750 likes | 1.17k Views
Multimedia. Pichai Lueang-aroon Worapoj Duangngam Narumol Nilpan. มัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียง และวีดิทัศน์.
E N D
Multimedia PichaiLueang-aroon WorapojDuangngam NarumolNilpan
มัลติมีเดียคือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพ เสียง และวีดิทัศน์
มัลติมีเดียคือ การใช้คอมพิวเตอร์สื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟ ภาพศิลป์ (Graphic Art) เสียง (Sound) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และวีดิทัศน์ เป็นต้น ถ้าผู้ใช้สามารถควบคุมสื่อเหล่านี้ให้แสดงออกมาตามต้องการได้ระบบนี้จะเรียกว่า มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia)
มัลติมีเดีย คือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อความสีสัน ภาพ กราฟฟิก (Graphic images) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound) และภาพยนตร์วีดิทัศน์ (Full motion Video) ส่วนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) จะเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่รับการตอบสนองจากผู้ใช้โดยใช้คีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น
การใช้มัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเอง สื่อต่าง ๆ ที่นำมารวมไว้ในมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลาย น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบ 1. ข้อความหรือตัวอักษร (Text)2. ภาพนิ่ง (Still Image)3. ภาพเคลื่อนไหว (Animation)4. เสียง (Sound)5. ภาพวิดีโอ (Video)
หลักการทำงานของ Multimedia เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารนำเสนอได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และอื่นๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผนวกกับระบบติดต่อผู้ใช้ (GUI: Graphics User Interface) ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งาน สร้างสรรค์งาน ทำให้บทบาทของสื่อฯ มีมากขึ้นตามลำดับ มีการนำสื่อมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอข้อมูลการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
การสร้างสื่อมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆก็ตามก็จะเริ่มที่การกำหนดหัวเรื่อง,เป้าหมาย,วัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ จากนั้นทำการวิเคราะห์,ออกแบบ,พัฒนาสร้างสื่อ,ประเมินผลและนำเผยแพร่ต่อไป การสร้างสื่อมัลติมีเดียมี 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การจัดเตรียม -การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ -รวบรวมข้อมูล -เนื้อหาสาระ -การพัฒนาออกแบบ -สื่อในการนำเสนอ
2.ขั้นตอนการออกแบบ -ทบทวนความคิด -วิเคราะห์และแนวความคิด -ออกแบบขั้นแรก -ประเมินและแก้ไขการออกแบบ 3.ขั้นตอนการเขียนผังงาน เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างของงาน 4.ขั้นตอนการสร้าง story board เป็นการเตรียมนำเสนอข้อความ ภาพ รูปแบบมัลติเดียต่างๆ
5.ขั้นตอนการสร้างและเขียนโปรแกรม5.ขั้นตอนการสร้างและเขียนโปรแกรม เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่ให้เป็นชิ้นงาน 6.ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบ แบ่งเป็น -คู่มือการใช้ -คู่มือสำหรับการแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ -เอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วไป 7.ขั้นตอนการประเมินและเเก้ไข จะประเมินในการนำเสนอซึ่งผู้ที่มีการออกแบบจะสังเกตหลังจากใช้งาน
โปรแกรมที่ใช้สร้างงานมัลติมีเดียโปรแกรมที่ใช้สร้างงานมัลติมีเดีย
ข้อความหรือตัวอักษร (Text) ข้อความหรือตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย ระบบมัลติมีเดียที่นำเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยังสามารถกำหนดลักษณะของการปฏิสัมพันธ์(โต้ตอบ)ในระหว่างการนำเสนอได้อีกด้วย
ภาพนิ่ง (Still Image) ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น ภาพนิ่งนับว่ามีบทบาทต่อระบบงานมัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร ทั้งนี้เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงการเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ่งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษรนั่นเองซึ่งข้อความหรือตัวอักษรจะมีข้อจำกัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น
ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล หรือการเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่านั่นเอง
เสียง (Sound) เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอลซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียง หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาในการนำเสนอ จะช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากเสียงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่งนั่นเอง ดังนั้น เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี ดีวีดี เทป และวิทยุ เป็นต้น
