870 likes | 1.03k Views
AGM Assessment Project. หลักสูตร การเตรียมความพร้อมสำหรับบริษัทจดทะเบียน กนกพร โตมรกุล ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงาน ก.ล.ต. 24 พฤศจิกายน 2551. หัวข้อการบรรยาย. ข้อมูลทั่วไปและโครงการ AGM ปี 2551 หลักเกณฑ์การประเมิน AGM แนวปฏิบัติตาม AGM Checklist ข้อเสนอแนะ FAQ.
E N D
AGM Assessment Project หลักสูตรการเตรียมความพร้อมสำหรับบริษัทจดทะเบียน กนกพร โตมรกุล ฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงาน ก.ล.ต.24 พฤศจิกายน 2551
หัวข้อการบรรยาย • ข้อมูลทั่วไปและโครงการ AGM ปี 2551 • หลักเกณฑ์การประเมิน AGM • แนวปฏิบัติตาม AGM Checklist • ข้อเสนอแนะ • FAQ
ข้อมูลทั่วไปและโครงการ AGM ปี 2551
ข้อมูลทั่วไปของโครงการ AGM • ความเป็นมา • 2548: CG-ROSC เสนอแนะให้ไทยปรับปรุงเรื่องสิทธิของผู้ถือหุ้น • 2549: ก.ล.ต.+สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (“LCA”) +สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (“TIA”) ริเริ่มโครงการประเมิน AGM • วัตถุประสงค์ของโครงการ: ส่งเสริมให้ บจ. ให้ความสำคัญกับการจัด AGM ที่มีคุณภาพ
โครงการ AGM ปี 2552 การดำเนินการ • TIA ส่งอาสาพิทักษ์สิทธิ์เข้าประชุม AGM ของ บจ. ทุกแห่ง + ประเมินผลตามแบบ AGM Checklist • บจ. ประเมินผล AGM ด้วยตนเองตามโปรแกรม AGM self assessment ผ่านระบบ online บนเว็บไซต์ของ TIA + ส่งแบบประเมินพร้อมผลประเมินให้ TIA ภายใน 3 สัปดาห์หลังจากประชุม • TIA สอบทานผลประเมินของ TIA และ บจ. + สรุปผล • ส่งผลการประเมินให้ บจ. ทราบ • ออกข่าว + เผยแพร่ผลประเมินในภาพรวมทาง website
โครงการ AGM ปี 2552 (ต่อ) ข้อแตกต่างจากโครงการ AGM ปี 2551 • TIA เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ AGM ปี 2552 ทั้งโครงการ • ปรับปรุงโปรแกรม AGM self assessment ให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น
ใครเกี่ยวข้องกับการประเมิน AGM บ้าง บริษัทจดทะเบียนListed Companies ผู้ถือหุ้นShareholders ก.ล.ต.Regulators AGM Assessment Project สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยThai Investors Association สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยThai Listed Companies Association ส่งอาสาพิทักษ์สิทธิเข้าร่วมประชุมและประเมินตาม AGM Checklist
โครงการ AGM ปี 2552 (ต่อ) • บจ. ที่ปิดรอบบัญชี 31 ธ.ค. 2551 + บจ. ที่ปิดรอบบัญชีระหว่างปี 2551 • บจ. ที่ยังมีสถานะเป็น บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอบเขตการประเมิน กลุ่มที่ไม่รวมในการประเมิน • บจ. ที่เข้าจดทะเบียนระหว่างปี 2552 • บจ. ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการภายใต้กฎหมายล้มละลาย • บจ. ที่อยู่ในกลุ่ม NPG (Non-Performing Group) * * บจ. ที่เข้าข่ายเพิกถอนตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ที่ยังมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนที่จะย้ายกลับหมวดปกติ
