160 likes | 365 Views
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. บรรยายโดย ศรีประภา ถมกระจ่าง ผู้เชี่ยวชาญภารกิจการส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. วัตถุประสงค์.
E N D
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 บรรยายโดย ศรีประภา ถมกระจ่าง ผู้เชี่ยวชาญภารกิจการส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ สำนักงาน ก.พ.ร.
วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานของจังหวัดมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดำเนินการได้ตามแนวทาง วิธีการ ที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 (ข้อ 6) และแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งใช้เป็นกรอบในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามตัวชี้วัดที่ 10 “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” 2
คำอธิบาย • การควบคุมภายใน หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการใช้ทรัพยากร ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลืองหรือการทุจริต ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และนโยบายซึ่งรวมถึงการปฏิบัติงานตามระเบียบของฝ่ายบริหาร • ความสำเร็จของการควบคุมภายในภาคราชการ จะพิจารณาจากความสามารถของหน่วยงานในการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.2544(ข้อ 6) และแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายในของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินที่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ 3
แนวคิดของการควบคุมภายในแนวคิดของการควบคุมภายใน • การควบคุมภายในเป็นกระบวนการที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานตามปกติ • การควบคุมภายในมิใช่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และมิใช่ผลสุดท้ายของการกระทำแต่เป็นกระบวนการ (Process) ที่มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกำหนดไว้ในกระบวนการปฏิบัติงาน (Builtin) ประจำวันตามปกติของส่วนราชการ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงควรนำการควบคุมภายในมาใช้โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารงาน ซึ่งได้แก่การวางแผน (Planning) การดำเนินการ (Executing) และการติดตามผล (Monitoring) • การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้โดยบุคลากรของส่วนราชการ • บุคลากรทุกระดับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้ความสนับสนุนระบบการควบคุมภายในของส่วนราชการให้มีประสิทธิผล โดย • ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดและจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล • การสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมการควบคุม • การกำหนดทิศทาง กลไกการควบคุมและกิจกรรมต่าง ๆ • การติดตามผลการควบคุมภายใน • บุคลากรอื่นของส่วนราชการ • ทำหน้าที่ในการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ฝ่ายบริหารได้กำหนดขึ้น • การควบคุมภายในให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการปฏิบัติงานจะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด • การควบคุมภายในแม้จะออกแบบไว้ให้มีประสิทธิผลดีเพียงใดก็ตาม ก็ไม่สามารถให้ความมั่นใจว่าจะทำให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างสมบูรณ์ตามที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะการควบคุมภายในมีข้อจำกัด เช่น โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากบุคลากร เนื่องจากความไม่ระมัดระวัง การไม่เข้าใจคำสั่ง หรือการใช้ดุลยพินิจผิดพลาด การปฏิบัติผิดกฎหมาย ระเบียบ และกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เป็นต้น 4
เกณฑ์การให้คะแนน : น้ำหนัก ร้อยละ 3 1 2 3 4 5 5
ส่วนราชการประจำจังหวัดมีกลไกการดำเนินการตามแผนการปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และส่งรายงานผลการดำเนินงานตามแผนการปรับปรุงดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทันภายในวันที่ 29 เมษายน 2554 ขั้นตอนที่ 1 • หลักฐานของส่วนราชการประจำจังหวัดที่แสดงถึงกระบวนการในการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เช่น • บันทึกข้อความการรายงานผลการติดตามฯ ต่อหัวหน้าส่วนราชการ • รายงานการประชุมของคณะทำงานฯ ในการติดตามผลการดำเนินการตามแผนฯ • หนังสือเวียนของคณะทำงานฯ ที่สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการตามแผนการปรับปรุงฯ 0.50 คะแนน 1 คะแนน 0.50 คะแนน รายงานความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำหรับการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553* * ซึ่งก็คือรายงานผลการติดตามการปฏิบัติตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของงวดก่อน(แบบติดตามปอ. 3 เดิม) 6
จังหวัดจัดทำการประเมินผลการควบคุมภายในได้ตามแนวทาง : การจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน • มีการดำเนินการครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่ 1(0.80 คะแนน) • จัดส่งหลักฐาน (แบบฟอร์มที่ 1) ดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทันภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554(0.20 คะแนน) ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของแบบฟอร์ที่ 1 • ขั้นตอนที่ 1: ขั้นเตรียมการ (0.20 คะแนน) • คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ พร้อมระบุอำนาจหน้าที่ • แนวทางการประเมินผลการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด • ช่องทางการสื่อสารการสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการประเมินผลฯ ดังกล่าวให้กับแต่ละส่วนราชการประจำจังหวัดได้ทราบ • ขั้นตอนที่ 2: การกำหนดงานในความรับผิดชอบของส่วนราชการประจำจังหวัดออกเป็นกิจกรรม/งาน (0.20 คะแนน) • การกำหนดวัตถุประสงค์ของการควบคุม