240 likes | 421 Views
การพยากรณ์การเกิดโรคหัด โดยใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลา พื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ.2556. กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.10. คณะผู้จัดทำ. ภูมิพัฒน์ ภูวธนานนท์ เฉลิมพล เจนวิทยา อิ่นคำ อินทะขันธ์ รัตนา สันติอาภรณ์ พิษณุพร สายคำทอน. วัตถุประสงค์.
E N D
การพยากรณ์การเกิดโรคหัด โดยใช้การวิเคราะห์อนุกรมเวลาพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ.2556 กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.10
คณะผู้จัดทำ • ภูมิพัฒน์ ภูวธนานนท์ • เฉลิมพล เจนวิทยา • อิ่นคำ อินทะขันธ์ • รัตนา สันติอาภรณ์ • พิษณุพร สายคำทอน
วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาระบาดวิทยาการเกิด การกระจาย ของเกิดโรคหัด ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ระหว่างปี 2546 -2555 • เพื่อพยากรณ์การเกิดโรคหัดภาคเหนือตอนบน พ.ศ. 2546
ฐานข้อมูล • ข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรค R506 พ.ศ.2546 – 2555 • ข้อมูลประชากรกลางปี 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน • ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการศึกษา • เป็นศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นสูง • การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติค่าความถี่ จำนวน ร้อยละ อัตราและอัตราส่วน โดยวิเคราะห์ข้อมูล • สถานการณ์การเกิดและการกระจายของโรคโดยใช้อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน • การพยากรณ์การเกิดโรคล่วงหน้า ใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ หรือเทคนิคการทำให้เรียบ • ยกกำลังสามของ วินเตอร์ (Winters model) • รวบรวมข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคหัด ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาค เหนือตอนบน • ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลในส่วนของลักษณะรูปแบบสถานการณ์การเกิดโรค การ • กระจายของโรคตามบุคคล เวลา สถานที่ และปัจจัยการได้รับวัคซีน
ผลการศึกษา • แนวโน้มทั่วไปของอัตราป่วย ปี 2546 - 2555
5 ปีแรก 2546 -2550 • มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2546 ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด ลำพูน ลำปาง และพะเยา และมีแนวโน้มขึ้นๆลงๆอยู่ในช่วง 2 ปี ตั้งแต่กลางปี2546 จนถึงสิ้นปี 2548 และโดยเฉพาะต้นปี2549มีรายงานผู้ป่วยสูงถึง 152ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 2.64 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และพะเยา
ในช่วง 5 ปีหลัง(2551-2555) • มีรูปแบบอัตราป่วยในลักษณะมีจำนวนผู้ป่วยสูงตั้งแต่ต้นปี 2551 ถึงปลายปี 2552 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พะเยา และแพร่ ในช่วงตั้งแต่ต้นปี 2553 ถึงปัจจุบันมีการรายงานจำนวนผู้ป่วยขึ้นๆลงๆแต่ไม่มีจำนวนผู้ป่วยสูงเกินกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาสำหรับผู้ป่วยโรคหัด ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จากรายงาน 506 ปี 2555 (31 กรกฎาคม) - พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 320 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 5.25 ต่อประชากรแสนคน - ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต - พบผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐานอย่างชัดเจนตั้งแต่เมษายนจนถึงเดือนกรกฎาคม โดยพบจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในเดือนกรกฎาคม มีจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 70 ราย รองลงมได้แก่เดือน มิถุนายน 52 ราย มกราคม 45 ราย
รูปแสดงอัตราป่วยต่อแสนประชากรในระดับอำเภอในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 – 31 กรกฎาคม 2555
ผลการศึกษา อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดใน 3 อันดับแรก • อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน อัตราป่วย 142.50 ต่อประชากรแสนคน • อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย อัตราป่วย 25.56 ต่อประชากรแสนคน • อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และ 23.32 ต่อประชากรแสนคน
ผลการศึกษา (ต่อ) • พบผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง เป็นเพศชาย 159 ราย และเพศหญิง 143 ราย อัตราส่วนการป่วยเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.11 : 1 • กลุ่มอายุพบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก คือ • กลุ่มอายุ 0-4 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 44.3 ต่อประชากรแสนคน • กลุ่มอายุ 5 - 9 ปีและ 10 - 14 ปีคิดเป็นอัตราป่วย 19.11 • 8.62 ต่อประชากรแสนคน
รูปแสดงอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน ด้วยโรคหัด จำแนกตามพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม -2555ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555
ผลการศึกษา (ต่อ) • - จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อัตราป่วยเท่ากับ 13.46 ต่อประชากรแสนคน • จังหวัด เชียงรายอัตราป่วยเท่ากับ8.96 ต่อประชากรแสนคน • จังหวัด เชียงใหม่อัตราป่วยเท่ากับ6.53 ต่อประชากรแสนคน
จากสถานการณ์การเกิดโรคหัดในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ถึง2554
การพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2557 โมเดลของวินเตอร์ : Yt = [ß0 + ß1t] (S t) (C t) (I) เมื่อ t = ช่วงเวลาที่มีระยะห่างเท่ากัน ๆ กัน (ต่อเนื่องกัน) Yt= ค่าจริงเมื่อเวลา t (จำนวนผู้ป่วยในแต่ละเดือน) ß0= ระยะตัดแกน (ส่วนประกอบถาวร) ß1t = ค่าความชันของแนวโน้ม (ของข้อมูลชุดนี้) S t= ค่าดัชนีฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล เมื่อเวลา t (1 – 12 เดือน) I = ค่าความไม่แน่นอน (ให้ค่าเท่ากับ 1)
ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วย 10 ปีย้อนหลัง(ปี2546 – 2555) ประมวลผลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จะได้ ß0= 54.34 ß1t = 0.35 Alpha = 0. 7000000 Gamma = 0.0000000 Delta = .0000000 และ SSE= 71097.85299
ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 (ต่อ) จะได้จำนวนผู้ป่วยโรคหัดในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้ Y1 = [ 54.34 + (0.35) (1) ] (1.11) = 61 ราย Y2 = [ 54.34 + (0.35) (2) ] (1.50)= 82 ราย Y3 = [ 54.34 + (0.35) (3) ] (1.51)= 83 ราย Y4 = [ 54.34 + (0.35) (4) ] (1.04)= 57 ราย Y5 = [ 54.34 + (0.35) (5) ] (0.85)= 47 ราย Y6 = [ 54.34 + (0.35) (6) ] (1.09)= 60 ราย Y7 = [ 54.34+ (0.35) (7) ] (1.28)= 70 ราย Y8 = [ 54.34 + (0.35) (8) ] (1.08)= 56 ราย Y9 = [ 54.34 + (0.35) (9) ] (0.79)= 43 ราย Y10 = [ 54.34 + (0.35) (10) ] (0.67)= 37 ราย Y11 = [ 54.34 + (0.35) (11) ] (0.53)= 29 ราย Y12 = [ 54.34 + (0.35) (12) ] (0.53)= 29 ราย ปี 2556 คาดว่าน่าจะมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดประมาณ 657 ราย โดยเดือน มีนาคม มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด เท่ากับ 83 ราย
ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2557 จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วย 11 ปีย้อนหลัง(ปี2546 – 2556) ประมวลผลด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จะได้ ß0= 52.13 ß1t = 0.02 Alpha = 0. 8000000 Gamma = 0.0000000 Delta = .0000000 และ SSE= 76520.97027
ผลการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 (ต่อ) จะได้จำนวนผู้ป่วยโรคหัดในแต่ละเดือน ดังต่อไปนี้ Y1 = [ 52.13 + (0.02) (1) ] (1.17) = 61 ราย Y2 = [52.13 + (0.02) (2) ] (1.55)= 81 ราย Y3 = [52.13 + (0.02) (3) ] (1.51)= 79 ราย Y4 = [52.13 + (0.02) (4) ] (1.08)= 56 ราย Y5 = [52.13 + (0.02) (5) ] (0.91)= 48 ราย Y6 = [52.13 + (0.02) (6) ] (1.21)= 63 ราย Y7 = [52.13 + (0.02) (7) ] (1.29)= 67 ราย Y8 = [52.13 + (0.02) (8) ] (1)= 52 ราย Y9 = [52.13 + (0.02) (9) ] (0.73)= 38 ราย Y10 = [52.13 + (0.02) (10) ] (0.60)= 31 ราย Y11 = [52.13 + (0.02) (11) ] (0.47)= 25 ราย Y12 = [52.13 + (0.02) (12) ] (0.47)= 25 ราย ปี 2557 คาดว่าน่าจะมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดประมาณ 626 ราย โดยเดือน กุมภาพันธ์ มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด เท่ากับ 81 ราย
การคาดการพยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรค ปี พ.ศ. 2556 - 2557
ข้อควรคำนึงถึง - ในช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายกำจัดโรคหัดให้หมดไปจากประเทศไทยภายในปี 2563 อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น - การเปิดเขตกาค้าเสรีอาเซียนในปี 2558 ก็อาจส่งผลให้พบผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งแรงงานเหล่านี้ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัด
ข้อเสนอแนะ - นำผลการพยากรณ์โรคมาช่วยวางแผนและกำหนดทิศทางการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคในปีถัดไป - นำข้อมูลไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของพื้นที่ และนำวิธีการไปศึกษาในพื้นที่ที่แคบลงเพื่อจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์โรคในพื้นที่นั้นๆได้ดียิ่งขึ้น