โครงการ AGM ปี 2552 (ต่อ) • บจ. ในกลุ่ม SET100 ทุกบริษัทได้ผลประเมิน ≥ 80 คะแนนขึ้นไป • ผลประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในส่วน A ในหนังสือนัดประชุมได้คะแนนเฉลี่ย ≥70 % เป้าหมาย
ช่วงก่อนวันประชุม AGM ควรให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลที่เพียงพอและภายในเวลาที่เหมาะสม รวมทั้ง อำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิออกเสียงแก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถ เข้าร่วมประชุมด้วยตนเองได้
วิเคราะห์ผลประเมิน Part A : ก่อนวันประชุม การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเสนอเพิ่มวาระและเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการ การเผยแพร่เอกสารการประชุมบนเว็บไซต์บริษัท (สาระครบถ้วน,ไทย+อังกฤษ, 30 วัน) การเปิดเผยข้อมูลประกอบในแต่ละวาระ การจัดส่งเอกสารประกอบ
วันประชุม AGM ควรดำเนินการประชุมอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ตามข้อกำหนดขั้นต่ำ ตามกฎหมาย พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัดและแนวปฏิบัติที่ดีในระดับสากล
วิเคราะห์ผลประเมิน Part B : วันประชุม กรรมการและผู้บริหารบริษัททุกคนควรเข้าประชุม บริษัทจัดให้ผู้ถือหุ้นได้ลงคะแนนเสียงอย่างโปร่งใสและให้สิทธิออกเสียงในเรื่องสำคัญๆ แยกออกจากกัน บริษัทควรประกาศแจ้งข้อมูลที่สำคัญให้ผู้ถือหุ้นทราบตั้งแต่เริ่มต้นการประชุม บริษัทควรมีความโปร่งใสในการตรวจสอบการนับคะแนนเสียง บริษัทควรกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการจัดประชุมโดยคำนึงถึงความสะดวกของผู้ถือหุ้นที่จะเข้าประชุม ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัทและวาระที่กำหนดไว้ บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในระหว่างการประชุม
ช่วงหลังวันประชุม AGM รายงานการประชุมควรมีสาระสำคัญครบถ้วน และเผยแพร่ให้ตรวจสอบได้
วิเคราะห์ผลประเมิน Part C : หลังวันประชุม เผยแพร่รายงานการประชุมบนเว็บไซต์ของบริษัท ภายใน 14 วัน แจ้งมติที่ประชุม + ผลคะแนนเสียงต่อ ตลท. ส่งรายงานการประชุมต่อ ตลท.ภายใน 14 วัน รายชื่อกรรมการ/ ผู้บริหารที่เข้าร่วมประชุม ประเด็นอภิปรายที่สำคัญและการชี้แจงโดยสรุป ผลคะแนนเสียง
คะแนนพิเศษ (Bonus Points) เป็นแนวปฏิบัติตามหลักการ CG ที่ดี
วิเคราะห์ผลประเมิน Part D : คะแนนโบนัส การลงคะแนนเสียงแบบ cumulative voting ในวาระเลือกตั้งกรรมการ จัดให้มี inspector เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้การประชุมเป็นไปอย่างโปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมาย แจกและเก็บบัตรลงคะแนนจากผู้ถือหุ้นทุกราย ในวาระเลือกตั้งกรรมการ ใช้ระบบ barcode หรือระบบที่ช่วยในการลงทะเบียน และ/หรือ นับคะแนนเสียงเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม มีการบันทึกภาพการประชุม และพร้อมให้บริการเผยแพร่แก่ผู้ถือหุ้นที่สนใจ
ส่วน A ช่วงก่อนวันประชุม AGM 1. การจัดส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. การเปิดเผยข้อมูลในหนังสือนัดประชุม • วาระเลือกตั้งกรรมการ • วาระค่าตอบแทนกรรมการ • วาระแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี • วาระการจ่ายเงินปันผล 3. การเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัท 4. การให้สิทธิผู้ถือหุ้นเพิ่มวาระก่อนการประชุม ข้อมูลในวาระ AGM บางส่วน อาจอ้างอิงกับข้อมูลในรายงานประจำปีก็ได้ แต่ต้องระบุเลขที่หน้าของรายงานประจำปีไว้ด้วย
