510 likes | 721 Views
CHARPTER 10. การพัฒนาระบบสารสนเทศ Development Information System. สาระการเรียนรู้. บอกความแตกต่างของคำว่าข้อมูลและสารสนเทศ ทราบความหมายของคำว่าระบบสารสนเทศและแนวทางการใช้ สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ เข้าใจแนวทางการวิเคราะห์ระบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศ
E N D
CHARPTER 10 การพัฒนาระบบสารสนเทศ Development Information System
สาระการเรียนรู้ • บอกความแตกต่างของคำว่าข้อมูลและสารสนเทศ • ทราบความหมายของคำว่าระบบสารสนเทศและแนวทางการใช้ สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ • เข้าใจแนวทางการวิเคราะห์ระบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศ • อธิบายขั้นตอนต่าง ๆ ในวงจรการพัฒนาระบบได้ • เห็นความสำคัญของการจัดจัดทำโปรโตไทป์ • สามารถนำเทคนิคหรือแนวทางในการติดตั้งระบบไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างเหมาะสม
ระบบสาสนเทศ (Information System) ระบบ (System) คือชุดขององค์ประกอบหลาย ๆ ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีปฏิสัมพันธ์ ต่อกันเพื่อทำงานให้บรรลุจุดประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกัน ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามา ประยุกค์ใช้กับการจัดการข้อมูลในองค์การดังนั้นระบบสารสนเทศจึงมีส่วนประกอบหลาย ส่วนด้วยกัน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นจำเป็นต้องปฏิสัมพันธ์
เพื่อให้เกิดระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์โดยระบบสารสนเทศประกอบด้วยส่วน เพื่อให้เกิดระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์โดยระบบสารสนเทศประกอบด้วยส่วน ต่าง ๆ 5 ส่วน ดังนี้ • ฮาร์แวร์ (Hard ware) • ซอฟต์แวร์ (Soft ware) • ข้อมูล (Data) • บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware) • กระบวนการทำงาน (Procedures)
Software Hardware DATA Procedure Peopleware
กระบวนการของระบบสาสนเทศกระบวนการของระบบสาสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information System) ระบบที่มีการนำองค์ประกอบต่าง ๆ ของ เทคโนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ แล้วผ่านกระบวนการ ประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นสารสนเทศที่สามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจของบุคลากร ในองค์กรได้ FEED BACK DATA PROCESSING INFORMATION
ลักษณะการทำงานอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ส่วนนำเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Processing) , ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output) Input ของระบบสารสนเทศ คือ ซึ่งเกิดจากการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่าง เพื่อนำไปทำการประมวลผล Processing ของระบบสารสนเทศ คือ การเปลี่ยนแปลง หรือแปรสภาพข้อมูลที่นำเข้า สู่ระบบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สารสนเทศที่ต้องการ Output ของระบบสารสนเทศ คือ สารสนเทศซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ข้อมูลในรูปแบบของรายงาน (Report) หรือเป็นแบบฟอร์ม ต่าง ๆ Feedback ของระบบสารสนเทศคือ ข้อมูลป้อนกลับที่ทำให้เกิดกาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การนำเข้าข้อมูลหรือประมวลผลข้อมูล
ลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กรลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กร • ฝ่ายบัญชี • ฝ่ายการตลาด • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล • ฝ่ายการผลิต • ฝ่ายวิจัย Page 322
การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ผู้บริหารระดับต่าง ๆ จะมีการนำสารสนเทศไปใช้งานแตกต่างกัน โดยระดับการ ผู้บริหารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน 1. ผู้บริหารระดับสูง 2. ผู้บริหารระดับกลาง 3. ผู้บริหารระดับล่าง
ระดับการบริหารจัดการ • ระดับการบริหารจัดการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ • ผู้บริหารระดับสูง รับผิดชอบการวางแผนระยะยาว (แผนกลยุทธ์) • ผู้บริหารระดับกลาง รับผิดชอบการวางแผนยุทธวิธี • หัวหน้างาน รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานประจำวัน Page 324
