470 likes | 647 Views
International Telecommunication Management. Chapter 3: ระบบโทรคมนาคมไทยและสากล (1). Agenda. โทรคมนาคมไทย การจัดสรรคลื่นความถี่ ศูนย์ข้อมูลและวิจัยเศรษฐกิจโทรคมนาคม International Tele communication Union : ITU. 2. โทรคมนาคมไทย. 3. โทรคมนาคมไทย. 4. โทรคมนาคมไทย.
E N D
International Telecommunication Management Chapter 3:ระบบโทรคมนาคมไทยและสากล (1)
Agenda • โทรคมนาคมไทย • การจัดสรรคลื่นความถี่ • ศูนย์ข้อมูลและวิจัยเศรษฐกิจโทรคมนาคม • International Tele communication Union: ITU 2
โทรคมนาคมไทย • ตัวอย่างใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมไทย 5
โทรคมนาคมไทย • ตัวอย่างใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมไทย 6
โทรคมนาคมไทย • ตัวอย่างใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมไทย 7
โทรคมนาคมไทย Cell Phone Market Broadband Market 9
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม • คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช) • คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท) • คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค) 10
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 1 2 11
การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ 12
การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • อดีต : การจัดสรรคลื่นความถี่ => แบบมาก่อนได้ก่อน (First Come First Serve) • มีความต้องการใช้คลื่นความถี่น้อยกว่าปริมาณคลื่นความถี่ที่มีอยู่ • ปัจจุบัน : คลื่นความถี่ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ในทางพาณิชย์สูง (เช่น 3G) • วิธีการประกวดคุณสมบัติ • วิธีการประมูล : อาศัยกลไกตลาด (Market based Mechanism) ได้รับการยอมรับมากที่สุดในนานาชาติ 13
การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • วัตถุประสงค์ของการจัดสรรคลื่นความถี่ • การจัดสรรคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Allocation) : ให้มูลค่าคลื่นความถี่มากที่สุด โดยพิจารณาจากผลตอบแทนในอนาคตของบริษัทที่คาดหวังหากได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ • สถานะทางการเงิน ความสามารถในการคิดค้นบริการใหม่ๆ และลักษณะของคู่แข่ง • การใช้งานคลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient Use of Spectrum): สร้างโครงข่ายอย่างรวดเร็ว • การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด (Market Competition): ให้บริการในราคาต่ำที่สุด • ความโปร่งใส (Transparency): เป็นธรรม ได้รับการยอมรับจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะ 14
การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เลื่อนที่ 3G 15
การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ในการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรศัพท์เลื่อนที่ 3G
การจัดสรรคลื่นความถี่การจัดสรรคลื่นความถี่ • การประมูล (Auction) • ข้อเสนอในการประมูลส่วนใหญ่อยู่ในรูปตัวเงิน แต่ในบางกรณีเป็นการประมูลด้วยข้อเสนอในเรื่องของพื้นที่การให้บริการ หรือค่าบริการที่ต่ำที่สุด • New Zealand, USA • หน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแล: การเลือกใช้วิธีการประมูลที่เหมาะสมการกำหนดกติกาในการประมูล • ผู้ประมูล: ยื่นประมูลเพื่อให้ชนะการประมูล • ต้นทุนและงบประมาณของบริษัท ต้นทุนและการบริการของบริษัทรายอื่น ความสนใจของผู้บริโภค และการทำงานและสภาพตลาดหุ้น 17
ข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูลข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูล • ชนิดของการประมูล • การประมูลใบอนุญาตแบบเปิดเผยราคาประมูล (Open Binding) • การประมูลใบอนุญาตแบบปิดราคาประมูล (Sealed Binding) • การนำใบอนุญาตมาประมูลพร้อมกันทีเดียว (Simultaneous Binding) • การนำใบอนุญาตมาประมูลทีละใบอนุญาต (Sequential Binding) 18