เอกสารที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง ? แผนที่ รายละเอียดวาระการประชุม รายงานประจำปี แบบหนังสือมอบฉันทะแบบ ข. (Proxy Form B.) ข้อมูลกรรมการอิสระที่กำหนดให้เป็นผู้รับมอบฉันทะ คำอธิบายการแสดงหลักฐานก่อนเข้าประชุม ข้อบังคับบริษัท (ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประชุม) 1. การจัดส่งหนังสือนัดประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
แบบหนังสือมอบฉันทะ ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2550ได้กำหนดไว้สามแบบ คือ(1) แบบ ก. เป็นแบบหนังสือมอบฉันทะแบบทั่วไป ซึ่งเป็น แบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน (2) แบบ ข. เป็นแบบหนังสือมอบฉันทะที่กำหนดรายการต่างๆ ที่จะมอบฉันทะที่ละเอียด ชัดเจนตายตัว (3) แบบ ค. เป็นแบบที่ใช้เฉพาะกรณีผู้ถือหุ้นเป็นผู้ลงทุนต่างประเทศ และแต่งตั้งให้คัสโตเดียน (Custodian) ในประเทศไทย เป็นผู้รับฝากและดูแลหุ้นตามแนว AGM Checklist บจ. ที่ส่งแบบ ข เท่านั้น ก็ได้คะแนนแล้ว
ตัวอย่าง ข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการอิสระที่เป็นผู้รับมอบฉันทะ บริษัทควรเสนอข้อมูลของกรรมการอิสระที่กำหนดให้เป็น ผู้รับมอบฉันทะเพื่อให้ผู้ถือหุ้นพิจารณา ชื่อ – นามสกุล :นายหนึ่ง มีมั่งคั่ง อายุ :40 ปี ที่อยู่ :(สามารถระบุที่อยู่ของบริษัทแทนก็ได้) ส่วนได้เสียในวาระที่เสนอในการประชุม AGM ครั้งนี้ :ไม่มี หรืออาจระบุว่ากรรมการมีส่วนได้เสียในวาระค่าตอบแทนกรรมการ บริษัทควรระบุข้อมูลเกี่ยวกับกรรมการอิสระที่กำหนดให้เป็นผู้รับมอบฉันทะไว้แยกต่างหากจาก ข้อมูลกรรมการอิสระที่ได้รับการเสนอชื่อในวาระแต่งตั้งกรรมการ โดยอาจระบุไว้ในส่วนท้าย ของหนังสือนัดประชุม หรือระบุไว้ในเอกสารคำชี้แจงวิธีการมอบฉันทะ
ข้อควรรู้ – การมีส่วนได้เสียในวาระที่เสนอในการประชุม AGM ครั้งนี้ • ในวาระเลือกตั้งกรรมการ ถือว่ากรรมการมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษหรือไม่? ตอบพ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด มาตรา 33 วรรค 2 และมาตรา 102ไม่ถือว่ากรรมการมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ • ในวาระค่าตอบแทนกรรมการ ถือว่ากรรมการมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษหรือไม่? ตอบพ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด มิได้ระบุชัดเจน อย่างไรก็ดี กระทรวง พาณิชย์ให้ความเห็นว่ากรณีดังกล่าว ถือว่ามีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ โดยทั่วไป กรรมการ (ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วย) ที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษจะไม่มีสิทธิออกเสียงในวาระนั้นๆ ในการประชุม แต่หากกรรมการท่านนั้นเป็นผู้รับมอบฉันทะก็สามารถออกเสียงแทนผู้มอบฉันทะได้ (กรณีหนังสือมอบฉันทะแบบ ก.)
