450 likes | 1.18k Views
Model Canvas. โดย. อ. พลกฤษณ์ ไพร สานฑ์ วณิชกุล. Business Model Canvas. ช่วยในการออกแบบโมเดลธุรกิจ . ถูก พัฒนาขึ้นมาและ นำเสนอโดย Alexander Osterwalder ใน หนังสือชื่อ Business Model Generation. ช่วยในการตอบคำถามสำคัญ คือ. ทำสินค้าอะไร ? ทำอย่างไร ทำขายให้ใคร? คุ้มค่าหรือไม่.
E N D
Model Canvas โดย อ.พลกฤษณ์ ไพรสานฑ์วณิชกุล
Business Model Canvas ช่วยในการออกแบบโมเดลธุรกิจ ถูกพัฒนาขึ้นมาและนำเสนอโดยAlexander Osterwalder ในหนังสือชื่อ Business Model Generation
ช่วยในการตอบคำถามสำคัญ คือ • ทำสินค้าอะไร ? • ทำอย่างไร • ทำขายให้ใคร? • คุ้มค่าหรือไม่
วิเคราะห์ภาพรวมทั้งจุดเด่นจุดด้อยวิเคราะห์ภาพรวมทั้งจุดเด่นจุดด้อย • Value Propositionsคุณค่าของสิ่งที่เราขายอยู่คืออะไร? เข้าไปช่วยแก้ปัญหาในจุดไหน? เช่น ถ้าสปาของเราได้รับคำชื่นชมจากลูกค้าเสมอ ในแง่การบริการที่คงคุณภาพดีเหมือนเดิมทุกครั้ง และลูกค้าประทับใจกับบริการ ที่จอดรถมีเพียงพอสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้ก็มีค่าพอจะแปะโน้ตไว้ได้ว่านี่เป็นคุณค่าที่เราต้องการนำเสนอ
Key Resource ทรัพยากรของบริษัทเราคืออะไร? ซึ่งเป็นได้ทั้งเงินทุน, ทรัพยากรบุคคล, สิ่งของ, ทรัพย์สินทางปัญญา ทรัพยากรที่มีอยู่นั้นสร้างคุณค่าที่นำเสนอได้สมบูรณ์แบบแล้วหรือไม่? สาเหตุของความไม่สมบูรณ์แบบนั้นเป็นเพราะขาดทรัพยากรที่จำเป็น หรือขาดความสามารถในการพัฒนา?
Key Activities สิ่งที่ต้องทำเพื่อขับเคลื่อนให้โมเดลธุรกิจนี้ทำงานได้คืออะไร? กิจกรรมที่สำคัญที่สุดของธุรกิจหนึ่งอาจจะต้องใช้เวลาและทรัพยากรในขั้นตอนการดำเนินงานมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น สิ่งที่สำคัญคือ จะสร้างระบบซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนได้อย่างไร แต่ละธุรกิจย่อมมีงานหลักที่แตกต่างกัน อันได้แก่
การผลิต :เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิต และการส่งมอบชิ้นสินค้าในปริมาณมากด้วยคุณภาพที่เหนือกว่าเจ้าอื่น การเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้า : เกี่ยวข้องกับการหาโซลูชั่นใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อหาวิธีการจัดการงานต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปของลูกค้าแต่ละราย การจัดการดูแลแพลตฟอร์ม : ธุรกิจที่ผู้ให้บริการสร้างแพลทฟอร์มที่เป็นตัวกลางขึ้นมา และให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบปะกันโดยผ่านตัวกลางนี้ โดยผู้ให้บริการจะคอยเป็นคนดูแลความเรียบร้อยของระบบให้ใช้งานง่ายและช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น กิจกรรมที่สำคัญ เช่น เว็บไซต์จับคู่, เว็บไซต์ตัวกลางซื้อขายสินค้า eBay.com เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นสำหรับทำธุรกรรมต่างๆ เช่น ลูกค้า และธนาคาร เป็นต้น,
Key Partners ใครคือคู่ค้าของเรา? ในหลายกรณีหุ้นส่วนหลักมักกลายมาเป็นผู้ร่วมทุนด้วยเพื่อร่วมแชร์ทั้งความเสียหายและผลประโยชน์ร่วมกัน นำมาซึ่งความรับผิดชอบร่วมกัน และจากหลากหลายเหตุผล การสร้างความร่วมมือได้กลายเป็นรากฐานที่สำคัญของโมเดลทางธุรกิจจำนวนมากที่เลือกสร้างพันธมิตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ (หลายครั้งเป็นบริษัทในประเภทธุรกิจเดียวกันก็ได้) หรืออาจทำให้เราได้รับทรัพยากรที่มีคุณภาพและหลากหลายเพิ่มขึ้น