ข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูลข้อพิจารณาเบื้องต้นสำหรับการประมูล • ประเด็นที่ต้องพิจารณา • ผู้ประมูลมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมูลค่าของคลื่นความถี่ในการนำไปใช้ให้บริการหรือไม่ • มีผู้ประมูลที่เป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่มีอำนาจทางการตลาดหรือไม่ และจำเป็นต้องป้องกันการฮั้วประมูล หรือส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดหรือไม่ • ใบอนุญาตหรือคลื่นความถี่ที่นำมาประมูลมีความแตกต่างกันหรือไม่ 19
การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคาการประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา • การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา • ข้อดีของการประมูลแบบเปิดเผยราคาในการประมูลที่เกิดขึ้นหลายรอบ • กระบวนการประมูลจะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าที่ผู้ประมูลให้กับใบอนุญาตทำให้ผู้ประมูลสามารถปรับเปลี่ยนการยื่นประมูลตามข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นได้ • คลื่นความถี่จะถูกจัดสรรให้กับผู้ยื่นประมูลที่ประเมิรมูลค่าคลื่นสูงสุด • ข้อเสีย • ความไม่เท่าเทียมกันของผู้ยื่นประมูล อาจเป็นเหตุให้ผู้ยื่นประมูลที่มีศักยภาพไม่อยากเข้าร่วมการประมูลหากเห็นว่ารายอื่นมีความเป็นไปได้ที่จะชนะมากกว่าเนื่องจากรู้ว่าสามารถยื่นประมูลได้สูงกว่าเสมอ 20
การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคาการประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา • ข้อดีของการประมูลแบบปิดราคาซึ่งมีโอกาสในการยื่นประมูลรอบเดียว • การลดข้องสัยในการเกิดการฮั้วประมูลซึ่งการประมูลแบบเปิดเผยราคาอาจทำให้ผู้ประมูลส่งสัญญาณผ่านการยื่นประมูล ทำให้เกิดการฮั้วประมูลขึ้น • กระตุ้นให้บริษัทที่อ่อนแอกว่าเข้าร่วมการประมูล เนื่องจากมีโอกาสชนะประมูลอยู่บ้าง • ข้อเสีย • ผู้ประมูลไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การประมูลของตนตามข้อมูลราคาได้ • ผู้ประกอบการรายเดิมจะชนะการประมูลได้ต้องยื่นประมูลในราคาที่สูงมาก ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิด “winner’s curse” ขึ้น และคลื่นความถี่อาจจะไม่ได้ถูกจัดสรรให้กับผู้ประมูลที่ประเมินมูลค่าไว้สูงสุด 21
การประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคาการประมูลแบบเปิดเผยและปิดราคา นิยม : การประมูลแบบเปิดเผยราคา ข้อดีเรื่องการเปิดเผยราคามีมากกว่าความเสี่ยงเรื่องการฮั้วประมูล 22
การประมูลแบบพร้อมเพรียงกันและการประมูลแบบเป็นลำดับการประมูลแบบพร้อมเพรียงกันและการประมูลแบบเป็นลำดับ • ข้อดีของการประมูลแบบพร้อมเพรียงกัน • การส่งเสริมการแข่งขันที่เท่าเทียมกัน ผู้ที่มีความพร้อมในการให้บริการสามารถเข้าตลาดได้พร้อมกัน ทำให้ไม่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในช่วงเวลาการเข้าตลาด • ผู้ประมูลไม่จำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์เพื่อประกันการได้รับใบอนุญาตเป็นรายแรกทำให้เกิดการจัดสรรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดโอกาสในการเกิด winner’s curse • ข้อเสีย • จำกัดข้อมูลและการตอบสนองต่อข้อมูลสำหรับผู้ประมูล โดยทำให้ผู้ประมูลต้องคาดเดาถึงราคาประมูลในอนาคตเมื่อจะกำหนดราคาประมูลในปัจจุบัน • ผู้ประมูลไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การประมูลของตนตามข้อเสนอราคาได้ • ผู้ประมูลอาจประเมินมูลค่าของใบอนุญาตสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง • ผู้ประกอบการรายเดิมที่มีความแข็งแกร่งจะพยายามเข้าสู่ตลาดเป็นรายแรก (การแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน การผูกขาด) 23
รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบปิดราคาและใช้ราคาแรก (First-Price Sealed Bid) • ผู้ประมูลจะยื่นประมูลในราคาที่เป็นอิสระต่อกัน โดยแต่ละรายไม่เห็นราคาของกันและกัน • ผู้ชนะการประมูล คือ ผู้ที่ยื่นประมูลสูงสุดและจ่ายราคาที่ตนยื่นประมูล • สาธารณรัฐ เชค และ กรีซ 24
รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบปิดราคาและใช้ราคาที่สอง (Second-Price Sealed Bid) • Vickrey Auction : William Vickey เสนอรูปแบบนี้เป็นคนแรก • มีลักษณะเดียวกับการประมูลแบบปิดราคาและใช้ราคาแรก แต่ผู้ชนะจะจ่ายราคาที่ผู้ยื่นประมูลสูงสุดลำดับที่สองยื่นประมูล หรือราคาที่สอง • ยื่นประมูลตามมูลค่าของตนอย่างแท้จริง ไม่ต้องสนใจกลยุทธ์ของคู่แข่ง • New Zealand • ผู้ประมูลที่ให้มูลค่าสูงสุดหรือมีต้นทุนต่ำสุดมักจะเป็นผู้ชนะการประมูล 25
รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบเปิดราคาและเพิ่มราคาประมูลในแต่ละรอบ (Ascending Open Bids) • English Auction • ผู้ประมูลจะเพิ่มราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเหลือผู้ประมูลเพียงรายเดียว • ผู้ประมูลจะชนะการประมูลที่ราคาสุดท้าย • การประมูลคลื่นความถี่ในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนมาจาก English Auction 26
รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การประมูลแบบเปิดราคาและลดราคาประมูลในแต่ละรอบ (Open Descending Bids) • Dutch Auction • ตรงข้ามกับ English Auction • ผู้ดำเนินการประมูลจะเปิดประมูลในราคาที่สูง จากนั้นจะลดราคาลงเรื่อยๆ • ผู้ประมูลที่ประกาศยอมรับราคาปัจจุบันจะเป็นผู้ชนะการประมูล และจ่ายค่าประมูล ณ ราคาที่ตนยอมรับ 27
รูปแบบการประมูลมาตรฐานรูปแบบการประมูลมาตรฐาน • การนำรูปแบบมาตรฐานมาผสมกัน • ใช้ English Auction ในการประมูลจนกว่าจำนวนผู้ประมูลจะลดลงจนมีจำนวนมากกว่าใบอนุญาตหนึ่งราย • การประมูลจะจบลงด้วย First-Price Sealed Bid • ผู้เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต • Anglo-Dutch Auction 28
รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) • การประมูลใบอนุญาตทุกใบพร้อมกันแบบหลายรอบ ปรับเปลี่ยนมาจาก Simultaneous Ascending Auction ที่ USA ใช้เป็นประเทศแรก พัฒนามาจาก English Auction • ไม่มีรูปแบบตายตัว เปลี่ยนแปลงตามผู้ดำเนินการประมูล และความต้องการ • สินค้าที่จะนำมาประมูลจะถูกนำมาประมูลพร้อมกันทีเดียว ตลาดจะปิดจนกว่าสินค้าทั้งหมดถูกขายไป 29
รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) • การยื่นประมูลมี 2 รูปแบบ • กระบวนการแบบต่อเนื่อง (Continuous Time) ผู้ประมูลสามารถยื่นประมูลในเวลาใดได้เรื่อยๆ โดยการยื่นประมูลแต่ละครั้งจะทำใหกิดผู้ชนะชั่วคราว และจะประกาศผลทันที • กระบวนการที่แบ่งเป็นรอบๆ (Discrete Time) การประมูลจะดำเนินการไปเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยผู้ประมูลจะยื่นประมูลตามกำหนดเวลา จากนั้นจะประกาศผลการประมูล และผู้ชนะชั่วคราวพร้อมๆกันกับราคาประมูลรอบต่อไป 30
รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) • ผู้ดำเนินการประมูลจะกำหนดส่วนเพิ่มของราคาประมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประมูลสิ้นสุดลงในเวลาที่เหมาะสม • ผู้ประมูลต้องยื่นราคาเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเท่ากับราคาขั้นต่ำที่กำหนดของแต่ละรอบ 31
รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) 32
รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) 33
รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่รูปแบบการประมูลคลื่นความถี่ • Simultaneous Multiple Round Ascending Auction (SMRA) 34
กสทช. ใช้ข้อมูลจากแหล่งใด มาจัดการโทรคมนาคมไทย?
