1 / 46

แนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ ด้วยการสร้างขีดความสามารถ ในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบ Thailand e-Government Interoperabil

ร่าง. แนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ ด้วยการสร้างขีดความสามารถ ในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบ Thailand e-Government Interoperability Framework. TH e-GIF. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สถาบันนวัตกรรมไอที. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หัวข้อที่นำเสนอ. วัตถุประสงค์ ของ TH e-GIF

albert
Download Presentation

แนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ ด้วยการสร้างขีดความสามารถ ในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบ Thailand e-Government Interoperabil

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ร่าง แนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐด้วยการสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบThailand e-Government Interoperability Framework TH e-GIF กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถาบันนวัตกรรมไอที มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  2. หัวข้อที่นำเสนอ • วัตถุประสงค์ ของ TH e-GIF • แนวทางหลักในการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ • การสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบ • วิธีการสร้างความสอดคล้องของรายการข้อมูล(Data Harmonization) • ข้อปฏิบัติ และกฎกติกาการออกแบบโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Specifications & Rules for XML Schema) • มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อการปฏิบัติงานร่วม(Technical Interoperability) • การบริหารจัดการ การปรับปรุงและการกำกับการใช้มาตรฐาน

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่อตอบสนองนโยบายของ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT)ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงข้อมูลและ การปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบสารสนเทศ ที่มีความแตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ เพื่อนำไปสู่การสร้างระบบธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถให้ “บริการร่วม” และ “เบ็ดเสร็จ”* ณ จุดเดียวกันได้ • โดยการกำหนดมาตรฐานร่วม และ แนวทางการสร้างระบบที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกันแม้จะอยู่ต่างหน่วยงาน หรือ มีระบบไอซีทีที่แตกต่างกัน *Linked-up Serviceหรือ One Stop Service

  4. 4 3 2 1 ประชาชนเดินทางมาขอบริการ ความก้าวหน้า 4 ระดับของระบบไอซีทีนโยบาย IT2010 - ส่งเสริมให้หน่วยราชการไทยสร้างระบบในระดับที่ 3 และ 4 มากขึ้น ระดับความก้าวหน้าของระบบไอซีที ประชาชน ระบบบริการร่วม หรือ One stop service เว็บ เซอร์วิส หน่วยงาน ก เว็บ เซอร์วิส หน่วยงาน ข เว็บ เซอร์วิส หน่วยงาน ค เว็บ เซอร์วิส หน่วยงาน ง เว็บ เซอร์วิส เว็บ เซอร์วิส แลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบกับระบบอัตโนมัติ เว็ป แอพริเคชั่น เว็ป แอพริเคชั่น ประชาชนใช้บริการธุรกรรมผ่านเว็ปอินเทอร์เน็ต ระบบไอซีที ภายใน หน่วยงาน ง ระบบไอซีที ภายใน หน่วยงาน ก เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่

  5. ประเด็นปัญหา • ระบบสารสนเทศภาครัฐยังไม่ได้มีการบูรณาการเชื่อมต่อกันมากเท่าที่ควร • การใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐยังทำได้ยาก • หน่วยงานภาครัฐจัดเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน ประชาชนจึงยังต้องยื่นข้อมูลซ้ำๆ ตามเงื่อนไขการรับข้อมูลที่ต่างกันของแต่ละหน่วยงาน • ข้อมูลยังขาดความเป็นเอกภาพ • ใช้เวลา และมีภาระค่าใช้จ่ายสูง ที่บ่อยครั้งไม่ก่อให้เกิดคุณค่าเพิ่มแก่ทั้งหน่วยงานภาครัฐเองและประชาชน

  6. อุปสรรคของการบูรณาการระบบสารสนเทศภาครัฐอุปสรรคของการบูรณาการระบบสารสนเทศภาครัฐ • ยังขาดการบูรณาการขั้นตอนการทำงานข้ามหน่วยงาน ทำให้เห็นภาพความซ้ำซ้อนยุ่งยากที่มีอยู่ได้ไม่ชัดเจน • เงื่อนไขการจัดเก็บข้อมูล และหลักเกณฑ์ในการกำหนดชื่อรายการข้อมูลแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน • โครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการออกแบบมีพื้นฐานอยู่บนชื่อรายการข้อมูลที่ต่างกัน • การใช้กฏเกณฑ์การสื่อสารในการร้องขอและตอบสนองระหว่างระบบที่แตกต่างกัน ทำให้บูรณาการเชื่อมโยงได้ยาก