และกิจกรรมของส่วนราชการประจำจังหวัดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การควบคุมของจังหวัด(ดูจากแบบ ปอ. 3 ของแต่ละส่วนราชการประจำจังหวัด) • ขั้นตอนที่ 3: จัดเตรียมเครื่องมือการประเมินผล (0.20 คะแนน) • จังหวัดจัดเตรียมเครื่องมือการประเมินผลการควบคุมภายในไว้ล่วงหน้า (มีอย่างน้อย 1 เครื่องมือ) เช่น • การจัดทำแบบประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน • การจัดทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการควบคุมภายใน • อื่น ๆ ได้แก่ ตารางแสดงแผนการดำเนินงาน การประชุมระดมสมอง ฯลฯ • ขั้นตอนที่ 4: การดำเนินการประเมินผลการควบคุมภายใน (0.20 คะแนน)* • ประเมินผลระดับส่วนราชการประจำจังหวัด (ดูจากแบบ ปอ. 2 และ แบบ ปอ. 3 ของแต่ละส่วนราชการประจำจังหวัด) • ประเมินผลระดับจังหวัด (ดูจากแบบ ปอ. 2 และ แบบ ปอ. 3 ภาพรวมของจังหวัด) * เครื่องมือประเมินผลที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 3 เป็นเช่นใดแล้วในขั้นตอนที่ 4 นี้ จะต้องมีหลักฐานการประเมินตามเครื่องมือดังกล่าวด้วยเช่น กรณีมีการจัดทำแบบสอบถาม ส่วนราชการประจำจังหวัดต้องสามารถแสดงหลักฐานการตอบแบบสอบถามดังกล่าว 7
ส่วนราชการประจำจังหวัดสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ขั้นตอนที่ 3 0.50 คะแนน รายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของส่วนราชการประจำจังหวัด ที่ยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุม และยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554(ให้รายงานตามแบบฟอร์มที่ 2) 1 คะแนน 0.50 คะแนน จังหวัดรวบรวมรายงานตามแบบฟอร์มที่ 2 ของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมดแล้วจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 8
การวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนราชการประจำจังหวัด A กระดาษทำการ ตัวอย่าง ดังนั้นร้อยละของจำนวนจุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนรารชการประจำจังหวัด A คือ ร้อยละ 20 จำนวนจุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และยังคงมีอยู่เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวนจุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในทั้งหมดของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 X 100 = (20-16) X 100 = 20 = 20 9
การวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนราชการประจำจังหวัด A ตัวอย่าง 10
การวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่ยังคงปรากฏอยู่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของส่วนราชการประจำจังหวัด A ตัวอย่าง 11
ขั้นตอนที่ 4 จังหวัดจัดทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 (ข้อ 6) หลักฐานของส่วนราชการประจำจังหวัดในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544(ข้อ 6) โดยจัดส่งเฉพาะหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปอ. 1) ให้สำนักงาน ก.พ.ร.* และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 0.50 คะแนน 1 คะแนน หลักฐานของจังหวัดในการจัดทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด โดยจัดส่งเฉพาะหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปอ. 1) ให้สำนักงาน ก.พ.ร.* ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 0.50 คะแนน *ให้จังหวัดรวบรวมหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปอ. 1) ของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมด และจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. พร้อมกับหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด (แบบ ปอ. 1 ภาพรวมของจังหวัด) 12
จังหวัดสามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผลจังหวัดสามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิผล ขั้นตอนที่ 5 ในขั้นตอนนี้จะประเมินจากระดับคะแนนของจังหวัดที่ได้จากตัวชี้วัดที่ 1.2 ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด* โดยจังหวัดไม่ต้องจัดส่งเอกสารหลักฐานใด ๆ ซึ่งรายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนนปรากฏ ดังนี้ * ค่าคะแนนระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของจังหวัด ขึ้นอยู่ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของจังหวัดที่ได้คัดเลือกจากรายการใน 8 ประเด็นยุทธศาสตร์ตามที่ได้กำหนดไว้ 13
การรายงานรอบ 12 เดือน สรุปเอกสารหลักฐานที่จะต้องจัดส่งเพื่อใช้ประกอบการประเมินผลตามตัวชี้วัด • หลักฐานที่จังหวัดรวบรวมของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมด แล้วจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2554 ประกอบด้วย • หลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการในการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • รายงานความก้าวหน้าของผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2554สำหรับการติดตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 การรายงาน รอบ 6 เดือน • หลักฐานที่จังหวัดรวบรวมของส่วนราชการประจำจังหวัดทั้งหมด แล้วจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วย • แบบฟอร์มที่ 2 รายงานผลการวิเคราะห์จุดอ่อน/ความเสี่ยงของระบบการควบคุมภายในของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบปอ. 1) • หลักฐานการนำส่งหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบปอ. 1) ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน • หลักฐานของจังหวัด ที่จัดส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ประกอบด้วย • แบบฟอร์มที่ 1 แบบฟอร์มรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในด้วยตนเอง • หนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายในในภาพรวมของจังหวัด (แบบปอ. 1 ภาพรวมของจังหวัด) 14
เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ผู้รับผิดชอบ 15
Q & A 16