ห้องสมุดศูนย์ข้อมูลและวิจัยเศรษฐกิจ โทรคมนาคม • ฐานข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ (ITU) • ฐานข้อมูลสมาคมจีเอ็ส เอ็ม (GSMA) • ฐานข้อมูลขององค์การเพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) • ฐานข้อมูลห้องโทรคมนาคมของ สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรม อิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEEE) • ฐานข้อมูลโทรคมนาคมของบริษัท ไอดีซี รีเสิร์ช จำกัด (IDC) • ฐานข้อมูลโทรคมนาคมของบริษัท โอวุ่ม รีเสิร์ซ จำกัด (OVUM) • ฐานข้อมูล ของบริษัท ฟอร์ท แอนด์ ซัลลิวัน จำกัด (Frost&Sullivan) • ฐานข้อมูลเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ฐานข้อมูลตัวชี้วัดโทรคมนาคมของสหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (ITU) • รายการดัชนีชี้วัดกิจการโทรคมนาคม (ICT Indicators) • ข้อมูลดัชนีรายการการพัฒนาด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Development Index : IDI) • รายงานดัชนีราคาค่าบริการโทรคมนาคม (ICT Price Basket: IPB) • จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์ จำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเทศ
ฐานข้อมูลกิจการโทรคมนาคมของสมาคมจีเอ็สเอ็ม (GSM) • สมาคมการค้าผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM ซึ่งมีผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นสมาชิก ประมาณ 800 รายทั่วโลก กว่า 200 บริษัท ประกอบไปด้วยผู้ผลิตอุปกรณ์โปรแกรม • การบริการด้านข้อมูลของสมาคมจีเอ็สเอ็มนั้น เป็นการให้บริการโดยผ่านตัวแทนคือบริษัท Wireless Intelligence • ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ของผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทุกระบบ เช่น GSM CDMA TDMA PHS iDEN • จัดทำบทวิเคราะห์และพยากรณ์แนวโน้มของอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคต • Wireless Intelligence ยังให้บริการแก่ลูกค้าทั่วโลก ซึ่งข้อมูลที่ Wireless Intelligence ได้จัดทำขึ้น ประกอบด้วย ข้อมูลที่มีความหลากหลายมากกว่า 5 ล้านข้อมูล โดยมีการปรับปรุง (update) เป็นรายวันรายงานบทวิเคราะห์อุตสาหกรรมโทรศัพท์ และรวบรวมข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ
ฐานข้อมูลขององค์การเพื่อ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) • องค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก • โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการส่งเสริมการค้าเสรีและให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาทั้งในประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา • ในปัจจุบัน OECD ถือเป็นองค์กรวิจัยที่มีคุณภาพที่สุดองค์กรหนึ่งของโลก เป็นแหล่งรวมข้อมูลวิจัยต่างๆ ให้ประเทศสมาชิกสามารถปรึกษา ค้นคว้า
International Tele communication Union • สหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (International Tele communication Union: ITU) • ITU ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1932: สหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ (International Teegraph Union) • ค.ศ. 1947 ITU ได้กลายมาเป็น องค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวาประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และมีสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร • ประเทศ สมาชิก (Member States) จำนวน 192 ประเทศ • สมาชิกประเภทองค์กรทั้ง ภาครัฐ เอกชน รวมถึงนักวิชาการ (Sector Members) อีกกว่า700 ราย
International Tele communication Union • ITU เป็นองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเครือข่าย และการให้บริการด้านโทรคมนาคมของ นานาประเทศทั่วโลกการส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับกิจการ โทรคมนาคมและการพัฒนาเทคโนโลยี อุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการ บริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุ • ITU ประกอบไปด้วยหน่วยงานหลัก 3 หน่วยงาน หรือที่เรียกว่า“Sector” ได้แก่ • Radiocommunication Sector (ITU-R) • Telecommunication Standardization Sector (ITU-T) • Telecommunication Development Sector (ITU-D)
International Tele communication Union • ITU-R เป็นหน่วยงานซึ่งมีบทบาทในการบริหารคลื่นความถี่วิทยุ (radio-frequency spectrum) ในระดับสากล และทำหน้าที่บริหารวงโคจรดาวเทียม (satellite orbit) อีกทั้งยังพัฒนามาตรฐานระบบวิทยุสื่อสาร • การใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ • ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ความต้องการใช้ทรัพยากรดังกล่าวมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการขยายตัวของกิจกรรมและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบวิทยุสื่อสาร • โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ กิจกรรมวิทยุสมัครเล่น การวิจัยด้านอวกาศ การโทรคมนาคมฉุกเฉิน การอุตุนิยมวิทยาระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม (GPS)