  7. เนื้อหาหลักแนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐเนื้อหาหลักแนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ • ข้อเสนอแนะที่ควรกำหนดเป็นมาตรฐานกลาง มีดังนี้ • แนวทางการพัฒนาระบบบริการร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ • มาตรฐานกลางในการกำหนดชื่อรายการข้อมูลเพื่อการสร้างความสอดคล้องของเอกสาร(Data Harmonization) • ข้อกำหนดโครงสร้างข้อมูลของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(Data Interoperability/Standards)และ • มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อการปฏิบัติงานร่วม(Technical Interoperability/Standards) • ข้อเสนอด้านกลไกการบริหารจัดการมาตรฐานเพื่อ • การสร้างการมีส่วนร่วมและการยอมรับ-นำใช้งาน • การสนับสนุน กำกับและบังคับใช้มาตรฐาน • การบริหารการเปลี่ยนแปลงและ ปรับปรุงมาตรฐานอย่างต่อเนื่องเพื่อการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานกลางนี้ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

  8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • สามารถใช้ TH e-GIFเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของ ก. ไอซีที ในการผลักดันการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ของทั้งภาครัฐ (และ ภาคเอกชนที่มาใช้บริการ) ที่ก้าวไปสู่ “การบริการแบบเชื่อมโยง”(Collaborative e-Services) เช่น ใช้ในการกำหนดนโยบาย และ จัดทำโครงการของหน่วยงาน • หน่งยงานราชการต่างๆ ใช้เป็นคู่มือพื้นฐาน สำหรับทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่เทคนิคในการเขียนข้อกำหนดทางเทคนิคของโครงการ และ ใช้เป็นแนวทางการสร้างระบบไอซีทีที่จะมีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบได้

  9. สำหรับ ผู้บริหารระดับสูง สำหรับ ผู้บริหารระดับกลางและ ระดับปฏิบัติการ สำหรับ ผู้บริหารระดับ ผอ. และ ผู้ปฏิบัติงาน สำหรับ นักไอที โครงสร้างรายงานแนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ • บทสรุปผู้บริหาร • แนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ • นิยาม และ ขอบเขต • นโยบายเพื่อการสร้างความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ • แนวทางการพัฒนาระบบบริการร่วม • วิธีการกำหนดชื่อรายการข้อมูลและ การสร้างความสอดคล้องของเอกสาร • มาตรฐานในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลของ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ • วิธีการสร้างแบบจำลองข้อมูลของเอกสาร(CCTS-Core Component Technical Specificationv2.01) • กติกาการตั้งชื่อและกฎการออกแบบโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(NDR - Naming and Design Rules for XML Schema)

  10. สำหรับ นักไอที สำหรับ ผู้บริหารระดับ ผอ. ผู้ปฏิบัติงาน และ นักไอที สำหรับ ผู้บริหารระดับ ผอ. ผู้ปฏิบัติงาน และ นักไอที โครงสร้างรายงานแนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ • มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อการปฏิบัติงานร่วม • หลักการเลือกมาตรฐานทางเทคนิค • ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้ • การบริหารจัดการ การปรับปรุงและ การกำกับการใช้มาตรฐาน • นโยบายเพื่อการกำกับการใช้มาตรฐาน • ความสอดคล้องตามมาตรฐาน • ตัวอย่างโครงการ

  11. สำหรับ ผู้บริหารระดับสูงและ ปฏิบัติการ แนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ[ด้วยการสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบ] นิยาม และ ขอบเขต นโยบายเพื่อการสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมทางอิเล็กทรอนกิส์ แนวทางการพัฒนาระบบบริการร่วม