ผู้บริหารระบบสูง เป็นระดับวางแผนระยะยาว ควบคุมนโยบายรวมทั้งการวางกลยุทธ์เพื่อไปสู่เป้าหมาย แหล่งทรัพยากรหรือสารสนเทศภายในส่วนใหญ่เป็นผลสรุปเพื่อสามารถนำไปใช้ในการ ประกอบการตัดสินใจ ผู้บริหารระบบกลาง เป็นระดับวางแผนระยะสั้น ด้วยการสั่งการให้เกิดข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสำเร็จตาม เป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งผู้บริหารระดับกลางมักข้องเกี่ยวกับงานด้านงบประมาณ ด้านเวลา และด้านการประเมินผลการทำงาน โดยใช้สารสนเทศทั้งจากแหล่งภายในองค์กรและนอก องค์การ แต่จะใช้สารสนเทศกับแหล่งภายในมากกว่า
ผู้บริหารระบบล่าง เป็นระดับปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือการทำงานของผู้บริหารระดับกลางและ ผู้บริหารระดับสูงสารสนเทศที่ใช้งานของผู้บริหารระดับล่างนั้น มักเป็นเรื่องของภายใน เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน Page 327
ชนิดของระบบสาสนเทศ (Type of Information System) • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Information System/Office Automation System: OIA/OAS ) • ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing System : TPS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) • ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS) • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Information System/Office Automation System: OIA/OAS ) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หรือเรียกชื่อย่อว่า OIS หรือ OAS เป็นระบบที่เพิ่มประสิทธิภาพในการ จัดการสำนักงานและการสื่อสาร • Microsoft Office • โปรแกรมออกแบบกราฟิก (Graphic) = Photoshop • จอหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) = Outlook Express • เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) = Internet Explorer • โปรแกรมด้านการสื่อสารและกรุ๊ปแวร์ (Groupware) • ฯลฯ
ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing System : TPS) ระบบประมวลผลรายการประจำวัน เป็นการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจประจำที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินงานประจำวันที่ต้องทำในธุรกิจ เช่น การบันทึกยอดขายแต่ละวัน, การบันทึกการสั่งสินค้าในแต่ละวัน, รายการฝากถอนเงินตู้ ATM • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือ MIS ซึ่งโดยปกติจะเป็นแหล่งรวมของระบบประมวลผลราการ ประจำวันหรือ TPS ด้วยการนำไปประมวลผลเช่น เมื่อมีการซื้อสินค้า ระบบ TPS ก็จะมีการจัดเก็บรายการ สินค้าต่าง ๆ มีการ อัปเดต รายการบัญชี ดังนั้นระบบ MIS ก็จะสามารถทำการสร้าง รายงานการขายสินค้า ประจำวัน,สัปดาห์,เดือนเป็น มีการสร้างกราฟเพื่อช่วยวิเคราะห์
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบสารสนเทศของผู้บริหารด้วยการจัดทำรายงาน เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหารระดับต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เพื่อช่วยตัดสินใจ และแก้ปัญหา รวมทั้งใช้วางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ • ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS) เป็นระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูงในระดับกลยุทธ์และนโยบาย ที่ทำให้ผู้บริหารสามารถค้นคืน สารสนเทศทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกมาพิจารณา รวมถึงความสามารถในการอธิบายเหตุผลว่าทำไม เหตุการณ์นี้จึงเกิดขึ้นได้
แบบจำลองการตัดสินใจ • แบบจำลองกลยุทธ์ • แบบจำลองยุทธวิธี • แบบจำลองการปฏิบัติงาน Page 330
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่เป็นแหล่งรวมของความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งสามารถนำเหตุการณ์ต่าง ๆ มาทำการประมวลผลเป็นภาพรวมและให้คำตอบแก่ผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกับระบบ DSS ที่นำเสนอเพียงแนวทาง หรือทางเลือกและให้ผู้ใช้ตัดสินใจได้เอง
ลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กรลักษณะงานตามหน้าที่ภายในองค์กร • ฝ่ายบัญชี • ฝ่ายการตลาด • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล • ฝ่ายการผลิต • ฝ่ายวิจัย Page 322
ระบบธุรกิจ(Business System) เนื่องจากคำว่า “ระบบ” หมายถึงองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อ แสดงจุดประสงค์เดียวกัน ดังนั้นระบบธุรกิจก็จะประกอบด้วย ระบบย่อยพื้นฐานต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกัน เช่น ระบบการผลิต, ระบบการตลาด, ระบบบัญชี, ระบบสินค้าคงคลัง, ระบบบริหารงานบุคคล ซึ่งก็อาจมีระบบย่อยอื่น ๆ อีกได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ เป็นสำคัญ
