1 / 39

กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department

กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department “บำเหน็จค้ำประกัน”. พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(ฉบับที่ 26) พ.ศ.2553. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 เมษายน 2553 เหตุผลในการประกาศใช้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญ

Download Presentation

กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department “บำเหน็จค้ำประกัน”

  2. พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(ฉบับที่ 26) พ.ศ.2553 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 30 เมษายน 2553 เหตุผลในการประกาศใช้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับบำนาญ ส่งเสริมการลงทุนอันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ของประเทศในภาพรวม

  3. บำเหน็จค้ำประกัน(ผู้เกี่ยวข้อง)บำเหน็จค้ำประกัน(ผู้เกี่ยวข้อง) • ผู้รับบำนาญ • ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ • ส่วนราชการผู้เบิกที่รับคำร้อง • กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด • สถาบันการเงิน (ธนาคารผู้ให้กู้)

  4. บำเหน็จค้ำประกัน วิธีการใช้สิทธิ ของผู้รับบำนาญ

  5. ผู้รับบำนาญที่สามารถใช้สิทธิได้ผู้รับบำนาญที่สามารถใช้สิทธิได้ • ผู้รับบำนาญปกติ และหรือบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ • มีทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ และหรือมีผู้ที่แสดงเจตนา ให้รับบำเหน็จตกทอด (ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด) • ยินยอมให้ส่วนราชการผู้เบิก หักบำนาญและเงินอื่นที่ได้รับในแต่ละเดือน ชำระคืนเงินกู้ให้แก่ธนาคารตามสัญญากู้เงิน • ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล

  6. การเตรียมตัวของผู้รับบำนาญในขณะนี้ • ติดต่อส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ (นายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญ) • ตรวจสอบรายชื่อทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จ ตกทอด และหรือ รายชื่อบุคคลที่ได้แสดงเจตนาให้รับบำเหน็จตกทอด

  7. ทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ • บิดา มารดา • คู่สมรส • บุตร (บุตรบุญธรรม) • บุคคลซึ่งได้แสดงเจตนาไว้ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด กรณีฐานข้อมูลลำดับใดไม่สมบูรณ์ • นำหลักฐานการเป็นทายาทไปแสดงที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ (ติดต่อนายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญ) • ทำหนังสือแสดงเจตนา ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

  8. หลักฐานที่กำหนดให้นำไปแสดงหลักฐานที่กำหนดให้นำไปแสดง § สำเนาทะเบียนบ้านของทายาททุกคน § หลักฐานการเป็นบิดา มารดา คู่สมรส บุตร (บุตรบุญธรรม) § หลักฐานการตายของ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร (บุตรบุญธรรม) § สำเนาการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล § สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้ ใน หนังสือแสดงเจตนา นายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญจะบันทึกข้อมูลทายาทผู้มีสิทธิรับ บำเหน็จตกทอดลงในระบบบำเหน็จบำนาญ ให้สมบูรณ์ จากหลักฐานที่ ผู้รับบำนาญนำมาแสดง

  9. หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ข้าราชการ และผู้รับบำนาญ ระบุชื่อบุคคลธรรมดา ไม่เกิน 3 คน(กำลังแก้กฎหมาย) ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ / ให้ลงลายมือชื่อรับหนังสือ ในหน้า 2 ให้ท่านเก็บคู่ฉบับหนังสือไว้ 1 ฉบับ

  10. สถานที่ยื่นคำร้อง • ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ • ส่วนราชการผู้เบิกที่รับคำร้อง ส่วนราชการต้นสังกัดระดับกรม หรือหน่วยเบิกต้นสังกัด ในส่วนภูมิภาคที่ขอเบิกบำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน หรือเงินสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆของผู้รับบำนาญ ซึ่งรับแบบคำร้องขอรับหนังสือรับรองจากผู้รับบำนาญ จังหวัดไหนก็ได้ในสังกัด

  11. หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดคงเหลือหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดคงเหลือ หนังสือรับรองที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ออกให้ ผู้รับบำนาญไปแล้ว จะไม่ออกให้ใหม่อีก ยกเว้น กรณี • ฉบับเดิมชำรุด - ยื่นแบบคำร้องพร้อมแนบหนังสือรับรองฉบับเดิม • ฉบับเดิมสูญหาย - ยื่นแบบคำร้องพร้อมแนบใบแจ้งความ • ธนาคารไม่อนุมัติเงินกู้ และไม่คืนหนังสือรับรองสิทธิ • ผู้รับบำนาญยกเลิกการขอกู้เงิน - ธนาคารไม่คืนหนังสือรับรองสิทธิ • ชำระหนี้ตามสัญญาหมดแล้ว