  12. นิยาม ของการปฏิบัติงานร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ • “การปฏิบัติงานร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์” (Interoperability) คือ ความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างระบบไอซีทีที่แตกต่างกัน ได้อย่างอัตโนมัติ • “แนวทางบูรณาการข้อมูลภาครัฐ ด้วยการสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมระหว่างระบบ” (TH e-GIF)คือ ชุดของข้อเสนอแนะ, แนวทางการพัฒนาระบบ, มาตรฐานกลางการกำหนดด้านชื่อรายการข้อมูล, ข้อกำหนดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และมาตรฐานทางเทคนิคที่กำหนดเป็นมาตรฐานกลางในการเชื่อมโยงระหว่าง ระบบสารสนเทศที่มีความแตกต่างกัน ชุดของมาตรฐานนี้ควรจะมีการประกาศใช้ และมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ เมื่อมีเทคโนโยลีใหม่และเมื่อมีความต้องการใช้งานที่กว้างขวางมากขึ้น

  13. นโยบายของประเทศเพื่อการปฏิบัติงานร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์นโยบายของประเทศเพื่อการปฏิบัติงานร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ • รัฐบาลจะให้การสนับสนุน และ ผลักดันการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ “ประชาชนเป็นศูนย์รวมของการให้บริการ” (User-centric Services) • มุ่งเน้นการสร้างระบบที่สามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่มีระบบไอซีทีที่แตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ(Cross Platforms Interconnection) • เลือกใช้มาตรฐานเปิดและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล(Open & International Standards)* เพื่อเพิ่มโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับประเทศและระดับสากล โดยไม่ถูกผูกขาดกับผลิตภัณฑ์ใดๆ แต่มีต้นทุนการพัฒนาไม่สูงมาก • กำหนดกติการ่วม (Common Rules)การตั้งชื่อรายการข้อมูล เพื่อมุ่งสู่การกำหนดชุดรายการข้อมูลร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแบบบูรณาการ และเบ็ดเสร็จมากขึ้น • สร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วม(Stakeholders Collaboration)ในเนื้อหาของมาตรฐานร่วมนี้ เพื่อให้เกิดการนำไปใช้พัฒนาระบบจริง • มีกลไกในการปรับปรุงชุดมาตรฐานนี้อย่างต่อเนือง และเป็นระบบ (Change Management)ให้ครอบคลุมและมีประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ที่กว้างขวางมากขึ้นในอนาคต *การใช้มาตรฐานที่เปิดเผยรายละเอียด จากหน่วยงานเปิดที่ยอมรับว่าเป็น สากลเช่น ISO, OASIS, IETF, WCO, UN/CEFACT, W3C

  14. แนวทางการพัฒนาระบบบริการร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์(Linked-Up Service หรือ One Stop Service) ปัจจัยของความสำเร็จ • นโยบายที่ชัดเจน • หน่วยงานเจ้าภาพที่เข็มแข็ง • ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน • ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของโครงการที่ชัดเจน • การวิเคราะห์และลดความซับซ้อนของขั้นตอน และ ปรับความสอดคล้องของเอกสาร (Data Harmonization) • การปรับกฎระเบียบ และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • การบริหารความเสี่ยง - การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นและทางแก้ไข • การใช้มาตรฐานสากล และ ข้อกำหนดเทคนิคแบบเปิด • การสร้าง และ การบริหารระบบไอซีทีสนับสนุน • รูปแบบความยั่งยืน - การลงทุนและการคิดค่าบริการ • ประโยชน์ที่คุ้มค่า การเข้าถึง และการใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้ใช้ • การส่งเสริมการใช้ และการขยายบริการ ด้านนโยบาย ด้านการจัดการ ด้านเทคนิค และ ปฏิบัติการ * UN/CEFACT Recommendation 33 – Establishing Single Window– ก. ไอซีที ได้เผยแพร่ไปแล้ว

  15. สำหรับ ผู้บริหารระดับ ผอ. และ ผู้ปฏิบัติงาน 3. วิธีการกำหนดชื่อรายการข้อมูลและ การสร้างความสอดคล้องของเอกสารData Harmonization

  16. วิธีการวิเคราะห์เพื่อการสร้างความสอดคล้องของเอกสารวิธีการวิเคราะห์เพื่อการสร้างความสอดคล้องของเอกสาร • ทำความเข้าใจกระบวนการทำงานในภาพรวมและความต้องการด้านเอกสารระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยนำเสนอภาพขั้นตอนและเอกสารที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างหน่วยงาน (โดยการใช้ไดอะแกรมมาตรฐานสากลที่เรียกว่า “UML Activity Diagram”)

