1 / 90

Business Policy : PEPSI

Business Policy : PEPSI.

amiel
Download Presentation

Business Policy : PEPSI

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Business Policy :PEPSI

  2. คศ.1898 นาย คาเลบ แบรดแฮม เภสัชกรจากเมืองนิวเบิร์น รัฐนอร์ธ คาโรไลนา ได้เปลี่ยนชื่อเครื่องดื่มคาร์บอเนต "แบรดส์ ดริงค์" (Brad's Drink)ที่เขาเป็นผู้ปรุงขึ้นเพื่อบริการลูกค้าร้านขายยาของเขา ไปเป็นชื่อ "เป๊ปซี่-โคลา" (Pepsi-Cola) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม คศ.1902 นายแบรดแฮม ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายใต้ชื่อ "เป๊ปซี่ - โคล่า" (Pepsi-Cola)

  3. คศ.1923 บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า ถึงคราวต้องประกาศล้มละลาย และต้องขายสินทรัพย์ให้แก่บริษัท คราเวน โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น ในนอร์ธ คาโรไลน่า เป็นจำนวนเงิน 30,000 เหรียญสหรัฐ รอย ซี. เม็กการ์เกล (Roy C. Megargel) นายหน้าค้าหุ้นจากตลาดหุ้น วอลล์ สตรีท ได้ซื้อเครื่องหมายการค้า, ธุรกิจ รวมถึงความนิยมที่ได้สร้างสมมา จาก คราเวน โฮลดิ้ง คอร์เปอเรชั่น เป็นจำนวนเงิน 35,000 เหรียญสหรัฐ และก่อตั้งเป็นบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า คอร์เปอเรชั่น

  4. คศ.1965ผู้ถือหุ้นของ PepsiCola และ Frito-Lay ตกลงรวมกิจการ จึงถือกำเนิดบริษัทเป็ปซี่โคขึ้น ซึ่งถือเป็นการรวมกิจการของบริษัทเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่ และผู้นำในธุรกิจด้านขนมขบเคี้ยวรสเค็ม คศ.1977ได้มีการเข้าซื้อกิจการ Pizza Hut ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่กำหนดทิศทางทางกลยุทธ์ของเป็ปซี่โคในช่วง 20 ปีต่อมา คศ.1986ได้มีการเข้าซื้อกิจการ Kentucky ซึ่งได้สร้างผลงานทางธุรกิจ คือความสมดุลย์ของเก้าอี้สามขา

  5. คศ.1992ขยายธุรกิจออกไปนอกเหนือจากธุรกิจน้ำอัดลมโดยการทำสัญญากับ Ocean spray คศ.1994เริ่มธุรกิจน้ำบรรจุขวด Aquafina และกาแฟพร้อมดื่ม Frappuccino คศ.1996ผู้บริหารเริ่มรับรู้ว่าทฤษฎีเก้าอื้สามขา เป็นสิ่งที่ทำได้สำเร็จได้ยาก เนื่องจากผลประโยชน์ได้ถูกหักล้างไปด้วยการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง คศ.1997CEO Roger Enrico ได้แยกสายธุรกิจร้านอาหารออกไป เป็นบริษัทมหาชนอีกบริษัทหนึ่ง เพื่อมุ่งเน้นการทำธุรกิจขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มของเป็ปซี่โค

  6. คศ.2001ได้เข้าซื้อกิจการ Quaker Oatsซึ่งถือเป็นการเข้าซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดที่เป็ปซี่โคเข้าซื้อ คศ.2006เพื่อขยายรายการผลิตภัณฑ์ภายใต้ brand เป็ปซี่โค ได้เข้าซื้อกิจการ stacy’s bagel and pizza chips , น้ำอัดลม Izze, Duyvis nut ,Star Foods คศ.2007ได้เข้าซื้อกิจการเครื่องดื่มน้ำผลไม้ Naked Juice,เครื่องดื่ม Sandora , ขนมขบเคี้ยว Bulebird ฯลฯ ปัจจุบัน กลยุทธ์ของ PepsiCo ได้มีสินค้าที่หลากหลายประเภท จึงทำให้แบรนด์ของเป๊ปซี่โคอยู่ในระดับต้น โดยผ่านกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพันธมิตร การขยายตัวระหว่างประเทศ และกลยุทธ์การเข้าซื้อกิจการ และเปลี่ยนรูปแบบสินค้าสำหรับขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่เป็นภัยต่อสุขภาพให้น้อยลง

