630 likes | 2.63k Views
ยินดีต้อนรับ. ชื่อนางหทัยชนก จีนพุก ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ประจำศสช.โอโล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ. การบริหารจัดการวัคซีนระบบลูกโซ่ความเย็น ในระดับสถานีอนามัย. ศูนย์ สุขภาพชุมชนโอโล อำเภอ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. ศูนย์สุขภาพชุมชนโอโล.
E N D
ชื่อนางหทัยชนก จีนพุก • ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ • ประจำศสช.โอโล อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ
การบริหารจัดการวัคซีนระบบลูกโซ่ความเย็นในระดับสถานีอนามัยการบริหารจัดการวัคซีนระบบลูกโซ่ความเย็นในระดับสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนโอโล อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
ศูนย์สุขภาพชุมชนโอโล คำขวัญประจำตำบลโอโล“ พระธาตุองค์เก่า ปู่เจ้าศักดิ์สิทธิ์ สบายจิตหนองแห้ว ทิวแถวนาข้าวผ้าไหมสาวมัดหมี่ มากมีวัวงาม สรงน้ำพระภู อยู่อย่างแบบไทย ”
ศสช.โอโล ห่างจากอำเภอ 3 ก.ม. ห่างจากจังหวัด 80 ก.ม. บ้านค่าย 13 หมู่บ้าน 2,238 หลังคาเรือน
จำนวนประชากร ต.โอโล ชาย 4,779 คน หญิง 4,836 คน รวม 9,615 คน
ข้อมูลสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัย 6 คน - จ.บริหารงาน สธ. 1 คน - พยาบาลวิชาชีพ(เวชปฏิบัติ) 2 คน - นวก.สาธารณสุข 2 คน - จพ.ทันตสาธารณสุข 1 คน ลูกจ้างประจำสถานีอนามัย 2 คน อัตรา จนท. ต่อประชากร 1 : 1,601 อัตรา จนท. ต่อหมู่บ้าน 1 : 2.17
ข้อมูลสาธารณสุข (ต่อ) โรงเรียน 4 แห่ง นักเรียน 1,074 คน ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ 5 แห่ง จำนวนเด็ก(ศพด.) 203 คน จำนวนเด็ก0-5 ปี 1,038 คน
1. บริการแบบผสมผสาน2. มีทีมให้บริการ 3. บริการด้านรักษาพยาบาล 4. บริการงานเชิงรุก รูปแบบการให้บริการ เวลาให้บริการของ ศสช. วันปกติ เวลา 08.30-24.30 นอกเวลาวันปกติ เวลา 16.30-24.30 น. วันหยุดราชการ เวลา 8.30-24.30 น. คลินิกผู้ป่วยเรื้อรัง, EPI เริ่มเวลา 07.00 น.
คลินิกสุขภาพเด็กดี • ให้บริการทุกวันอังคารที่ 3 และ 4 ของทุกเดือน • โดยจะแบ่งโซนการมารับบริการ
คลินิกสุขภาพเด็กดี ศสช.โอโลเฉลี่ยผู้มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 60 ราย/ครั้งให้บริการเดือนละ 2 ครั้ง
การพัฒนาเรื่องระบบลูกโซ่ความเย็นของศสช.โอโลการพัฒนาเรื่องระบบลูกโซ่ความเย็นของศสช.โอโล • จากการทบทวนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ผ่านมา พบว่ามีเด็ก 1 รายอายุ 4 ปี 5 เดือน มีอาการผิดปกติหลังการได้รับวัคซีน OPV และ DTP เมื่อวันที่ 19 พ.ค.2552 • โดย มีอาการไข้สูง หนาวสั่น หลังรับวัคซีน 40 นาที (ก่อนมารับบริการเด็กมีไข้ เวลา 23.30 น.มารดาให้ยาลดไข้ อาการดีขึ้น)
ระบบลูกโซ่ความเย็น • ระบบลูกโซ่ความเย็น (Cold Chain) เป็นกระบวนการที่จะบริหารจัดการวัคซีน ให้คงคุณภาพดี จากผู้ผลิต ถึง ผู้รับบริการ วัคซีนทุกชนิดจะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม มีความเย็นเพียงพอที่จะคงคุณภาพได้ตลอดเวลาที่เก็บรักษาและขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
