620 likes | 1.36k Views
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program:IEP ) และการขอรับเงินอุดหนุน เพื่อรับหรือซื้อ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา. โดย .....นางสมศรี รัตนา
E N D
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program:IEP) และการขอรับเงินอุดหนุน เพื่อรับหรือซื้อ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา โดย.....นางสมศรี รัตนา ครู ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา ๔ จังหวัดตรัง
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ( Individualized Education Program : IEP ) หมายถึงแผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ ตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา ๑๐ การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วย เหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น"
มาตรา ๘ ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ.2550 กำหนดให้มีการจัดทำ IEP
ความหมายคนพิการ “คนพิการ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การ-เคลื่อนไหว การสื่อสารจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
เหตุผลในการจัดทำ IEP เพื่อประกันว่า.... 1. การจัดการศึกษาที่จัดให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความบกพร่องแต่ละคนนั้นเหมาะสมกับความต้องการพิเศษทางการเรียนรู้ของเด็กคนนั้น • มีการจัดบริการทางการศึกษาและบริการอื่น ตามที่ระบุไว้ใน IEP จริง 3. มีการดำเนินการควบคุมติดตามผลการให้บริการ
ประโยชน์ของการทำ IEP 1. ประโยชน์ต่อคนพิการ • ได้รับความช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟูสมรรถภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงสอดคล้องกับความต้องการจำเป็น ได้เรียนรู้ และพัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคลอย่างเหมาะสม 2.ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง - ได้มีส่วนร่วมกำหนดจุดมุ่งหมายการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล การขอสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้กับบุตรหลานที่พิการ ตลอดจนการได้ร่วมฝึก และส่งเสริม การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
ประโยชน์ของการทำ IEP ( ต่อ ) 3. ประโยชน์ต่อครูผู้สอน - เป็นข้อมูลในการศึกษา วิเคราะห์นักเรียนที่พิการ เพื่อกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของตนเอง สามารถนำ IEP ไปจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล( IIP)และจัดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน สำหรับเด็กพิการ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนของเด็กแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของการทำ IEP ( ต่อ ) 4. ประโยชน์ต่อสถานศึกษา • เป็นข้อมูลในการจัดคนพิการเข้าศึกษาในรูปแบบ ระบบ และระดับที่เหมาะสม มีข้อมูลที่ชัดเจนในการวางแผนบริหาร จัดงบประมาณ และจัดการเรียนการสอน มีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ ฯที่ส่งเสริมในการจัดการเรียนการสอนแก่เด็กพิการ มีข้อมูลใช้เป็นฐานในการพัฒนาหลักสูตรและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและเหมาะสม
ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดศึกษาเฉพาะบุคคลขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดศึกษาเฉพาะบุคคล 1. การรวบรวมข้อมูล รายงานการประเมินผลเกี่ยวกับตัวเด็ก บันทึกจากผู้ปกครอง ครูและผู้เกี่ยวข้อง รายงานจากแพทย์ โรงพยาบาลหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดศึกษาเฉพาะบุคคล(ต่อ)ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดศึกษาเฉพาะบุคคล(ต่อ) 2. จะต้องมีการประชุมบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งอย่างน้อยควรประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนหรือตัวแทน ครูประจำชั้น ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน
ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดศึกษาเฉพาะบุคคล(ต่อ)ขั้นตอนในการจัดทำแผนการจัดศึกษาเฉพาะบุคคล(ต่อ) 3. การใช้แผน เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางโรงเรียน ก็สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่เด็กตามที่ระบุไว้ในแผน เมื่อสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องมีการประชุม เพื่อกำหนดแผนใหม่ทุกครั้ง
โรงเรียนบ้านนาโยง สพท.ขก.... ชั้น ป.3 หลังวันประชุมทำแผนสัก 1 สัปดาห์ วันที่ดำเนินการตามแผนสำเร็จ เด็กชาย เกรียงไกร สุขกมล 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 2 มีปัญหาทางการเรียนรู้ สะกดคำ อ่านคำ เขียนคำและคำนวณไม่ได้ นายเมธี สุขกมล นางปาหนัน สุขกมล ย่า นางแจ่มศรี สุขกมล 086-955555 075- ---
ป.2 2553 บ้านนาโยง
ขั้นตอนการกำหนดเป้าหมายตาม IEP ประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก หาจุดเด่น จุดด้อย นำจุดด้อยไปกำหนดเป้าหมายระยะยาว ระยะสั้น
การหาจุดเด่น – จุดอ่อน เช่น • จุดเด่น คือ ความสามารถที่เด็กทำได้ดีตามศักยภาพในปัจจุบัน • จุดด้อย คือความสามารถที่เด็กไม่สามารถทำได้ หรือปฏิบัติได้ไม่ดี และต้องการนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
ตัวอย่างการหาจุดเด่น - จุดด้อย • จุดเด่น - น้องต้นสามารถบวกเลข 1 หลัก กับเลข 2 หลัก ที่ไม่มีการทดได้ • จุดด้อย น้องต้นไม่สามารถบวกเลข 2 หลัก กับเลข 2 หลักที่มีการทดได้
การเขียนเป้าหมายระยะยาวการเขียนเป้าหมายระยะยาว • การเขียนเป้าหมายระยะยาว คือการนำจุดด้อยของเด็กมาตั้งเป้าหมายภายใน 1 ปีการศึกษา เพื่อให้เด็กได้พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ตามศักยภาพของแต่ละคน หรือเป็นข้อบ่งชี้ที่ต้องการพัฒนาให้ถึงเป้าหมาย และเป็นการกำหนดแบบกว้าง ๆ
ตัวอย่างการเขียนแผนระยะยาวตัวอย่างการเขียนแผนระยะยาว • WHEN ( เวลา ) ( วัน เดือน ปี ) ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554 • WHO ( ใคร ) น้องต้น • WHAT ( อะไร ) ( สามารถวัดได้ สังเกตเห็นได้ ) สามารถบวกเลขที่มี 2 หลัก กับเลขที่มี 2 หลัก โดยมีการทดได้
ตัวอย่างการเขียนแผนระยะยาวตัวอย่างการเขียนแผนระยะยาว • ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2554 น้องต้น สามารถบวกเลขที่มี 2 หลัก กับเลขที่มี 2 หลัก โดยมีการทดได้
การเขียนเป้าหมายระยะสั้นการเขียนเป้าหมายระยะสั้น • วิเคราะห์จากเป้าหมายระยะยาว แล้วนำมาเขียนเป้าหมายระยะสั้นหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งอาจมีหลายข้อ ลำดับขั้นของทักษะ หรือจุดประสงค์ย่อยๆ จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายระยะยาว 1 ปี ของเด็ก
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ดีจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ดี • ในสถานการณ์อย่างไร • ใคร • ทำอะไร/แสดงพฤติกรรมอะไร (ตรวจสอบได้ วัดได้ ) • เกณฑ์ของความสำเร็จ ( เกณฑ์ที่แน่ใจว่านักเรียนทำได้จนเป็นทักษะ ) • ภายในเมื่อไหร่ที่คิดว่านักเรียนจะทำได้ ( มีทักษะ ) ขึ้นอยู่กับเวลาที่ครูใช้สอน
การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ดีการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ดี • เมื่อครูให้บวกเลขที่มี 1 หลัก กับเลข 2 หลัก ที่มีการทด • น้องต้น • สามารถบวกเลขที่มี 1 หลัก กับเลขที่มี 2 หลัก โดยไม่มีการทดได้ • ได้ถูกต้อง จำนวน 8 ใน 10 ข้อ • ภายในวันที่ 30 กันยายน 2553
เมื่อครูให้บวกเลขที่มี 1 หลัก กับเลข 2 หลัก ที่มีการทด • น้องต้น สามารถบวกเลขที่มี 1 หลัก กับเลขที่มี 2 หลัก ที่มีการทดได้ถูกต้อง จำนวน 8 ใน 10 ข้อ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2553
การประเมิน การประเมิน คือวิธีการประเมินผ่านเกณฑ์ตามเป้าหมายระยะสั้น หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละข้อ เช่น การสังเกต การตรวจแบบฝึกหัด