  7. ปัจจุบัน (ต่อ) Pepsicoได้จัดการภายในองค์กรออกเป็น 4 ส่วนธุรกิจ ดังนี้ • ธุรกิจ Frito- Lay ในอเมริกาเหนือ • ธุรกิจเครื่องดื่มเป๊ปซี่โค ในอเมริกาเหนือ • ธุรกิจการผลิตระหว่างประเทศของเป๊ปซี่โค • ธุรกิจผลิตอาหารของ Quaker ในอเมริกาเหนือ ซึ่ง CEO คนปัจจุบันของ PepsiCo คือ INDRA K. NOOYI

  8. วิวัฒนาการของ Logo

  9. Step 1 : Identify firm’s existing vision, mission, value, corporate good governance objectives, and strategies.

  10. Vision เราปรารถนาที่จะทำให้ PepsiCo เป็นบริษัทผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคที่มีระดับ มุ่งเน้นอาหารและเครื่องดื่มที่สะดวก เรามองหาที่จะสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่ดีให้กับนักลงทุน เราให้โอกาสที่จะเติบโตและสร้างคุณค่าให้กับพนักงานของเรา หุ้นส่วนทางธุรกิจและชุมชนที่เราได้ดำเนินธุรกิจ สิ่งต่าง ๆ ที่เราทำ เรามุ่งเน้นการกระทำที่ซื่อสัตย์ เปิดเผย ยุติธรรม และตรงไปตรงมา Mission "ความรับผิดชอบของ PepsiCo คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกด้านของโลกที่เราดำเนินการ รวมถึงสภาพสังคมเศรษฐกิจ และ การสร้างอนาคตที่ดีกว่าวันนี้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติผ่านโปรแกรมและเน้นการดูแลสิ่งแวดล้อมกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของสังคมและมุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าผู้ถือหุ้นโดยทำให้ PepsiCo เป็น บริษัทที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

  11. Value 1.เน้นในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 2.เน้นการให้สร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งขององค์กรและปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึกและจริยธรรมที่ดี 3.เน้นในเรื่องคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กร รวมถึง การพัฒนาด้านทักษะต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อพนักงานและองค์กร 4.เน้นในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่คำนึงต่อสุขภาพของผู้บริโภค 5.เน้นในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสังคม โดยมีการจ้างแรงงานในท้องถิ่น ให้ทุนการศึกษา เป็นต้น ค่านิยมและปรัชญา

  12. Corporate good governance objectives - นโยบายและหลักการกำกับดูแลกิจการ - ดำเนินการโดยคำนึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น - จัดการประชุมผู้ถือหุ้นโดยจัดสรรเวลาให้ผู้ถือหุ้น - ภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ และความเป็นอิสระของคณะกรรมการในการตัดสินใจ - ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการ และฝ่ายจัดการควรขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรอบคอบ - ส่งเสริมการจัดทำแนวทางเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจ เพื่อให้กรรมการ และลูกจ้างทุกคนได้รับทราบ - การถ่วงดุลของจำนวนกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร - การแยกหรือกำหนดหน้าที่ของ ประธาน ของกรรมการ หรือ ของผู้จัดการให้มีความชัดเจน - กำหนดค่าตอบแทนของกรรมการ และผู้บริหารให้เหมาะสมต่อหน้าที่และความรับผิดชอบ - กำหนดการประชุมคณะกรรมการไว้ล่วงหน้า

  13. Objectives • ขยายฐานผู้บริโภคให้กว้างขี้น เพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำในด้านขนมขบเคี้ยว • สร้างผลกำไรและการเติบโตอย่างยั่งยืนธุรกิจเครื่องดื่ม • ทำให้กลยุทธ์ Power of One แข็งแกร่งขึ้น • เร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Good-for-You คือผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ให้หลากหลายมากขึ้น • ดำเนินการในด้านการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่อง • พัฒนาและรักษาความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคมที่อยู่ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน • Strategies • กลยุทธ์ระดับองค์กร(Corporate Strategy) ใช้กลยุทธ์เติบโต (Growth Strategy) โดยขยายตลาดไปยังตลาดใหม่ในอเมริกาเหนือและเอเชีย เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายและการเจริญเติบโตของบริษัทให้ประสบความสำเร็จ

