1 / 25

Principles of Instructional Design

Principles of Instructional Design. Applying the Kemp Model of Instructional Design. ระบบการสอนของเคมพ์ (Kemp). การวางแผน. การปรับปรุง. หัวข้อเรื่อง งาน จุดประสงค์ทั่วไป. ลักษณะ ของผู้เรียน. การทดสอบ ก่อนเรียน. การประเมินรวบยอด. การประเมินขณะสอน. การประเมินผลการเรียน.

bien
Download Presentation

Principles of Instructional Design

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Principles of Instructional Design Applying the Kemp Model of Instructional Design

  2. ระบบการสอนของเคมพ์ (Kemp)

  3. การวางแผน การปรับปรุง หัวข้อเรื่อง งาน จุดประสงค์ทั่วไป ลักษณะ ของผู้เรียน การทดสอบ ก่อนเรียน การประเมินรวบยอด การประเมินขณะสอน การประเมินผลการเรียน ความต้องการในการเรียน จุดมุ่งหมายในการสอน การประเมินขณะสอน บริการสนับสนุน บริการ สนับสนุน วัตถุประสงค์ ของการเรียน กิจกรรม การเรียนการสอน ทรัพยากร ในการสอน การประเมินขณะสอน การจัดการโครงการ ระบบการสอนของเคมพ์ (Kemp) เนื้อหาวิชาและการวิเคราะห์งาน

  4. KEMP แบ่งขั้นตอนในการพิจารณาการจัดระบบการสอนเป็นสาระสำคัญ 10 ประการ

  5. 1.ความต้องการในการเรียน จุดมุ่งหมายในการสอน สิ่งสำคัญ ข้อจำกัด (Learning Needs,Goals,PrioritiesConstraints) การประเมินความต้องการในการเรียนนับว่ามีส่วนสำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมายและโปรแกรมการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความต้องการนั้น และนับเป็นสิ่งสำคัญขั้นแรก ในการเริ่มต้นของกระบวนการออกแบบการสอน จึงจัดอยู่ในศูนย์กลางของระบบและนับว่าเป็นพื้นฐานของข้อปลีกย่อยต่าง ๆ 9 ประการในกระบวนการออกแบบการสอนนี้

  6. 2.หัวข้อเรื่อง งานและจุดประสงค์ทั่วไป (Topics –Job Tasks Purposes) ในการสอนหรือโปรแกรมของ การสอนนั้นย่อมประกอบ ด้วย หัวข้อเรื่องของวิชาซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานความรู้และหัวข้องานที่เป็นพื้นฐานทางทักษะด้านกายภาพ ซึ่งหัวข้อเหล่านี้ย่อมต้องมีการเขียนเป็นจุดประสงค์ทั่วไปไว้เพื่อให้ทราบอย่างแน่นอนว่าผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานและทักษะสามารถทำงานอะไรได้บ้างเมื่อเรียนจบบทเรียนนั้นแล้วจุดประสงค์ทั่วไปและหัวข้อต่าง ๆ นี้ จะเป็นเสมือนกรอบในการออกแบบโปรแกรมการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาความรู้และวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของการเรียน

  7. 3.ลักษณะผู้เรียน (Learner Characteristics) เป็นการสำรวจเพื่อพิจารณาดูถึงภูมิหลังด้านสังคม การศึกษา และสภาพเศรษฐกิจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดสภาพการเรียนรู้และวิธีการเรียนให้เหมาะสมตามความสามารถและความสนใจของผู้เรียน

  8. 4.เนื้อหาวิชาและการวิเคราะห์งาน (Subject Content ,Task Analysis) ในการวางแผนการสอน เนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง โดยที่ต้องการเรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับขั้นตอนให้เหมาะสมและง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน เนื้อหาวิชาและการวิเคราะห์งานนี้สามารถใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเพื่อจัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และเพื่อการออกแบบเครื่องมือทดสอบเพื่อประเมินผลการเรียนก็ได้

  9. 5.วัตถุประสงค์การเรียน (Learning Objectives) เป็นการตั้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนว่า ผู้เรียนควรรู้หรือสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อเรียนบทเรียนนั้นจบแล้ว และนับเป็นส่วนช่วยในการวางแผนการสอนและจัดลำดับเนื้อหาวิชา ตลอดจนเป็นแนวทางในการประเมินผู้เรียนและประสิทธิภาพของการเรียนการสอนด้วย

  10. Levels of Objectives

  11. Knowledge Verbs (1st level) • Define - กำหนด • Memorize - ท่องจำ • List - จด • Recall - เรียกกลับ • Repeat - กล่าวซ้ำ • Relate - เกี่ยวข้อง , สำหรับ • Name - ชื่อ

  12. Comprehension Verbs (2nd level) • Restate - กำหนด • Discuss - สนทนา • Describe - พรรณนา • Identify - พิสูจน์ว่าเหมือนกัน • Locate - ที่ตั้ง • Report - รายงาน • Explain - อธิบายเหตุผล • Express - แสดงความคิดเห็น • Recognize - รับรองจำได้ • Review - พิจารณาดู