ระบบการผลิต ระบบการตลาด ระบบบัญชี ระบบสินค้า คงคลัง ระบบบริหาร งานบุคคล ระบบธุรกิจ
การวิเคราะห์ระบบ(SystemAnalysis)การวิเคราะห์ระบบ(SystemAnalysis) การวิเคราะห์ระบบเป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบปัจจุบันเพื่อหาแนวทาง ในการจัดการกับระบบให้อยู่ในรูปแบบทิศทางให้ดีขึ้นกว่าเดิมโดยนักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์การเพื่อกำหนด บุคคล ข้อมูล การ ประมวลผล การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ว่าจะจัดการอย่างไร เพื่อพัฒนาระบบ ธุรกิจไปสู่เป้าหมายได้
ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ ยังคงใช้ระบบงานเดิม ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากงบประมาณ หรือระบบที่มีความซับซ้อนจนเกินไป • ปรับปรุงระบบงานเดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • พัฒนาระบบใหม่
นอกจากที่ดำเนินการพัฒนาขึ้นมาเองแล้วเราสามารถที่จะหาซื้อซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ นอกจากที่ดำเนินการพัฒนาขึ้นมาเองแล้วเราสามารถที่จะหาซื้อซอฟต์แวร์เข้ามาใช้ งานโยการจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้ในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตาม วัตถุประสงค์ที่ เราต้องการนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยสิ่งที่ต้องดำมาพิจารณา 4 อย่างคือ What คือ วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไรมีขั้นตอนอย่างไรเพื่อไปสู่ความสำเร็จ How คือ วิธีการทำงานอย่างไร เพื่อให้งานสำเร็จ When คือ เวลาที่จะเริ่มดำเนินการจนกระทั่งระบบงานสำเร็จเมื่อไร Who คือ บุคคลใดที่รับผิดชอบในโครงการดังกล่าว
การพัฒนาระบบสารสนเทศนั้นเต็มไปด้วยความยุ่งยากและซับซ้อน ซึ่งการพัฒนา สารสนเทศมานั้นควรจะจ้องมีการวางแผนและปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ถูกต้อง โดยคำถาม พื้นฐานที่ข้องเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย • ระบบที่พัฒนานั้นใช้กับฮาร์ดแวร์ชนิดใด และฮาร์ดแวร์เดิมที่มีอยู่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ • งบประมาณหรือค่าใช้จ่ายเท่าไร • เวลาที่ใช้ในการพัฒนาใช้ระยะเวลานานแค่ไหน • ซอฟต์แวร์นั้นมีความน่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพและตรงความต้องการหรือไม่
ทีมงานพัฒนาระบบ ในทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศของแต่ละหน่วยงานนั้น มักแตกต่างกัน กล่าว คือจะไม่มีกฎเกณฑ์ที่สามารถระบุลงไปอย่างชัดเจน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับทีมงานพัฒนาระบบ ก็ยัง สามารถแจงเป็นกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการดำเนินงาน เป็นผู้บริหารระดับสูง ที่ทำหน้าที่ในการจัดทำ นโยบาย กำหนดแนวทาง และกฎเกณฑ์ ต่าง ๆ เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ 2.ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) ผู้จัดการโครงการเป็นหัวหน้าโครงการที่มีหน้าที่ในการควบคุมทีมงาน กำหนดทิศทาง เพื่อให้ทีมงานสามารถดำเนินงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ ไม่ว่าจะเป็น ด้านงบประมาณ บุคลากร และเวลาโดยผู้จัดการโครงงานต้องบริหารงานให้สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้
3.นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ และออกแบบระบบงาน 4.โปรแกรมเมอร์ (Programmer) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ และออกแบบระบบงาน 5.วิศวกรระบบ (System Engineer) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการจัดการหรือแก้ไขปัญหาด้านระบบคอมพิวเตอร์ การติดตั้ง ซอฟต์แวร์ การวางแผนและออกแบบระบบเครือข่ายและติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารและเครือข่าย ต่าง ๆ
6.ฝ่ายงานเทคนิคและสนับสนุน (Technical Support) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สนับสนุนงานด้านเทคนิคต่าง ๆ ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งอาจเป็นส่วนงานหนึ่งของฝ่ายวิศวกรระบบ 7.เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ 8.ผู้ใช้งาน (End User) เป็นผู้ใช้งานปลายทาง ซึ่งก็คือผู้ใช้ระบบนั่นเอง
วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle :SDLD) เมื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำเป็นต้องได้รับการวางแผนที่ดี ดังนั้น จึงมีการ กำหนดขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า “วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ” สาเหตุที่มีการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นมาสืบเนื่องจาก วงจรชีวิต และซอฟต์แวร์ เหมือนกันก็มีวงจรการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงใช้งานจริง ซึ่งวงจรในการที่ พัฒนาระบบ สารสนเทศนั้นประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
การกำหนดปัญหา (Problem Definition) • การวิเคราะห์ (Analysis) • การออกแบบ (Design) • การพัฒนา (Development) • การทดสอบ (Testing) • การติดตั้ง (Implementation) • การบำรุงรักษา (Maintenance)
1.การกำหนดปัญหา (Problem Definition) 7.การบำรุงรักษา(Maintenance) 2.การวิเคราะห์(Analysis) 3.การออกแบบ(Design) 6.การติดตั้ง(Implementation) 4.การพัฒนา(Development) 5.การทดสอบ(Testing) วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ(System Development)
การกำหนดปัญหา(Problem Definition) การกำหนดปัญหาเป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตของปัญหา สาเหตุของปัญหา ที่เกิดจากการดำเนินงานปัจจุบัน ความเป็นไปของการพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ การ กำหนดความต้องการ (Requirements) ซึ่งขั้นตอนของการกำหนดปัญหา เราเรียกว่า “ขั้นตอน การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)” สรุปขั้นตอนการกำหนดปัญหา คือ • รับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน • สรุปสาเหตุของปัญหา และสรุปผลเป็นรายงานยื่นต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณา • ศึกษาความเป็นไปได้ทั้งด้านบุคลากร ต้นทุน และทรัพยากร • รวบรวมความต้องการ ซึ่งอาจได้จากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการตอบแบบสอบถาม • สรุปข้อกำหนดที่ชัดเจน ถูกต้อง และยอมรับทั้งสองฝ่าย
การวิเคราะห์ (Analysis) เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง และมี ความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับสิ่งใด สรุปขั้นตอนการวิเคราะห์ คือ • วิเคราะห์ระบบงานเดิม • กำหนดความต้องการของระบบใหม่ • สร้างแบบจำลองเชิงตรรกะ (Logical Model) • สร้างพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ระบบประกอบด้วย เครื่องมือ 2 ชนิด ได้แก่ • แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) • แผนภาพกระแสข้อมูลในลักษณะเชิงวัตถุ (OOP:Uses Case Diagram)
แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)
2.แผนภาพกระแสข้อมูลในลักษณะเชิงวัตถุ (OOP: Uses Case Diagram)
การออกแบบ (Design) การออกแบบเป็นขั้นตอนของการนำผลลัพธ์ที่ได้จากวิเคราะห์ตรรกะ หรือ ลอจิกมา พัฒนาเป็นรูปแบบทางกายภาพหรือทางฟิสิคัล เช่น การออกแบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟส การออกแบบฐานข้อมูล เป็นต้น • การออกแบบรายงาน ฟอร์มต่าง ๆ • การออกแบบจดภาพ • การออกแบบข้อมูลนำเข้า • การออกแบบผังระบบ • ออกแบบฐานข้อมูล • สร้างต้นแบบ
การออกแบบจอภาพ การออกแบบรายงาน การอินพุต+เอาต์พุต
การพัฒนา (Development) การพัฒนาเป็นขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรมด้วยการเขียน โปรแกรมด้วย ภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งควรเลือก ภาษาคอมพิวเตอร์ ที่เหมาะสมกับระบบงาน บำรุงรักษา ง่าย โดยในขั้นตอนของการพัฒนาอาจใช้เครื่องมือ ที่เรียกว่า CASE Z(Computer Aided Software Engineering) มาช่วยในการพัฒนาเพื่อให้มีคุณภาพและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สรุปขั้นตอนการพัฒนา คือ • พัฒนาโปรแกรมตามที่ได้ออกแบบไว้ • เลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับงานพัฒนาและบำรุงรักษาง่าย • สามารถใช้เครื่องมือ CASE ช่วยในการพัฒนาเพื่อให้ระบบมีคุณภาพยิ่งขึ้น • สร้างเอกสารประกอบโปรแกรม
การทดสอบ (Testing) การทดสอบเป็นขั้นตอนของการทดสอบระบบก่อนที่จะนำไปติดตั้งเพื่อใช้งาน จริง โดยทำการตรวจสอบรูปแบบภาษาเขียน (Syntax) และการตรวจสอบระบบว่าตรง กับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ สรุปขั้นตอนการทดสอบ คือ • ระหว่างที่ทำการพัฒนาควรมีการทดสอบโปรแกรมร่วมไปด้วย • การทดสอบควรทดสอบข้อมูลที่ได้จำลองขึ้นมาเองก่อน • ควรทดสอบทั้งในส่วนของตัวซอฟต์แวร์ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ และตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์ที่ • พัฒนานั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือไม่ • 5. ฝึกอบรมการใช้งาน