ทำไมต้องให้ความสำคัญกับระบบลูกโซ่ความเย็นทำไมต้องให้ความสำคัญกับระบบลูกโซ่ความเย็น • อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ความแรงของวัคซีนลดลงเร็วขึ้น • วัคซีนบางชนิดจะสูญเสียความแรงไปเลย ถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ทำให้แข็งตัว • เมื่อวัคซีนเสื่อมสภาพ ผู้รับบริการไม่ได้รับการป้องกันโรค • วัคซีนที่เสื่อมสภาพจาก freezingฉีดแล้วจะเกิดเป็นไตแข็ง
วัตถุประสงค์ • เพื่อพัฒนาระบบงานบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ได้มาตรฐาน • เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีความชัดเจนและเป็นไปตามมาตรฐาน • มีแนวทางในการปฏิบัติงานชัดเจน
ประเด็นสำคัญ/ปัญหาที่พบประเด็นสำคัญ/ปัญหาที่พบ • ยังไม่ทำการบุโฟมที่ฝาปิดตู้เย็น อาจทำให้รักษาอุณหภูมิได้ไม่ดี • ปลั๊กไฟของตู้เย็นใช้รวมกับปลั๊กไฟอื่นๆ • การบันทึกอุณหภูมิวัคซีนไม่ต่อเนื่อง • ชั้นวางวัคซีนเป็นแบบทึบ ทำให้การไหลเวียนอุณหภูมิภายในตู้เย็นไม่ค่อยทั่วถึง
ประเด็นสำคัญ/ปัญหาที่พบ(เกี่ยวกับการให้บริการ)ประเด็นสำคัญ/ปัญหาที่พบ(เกี่ยวกับการให้บริการ) 5. เวลาในการให้สุขศึกษารายกลุ่มน้อยไป พูดรายละเอียดได้ไม่ครอบคลุม เนื่องจากผู้มารับบริการค่อนข้างมีจำนวนมาก ควบคุมยาก 6. เด็กไม่รอสังเกตอาการที่สอ.หลังรับวัคซีน(ญาตินำเด็กกลับบ้านก่อนเวลา 30 นาที
ขั้นตอนการดำเนินงานการวางแผน(PLAN)ขั้นตอนการดำเนินงานการวางแผน(PLAN) • ประชุมทบทวนชี้แจงเจ้าหน้าที่ทุกคน ให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น • รับนโยบายการบริหารจัดการระบบลูกโซ่ความเย็นจากเครือข่าย คปสอ.ภูเขียว (ร่วมพัฒนาศักยภาพบุคลากรเครือข่ายบริการวัคซีน)
ปฏิบัติตามแผน(DO) • ซ่อมบำรุงตู้เย็นโดยการบุฝาตู้เย็นด้วยโฟมเพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิตู้เย็นให้อยู่ตามเกณฑ์(2-8 องศาเซลเซียส) • จัดหมวดหมู่ของวัคซีนให้เป็นไปตามระบบ • เก็บขวดวัคซีนหลังใช้แล้ว(ตามระบบเช่นเดิม)กรณีมีปัญหาต้องได้รับการตรวจสอบ • เปลี่ยนปลั๊กตู้เย็น (โดดเดี่ยวไม่เกี่ยวกับใคร) พร้อมติดป้ายกำกับ
ปลั๊กตู้เย็น ห้ามดึงออกนะจ๊ะ
ผังการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินผังการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉิน
ปฏิบัติตามแผน(DO)ต่อ • ปฏิบัติตามแผนจากCUP 1. ในการเบิกจ่ายวัคซีน จังหวัดให้ส่งภายในวันที่25 ของเดือน ทาง e-mail2. โรงพยาบาลให้สถานีอนามัยส่งข้อมูล ภายในวันที่ 15 ของเดือน ทาง e-mail3. ในการเบิกวัคซีนต้องมีเทอร์โมมิเตอร์ ใส่ไปในกระติกเพื่อวัดอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 2 - 8 องศาเซลเซียส ป้องกันวัคซีนเสื่อมคุณภาพ
ปฏิบัติตามแผน(DO)ต่อ การเฝ้าระวังอาการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค(AEFI) • ซักประวัติเด็กผู้มารับบริการอย่างละเอียด • ให้สุขศึกษาก่อนให้บริการทุกครั้ง ทุกราย ทั้งรายกลุ่ม/รายบุคคล • ให้เฝ้าระวังอาการภายหลังรับวัคซีน ที่สถานีอนามัย 30 นาที • เฝ้าระวังระบบลูกโซ่ความเย็นและเทคนิคบริการทุกขั้นตอนอย่างละเอียด • ให้รายงานให้สสจ.ทราบตามแบบสรุปข้อมูลผู้ป่วยเฉพาะราย(AEFI 1) และลงข้อมูล 506 พร้อมสอบสวนโรคตามแบบสอบสวน(AEFI 2)ให้จังหวัดโดยด่วน