หุ้นส่วนแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม โดยเราอาจพิจารณาว่าขณะนี้เรามี หุ้นส่วนประเภทใดบ้างอยู่ร่วมกับเราแล้ว และมีประเภทอื่นๆ ที่เราควร ออกไปทำความรู้จักเพิ่มหรือไม่ หุ้นส่วนที่ไม่ใช่คู่แข่งแต่มีวิธีคิดหรือขายสินค้าคล้ายๆ กับเรา เช่น ร้านอาหารตามสั่ง กับร้านขายผลไม้ปั่น ควรจะอยู่คู่กัน หุ้นส่วนที่เป็นคู่แข่งแต่ต้องใช้กลยุทธ์ร่วมกันบ่อยๆ เช่น ร้านเสื้อผ้าต่างสไตล์ที่ไปงานแสดงสินค้าเดียวกัน หุ้นส่วนที่รวมกันแล้วเกิดเป็นธุรกิจใหม่เช่น ทำกระเป๋าเก็บความเย็นให้เบียร์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง หุ้นส่วนแบบต้องพึ่งพากันจึงจะอยู่รอดเช่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนให้รถยนต์ กับผู้ผลิตรถยนต์
Customer Segment กลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มไหน? ในขั้นแรกเราคงต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าเรานำเสนอคุณค่าออกไปอย่างไร? ให้กับใคร? มีความหลากหลายมากเพียงใด? ซึ่งเมื่อเราระบุกลุ่มลูกค้าได้อย่างชัดเจนแล้วเราจะสามารถนำเสนอคุณค่าของสินค้าและบริการได้ถูกต้องตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด เช่น เป็นกลุ่มมวลชน (mass), เป็นแบบเฉพาะกลุ่ม (niche), กลุ่มลูกค้าองค์กร หรือบางธุรกิจทำหน้าที่เป็นตัวกลางทำให้มีกลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่งกลุ่ม (Multi-Sided Platform)
Channelsขายอย่างไร? ผ่านทางไหน? ไม่ว่าจะเป็นการขายเองโดยตรงผ่านหน้าร้าน ผ่านเว็บฯ หรือผ่านทางคู่ค้า ช่องทางที่มีประสิทธิภาพจะกระจายคุณค่าของธุรกิจไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพรวมไปถึงการใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
ควรคำนึงถึงศักยภาพของเราว่าสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ในทุกระยะควรคำนึงถึงศักยภาพของเราว่าสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้ในทุกระยะ ของการขายสินค้าซึ่งมีอยู่ 5 ระยะได้ด้วยหรือไม่ • Awarenessการสร้างความรับรู้ ให้ลูกค้าได้ตระหนักถึงสินค้าและบริการของเรา • Evaluationลูกค้าประเมินค่าหรือประเมินผลสินค้าและบริการของเราอย่างไร • Purchaseลูกค้าสามารถซื้อสินค้าและบริการของเราได้จากทางใดบ้าง เรารองรับการซื้อแบบใด
Deliveryเมื่อลูกค้าซื้อแล้ว เราส่งสินค้าและบริการของเราไปช่องทางไหน มีกี่แบบ • After-salesหลังจากการขายแล้ว เรามีการดูแลลูกค้าอย่างไร คอยช่วยเหลือลูกค้าหรือไม่ การเข้าถึงลูกค้าไม่ได้เกิดเฉพาะช่วงการขายเท่านั้น แต่เริ่มตั้งแต่เริ่มขายไป จนขายสินค้าจบไปแล้ว การดูแลลูกค้า ใส่ใจ สนใจในทุกช่วงการส่งมอบ คุณค่าย่อมทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับเราได้มากกว่าแน่นอน
Customer Relationships เรามีช่องทางสร้างสายสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง? มีเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่คอยให้ความช่วยเหลือ Facebook, Twitter? ศูนย์บริการลูกค้า (Call Center)? หรือมีช่องทางให้ลูกค้าช่วยเหลือตัวเองได้เช่น Web-Self Service เป็นต้น
Cost Structure ค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจคืออะไร? เช่น ระบบโครงข่ายที่ต้องดูแลรักษา, ระบบฐานข้อมูล, ค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการพัฒนาซอฟแวร์, ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด, การดึงลูกค้าเข้ามา การเขียน Business Model Canvas ควรแบ่งโครงสร้างของต้นทุนดังนี้ • ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) • ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) • ต้นทุนผลิตมากแล้วถูกลง (Economy of Scale) • ต้นทุนซื้อรวมกันแล้วถูกลง (Economy of Scope)
Revenue Streams วิธีการหารายได้ของเราเป็นอย่างไร?เงินสามารถเข้าสู่ธุรกิจของเราได้ทางใดบ้าง เช่น ขายสินค้า ค่าบริการ ค่าสมาชิก ค่ายืมหรือค่าเช่า ค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ค่าธรรมเนียมการเป็นนายหน้าซื้อขาย ค่าโฆษณา