  13. Application Verbs (3rd level) • Translate - แปลความหมาย • Interpret - แปล • Apply - ประโยชน์ เอาใจใส่ • Practice - การปฏิบัติ • Illustrate - แสดงให้เห็น • Operate - ทำการ • Demonstrate - แสดงความรู้สึก ,การสาธิต • Dramatize - ทำเป็นละคร • Sketch - ร่าง ภาพตัวอย่าง • Employ - จ้าง ใช้เวลา • Schedule - ตาราง รายการ • Use - ใช้(ใช้ให้เป็นประโยชน์)

  14. Analysis Verbs (4th level) • Distinguish - ทำให้เด่น ทำให้แปลกแยก • Differentiate - แสดงให้เห็นความแตกต่าง • Appraise - ประเมิน • Analyze - วิเคราะห์ • Calculate - คำนวณ • Criticize - วิเคราะห์ วิจารณ์ • Compare - เปรียบเทียบ • Contrast - เทียบเพื่อให้เห็นความแตกต่าง • Examine - พิจารณา • Test - ทดสอบ • Relate - เล่า หรือ บรรยาย • Experiment - ทดลอง เพื่อให้ชำนาญ

  15. Synthesis Verbs (5th level) • Compose - เรียบเรียง • Plan - วางแผน • Propose - เสนอ • Design - ออกแบบ • Assemble - รวบรวม • Create - ประดิษฐ์ขึ้น • Prepare - เตรียม • Formulate - วาง หรือกำหนด • Organize - รวบรวม • Manage - ควบคุม จัดการ • Construct - สร้าง • Set-up - จัดขึ้น

  16. Evaluation Verbs (6th level) • Judge - ตัดสิน หรือ เลือก • Appraise - ประเมิน • Evaluate - หาค่า ประเมินค่า • Revise - พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง • Score - แต้ม • Select - คัดเลือก • Measure - เกณฑ์ • Value - ค่า • Estimate - กะ ,ประมาณ • Choose - คัดเลือก • Compute - คำนวณ , นับ • Assess - ประเมิน, กำหนด

  17. 6.กิจกรรมการเรียนการสอน (Teaching / Learning Activities) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ต่าง ๆ หลายประการ นับตั้งแต่จุดมุ่งหมาย ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาวิชา และการ วัดผล โดยผู้สอนต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้เรียนด้วย เพื่อที่จะสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของวิชาและความสนใจของกลุ่ม นอกจากนั้นการเลือกวัสดุอุปกรณ์สื่อการสอนก็ต้องให้สัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย

  18. 7.ทรัพยากรในการสอน (Instructional Resources) หมายถึงสื่อการสอนที่จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้สอนต้องเลือกสื่อมาใช้ให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงกลุ่ม ผู้เรียนและสถานการณ์การเรียนการสอนเป็นสำคัญ

  19. 8.บริการสนับสนุน (Support Services) คือการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน เช่น งบประมาณ สถานที่อาคารเรียน สื่อวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และตารางเวลาที่เหมาะสมในการทำงาน

  20. 9.การประเมินการเรียน (Learning Evaluation) เป็นการประเมินว่าผู้เรียนนั้นได้รับความรู้สามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่และมากน้อยเพียงใด โดยการสร้างเครื่องมือทดสอบและวัดผล ทั้งนี้เพื่อเป็นการทราบข้อบกพร่องต่าง ๆ ของระบบการสอนและเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนนั้นต่อไป

  21. 10.การทดสอบก่อนการเรียน (Pretesting) เป็นการทดสอบก่อนว่าผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมและพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาใหม่นี้อย่างไร และควรจะได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีกบ้างจากความรู้เก่าที่เคยเรียนมา

  22. ในการใช้ระบบการสอนทั้ง 10 ขั้นตอนนี้ ผู้สอนจะต้องเริ่มต้นจากจุดศูนย์กลางก่อนโดยพิจารณาในเรื่องของความต้องการในการเรียน จุดมุ่งหมายในการเรียนสอนและข้อจำกัดต่าง ๆ หลังจากนั้นจะเริ่มใช้ ขั้นตอนใดก่อนก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับกับและสามารถพัฒนาการสอนในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ด้วยการใช้การประเมิน 2 ลักษณะ คือ - การประเมินขณะสอน (Formative Evaluation) - การประเมินรวบยอด (Summative Evaluation)

  23. ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการสอนให้มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันจะมีการให้บริการสนับสนุน การวางแผนและการจัดการโครงการเพื่อพัฒนาระบบการสอนนั้นด้วย.

  24. แหล่งอ้างอิง • http://www.oucom.ohiou.edu/fd/kemp_model_files/frame.htm • http://www2.sjsu.edu/depts/it/edit186/mod3f.html • http://www.oucom.ohiou.edu/fd/kemp_model_files/frame.htm • http://www.google.co.th/search?q=cache:5fCTptYxIpUJ:edtech.kku.ac.th/~sumalee/page18.htm • http://www.st.ac.th/av/system002.doc

  25. คณะผู้จัดทำ 1.น.ส.เบ็ญจวรรณ์ วรรธนะบูรณ์ รหัส 47064808 2.น.ส.จินตวีร์ สาขามุละ รหัส 47064809 3.นายเขต เสมือนโพธิ์ รหัส 47064815 4.น.ส.บงกชกร ธาราศักดิ์ รหัส 47064819 5.น.ส.โสรัตยา จอมแปง รหัส 47064828 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาทางการอาชีวะและเทคนิคศึกษา คณะคุรุศาสตร์อุตสหกรรม ภาควิชาคุรุศาสตร์อุตสหกรรม สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

More Related