  17. เอกสาร L/C ภาพตัวอย่าง แสดงขั้นตอน และเอกสาร ที่ใช้สำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศ บัญชีราคาสินค้า รายการบรรจุหีบห่อ ใบตราส่ง ภาระงานด้าน เอกสารจำนวนมากตามความต้องการของหลายหน่วยงาน สามารถลดความซับซ้อนลงได้ ถ้ามีการสร้างความสอดคล้องของเอกสาร และมีการแลกเปลี่ยนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างระบบอย่างอัตโนมัติ

  18. วิธีการกำหนดชื่อรายการข้อมูลเพื่อการสร้างความสอดคล้องของเอกสารวิธีการกำหนดชื่อรายการข้อมูลเพื่อการสร้างความสอดคล้องของเอกสาร • รวบรวมชื่อรายการข้อมูลจากเอกสารที่เป็นกระดาษและ เอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามี) • นิยามชื่อรายการข้อมูลที่ได้ประมวลไว้ จำแนกประเภทและระบุลักษณะข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ โดยอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 11179(ส่วนที่ 2, 3และ 4) • วิเคราะห์ชื่อรายการข้อมูลและระบุชื่อรายการข้อมูลที่มีชื่อเรียกต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน • ปรับลดชื่อรายการข้อมูลที่เรียกต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันให้เหลือเพียงชื่อรายการข้อมูลเดียวโดยกำหนดชื่อเรียกรายการข้อมูลตามมาตรฐานที่มีอยู่และใช้กันเป็นสากล ตามขั้นตอนที่เสนอไว้ใน “ร่างข้อเสนอหมายเลข 34 ของศูนย์สหประชาชาติเพื่อการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (UN/CEFACT) ที่ว่าด้วยการสร้างความสอดประสานของข้อมูล เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบหน้าต่างบริการแบบเบ็ดเสร็จ”

  19. . . Representation Term Object Class Term Property Term เนื้อหาหลักของ ชื่อรายการข้อมูล คุณลักษณะเฉพาะด้าน ของเนื้อหาหลัก ของชื่อรายการข้อมูล ลักษณะของข้อมูล ตัวอย่าง: Country.Name.Text กำหนดชื่อรายการข้อมูลเพื่อการสร้างความสอดคล้องของเอกสาร • ในกรณีที่ชื่อรายการข้อมูลที่ต้องการไม่ได้รับการกำหนดไว้ในมาตรฐานสากล ให้ใช้กฎการตั้งชื่อรายการข้อมูลแบบ Tripartite Name ตามมาตรฐาน ISO 11179 ในส่วนที่ 5และ ISO 15000-5 (CCTS) คือ ให้ชื่อรายการข้อมูลแบ่งเป็น 3 ส่วน

  20. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า[ที่ใช้ในอาเซียน]ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า[ที่ใช้ในอาเซียน]

  21. มาตรฐานชื่อรายการข้อมูล(Standardized Data Set) • ชื่อรายการข้อมูลที่กำหนดไว้จะเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานชื่อรายการข้อมูลของประเทศ(National Standardized Data Set) และเป็นบรรทัดฐานในการกำหนดแบบจำลองข้อมูลของเอกสาร(Document Data Model) ที่นักไอทีจะนำไปใช้พัฒนาโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(XMLSchema)ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้ามระบบต่อไป

  22. ใช้ Interactive PDF ที่เครื่องพีซี กรอกแบบฟอร์มผ่าน เว็ป หรือ ส่งผ่านข้อมูลอัตโนมัติจาก ระบบไอทีของบริษัทไปยังระบบ ภายนอกด้วย XML e-Documents ผู้ใช้กรอบแบบฟอร์มทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ผ่านทางเว็ป หรือ เครื่องพีซีด้วย Adobe Reader, Microsoft InfoPath หรือ ส่งตรงออกจากระบบไอทีของบริษัท ไปยังระบบของหน่วยราชการ บริษัทขนส่งหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างการใช้งาน