วีดีโอ (Video) วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30 ภาพต่อวินาที (Frame/Second)
ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย (Multimedia System)
ไฟล์วีดีโอรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาโดยบริษัท Apple จะนำมาใช้กับงานด้านมัลติมีเดีย และเวปไซต์เป็นส่วนใหญ่ทั้งนี้ต้องติดตั้ง Plug In ไว้ที่เวปเบราเซอร์ (IE , Netscape) ก่อนที่จะนำไฟล์มัลติมีเดียประเภทนี้ (หาดาวน์โหลดได้ที่ www.apple.com) นอกจากนี้ยังเป็นรูปแบบที่เครื่อง Macintosh สามารถนำเสนองานรูปแบบนี้ได้ดีอีกด้วยซึ่งสามารถเปิดผ่านโปรแกรม Quick Time MOV (Movie)
เป็นไฟล์วีดีโอเช่นเดียวกัน โดยฟอร์แมตนี้จะถูกใช้งานบนเครื่อง พีซี เช่นเมื่อโหลดภาพจากกล้องวีดีโอเข้ามาที่เครื่องคอมก็จะต้องทำเป็นฟอร์แมต AVI ข้อเสียของมันก็คือขนาดใหญ่มากไฟล์วีดีโอแค่ 1 นาที อาจจะต้องใช้พื้นที่เก็บประมาณ 5 – 10 MB มักจะนำไฟล์รูปแบบนี้ไปใช้หรือทำการแปลงเป็นไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น Quick Time , MPEG และอื่นๆ ได้อีกด้วยคุณภาพของการแปลงไฟล์ ภาพและเสียงจะแตกต่างกันเล็กน้อย AVI( Audio Video Interleave )
MPEG ( Motion Picture Expert Group ) เป็นรูปแบบของการบีบอัดไฟล์ข้อมูลเสียงหรือไฟล์ วีดีโอให้มีขนาดเล็กลง มักจะใช้ในการสร้างแผ่น VideoCD – VCD SVCD DVD หรือ KaraOk(ไฟล์ที่มีนามสกุล *.mpg) จะต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะอย่างเช่น Power DVD, XingMpeg
MPEG -1 ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2535 ซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ที่เข้ารหัสมาด้วยการบีบอัดให้ได้ไฟล์ที่มี ขนาดเล็ก เพื่อสำหรับการสร้างวิดีโอแบบ VCD โดยจะมีการบีบอัดข้อมูลสูง มีค่าบิตเรตอยู่ที่ 1.5 Mb/s ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกับเทปวิดีโอ MPEG -2 ถือกำเนิดขึ้นในปี 2538 ซึ่งเป็นรูปแบบของไฟล์ที่เข้ารหัสมาเพื่อการสร้างภาพยนตร์โดยเฉพาะ โดยสามารถสร้างเป็น SVCD หรือ DVD ก็ได้ ซึ่งอัตราการบีบอัดข้อมูลจะน้อยกว่า MPEG-1 ไฟล์ที่ได้จึงมีขนาดใหญ่กว่าและได้คุณภาพสูงกว่าด้วย อีกทั้งค่าบิตเรตก็ไม่ตายตัว ทำให้สามารถกำหนดอัตราการบีบอัดข้อมูลได้เอง
MPEG -3 ถูกพัฒนาไปในรูปแบบของเสียงที่รู้จักกันดีคือ MP3 MPEG -4 เป็นรูปแบบของไฟล์แบบใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2541 จากความร่วมมือกันของวิศวกรทั่วโลกและได้เป็นมาตรฐานของนานาชาติเมื่อปี 2542 ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติวงการดิจิตอลวิดีโอ เพราะมีรูปแบบการบีบอัดที่ดีกว่า MPEG-1 และ MPEG-2 โดยไฟล์ประเภทนี้จะมีคุณภาพของวิดีโอสูง สามารถสร้างรหัสภาพวิดีโอได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานอยู่ 3ประเภท คือ ระบบโทรทัศน์แบบดิจิตอล งานด้านแอพพลิเคชันกราฟิกและมัลติมีเดียต่างๆ ปัจจุบัน mp4 ใช้มากในสื่อบนโลกออนไลน์
RM,RPM เป็นรูปแบบหนึ่งของไฟล์มัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นโดย RealNetwork Inc. จะมีรูปแบบเฉพาะตัวในการเล่นไฟล์มัลติมีเดียภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องที่ เรียกว่า Streaming โดยเฉพาะมีโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ปะเภทนี้ได้แก่ RealPlayer RealAudio สามารถนำเสนองานบนอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี
Shockwave Flash เทคโนโลยีที่นำทั้งภาพและเสียงและยังจะโต้ตอบกับผู้ ใช้งานได้ด้วย เช่นการกดปุ่ม การเปลี่ยนภาพเมื่อคลิ้กที่ Flash สามารถเล่นเกมส์ได้หลายอย่าง อย่างที่เราคุ้นเคยในรูปของเกมส์ Flash นามสกุล .swf
มาตรฐานของวิดีโอมีอยู่ด้วยกัน 4รูปแบบ คือ VCD SVCD DVDและ BD ซึ่งคุณภาพของ วิดีโอก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท โดยแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้
VCD( Video Compact Disc ) VCD เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล ความจุของแผ่น VCD โดยปกติจะอยู่ที่ 74/80 นาทีหรือประมาณ 650/700 เมกกะไบต์ โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 1 มีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 352 x 288 พิกเซลในระบบ PAL และ 352 x 240 พิกเซลในระบบ NTSC คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป VHS ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์ และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน VCD ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น CD-R ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว และแผ่น CD-RW ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ แต่แผ่น CD-RW มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น VCD หลายๆ รุ่น