กรณีทั่วไป ชื่อ - นามสกุล ประวัติ (อายุ การศึกษา การอบรม ประสบการณ์ทำงาน) - ระบุให้ครบ ประเภทกรรมการที่จะเสนอแต่งตั้ง - ระบุว่ากรรมการ หรือกรรมการอิสระ หลักเกณฑ์/วิธีการสรรหา การถือหุ้นในบริษัท การดำรงตำแหน่งในกิจการอื่น กรณีเสนอแต่งตั้งกรรมการรายเดิม(A2.1.2) จำนวนวาระ/จำนวนปีที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัท จำนวนครั้ง/สัดส่วนการเข้าประชุมในรอบปีที่ผ่านมา กรณีเสนอแต่งตั้งกรรมการอิสระ(A2.1.4) นิยามกรรมการอิสระที่บริษัทกำหนดขึ้น ระบุว่านิยามกรรมการอิสระที่บริษัทกำหนดขึ้นเท่ากับหรือเข้มกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำของ ก.ล.ต. ระบุการมี/ไม่มีส่วนได้เสียของกรรมการอิสระ 2. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม - วาระเลือกตั้งกรรมการ หากบริษัทไม่ระบุรายชื่อกรรมการที่ได้รับการเสนอชื่อ จะไม่ได้คะแนนในข้อ A2.1.2 และ A2.1.4 ด้วย
ตัวอย่าง - วาระเลือกตั้งกรรมการ ชื่อ :นายหนึ่ง มีมั่งคั่ง อายุ : 40 ปี สัญชาติ :ไทย การศึกษา :ปริญญาโท MBA การอบรมหลักสูตรกรรมการ :หลักสูตร DCP 39/2004 จาก IODประสบการณ์การทำงาน : 2547 - ปัจจุบัน กรรมการอิสระ และ บมจ. เอบีซี ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 2545 - 2546 กรรมการ บมจ. หนึ่งสองสาม 2544 - 2545 CFO บมจ. สี่ห้าหก ประเภทกรรมการที่จะเสนอแต่งตั้ง : กรรมการอิสระ ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการสรรหาแล้วการถือหุ้นในบริษัท : ไม่มี การเป็นกรรมการในบริษัทอื่น : ไม่มีจำนวนปีที่เป็นกรรมการ : 3 ปี การเข้าประชุม :คณะกรรมการบริษัท 15/15ครั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ 4/4 ครั้ง - หรืออาจระบุว่ายังไม่เข้า รับการอบรมฯ
ตัวอย่าง – วาระเลือกตั้งกรรมการ (ต่อ) หลักเกณฑ์การสรรหากรรมการ :บริษัทได้พิจารณาตามความเห็นชอบของคณะกรรมการสรรหา แล้วเห็นว่า นาย...มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนฯ และมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท สามารถที่จะช่วย พัฒนาบริษัทได้ จึงเห็นสมควรเลือกตั้งเป็นกรรมการของบริษัท กระบวนการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทไม่ได้ผ่านคณะกรรมการสรรหา เนื่องจากปัจจุบันบริษัท ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทได้ร่วมกันพิจารณาคุณสมบัติในด้านต่างๆ โดยดูถึงความเหมาะสมด้านคุณวุฒิ ประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายวิชาชีพ รวมถึงผลการปฏิบัติงาน ในฐานะกรรมการบริษัทในช่วงที่ผ่านมาแล้ว เห็นว่า นาย......... มีคุณสมบัติเหมาะสม สมควรเลือกตั้งเป็นกรรมการของบริษัท หรือ (กรณีไม่มีคณะกรรมการสรรหา) • บริษัทอาจระบุข้อมูลนี้ไว้ในรายละเอียดวาระ หรือเอกสารประกอบวาระก็ได้
ตัวอย่าง – วาระเลือกตั้งกรรมการ (ต่อ) แบบที่หนึ่ง การดำรงตำแหน่งกรรมการ/ ผู้บริหารในกิจการอื่น :การดำรงตำแหน่งกรรมการ/ ผู้บริหารในกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนอื่น : 2 แห่ง 1. ประธานกรรมการ บมจ. ........................ 2. กรรมการ บมจ. ....................................... การดำรงตำแหน่งกรรมการ/ ผู้บริหารในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน : 3 แห่งการดำรงตำแหน่งกรรมการ/ ผู้บริหารในกิจการอื่นที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท : กรรมการ บริษัทอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ จำกัด ผู้ผลิตวัตถุดิบด้านขวดแก้วให้กับบริษัท .......(บจ. ที่จัดประชุม).... การดำรงตำแหน่งกรรมการ/ ผู้บริหารในกิจการที่เป็นบริษัทจดทะเบียนอื่น : ไม่มีการดำรงตำแหน่งกรรมการ/ ผู้บริหารในกิจการที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน : ไม่มีการดำรงตำแหน่งกรรมการ/ ผู้บริหารในกิจการอื่นที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อบริษัท : ไม่มี หรือ (กรณีไม่มีการดำรงตำแหน่งในกิจการอื่น)
