10 likes | 202 Views
www.sepo.go.th. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.). ข้อมูลทั่วไป. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์
E N D
www.sepo.go.th ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด: กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ กรรมการผู้แทน กค. :นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ นางวณี ทัศนมณเฑียร Website : www.smebank.co.th โทร. 02265 3000 • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม. 9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด • กรรมการผู้จัดการ (CEO) : นายโสฬส สาครวิศว • สัญญาจ้างลงวันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2552 • ระยะเวลาจ้าง: 5 ก.พ. 52 – 4 ก.พ. 56 • วาระที่ 1 วาระที่ 2ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO • Board รอง CEO บุคคลภายนอก • (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน ธพว.) • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFO พนักงาน สัญญาจ้าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 • วัตถุประสงค์ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจอันเป็นการพัฒนา ส่งเสริม ช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงาน การขยายหรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยการให้สินเชื่อ ค้ำประกัน ร่วมลงทุน ให้คำปรึกษา แนะนำ หรือให้บริการที่จำเป็นอื่นตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ (ม. 11) • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 9 คนซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และให้กรรมการผู้จัดการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการคนใดคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการ(ม. 14) • วาระการดำรงตำแหน่ง: 3 ปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน (ม. 14) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดให้คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ (ม .23) • คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริหารอื่นอีกไม่เกิน 3 คน และให้ผู้จัดการเป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง ให้กรรมการบริหารที่คณะกรรมการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี (ม. 22) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน : 6,490 – 224,950 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี): 11,350 บาท จำนวนพนักงาน : 1,713 คน(31 พ.ค. 54) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องห้ามมิให้เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ (ม. 15) (1) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของธนาคาร ยกเว้นผู้จัดการ (2) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (3) เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (4) เคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการของธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นที่ได้กระทำหรือมีส่วนในการกระทำอันเป็นเหตุให้ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต (5) เป็นข้าราชการการเมืองหรือเป็นผู้มีตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่มีโครงการที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน • สิทธิพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง • กรณีที่ธนาคารได้รับความเสียหายเนื่องจากการดำเนินธุรกิจตามคำสั่งของรัฐมนตรีตามมาตรา 32 หรือตามข้อตกลงที่ธนาคารทำไว้กับรัฐบาล กระทรวงการคลังอาจพิจารณาชดเชยความเสียหายให้แก่ธนาคารตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติจาก ครม. แล้วและให้ยื่นขอรับการชดเชยความเสียหายดังกล่าวในรอบปีบัญชีถัดไป (ม. 34) • ระหว่างที่ธนาคารมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ธนาคารอาจขอให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ที่ธนาคารกู้ยืมจากแหล่งเงินกู้ในต่างประเทศหรือภายในประเทศได้แต่จำนวนเงินกู้ที่ธนาคารจะขอให้รัฐบาลค้ำประกันเมื่อรวมกับต้นเงินกู้ที่การค้ำประกันของรัฐบาลยังค้างอยู่ต้องไม่เกินสิบสองเท่าของเงินกองทุนของธนาคาร(ม. 40 วรรค 1) ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นายวัชรพงษ์ วรรณตุง โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6720 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 363/2551 (กรณี ธพว. จ้างเอกชนบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ) การที่รัฐจ้างเอกชนมาเป็นผู้บริหารหนี้ด้อยคุณภาพ โดยไม่ได้มีการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือมอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาต การให้สัมปทาน หรือให้สิทธิไม่ว่าในลักษณะใด แม้ว่าจะมีการกำหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนของผู้รับจ้างบริหารหนี้แต่ก็เป็นเพียงการจูงใจให้เอกชนทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การดำเนินการว่าจ้างเอกชนเพื่อมาบริหารหนี้ด้อยคุณภาพดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