130 likes | 312 Views
บทสรุป เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ - การศึกษาเอกสารงานวิจัยตั้งแต่พ.ศ.2538 ถึง พ.ศ. 2545 Shu-hsien Liao. ผาณิตดา แสนไชย รหัส นักศึกษา 542132007. ขอบข่ายของระบบการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้ งาน
E N D
บทสรุป เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ - การศึกษาเอกสารงานวิจัยตั้งแต่พ.ศ.2538 ถึง พ.ศ.2545 Shu-hsien Liao • ผาณิตดา แสนไชย • รหัสนักศึกษา 542132007
ขอบข่ายของระบบการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานขอบข่ายของระบบการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งาน • นักวิจัยต่างๆ คิดค้นคำจำกัดความของ การจัดการ โดยทั้งหมดมุ่งเน้นที่การจัดการกับวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายขอบข่ายของระบบการจัดการองค์ความรู้ตามระเบียบวิธีของระบบการจัดการองค์ความรู้ • นอกจากนี้ ยังมีการรวมคำจำกัดความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของระบบการจัดการองค์ความรู้และประวัติการพัฒนาของระบบการจัดการองค์ความรู้ (Wiig, 1997) จากมุมมองขององค์กร ความทรงจำขององค์กรสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการองค์ความรู้ได้สำหรับการเรียนรู้ทั้ง 3 ประเภทภายในองค์กร คือ การเรียนรู้ของบุคคล การเรียนรู้ผ่านการสื่อสารโดยตรง และการเรียนรู้ • โดยการใช้ระบบจัดเก็บองค์ความรู้ และยังมีการอภิปรายถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นและอนาคตของระบบการจัดการองค์ความรู้ รวมถึงการเชื่อมโยงของการจัดการองค์ความรู้กับระบบปัญญาประดิษฐ์ (Liebowitz, 2001) ความเฉื่อยขององค์ความรู้ (KI)
ระบบฐานองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งานระบบฐานองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้งาน • คำจำกัดความทั่วไปที่ใช้บ่อยสุดของระบบฐานองค์ความรู้คือการยึดเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง • โดยปกติแล้วส่วนประกอบหลัก 4 ประการของระบบฐานองค์ความรู้มีความแตกต่างกัน ประกอบด้วยฐานองค์ความรู้ กลไกอนุมาน เครื่องมือวิศวกรรมความรู้ และตัวประสานกับผู้ใช้งานโดยเฉพาะ (Dhaliwal & Benbasat, 1996) • ระบบฐานองค์ความรู้ครอบคลุมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรที่อาจถือว่าเป็นประโยชน์ในการจัดการคลังความรู้ขององค์กร • ระบบการจัดการองค์ความรู้สามารถยกระดับความเชี่ยวชาญในการจัดการทรัพยากรบุคคล (HRM) • และส่งเสริมการพัฒนาขององค์กรได้ด้วย
การทำเหมืองข้อมูลและการประยุกต์ใช้งานการทำเหมืองข้อมูลและการประยุกต์ใช้งาน • การทำเหมืองข้อมูล (DM)คือการรวมหลายสาขาเข้าด้วยกัน การทำเหมืองข้อมูลเป็นเทคโนโลยีในการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล (KDD)ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก เทคโนโลยีนี้นำเสนอระเบียบวิธีที่แตกต่างมากมายในการดำเนินการตัดสินใจ แก้ปัญหา วิเคราะห์ วางแผน วินิจฉัย ค้นหา ผสมผสาน ป้องกัน เรียนรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรม • การสนับสนุนการตัดสินใจเป็นวัตถุประสงค์สำหรับการใช้การทำเหมืองข้อมูลเพื่อคัดเอาความรู้เกี่ยวกับปัญหาการจัดการจากฐานข้อมูลออกมา เช่น การสนับสนุนการให้บริการลูกค้า การคาดการณ์ที่ล้มเหลวของบริษัท การตลาด และเทคโนโลยีการสร้างบริการแบบระบบกริด (grid services) • นอกจากนี้ การจัดทำคลังความรู้ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของการทำเหมืองข้อมูลที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นโครงสร้างในการผสมผสานหน้าที่ของระบบการจัดการองค์ความรู้ การสนับสนุนการตัดสินใจ ปัญญาประดิษฐ์ และการจัดทำคลังข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการประยุกต์ใช้งาน • จากเศรษฐกิจข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน การเข้าถึงอย่างรวดเร็วของความรู้เป็นสิ่งสำคัญต่อการประสบความสำเร็จขององค์กรต่างๆ โครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) • เนื่องจากหลักความคิดของ “การร่วมแบ่งปันความรู้คือพลัง” (Liebowitz, 2001) ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจัดทำกิจกรรมการจัดการองค์ความรู้เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจแบบร่วมมือกัน การร่วมแบ่งปันข้อมูล องค์กรแห่งการเรียนรู้ และความทรงจำองค์กร
ระบบผู้เชี่ยวชาญและการประยุกต์ใช้งานระบบผู้เชี่ยวชาญและการประยุกต์ใช้งาน • ระบบผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ในการจัดเก็บองค์ความรู้ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ระดับลึกซึ้ง โดยจัดเก็บความเชี่ยวชาญของมนุษย์ในขอบเขตความรู้ที่จำกัด (Laudon & Laudon, 2002) ด้วยเหตุนี้ ความรู้ของมนุษย์ต้องเป็นแบบอย่างและนำเสนอในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้