ตัวอย่าง - วาระเลือกตั้งกรรมการ (การดำรงตำแหน่ง ในกิจการอื่น) แบบที่สอง
กรรมการบริษัท กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ตัวอย่าง - ในส่วน A • กรณีที่กรรมการรายเดิมครบวาระ (และเป็นกรรมการอิสระ) ได้รับการเสนอชื่อให้ต่อวาระนั้น ต้องถือว่าเป็นวาระแต่งตั้งกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระด้วย (ข้อ A2.1.4) และควรเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับวาระนี้ เช่น นิยามกรรมการอิสระ ระบุการมี/ไม่มีส่วนได้เสียในลักษณะต่างๆ กับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในปัจจุบัน หรือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ตัวอย่าง - วาระเลือกตั้งกรรมการ(การมีส่วนได้เสียของกรรมการอิสระ)
2. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม - วาระค่าตอบแทนกรรมการ • หลักเกณฑ์และขั้นตอนการเสนอค่าตอบแทน • ค่าตอบแทนของกรรมการ - องค์ประกอบของค่าตอบแทน - ค่าตอบแทนของกรรมการที่จะขออนุมัติในครั้งนี้ โดยแยกเป็นค่าตอบแทนของกรรมการและค่าตอบแทนของกรรมการชุดย่อยต่าง ๆ(เช่น คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นต้น) • ข้อมูลเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนในปีที่ผ่านมา
ตัวอย่าง - วาระค่าตอบแทนกรรมการ หลักเกณฑ์และขั้นตอนการเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท (1) คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัทได้พิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ ได้กลั่นกรองและพิจารณาอย่างละเอียดถึงความเหมาะสมประการต่าง ๆ แล้ว โดยเปรียบเทียบอ้างอิงจากอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน รวมถึงพิจารณาจากการขยายตัวทางธุรกิจและการเติบโตทางผลกำไรของบริษัทแล้วเห็นสมควรกำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทตามอัตราที่ปรากฏในตาราง
ตัวอย่าง – วาระค่าตอบแทนกรรมการ (ต่อ) หลักเกณฑ์และขั้นตอนการเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท (2) การกำหนดค่าตอบแทนของบริษัทไม่ได้ผ่านคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนของบริษัท เนื่องจากปัจจุบันบริษัทยังไม่มีคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน อย่างไรก็ตาม การกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการได้ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โดยเปรียบเทียบอ้างอิงจากอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน รวมถึงพิจารณาจากการขยายตัวทางธุรกิจและการเติบโตทางผลกำไรของบริษัทแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทตามอัตราที่ปรากฏในตาราง
ตัวอย่าง – วาระค่าตอบแทนกรรมการ (ต่อ) ค่าตอบแทนกรรมการ
ตัวอย่าง – วาระค่าตอบแทนกรรมการ (ต่อ) ค่าตอบแทนกรรมการชุดย่อย
ตัวอย่าง – วาระค่าตอบแทนกรรมการ (ต่อ) สำหรับกรณีที่บริษัทไม่มีวาระพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการ กรณีที่บริษัทไม่ได้ให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการเป็นรายปี แต่อนุมัติเป็นช่วงเวลา เช่น ปี 2550-2552 เท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน การดำเนินการ: บริษัทควรเสนอเป็นวาระเพื่อทราบ โดยเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับค่าตอบแทนกรรมการที่ได้อนุมัติไว้ด้วย (อาจอ้างอิงข้อมูล จากรายงานประจำปีก็ได้) บริษัทจะไม่ได้คะแนนในวาระนี้ หากไม่กำหนดเป็นวาระเพื่อทราบ
2. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม – วาระแต่งตั้งและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี • ชื่อผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี • มีการเสนอรายชื่อผู้สอบบัญชีไว้อย่างน้อย 2 คน • ความสัมพันธ์หรือส่วนได้เสียที่อาจทำให้ขาดความเป็นอิสระ • จำนวนปีของการเป็นผู้สอบบัญชี/สาเหตุที่เปลี่ยนผู้สอบบัญชี • ผู้สอบบัญชีของบริษัทย่อย/บริษัทร่วมสังกัดสำนักงานเดียวกับผู้สอบบัญชีของบริษัทหรือไม่ • ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีที่จะขออนุมัติในครั้งนี้ และข้อมูลการเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนฯ ในปีที่ผ่านมาโดยแยกเป็นค่าสอบบัญชี (audit fee) และค่าบริการอื่น (non-audit fee) • ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ (audit committee)
ตัวอย่าง - การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี โดยการเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญพิจารณาอนุมัติให้แต่งตั้ง 1. นายแม่นยำ ชำนาญเลข (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 000000เป็นผู้ลงลายมือชื่อในงบการเงินของบริษัทฯ มาแล้วเป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2548 โดยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้สอบบัญชีได้เป็นอย่างดีตลอดมา) และ/หรือ 2. นางคำนวณ ถ้วนถี่ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 999999) แห่งบริษัท เอบีซี การบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำปี 2551 โดยทั้งสองท่านไม่มีความสัมพันธ์หรือส่วนได้เสียกับบริษัท/บริษัทย่อย/ผู้บริหาร/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวแต่อย่างใด จึงมีความเป็นอิสระในการตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัทฯ
ตัวอย่าง - กรณีเปลี่ยนผู้สอบบัญชี ตัวอย่างการระบุสาเหตุของการเสนอให้เปลี่ยนผู้สอบบัญชี ตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. ในเรื่องการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีทุกรอบระยะเวลาบัญชี 5 ปี ซึ่งนาย....ผู้สอบบัญชีจากบริษัท....เป็นผู้สอบบัญชีที่ลงลายมือชื่อในงบการเงินของบริษัท มาตั้งแต่ปี 2547-2551 รวม 5 ปี จึงครบวาระที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี
ตัวอย่าง - การกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี คณะกรรมการบริษัท โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบ เห็นควรเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติค่าสอบบัญชี ประจำปี 2552เป็นเงินจำนวน 2,000,000 บาทซึ่งเท่ากับค่าตอบแทนในปี 2550 และ 2551 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ปัจจุบันนายแม่นยำฯ เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่งของบริษัทฯ คือ บริษัท A จำกัด และบริษัท B จำกัด ซึ่งมีค่าสอบบัญชี รวม 2 บริษัท จำนวน 500,000 บาท สำหรับค่าบริการอื่น(non-audit fee) บริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีการรับบริการอื่นจากสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ค่าบริการอื่น: - ค่าวางระบบบัญชี ค่าวางระบบการควบคุมภายใน ค่าที่ปรึกษาด้านภาษี เป็นต้น