SVCD( Super Video Compact Disc ) SVCD เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ VCD แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 2 จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 482 x 576 พิกเซลในระบบ PAL และ 480 x 480 พิกเซลในระบบ NTSC ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น VCD หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้ โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น DVD หรือ VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก CD – ROM จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
DVD ( Digital Versatile Disc ) DVD เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ VCD หลายเท่าตัว โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่ 720 x 480 พิกเซลในระบบ PAL และ 720 x 576 พิกเซลในระบบ NTSC โดยมาตรฐานของแผ่น DVD ก็มีหลายประเภท เช่น DVD + R/RW , DVD – R/RW , DVD + RDL และ DVD + RAM ซึ่งความจุของแผ่น DVD ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น โดยมีตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ไปจนถึง 17 กิกะไบต์ ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท DVD คงจะเข้ามาแทนที่ VCD ได้ในไม่ช้า
BD ( Blu-ray Disc ) มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ HD-DVD ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์
อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
รูปแบบชนิดของภาพแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ภาพแบบ บิตแมป( Bitmap ) หรือ ราสเตอร์( Raster )คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆมารวมกันจนเป็นภาพใหญ่คล้ายจิ๊กซอร์สามารถดูได้โดยการซูมภาพเข้าไปกล่าวคือภาพเหล่านี้ยิ่งซูม(ขยาย)ยิ่งแตก จนดูไม่รู้เรื่อง เช่นภาพนามสกุล .JPEG, .TIFF,.GIF และ PNG เป็นต้น
ภาพแบบเวคเตอร์( Vector ) คือภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง, เส้นตรง และคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์(ที่เรามองไม่เห็นด้วยตา)กล่าวคือ ที่จุดๆหนึ่งของภาพที่เราซูมเข้าไปมันจะเกิดจากการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่าภาพเกิดจากเส้นตรง หรือเส้นโค้งที่เอียงกี่องศา เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ เมื่อเราซูมขยายภาพไม่ว่าจะขนาดเท่าไหร่ก็ตามภาพมันจะไม่แตก(ไม่สูยเสียความละเอียดไป) เพราะการซูมภาพเป็นการคูณจำนวนเท่า ลงไปที่คุณสมบัติภาพนั่นเองดังนั้น ถ้าเราแก้ไขภาพก็คือไปแก้ไขคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะย่อหรือขยายกี่ครั้งภาพแบบนี้จะยังคมชัดเท่าเดิมภาพ Vector เหล่านี้ได้แก่- ภาพ .wmf (Clipart ที่เราไว้ตกแต่งใน Microsoft Office นั่นเอง)-ภาพใน Adobe Illustrator, Macromedia Freehand
TIFF ( Tagged Image File Format ) คือการเก็บไฟล์ภาพในลักษณะเดียวกับไฟล์แบบ BMP แต่ในไฟล์มี Tagged File ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยโปรแกรมควบคุมการแสดงภาพ เช่น การแสดงหรือไม่แสดงภาพบางส่วนได้ ภาพที่เก็บไว้ในลักษณะของ TIFF จึงมีความพิเศษกว่าการเก็บแบบอื่น ที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังมีไฟล์ภาพแบบต่างๆ อีกหลายแบบ โดยแต่ละแบบจะมีจุดเด่นแตกต่างกันไป มักนิยมใช่ในงานกราฟิกการพิมพ์
ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์มีอยู่ด้วยกัน 4 ระบบได้แก่ * ระบบ NTSC (National Televion Standards Committee) * ระบบ PAL (Phase Alternation Line) * ระบบ SECAM (SEQuentiel A Memorie("memory sequential") * ระบบ HDTV (High-definition television)
NTSC (National Televion Standards Committee) เป็นระบบโทรทัศน์สีระบบแรกที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปีค.ศ.1953 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ต่อ ๆ มาได้แก่ ญี่ปุ่น แคนาดา เปอเตอริโก้ และเม็กซิโก เป็นต้น
PAL(Phase Alternation Line) เป็นระบบโทรทัศน์ที่พัฒนามาจากระบบ NTSC ทำให้มีการเพี้ยนของสีน้อยลง เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 ในประเทศทางแถบยุโรป คือ เยอรมันตะวันตก อังกฤษ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และมีหลายประเทศในแถบเอเซียที่ใช้กันคือ สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยก็ใช้ระบบนี้
SECAM (SEQuentiel A Memorie("memory sequential") เป็นระบบโทรทัศน์อีกระบบหนึ่งคิดค้นขึ้นโดย Dr.Henry D.France เริ่มใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ.1967 นิยมใช้กันอยู่หลายประเทศแถบยุโรปตะวันออก ได้แก่ ฝรั่งเศส อัลจีเรีย เยอรมันตะวันออก ฮังการี ตูนีเซีย รูมาเนีย และรัสเซีย เป็นต้น