คนพิการที่จะขอรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ มีถิ่นอยู่ในประเทศไทย มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาตามที่กำหนดไว้ใน IEP ลงทะเบียนและเข้าศึกษาในสถานศึกษา คนพิการที่จะขอรับสิ่งอำนวยความสะดวกฯ
(ผู้เสนอ) เด็กมีทักษะภาษาไทยในด้านการอ่านเขียนต่ำกว่าอายุจริง 2ชั้นเรียน ทำให้มีผลกระทบต่อการเรียนรู้สาระอื่นๆ 1,500 1 เว้นไว้หากเด็กนักเรียนคนนั้นไม่เคยขอเลย หากเคยก็เช็คตามจริง สอนเสริมภาษาไทย CS0101 2 100 (ผู้เสนอ) ผลิตสื่อเอกสาร CS0401 300 (ผู้เสนอ) 3 สอนเสริมคณิตศาสตร์ CS0101 4 100 (ผู้เสนอ) ผลิตสื่อเอกสาร CS0401 4 สองพันบาทถ้วน
ผู้ร่วมทำแผนลงลายมือชื่อผู้ร่วมทำแผนลงลายมือชื่อ ชื่อผู้ร่วมทำแผน 12 พฤษภาคม 2554 ผู้ปกครองลงนามหรือลายพิมพ์นิ้วมือ
สรุป ลำดับขั้นตอนการทำ IEP ตั้งคณะทำงาน เด็กมีปัญหา การประเมิน การจัดทำ IEP การนำ IEP ไปสู่การปฏิบัติ การประเมินทบทวน IEP และสรุปรายงานผล
สรุป นักเรียนพิการทุกคนต้องมี IEP พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำ IEP คณะผู้จัดทำ IEP ของนักเรียนพิการแต่ละคน ควรมีอย่างน้อย 3-7คน
การขอรับเงินอุดหนุน เพื่อรับหรือซื้อ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
การให้บริการของศูนย์การศึกษาพิเศษการให้บริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ 1. แต่งตั้งคณะทำงาน 2. ตรวจสอบความถูกต้องของ IEP 3. ส่งเอกสารหลักฐานให้คณะอนุกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิ ช่วยเหลือทางการศึกษาอนุมัติ 4. ศูนย์จัดพิมพ์คูปองการศึกษา/จัดทำทะเบียนคุม 5. รายงานข้อมูลไปยังสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 6. ส่งมอบคูปองไปยังสถานศึกษาหรือผู้พิการ 7. รับและตรวจสอบความถูกต้องเอกสารหลักฐานจากผู้ให้บริการ/หน่วยบริการ 8. เบิกและโอนเงินให้กับหน่วยบริการตามคูปองการศึกษา
การดำเนินการของโรงเรียนการดำเนินการของโรงเรียน • คัดกรองนักเรียนโดยใช้เครื่องมือ คัดกรอง ของ สพฐ. / KUS-SI • 2. จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล • 3. ส่งเอกสารหลักฐานให้กับศูนย์การศึกษาพิเศษภายในเวลาที่กำหนด • 4. จ่ายคูปองให้กับผู้พิการหรือผู้ปกครอง • 5. สนับสนุนให้ผู้ปกครองหรือผู้พิการขอรับบริการตามคูปองการศึกษา • 6. นำส่งบันทึกการให้บริการของผู้ให้บริการ • 7. รับเงินโอนค่าบริการตามคูปองการศึกษาจากศูนย์การศึกษาพิเศษ
เอกสารประกอบการขอรับสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อบริการเอกสารประกอบการขอรับสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา • 1. แบบคำขอ สิ่งอำนวยความสะดวก ฯ ( คป.01) • 2. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล • 3. สำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ ( ถ้ามี ) • 4. เอกสารรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ • พร้อมแบบคัดกรองตามประกาศ ( คป.04 ) รวบรวมเอกสารส่งศูนย์การศึกษาพิเศษ ภายในวันที่ 20 มิถุนายน สำหรับภาคเรียนที่ 1 ภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน สำหรับภาคเรียนที่ 2
การดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินตามคูปองการศึกษาการดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินตามคูปองการศึกษา ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารหลักฐาน - แบบคำขอรับเงินการให้บริการ (คป.16) - บันทึกการให้บริการ (คป. 14) ใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงิน - คูปองการศึกษา - กรณีให้บริการตามบัญชี ข ให้ใช้ใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงิน แทนแบบบันทึกการให้บริการ - กรณีให้บริการตามบัญชี ค ผู้ให้บริการและผู้รับบริการลงลายมือชื่อ ในแบบบันทึกการให้บริการ (คป. 14) ผู้ให้บริการ / หน่วยบริการ ส่งบันทึกการให้บริการและคูปองการศึกษาเพื่อขอรับค่าบริการ ต่อศูนย์ฯ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคมและศูนย์ฯต้องโอนเงินให้หน่วยบริการเสร็จสิ้น ภายในวันที่ 30 มิถุนายน