ปฏิบัติตามแผน(DO)ต่อ • เพิ่มระยะเวลาการให้สุขศึกษารายกลุ่ม ประมาณ 10 นาที แนะนำวิธีสังเกตผิดปกติอาการหลังได้รับวัคซีนแต่ละตัว • แนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการหลังรับวัคซีนที่สอ. 30 นาที • จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานพอสังเขป ให้จนท.เข้าใจง่ายๆ • ทบทวนและปรับปรุงเมื่อเกิดปัญหาและความเสี่ยง
ตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนศสช.โอโลตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนศสช.โอโล BEFORE AFTER
คุณสมบัติของตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนคุณสมบัติของตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีน • สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ตลอดทั้งปี • ตู้เย็นฝาเปิดหน้าควรมี 2 ประตู • เก็บรักษาความเย็นได้นาน เมื่อไฟฟ้าดับ • ป้องกันแสงได้ • มีอายุการใช้งานน้อยกว่า 10 ปี • ใช้ในการจัดเก็บวัคซีนเพียงอย่างเดียว
การดูแลตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีนการดูแลตู้เย็นที่ใช้เก็บวัคซีน ปรับอุณหภูมิในช่องแช่แข็งให้ต่ำกว่า -15°C • ปรับอุณหภูมิในช่องธรรมดาให้อยู่ในช่วง 2-8 °C • ตรวจสอบอุณหภูมิทั้ง 2 ช่อง วันละ 2 ครั้งและบันทึกทุกวัน • มีไอซ์แพคในช่องแช่แข็ง และมีขวดใส่น้ำวางไว้ในช่องล่างของตู้เย็น เพื่อช่วยเก็บรักษาความเย็น • ติดป้ายว่า “ห้ามดึงปลั๊กตู้เย็น”
การปรับอุณหภูมิในตู้เย็น ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า +2°c หมุนปุ่ม Thermostat ไปที่ตัวเลขต่ำกว่าที่ตั้งไว้เดิม ที่ทำให้อุณหภูมิอุ่นขึ้น ตรวจสอบประตูช่องแช่แข็งปิดดีหรือไม่ ขอบยางเสื่อมหรือไม่ ตรวจสอบว่าวัคซีนที่ไวต่อความเย็นจัดเสื่อมสภาพจากการแช่แข็งหรือไม่ โดยการทำ Shake test คำเตือน การสัมผัสกับความร้อนทำให้วัคซีนเสียหาย/เสื่อมสภาพน้อยกว่าการถูกแช่แข็ง
การปรับอุณหภูมิในตู้เย็นการปรับอุณหภูมิในตู้เย็น ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า +8°c • ตรวจดูว่าตู้เย็นยังทำงาน หรือมีกระแสไฟฟ้าเข้าตู้เย็นหรือไม่ • ตรวจสอบประตูทั้ง 2ช่องว่าปิดดีหรือไม่ ขอบยางเสื่อมหรือไม่ • ตรวจสอบช่องแช่แข็งว่ามีน้ำแข็งอุดกั้นไม่ให้ความเย็นไหลลงสู่ช่องธรรมดาหรือไม่ ถ้ามีให้ละลายน้ำแข็ง • หมุนปุ่ม Thermostat ไปที่ตัวเลขสูงกว่าเดิมที่ทำให้อุณหภูมิเย็นขึ้น • ระหว่างซ่อมตู้เย็น ย้ายวัคซีนไปเก็บไว้ในตู้เย็นอื่น/หีบเย็น/กระติกวัคซีน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรักษา • ห้องเย็น / ตู้เย็น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรักษา (ต่อ) • กระติกวัคซีน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรักษา (ต่อ) • ไอซ์แพค ( Ice pack )
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรักษา (ต่อ) • เทอร์โมมิเตอร์ สำหรับวัดอุณหภูมิ
การเก็บรักษาวัคซีนในสถานีอนามัยการเก็บรักษาวัคซีนในสถานีอนามัย ตัวทำละลาย (diluent) เก็บที่อุณหภูมิห้องหรือในตู้เย็น
แบบบันทึกอุณหภูมิ • ตารางบันทึกอุณหภูมิตู้เย็น หมายเลข ……………… ประจำเดือน ……………………………….. แบบบันทึกอุณหภูมิในตู้เย็น
ตารางความครอบคลุมวัคซีนตารางความครอบคลุมวัคซีน
Fantacy สนับสนุนการให้บริการของสถานีอนามัย
ตรวจสอบ(check) • ยังไม่พบปัญหาใดๆ
การทบทวน (ACT) • ปฏิบัติตามแผนงานต่อไป