  12. หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดคงเหลือหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดคงเหลือ • หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดคงเหลือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ไม่เกินจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรอง • สถาบันการเงินมีสิทธิเข้าดูข้อมูลของผู้รับบำนาญในระบบบำเหน็จ ค้ำประกัน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติการกู้เงิน สำหรับรายที่ยื่นหนังสือรับรอง

  13. วงเงินประกันการกู้เงินวงเงินประกันการกู้เงิน จำนวนเงินอย่างสูงที่ใช้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ซึ่งมีจำนวนไม่เกินสิทธิในบำเหน็จตกทอด ที่ได้หักบำเหน็จดำรงชีพออกแล้ว เมื่อผู้รับบำนาญนำบำเหน็จตกทอดไปค้ำประกันการกู้เงินแล้ว จะขอบำเหน็จดำรงชีพที่เหลืออีกไม่ได้ จนกว่าการกู้เงินตามสัญญาจะสิ้นสุดลง

  14. วงเงินประกันการกู้เงิน (2) การค้ำประกัน ธนาคารอนุมัติเงินกู้ต่ำกว่าจำนวนเงินในหนังสือรับรอง ระบบจะ Lock ทั้งจำนวน ระบบจะ Lock ไม่ให้ออกหนังสือรับรองส่วนที่เหลือ (ถือว่าเป็นการแบ่งวงเงินค้ำประกัน)

  15. การคำนวณบำเหน็จตกทอดกรณีผู้รับบำนาญตายการคำนวณบำเหน็จตกทอดกรณีผู้รับบำนาญตาย การคำนวณ บำนาญ + เงิน ช.ค.บ. X 30 หัก บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว

  16. บำเหน็จดำรงชีพ เลือกรับ ครั้งเดียว เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว • 15 เท่าของบำนาญ • ไม่เกินสี่แสนบาท รับครั้งแรก • 15 เท่าของบำนาญ • ไม่เกินสองแสนบาท รับครั้งที่สอง เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว • 15 เท่าของบำนาญ • ไม่เกินสองแสนบาท

  17. การคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือการคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือ บำเหน็จดำรงชีพ บำนาญ 10,000 บาท x 15 เท่า = 150,000 บาท รับครั้งเดียว 150,000 บาท บำเหน็จตกทอด บำนาญ 10,000 บาท + ชคบ.3,915 บาทx 30 เท่า = 417,450 บาท หัก บำเหน็จดำรงชีพ 150,000 บาท บำเหน็จตกทอดคงเหลือ 267,450 บาท

  18. การคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือการคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือ บำเหน็จดำรงชีพ บำนาญ 30,000 บาท x 15 เท่า = 450,000 บาท รับครั้งแรก 200,000 บาท รับเมื่ออายุครบ 65 ปี 200,000 บาท บำเหน็จตกทอด บำนาญ 30,000 บาท + ชคบ.1,500 บาท x 30 เท่า = 945,000 บาท หัก บำเหน็จดำรงชีพ 400,000 บาท บำเหน็จตกทอดคงเหลือ จำนวน 545,000 บาท

  19. ระบบบำเหน็จค้ำประกัน ระบบงานที่ใช้งานเกี่ยวกับการขอรับ และการออกหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอด เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน และการรับส่งข้อมูลกับสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง กับการนำบำเหน็จตกทอดไปใช้เป็นหลักทรัพย์ ประกันการกู้เงิน

  20. ผู้มีสิทธิเข้าใช้ระบบบำเหน็จค้ำประกันผู้มีสิทธิเข้าใช้ระบบบำเหน็จค้ำประกัน กรมบัญชีกลางกำหนด รหัสผู้ใช้งาน(User Id) และรหัสผ่าน(Password) เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง • ส่วนราชการผู้เบิก (รับคำร้อง ส่งข้อมูล) • กรมบัญชีกลาง และสำนักงานคลังจังหวัด (ผู้ออกหนังสือรับรอง) • สถาบันการเงิน (ผู้พิจารณาการให้กู้เงิน)