  23. สำหรับ นักไอที 4. ข้อกำหนดด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการสร้างแบบจำลองข้อมูลของเอกสาร กติกาการตั้งชื่อและกฎการออกแบบโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(XML Schema)

  24. XML Schemas เปรียบเหมือนสะพานเชื่อมโยง เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและบริการระหว่างระบบภาครัฐและเอกชน

  25. หัวข้อที่นำเสนอ • วิธีการสร้างแบบจำลองข้อมูลของเอกสาร • ข้อกำหนดด้านกติกาการตั้งชื่อและชื่อรายการข้อมูล

  26. ISO 15000-5Core Component Technical Specification • Logical and semantically driven data modeling for getting consistent and unambiguous of data models • Contest-driven and collaborative framework for evolutionary modeling, modification and usage of reusable artifacts

  27. การแปลงเอกสารเป็นแบบจำลองการแปลงเอกสารเป็นแบบจำลอง จัดทำแบบจำลอง

  28. การแปลงแบบจำลองเป็นโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (XML Schema) จัดทำโครงสร้าง เอกสารอิเล็กทรอนิกส์

  29. การแปลงจากโครงสร้างเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (XML) จัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

  30. หัวข้อที่นำเสนอ • วิธีการสร้างแบบจำลองข้อมูลของเอกสาร • ข้อกำหนดด้านกติกาการตั้งชื่อและชื่อรายการข้อมูล

  31. ข้อกำหนดด้านกติกาการตั้งชื่อและ กฎการออกแบบ XML Schema(ให้ใช้ตามมาตรฐานสากล NDR – XML Naming & Design Rules*) นิยาม :“กฎการตั้งชื่อ (Naming Rules)” : คือกฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อที่ปรากฏอยู่ในแท็กซ์ของเอกสาร XML เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล ตัวอย่างกฎการตั้งชื่อข้อที่ 5การตั้งชื่อต้องให้สื่อถึงข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกันในระหว่างการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันที่ถูกต้อง ประเภทอสังหาริมทรัพย์ *UN/CEFACT NDR v2.0 Feb 2006

  32. ความจำเป็นในการใช้“กฎการตั้งชื่อ”ความจำเป็นในการใช้“กฎการตั้งชื่อ” ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อหน่วยงานต่างๆ ไม่ได้ใช้“มาตรการร่วม”เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและบริการ • นักพัฒนาใช้วิธีการหรือหลักการที่แตกต่างกันสำหรับเอกสาร XML หรือเอกสาร XML Schema เช่น • รูปแบบชื่อรายการข้อมูล : lowercase, camelCase, UpperCamelCase, UPPERCASE ตัวอย่างเช่น “propertytype”, “propertyType”, “PropertyType”, “PROPERTYTYPE”, “ประเภทอสังหาริมทรัพย์” • มีการเชื่อมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หลายกลุ่มแต่ไม่สามารถเชื่อมโยงข้ามกลุ่มกันได้แล้วเข้าใจความหมาย (Islands of Information Network) • ไม่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ • เป็นอุปสรรคสำหรับ SME และผู้ต้องการเชื่อมต่อกับระบบรายใหม่ๆ • ระบบต้องมีการรองรับรูปแบบของเอกสาร และโปรโตคอลหลายแบบ ทำให้สิ้นเปลือง • ระบบมีความซับซ้อนมากเกินไป • ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบสูง • มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้งานได้น้อย และอาจถูกผูกขาดทางการตลาด • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง

  33. สำหรับ นักไอที 5. มาตรฐานทางเทคนิคเพื่อการปฏิบัติงานร่วม หลักการเลือกมาตรฐานทางเทคนิค ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้

  34. ภาพตัวอย่าง ขั้นตอนการทำงานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ 2 หน่วยงาน

