแผน ได้รับอนุมัติ ทางการเงิน แนววินิจฉัย กวพ. ว 429 ลว. 8 ธ.ค. 54 ทราบยอดเงิน คือ งบประมาณผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา (กรณีงบกลางผ่านสำนักงบประมาณ) 2. การเริ่มดำเนินการจัดหา คือ การดำเนินการในขั้นตอนที่ต้อง ผูกพันกับบุคคลภายนอก (การประกาศฯ)
ระยะที่ 4 การบริหารสัญญา • การบริหารสัญญา หมายถึง ผู้มีหน้าที่บริหารสัญญาซึ่งเป็นฝ่ายผู้ว่าจ้างต้องบริหารให้ผู้รับจ้างปฏิบัติตามสัญญา เช่น กรณีที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญา จะต้องดำเนินการดังนี้ • การแก้ไขสัญญา • การคำนวณค่าปรับ • การพิจารณางดหรือลดค่าปรับหรือขยายเวลาทำการ • การยกเลิกสัญญา เป็นต้น สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ระยะที่ 5 การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ • การควบคุม • การควบคุมวัสดุ • การลงบัญชีวัสดุ • การทำรายการรับ • การทำรายการเบิกจ่าย • การควบคุมครุภัณฑ์ • การลงทะเบียนคุมทรัพย์สิน สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ระยะที่ 5 การควบคุมและจำหน่ายพัสดุ (ต่อ) • การบำรุงรักษา • เพื่อให้พัสดุมีความคงทนและมีคุณภาพที่ดีตลอดอายุ การใช้งาน • การจำหน่าย • เพื่อลดภาระงบประมาณในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทำให้ดูแลบำรุงรักษาเฉพาะพัสดุที่สำคัญและจำเป็นต่อการปฏิบัติงานเท่านั้น สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
การ จัดทำเอง การ แลกเปลี่ยน การซื้อ การพัสดุ การจ้าง การเช่า การจ้าง ที่ปรึกษา การจ้าง ออกแบบ ควบคุมงาน
.....................ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ.....................ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดหาพัสดุ • โดยตำแหน่ง โดยแต่งตั้ง (ข้าราชการ,ลูกจ้าง,พนักงานราชการ,พนักงานมหาวิทยาลัย) • โดยตำแหน่ง • โดยแต่งตั้ง (ข้าราชการ) • อธิบดี (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการจังหวัด (ภูมิภาค) • หัวหน้าส่วนราชการ ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้า เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้า ส่วนราชการ ผู้มีอำนาจอนุมัติ สั่งซื้อสั่งจ้าง คณะกรรมการต่างๆ /ผู้ควบคุมงาน
การมอบอำนาจ (ข้อ 9) • หลักผู้มีอำนาจ มอบอำนาจได้ แต่ผู้ได้รับมอบอำนาจ จะมอบต่ออีกไม่ได้ • ข้อยกเว้น • 1.เจ้าของอำนาจมอบให้ผู้ว่าฯ ผู้ว่าฯ มอบต่อได้ เฉพาะ • (1) มอบให้ รองผู้ว่าฯ หรือผู้ช่วยผู้ว่าฯ /ปลัดจังหวัด /หัวหน้า ส่วนราชการประจำจังหวัด โดยให้รายงานเจ้าของอำนาจทราบด้วย • (2) หากผู้ว่าฯ มอบต่อให้ผู้อื่น ให้ขอความเห็นชอบเจ้าของอำนาจ • 2. การมอบอำนาจ/การมอบอำนาจต่อ ตามระเบียบกระทรวงกลาโหม
คณะกรรมการตามระเบียบพัสดุฯ 35 คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการตรวจการจ้าง+ ผู้ควบคุมงาน
องค์ประกอบของคณะกรรมการองค์ประกอบของคณะกรรมการ • - ประธาน 1 คน • - กรรมการ อย่างน้อย 2 คน • - แต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ • โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และ • ความรับผิดชอบเป็นสำคัญ • - กรณีจำเป็น แต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกิน 2 คน ร่วมเป็นกรรมการ • ** การแต่งตั้งคณะกรรมการจะต้องแต่งตั้งเป็นครั้งๆ ไป** • (ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ)
ข้อห้าม • แต่งตั้งกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา เป็น กรรมการพิจารณาผล • การประกวดราคา • แต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือ พิจารณาผล • การประกวดราคา เป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ
องค์ประกอบของคณะกรรมการต้องเป็นข้าราชการเท่านั้นหรือไม่องค์ประกอบของคณะกรรมการต้องเป็นข้าราชการเท่านั้นหรือไม่ หลักการ ประธาน / กรรมการ ต้องเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ ผู้ตรวจรับ ข้าราชการ / ลูกจ้างประจำ กรณีซื้อ / จ้าง ไม่เกิน 10,000 บาท กวพ. ยกเว้น ตามหนังสือ กค (กวพ) 0408.4/ว 155 ลว. 1 พ.ค. 50 ดังนี้ กรณีมหาวิทยาลัย ให้พนักงานมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการ หรือผู้ตรวจรับพัสดุ/งานจ้างได้ กรณีส่วนราชการอื่น ให้พนักงานราชการเป็นผู้ตรวจรับ พัสดุ/งานจ้างได้