2. ข้อมูลในหนังสือนัดประชุม - วาระการจ่ายเงินปันผล • นโยบายการจ่ายเงินปันผล • อัตราเงินปันผลที่เสนอจ่ายเทียบกับกำไรสุทธิ • ข้อมูลเปรียบเทียบกับอัตราการจ่ายเงินปันผลในปีที่ผ่านมา • เหตุผลที่บริษัทมีอัตราการจ่ายเงินปันผลไม่เป็นไปตามนโยบาย การจ่ายเงินปันผล หรือเหตุผลที่บริษัทไม่จ่ายเงินปันผล (สำหรับ บริษัทที่ไม่จ่ายเงินปันผล)
ตัวอย่าง - วาระการจ่ายเงินปันผล กรณีไม่จ่ายเงินปันผล- ระบุเหตุผล ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท กำหนดให้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิแต่เนื่องจากผลการดำเนินงานในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทมีผลประกอบการขาดทุน คณะกรรมการบริษัทจึงพิจารณาเห็นสมควรงดจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานในรอบปี 2551
ตัวอย่าง - วาระการจ่ายเงินปันผล (ต่อ) กรณีบริษัทจ่ายเงินปันผลไม่เป็นไปตามนโยบายการจ่ายเงินปันผล ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท กำหนดให้จ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิแต่เนื่องจากการประชุมวิสามัญประจำปี เมื่อ..............มีมติอนุมัติให้บริษัทลงทุนสร้างโรงงานใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิต บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องการกันเงินสำรองเพื่อขยายธุรกิจดังกล่าว ดังนั้น คณะกรรมการจึงพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินปันผลในรอบปี 2551 ในสัดส่วนร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ ในขณะที่การจ่ายเงินปันผลในรอบปีที่ผ่านมา เท่ากับสัดส่วนร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ซึ่งปีนี้เสนอจ่ายเงินปันผลในอัตราที่ลดลงจากปีก่อนเท่ากับ 40% ((20/50)*100 ))
ตัวอย่าง - วาระจ่ายเงินปันผล (ต่อ) ข้อมูลการเปรียบเทียบกับอัตราการจ่ายเงินปันผลในปีที่ผ่านมา
3. การเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัท 1. เผยแพร่เอกสารการประชุมบน website ของบริษัทล่วงหน้า ก่อนวันประชุมอย่างน้อย 30 วัน ยกเว้นรายงานประจำปีเผยแพร่ ล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน 2. เผยแพร่ข้อมูลบน website ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ3. แจ้งการเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัทผ่านข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ • บริษัทควรระบุชื่อหัวข้อข่าวที่ชัดเจน • บริษัทควรระบุวันที่เผยแพร่เอกสารบน website ของบริษัท • เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้
3. การเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัท - ประเภทข้อมูล • แผนที่ของสถานที่จัดประชุม • รายละเอียดวาระการประชุม • รายงานประจำปี • แบบหนังสือมอบฉันทะ (Proxy form) • ข้อมูลกรรมการอิสระที่สามารถเป็นผู้รับมอบฉันทะ • คำอธิบายการแสดงหลักฐานก่อนเข้าประชุม • ข้อบังคับบริษัท (ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประชุม)
4. การให้สิทธิผู้ถือหุ้นเพิ่มวาระก่อนการประชุม • กำหนดหลักเกณฑ์/วิธีการเสนอเพิ่มวาระของผู้ถือหุ้น • เผยแพร่หลักเกณฑ์ดังกล่าวบน website บริษัท • แจ้งการเผยแพร่ข้อมูลบน website บริษัทผ่านข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ - บริษัทควรระบุชื่อหัวข้อข่าวที่ชัดเจน เช่น “การให้สิทธิผู้ถือหุ้นเสนอวาระและเสนอชื่อบุคคล” “การกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเพิ่มวาระและเสนอชื่อบุคคลล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น” เป็นต้น