การติดตั้ง (Implementation) การติดตั้งเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการติดตั้งระบบเพื่อใช้งานจริง โดยเทคนิคการ ติดตั้งระบบสามารถติดตั้งได้ทันทีทนใด ติดตั้งทีละเฟส หรือติดตั้งแบบคู่ขนาน สรุปขั้นตอนการติดตั้ง คือ • ศึกษาสภาพแวดล้อมพื้นที่ที่ต้องการติดตั้ง • เตรียมอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์สื่อสารและเครือข่ายให้พร้อม • ติดตั้งระบบ ลงโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ • ดำเนินการใช้ระบบใหม่ • จัดทำคู่มือการใช้งาน
การบำรุงรักษา (Maintenance) การบำรุงรักษาเป็นขั้นตอนของการแก้ไขปรับปรุงระบบงานหลังจากทีได้ พบปัญหาบางอย่างและรวมถึงความต้องการเพิ่มเติม รวมทั้งการบำรุงรักษาท้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้เสมอ สรุปขั้นตอนการบำรุงรักษา คือ • หากพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อผิดพลาดของโปรแกรม รีบแก้ไขโดยด่วน • อาจจำเป็นต้องเพิ่มเติมความต้องการของโปรแกรมใหม่ในกรณีผู้ใช้ต้องการ • อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ต้องได้รับการตรวจเช็กตามระยะเวลา • บำรุงรักษาทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
การจัดทำต้นแบบ (Prototype) การสร้างต้นแบบโดยขั้นตอนนี้เป็นการจัดทำต้นแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อให้เห็น รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นว่าเป็นอย่างไร พอใจหรือไม่ตรงตามที่ออกแบบไว้หรือ เปล่า ก่อนที่จะดำนินการสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นจริง ๆ ต่อไป การจัดทำโปรโตไทป์ก็ยังสามารถจัดทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ • โปรโตไทป์ใช้แล้วโยนทิ้ง คือ พัฒนาอย่างเร็วและมีการเปลี่ยนบ่อยจนลูกค้าพอใจ • โปรโตไทป์แบบมีการพัฒนา คือ สร้างอยู่มั่นคงตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเป็นโปรแกรม
การเลือกในการพัฒนาโปรแกรมการเลือกในการพัฒนาโปรแกรม ในการพิจารณาว่าจะใช้ทางเลือกใดในการพัฒนาโปรแกรม คงต้องคำนึงถึง ปัจจัยและความเหมาะสมหลายด้านด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามสามารถเลือกทางเลือกเพื่อ พัฒนาโปรแกรมด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ • การพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง (In-house) • การซื้อโปรแกรมสำเร็จรูป (Software Package) • การว่าจ้าบริษัทพัฒนาระบบ (Outsourcing)
การเลือกในการพัฒนาโปรแกรมการเลือกในการพัฒนาโปรแกรม ขั้นตอนสุดท้ายของการติดตั้งระบบก็ คือ การเปลี่ยนระบบงานเดิมมาเป็น ระบบงานใหม่ซึ่งจัดเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว โดยฉพาะเมื่อระบบงานเดิมนั้นที่เคยใช้ คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลมาก่อนและต้องการปรับเปลี่ยนระบบเดิมด้วยการใช้ระบบใหม่ ซึ่งคอมพิวเตอร์มีความแตกกต่างกันในเรื่องเพลตฟอร์ม ดังนั้นการถ่ายโอนข้อมูลมายัง ระบบงานใหม่ เป็นเรื่องไม่ง่าย ซึ่งต้องทำการระมัดระวัง แต่อย่างไรก็ตาม การติดตั้ง ระบบมีเทคนิคการติดตั้งให้สามารถพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าเราจะใช้เทคนิคการ ติดตั้งระบบด้วยวิธใด
แนวทางหรือเทคนิคในการติดตั้งระบบประกอบด้วย แนวทางหรือเทคนิคในการติดตั้งระบบประกอบด้วย • การติดตั้งเพื่อใช้ระบบงานใหม่ทันที (Direct Changeover) • การติดตั้งระบบแบบคู่ขนาน (Parallel Running) • การติดตั้งแบบทีละเฟส (Phase Changeover) • การติดตั้งระบบแบบโครงการนำร่อง (Plot Project)
สรุปท้ายบทที่ 10 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ การใช้สารสนเทศ ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ชนิดของระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยระบบสำนักงาน อัตโนมัติ ระบบประมวลผลผลรายการประจำ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบ สนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง และระบบ ผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ระบบและทีมงานพัฒนาระบบ วงจรการพฒนาระบบ การ จัดทำโปรโตไทป์ ทางเลือกในการพัฒนาโปรแกรม และเทคนิคแนวทางในการติดตั้ง ระบบ ซึ่งรายละเอียดดังกล่าว ทำให้มองภาพของการพัฒนาระบบสารสนเทศได้เข้าใจ และชัดเจนยิ่งขึ้