  14. กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ(Business Strategy) ใช้กลยุทธ์ผู้นำด้านความแตกต่าง โดยคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ใส่ใจในสุขภาพและเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าได้ทุกกลุ่ม กลยุทธ์ระดับฟังก์ชั่นงาน (Functional Strategy) - กลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing Strategy) บริษัทเน้นการเติบโต คือ มุ่งเน้นการพัฒนาตลาด โดยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในปัจจุบันหรือพัฒนาตลาดขึ้นมาใหม่ โดยบริษัทได้ - หา Location ใหม่ คือ บริษัททำตลาดใหม่ในอเมริกาเหนือและเอเชีย เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายและการเจริญเติบโตของบริษัท ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ โดยอยู่อันดับ 2 ของโลกในธุรกิจน้ำดำตามหลัง Coca-Cola - หา Segment ใหม่ เช่น ผลิตสินค้าที่ใส่ใจสุขภาพ เจาะกลุ่มคนที่ใส่ใจในสุขภาพ

  15. Step 2 : Develop vision, mission, value and good governance statements for the organization.

  16. Developed Vision เป็นผู้นำโลกด้านธุรกิจอาหาร ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ภายในปี 2015 Developed Mission เป็นผู้นำโลกด้านธุรกิจผลิตเครื่องดื่มที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองทุกความคาดหวังของลูกค้า โดยนำเสนอนวัตกรรมที่โดนใจโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่ดีให้กับนักลงทุน และให้โอกาสที่จะเติบโตและสร้างคุณค่าให้กับพนักงาน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

  17. Developed Value Leadership เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์เครื่องดื่มที่มีคุณภาพให้กับโลก Collaboration จัดสรรบุคคลากรที่มีความสามารถสู่ตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลนั้นสามารถแสดงศักยภาพสูงสุด Integrity ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยความจริงใจ Accountability มุ่งเน้นในการสร้างสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม Passion for Winning กระตุ้นความอยากรู้ถึงความคาดหวัง และสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกฝ่ายค้นหาผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง Quality สร้างสรรค์เฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าเท่านั้น

  18. Step 3 : Identify the organization’s external opportunities and threats

  19. Opportunities • ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ • การสื่อสารไร้พรมแดน ทำให้ผลิตภัณฑ์เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งในอนาคตข้างหน้าเทคโนโลยีย่อมพัฒนาขึ้น อย่างมากช่วยในด้านการผลิต การโฆษณาช่วยให้ผู้บริโภครู้จักได้มากขึ้น • ลักษณะของสินค้า เนื่องจากตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องดื่มโคล่านั้นมีจุดต่างจากเครื่องดื่ม อื่นซึ่ง ผู้บริโภคเชื่อว่าดื่มแล้วช่วยสร้างความสดชื่นซึ่งเป็นเสมือนจุดขายของ สินค้านี้ • จากผลสำรวจ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชื่นชอบรสชาติของเป๊ปซี่มากกว่า

  20. Threats • มีสินค้าตัวแทน เนื่องจากตลาดเครื่องดื่มนี้มีการขยายออกอย่างแพร่หลายทำให้ผู้บริโภค มีทางเลือกมากขึ้นกว่าในอดีต • ราคาของวัตถุดิบผันผวน เช่น ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นย่อมทำให้ส่งผลต่อราคาต่อหน่วยของสินค้าด้วยหากราคาสูงขึ้น ความต้องการย่อมลดลง • ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เมื่อเศรษฐกิจแย่ลงย่อมมีผลต่อการบริโภคของประชาชนซึ่ง จะบริโภคอย่างจำกัดมากขึ้น • การแข่งขันที่รุนแรง ทั้งตลาดเดิมและเครื่องดื่มใหม่ๆที่พยายามเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้การจะครองส่วนแบ่งตลาดจำนวนมากนั้นยากขึ้น • ค่านิยมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง คือให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากขึ้นทำให้ ผู้บริโภคลดการบริโภคเครื่องดื่มโคล่าลง เนื่องจากไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และให้ความสนใจกับสินค้าที่ให้ผลดีกับสุขภาพมากขึ้น • การแพร่ของข่าวความผิดพลาดในการผลิต ทำให้เกิดความเสียหายกับตราสินค้า ผู้บริโภคอาจไม่เชื่อถือและเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้