  35. หลักการเลือกมาตรฐานทางเทคนิคหลักการเลือกมาตรฐานทางเทคนิค • เลือกเทคโนโลยีที่ใช้มาตรฐานเปิดที่สามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอื่นได้โดยไม่ถูกผูกขาดด้วยผลิตภัณฑ์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง • เลือกใช้เทคโนโลยีไม่หลากหลายมากเกินไปจนทำให้มีต้นทุนบำรุงรักษาสูง • รองรับการทำงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต • มีระบบรักษาความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูล • เทคโนโลยีที่มีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  36. ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้ • รองรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ XML • ใช้เทคโนโลยี SOAP และ WSDL ในการใช้งานบริการอัตโนมัติระหว่างระบบ (Web services) • จัดเก็บชื่อรายการบริการต่างๆ ในระบบทะเบียนบริการ UDDI • รองรับการส่งเอกสารได้หลายช่องทาง เช่น https, smtp หรือ ftp • รองรับการเข้ารหัสข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบ SSL เป็นอย่างน้อย

  37. เทคโนโลยี ebXML ที่เสนอให้เลือกใช้ • ebXML Messaging Services (ebMS v2.0) - เป็นโปรโตคอลการรับส่งข้อมูล ที่ต้องการความเชื่อถือในระดับสูง (Reliability & Guarantee Quality of Services) และ เป็นมาตรฐานISO/DTS 15000-2 ด้วย • CPP/CPA – Collaboration Protocol Profile & Agreements เป็นมาตรฐานการกำหนดเงื่อนไขการทำธุรกรรมระหว่างระบบ (ISO/DTS 15000-1) • CCTS - Core Components Technical Specification เป็นมาตรฐานในการกำหนดโครงสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ XML (ISO/DTS 15000-5)

  38. ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้

  39. ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคที่เสนอให้เลือกใช้

  40. สำหรับ ผู้บริหารระดับ ผอ. ผู้ปฏิบัติงาน และ นักไอที 6. การบริหารจัดการ การปรับปรุงและ การกำกับการใช้มาตรฐาน

  41. หน่วยงานประสานการพัฒนา และกำกับดูแลมาตรฐาน • MICT ควรจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อทำหน้าที่ประสานการพัฒนา ดูแลและปรับปรุงมาตรฐาน TH e-GIF โดยดำเนินภาระกิจ ดังนี้ • เป็นผู้ประสานการพัฒนา รวบรวม ดูแลและปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างระบบ เช่น • มาตรฐานชื่อรายการข้อมูล และความหมาย • มาตรฐานแบบจำลองข้อมูล และโครงสร้างของเอกสาร • กติกาในการตั้งชื่อ และการออกแบบ XML Schema (XML Naming and Design Rules) • มาตรฐานเทคนิคในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและบริการอิเล็กทรอนิกส์ • จัดสร้างและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการรวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่มาตรฐานที่กำหนด • เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน จัดทำข้อเสนอและเร่งรัดการดำเนินงานโครงการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างระบบ • ประสานงานกับหน่วยงานที่ดำเนินงานโครงการภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างระบบ • ดูแลและกำกับการพัฒนา ให้เป็นไปตามแนวนโยบาย และข้อกำหนดพื้นฐานของ TH e-GIF • ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน

  42. โครงสร้างองค์กรประสานการพัฒนาและ กำกับดูแลมาตรฐาน

  43. กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเพื่อการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการเปิด เป็นขั้นตอน และใช้ประโยชน์ให้กว้างขวาง

  44. 7. ตัวอย่างโครงการ

  45. กรมส่งเสริม สหกรณ์ กรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น กรมธนารักษ์ การเคหะ แห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรม โรงงานฯ กรมทรัพย์สิน ทางปัญญา กรุงเทพฯ กรมที่ดิน กรมพัฒนา สังคมฯ สำนักงาน การปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม AssetXML ศูนย์ข้อมูลกลางการ แปลงสินทรัพย์เป็นทุน CIC

  46. โครงสร้างพื้นฐานไอที เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนำเข้า-ส่งออก ในปัจจุบันกำลังปรับเปลี่ยนจากระบบ EDI เป็นระบบ ebXML/XML ผู้ให้บริการ Gateway ebMS CAT ebMS กรมศุลกากร Trade Siam ธนาคารกรุงไทย ไทยธนาคาร Netbay ebMS ebMS การท่าเรือแห่ง ประเทศไทย ผู้ให้บริการ VANs ผู้นำเข้า - ผู้ส่งออก หน่วยราชการ อื่นๆ

More Related