International Tele communication Union • ITU-R จะเป็นหน่วยงานที่ให้คำแนะนำทั้งในด้านคุณลักษณะทางเทคนิคและกระบวนการทำงานของอุปกรณ์ไร้สาย ตลอดจนคำแนะนำในการบริหารคลื่นวิทยุของแต่ละประเทศให้มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และยังทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและจดบันทึกการใช้คลื่นความถี่วิทยุของโลกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการรบกวนซึ่งกันและกัน (harmful interference) และนำคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด • ITU-R ยังเป็นผู้ออกข้อบังคับวิทยุสากล (Radio Regulations: RR) โดยมาจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกผ่านที่ประชุม World Radio Communication Conferences (WRCs) ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกๆ 3 หรือ 4 ปี เพื่อทบทวนและ/หรือเปลี่ยนแปลง RR เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางและหลักปฏิบัติในการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุและวงโคจรดาวเทียมเพื่อลดการรบกวนความถี่วิทยุระหว่างกันให้น้อยที่สุด • ITU-R มีสำนักเลขาธิการ เรียกว่าสำนักการสื่อสารวิทยุ (Radiocommunication Bureau: BR)
International Tele communication Union • ITU-T มีหน้าที่กำกับดูแลให้มีการกำหนดมาตรฐานให้ครอบคลุมทุกส่วนของโทรคมนาคม ทั้งในด้านมาตรฐานอุปกรณ์ และบริการโทรคมนาคม มาตรฐานโครงสร้างการดำเนินงานในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงแนวทางการคำนวณค่าธรรมเนียมและหลักการทางด้านบัญชีสำหรับการให้บริการโทรคมนาคมในระดับสากล ทั้งนี้ เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและบริการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และป้องกันมิให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม • มาตรฐานโทรคมนาคมของ ITU-T นั้นจะถูกกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ซึ่งจะมาจากคณะทำงานแขนงต่างๆ อาทิ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย นักวิจัยจากภาครัฐและเอกชน หน่วยงานกำกับดูแล ของประเทศต่างๆ เป็นต้น • ITU-T มีสำนักงานเลขาธิการ สำนักมาตรฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Standardization Bureau: TSB)
International Tele communication Union • ITU-D ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 โดยมีภารกิจหลักที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้มวลมนุษยชาติเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT infrastructure) อย่างเท่าเทียม พอเพียง และด้วยค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้ • ITU-D จะให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกทางด้านเทคนิค บุคคลากร และเงินทุนในการพัฒนาระบบ ICT และสนับสนุนในการขยายผลให้ประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์จาก ICT • ITU-D มีหน้าที่ในการนำแนวทางการพัฒนาโทรคมนาคมมาปรับใช้กับประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาโดยการจัดการศึกษาและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ความรู้ในการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคม โดยที่จะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป นอกจากนี้ ITU-D ยังมีหน้าที่ช่วยเหลือในการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาให้มีโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสารสนเทศและการสื่อสาร • ITU-D มีสำนักเลขาธิการเรียกว่าสำนักพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Bureau : BDT)
อนาคตโทรคมนาคมไทย (2553) • http://archive.voicetv.co.th/content/23705/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
References • เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์, สุดารัตน์ แก้วงาม, ปุณย์สิรี ฉัตรจินดา,กสทช. กสท. กทค. กับการทำหน้าที่, กสทช.2554. • พูลศิริ นิลกิจศรานนท์, จิตสถา ศรีประเสริฐสุข, สมพร อมรชัยนพคุณ, ปุณย์สิรี ฉัตรจินดา, พรรณิภา สีใส, วีณา จ่างเจริญ ,เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่, กสทช.2554. • บทเรียนการเปิดเสรีโทรคมนาคมและการประเมินผลการปฏิรูประบบโทรคมนาคมไทย, สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. • คัคนางค์ จามักริก, ทฤษฏีเกมกับการกำหนดอัตราค่าบริการโทรคมนาคม , กสทช.2554. • อนาคตโทรคมนาคมไทย, VOICEtv, 26 ตุลาคม 2553. • วิเคราะห์ตลาดโทรคมนาคม TELECOM STATUS, สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, พฤศจิกายน 2554. • วิเคราะห์ตลาดโทรคมนาคม TELECOM STATUS, สำนักงานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, ธันวาคม 2554. 47