  21. Step 4 : Construct a Competitive Profile Matrix (CPM)

  22. ส่วนครองตลาด (Market Share) • พิจารณาจากส่วนแบ่งทางการตลาดในระดับเดียวกันปี 2007 -2008

  23. จากสถิติจะพบว่าเครื่องดื่มอันดับ 1 ที่มีผู้บริโภคมากสุดคือ Coke และรองลงมาคือ Pepsi ซึ่งการวิเคราะห์นี้กำหนดปัจจัย Critical Success Factors ดังนี้

  24. Step 5 : Construct an External Factor Evaluation (EFE) Matrix

  25. EFE Matrix

  26. EFE Matrix

  27. EFE Matrix

  28. จากตาราง EFE Martix ปัจจัยที่สำคัญที่สุด สำหรับธุรกิจนี้คือ ค่านิยมของผู้บริโภคมี การเปลี่ยนแปลง คือให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคลดการบริโภคเครื่องดื่ม โคล่าลง เนื่องจากไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และให้ความสนใจกับสินค้าที่ให้ผลดีกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากมีน้ำหนัก เท่ากับ 0.36 ส่วนปัจจัยที่ PepsiCo สามารถรับมือได้ดีที่สุดคือ ตลาดยังเปิดกว้างสำหรับเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์ ซึ่ง PepsiCo ควรที่จะเพิ่มสินค้า ที่เน้นใน เรื่องสุขภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายและครองส่วนแบ่งทางการตลาด การที่คะแนนเฉลี่ยถ่วง น้ำหนักเท่ากับ 2.74 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ย (2.5) แสดงให้เห็นว่า PepsiCo สามารถ รับมือกับปัจจัยภายนอกได้ดี คือ สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มี และหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่ต้อง เผชิญได้ เป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้อีก เพราะคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักสูงสุด อยู่ที่ 4.0

  29. Step 6 : Identify the organization’s internal strengths and weaknesses.

  30. จุดแข็ง (Strengths) • เป็น Global Brand ที่สั่งสมความน่าเชื่อถือมายาวนาน • มี Positioning ที่ชัดเจนทำให้ผู้บริโภคจดจำ Brand ได้อย่างแม่นยำ ไม่สับสนกับ Brand อื่น • เป็น Brand ที่แข็งแกร่งมาก ซึ่งเกิดจากการรับรู้ของผู้บริโภค ทำให้คู่แข่งไม่สามารถ เลียนแบบ และทำการแข่งขันได้ยาก • การที่เป๊ปซี่ เข้ามาในระยะเวลาที่ยาวนานและสามารถครองตลาดได้เป็นอย่างดีและต่อเนื่องนั้น ทำให้เป๊ปซี่ สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจได้ดี ส่งผลให้มีอำนาจในการ ต่อรองกับคู่ค้าและธุรกิจที่ เกี่ยวข้องได้มาก • เป๊ปซี่ เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เนื่องจากการเปิดตลาดออกไปอย่างแพร่หลาย

  31. จุดแข็ง (Strengths)(ต่อ) • มีการตลาดที่ดี เช่น การทำ promotion ในช่วงเวลาต่างๆอย่างเหมาะสม การวางแผน การตลาดด้านต่างๆรวมถึง Advertisement ด้วย • เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฐานการผลิตกว้างขวาง ครอบคลุมทั่วโลก • เป็น Brand ที่ผู้บริโภคมี Loyalty สูง เนื่องจากไม่เพียงแต่ทำให้ผู้บริโภคเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์ของตนเองเท่านั้น ยังสามารถทำให้ผู้บริโภคมีความรักกับ Brand ได้อีกด้วย • เป๊ปซี่ ใช้ กลยุทธ์ Emotional Marketing และ Lifestyle ที่เน้นถึงความเป็นคนรุ่นใหม่ คนทันสมัย กล้าคิด กล้าแสดงออก • ผลิตภัณฑ์ของ Pepsi มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภคได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย

  32. จุดอ่อน (Weaknesses) • การที่ เป๊ปซี่จะเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้นย่อมเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเป๊ปซี่ เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในด้านน้ำดื่มโคล่า ซึ่งการที่จะขยายไปในด้านอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ยากที่ผู้บริโภค จะให้ความ สนใจและเชื่อถือ ซึ่งถ้าขยายความกว้างของผลิตภัณฑ์มากไปจะทำให้สินค้าโคล่านี้อ่อนกำลังไป ด้วย • มีสายการผลิตที่กว้างมากจนยากที่จะควบคุมการผลิต • เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย • ความสามารถในการขยายผลิตภัณฑ์มีค่อนข้างจำกัด เนื่องจากการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับ line สินค้าเดิมเป็นเรื่องที่ยาก • การที่ Pepsi เข้าตลาดน้ำอัดลม มาหลัง Coke ทำให้ภาพของผลิตภัณฑ์ Pepsiกลายเป็นสินค้าลอกเลียนแบบแบรนด์คู่แข่ง

  33. Step 7 : Construct an Internal Factor Evaluation (IFE) matrix

  34. IFE Matrix

  35. IFE Matrix

  36. IFE Matrix

  37. IFE Matrix จากตาราง IFEMatrix จุดแข็งสำคัญของ PepsiCo ได้แก่ การเป็น Global Brand ที่สั่งสมความน่าเชื่อถือมายาวนานและการเป็น Brand ที่แข็งแกร่งมาก ซึ่งเกิดจากการรับรู้ของผู้บริโภค ทำให้คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบ และทำการแข่งขันได้ยาก ซึ่งบ่งชี้ด้วยระดับคะแนนที่ได้คือ 4.0 ส่วนจุดอ่อนหลักได้แก่ การที่ Pepsi เข้าตลาดน้ำอัดลม มาหลัง Coke ทำให้ภาพของผลิตภัณฑ์ Pepsiกลายเป็นสินค้าลอกเลียนแบบแบรนด์คู่แข่ง ยอดรวมของระดับคะแนน ที่มีการถ่วงน้ำหนัก เท่ากับ 2.67 บ่งชี้ว่า PepsiCo มีตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ภายในเหนืออัตราเฉลี่ย

  38. Step 8 : Prepare a Strengths-Weakness-Opportunities-Threats (SWOT) Matrix, Strategic Position and Action Evaluation (SPACE) Matrix, Boston Consulting Group (BCG) Matrix, Internal-External (IE) Matrix, Grand Strategy Matrix, and Quantitative strategic Planning Matrix (QSPM) as appropriate. Give advantages and disadvantages of alternative strategies.

  39. ตารางการวิเคราะห์ TOWS Matrix

  40. Strategic Position and Action Evaluation (SPACE) Matrix

  41. Strategic Position and Action Evaluation (SPACE) Matrix

  42. FS Aggressive ( 3.8,2.8 ) CA IS ES สรุป ทิศทางของเวกเตอร์ แกน X: 5.3 + (-1.5) = 3.8 แกน Y: 5.6 + (-2.8) = 2.8

  43. รูปแบบกลยุทธ์ก้าวหน้า (Aggressive Profiles) กลยุทธ์ที่ควรทำคือ 1. กลยุทธ์เจาะตลาด (Market penetration) 2. กลยุทธ์การพัฒนาตลาด (Market development) 3. กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development) 4. กลยุทธ์การเติบโตแบบครบวงจรไปข้างหลัง (Backward integration) 5. กลยุทธ์การเติบโตแบบครบวงจรไปข้างหน้า (Forward integration) 6. กลยุทธ์การเติบโตแบบครบวงจรตามแนวนอน (Horizontal integration) 7. การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กัน (Conglomerate diversification) 8. การกระจายธุรกิจแบบควบแน่น (Concentric diversification) 9. การกระจายธุรกิจตามแนวนอน (Horizontal diversification)

  44. BCG: Boston Consulting Group Matrix - ตำแหน่งส่วนแบ่งตลาดสัมพัทธ์ (Relative Market Share Position)

More Related