เทคโนโลยีฐานข้อมูลและการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีฐานข้อมูลและการประยุกต์ใช้งาน • ฐานข้อมูลคือการรวบรวมข้อมูลที่จัดทำขึ้นเพื่อการประยุกต์ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพโดยการรวบรวมข้อมูลไว้ที่ศูนย์กลางและลดจำนวนข้อมูลที่มากเกินไป (McFadden, Hoffer, & Prescott, 2000) ฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ทำให้การค้นหาความรู้ด้วยคอมพิวเตอร์มีราคาสูงเนื่องจากขอบเขตหรือที่มาของความรู้บางอย่างที่ถูกซ่อนอยู่ในฐานข้อมูลอาจชี้แนะและจำกัดการค้นหาความรู้ที่สำคัญ • ดังนั้นเทคโนโลยีฐานข้อมูลสมัยใหม่ต้องประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก ลำดับชั้นข้อมูลหลายระดับ และรูปแบบข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อที่จะค้นหาความรู้ได้อย่างละเอียดจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่
การสร้างแบบจำลองและการประยุกต์ใช้งานการสร้างแบบจำลองและการประยุกต์ใช้งาน • วิธีการเชิงปริมาณสำหรับการค้นคว้าปัญหาเกี่ยวกับการค้นหาความรู้ การจำแนกประเภทความรู้ การแสวงหาความรู้ การเรียนรู้ การรู้จำแบบ ขั้นตอนวิธีของปัญญาประดิษฐ์ และการสนับสนุนการตัดสินใจล้วนเป็นเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองของการจัดการองค์ความรู้ • เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองกลายมาเป็นวิธีวิทยาแบบสหวิทยาการของการจัดการองค์ความรู้เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์กับการออกแบบจำลองตรรกะในขอบข่ายปัญหา/ความรู้ที่แตกต่างกัน • เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองยังมีวิธีการเชิงปริมาณสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอัตนัยเพื่อนำเสนอหรือรับรู้ความรู้ของมนุษย์
การอภิปรายและข้อเสนอแนะการอภิปรายและข้อเสนอแนะ การอภิปราย • เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์เป็นประเด็นในการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้อย่างมาก ระเบียบวิธีและวิธีการเฉพาะทางถูกนำเสนอเป็นตัวอย่างในแง่ของการค้นคว้าข้อเสนอแนะและวิธีการแก้ปัญหาให้กับขอบข่ายปัญหาของการจัดการองค์ความรู้โดยเฉพาะ • เทคโนโลยีบางส่วนมีหลักความคิดและรูปแบบระเบียบวิธีทั่วไป ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีฐานข้อมูลและการทำเหมืองข้อมูล หรือระบบฐานความรู้กับระบบผู้เชี่ยวชาญ/ปัญญาประดิษฐ์ • นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้งานบางส่วนมีระดับความเหลื่อมล้ำของเทคโนโลยีต่างๆ อยู่สูง ซึ่งล้วน • เป็นหัวข้อของเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งใช้ระบบการจัดการองค์ความรู้ในขอบข่ายปัญหาทั่วไป
ข้อจำกัด • ประเด็นแรก การศึกษาเอกสารงานวิจัยสำหรับเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ประเภทต่างๆถือเป็นงานที่ยากมาก ดังนั้นจึงมีการจำกัดพื้นฐานความรู้ โดยทำการศึกษาเอกสารงานวิจัยโดยย่อเกี่ยวกับระบบการจัดการองค์ความรู้ตั้งแต่พ.ศ.2538 ถึง พ.ศ.2545 • ประเด็นที่สอง วารสารทางการศึกษาบางส่วนที่อยู่ฐานข้อมูลบรรณานุกรม Science Citation Index (S.C.I) และSocial Science CitationIndex (S.S.C.I)รวมถึงรายงานเชิงปฏิบัติอื่นๆ ไม่ได้รวมอยู่ในการสำรวจนี้ • ประเด็นที่สาม เอกสารที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษไม่ถือรวมอยู่ในการสำรวจนี้เพื่อใช้ค้นหาผลกระทบของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ • (1)ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ในบทความนี้ คำจำกัดความของคำว่า เทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้ยังไม่สมบูรณ์ • (2)การผสมผสานวิธีการเชิงคุณภาพและ วิธีการเชิงปริมาณ มีความแตกต่างกันในแง่ของระเบียบวิธีและขอบข่ายของปัญหา บทความบางส่วนแสดงให้เห็นถึงตัวแปร แบบจำลอง และการออกแบบระบบโดยปราศจากข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญหรือไม่มีการพิจารณาถึงพฤติกรรมของมนุษย์จากสถานการณ์จริง • ส่วนบทความบางส่วนได้นำเสนอหลักความคิดเกี่ยวกับระบบการจัดการองค์ความรู้ที่ยอดเยี่ยมมากโดยปราศจากแนวทางเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงระบบ ซึ่งทำให้ระเบียบวิธีของระบบการจัดการองค์ความรู้นำไปสู่ขั้นตอนของการอภิปราย
(3)การผสมผสานเทคโนโลยี ระบบการจัดการองค์ความรู้เป็นประเด็นการวิจัยแบบสหวิทยาการ ดังนั้น การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ในอนาคตต้องมีการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน • (4)การเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งที่มาของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านเทคนิคและสังคมอาจก่อให้เกิดหรือยับยั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้และการประยุกต์ได้
บทสรุป • รายงานฉบับนี้ใช้ดัชนีคำสำคัญในการค้นคว้า เราสรุปได้ว่าเทคโนโลยีการจัดการองค์ความรู้มีแนว • โน้มในการพัฒนาไปสู่การมุ่งเน้นความเชี่ยวชาญ และการพัฒนาการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการ • องค์ความรู้ถือเป็นขอบข่ายที่มุ่งเน้นปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ต่างๆ