  21. ส่วนราชการผู้เบิกที่รับคำร้องส่วนราชการผู้เบิกที่รับคำร้อง การรับและตรวจสอบคำร้องกับฐานข้อมูลในระบบ • เป็นผู้รับบำนาญตามกฎหมาย • มีทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ และหรือมีหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด • ไม่มีทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญ แต่มีหนังสือแสดงเจตนา ระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด • มีบำเหน็จตกทอดคงเหลือ กรณีฐานข้อมูลในข้อ 2. หรือ 3. ไม่สมบูรณ์ ให้แจ้งนายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญดำเนินการ

  22. ส่วนราชการผู้เบิกที่รับคำร้องส่วนราชการผู้เบิกที่รับคำร้อง บันทึกรับรองในระบบ • มีทายาทและหรือหนังสือแสดงเจตนา • ไม่มีทายาทแต่มีหนังสือแสดงเจตนา • มีบำเหน็จตกทอดคงเหลือ • ที่อยู่ที่ผู้รับบำนาญแจ้งไว้ในแบบคำร้อง • ลงทะเบียนรับเรื่อง ออกใบรับเรื่อง ส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด ผ่านระบบบำเหน็จค้ำประกัน เก็บรักษาแบบคำร้องที่ลงนามรับรองแล้วไว้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป

  23. การขอรับบำเหน็จดำรงชีพ- การออกหนังสือรับรองสิทธิ • การลงทะเบียนขอให้สั่งจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ ของส่วนราชการผู้ขอ • การลงทะเบียนรับคำร้องขอให้ออกหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดคงเหลือ ของส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ หรือส่วนราชการผู้เบิก ที่รับคำร้อง หากมีการลงทะเบียนในกรณีใดก่อน จะไม่สามารถลงทะเบียนอีกกรณีหนึ่งได้ จนกว่า จะยกเลิกการลงทะเบียนในกรณีแรกเสียก่อน

  24. กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด การออกหนังสือรับรอง • ลงทะเบียนรับคำร้องจากระบบบำเหน็จค้ำประกัน • ตรวจสอบข้อมูลในระบบ • บันทึกยืนยันข้อมูลในระบบบำเหน็จค้ำประกัน • พิมพ์หนังสือรับรองเสนอผู้มีอำนาจลงนาม • ส่งหนังสือรับรองให้ผู้รับบำนาญทางไปรษณีย์ • ส่งข้อมูลให้ส่วนราชการผู้เบิกผ่านระบบบำเหน็จค้ำประกัน กรณีข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ ให้ส่งคืนข้อมูลคำร้องผ่านระบบบำเหน็จค้ำประกัน

  25. ความหมายของสถาบันการเงินความหมายของสถาบันการเงิน สถาบันการเงิน หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ ที่อยู่ในกำกับของกระทรวงการคลัง หรือธนาคารพาณิชย์ของเอกชนหรือสถาบันการเงินอื่น ซึ่งได้ทำข้อตกลงกับกรมบัญชีกลาง เพื่อให้ผู้รับบำนาญขอกู้เงิน

  26. สถาบันการเงิน • ลงทะเบียนรับหนังสือรับรองในระบบบำเหน็จค้ำประกัน • ตรวจสอบข้อมูลของผู้รับบำนาญที่ยื่นหนังสือรับรอง • อนุมัติการกู้เงิน และนำข้อมูลการอนุมัติการกู้เงินเข้าระบบทันที • จัดทำข้อมูลหนี้เพื่อหักบำนาญชำระหนี้รายเดือน ให้นำข้อมูลแต่ละเดือนเข้าระบบบำเหน็จค้ำประกัน ภายในระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด • ขอรับบำเหน็จตกทอดกรณีลูกหนี้ผิดนัดหรือถึงแก่ความตาย

  27. สถาบันการเงิน • กรณีมีการคืนหนังสือรับรองให้ผู้รับบำนาญ ให้ยกเลิกการลงทะเบียนรับหนังสือในระบบด้วย เพื่อให้ผู้รับบำนาญนำหนังสือฉบับนั้นไปยื่นกู้กับธนาคารอื่นได้ • กรณีไม่อนุมัติเงินกู้ และไม่คืนหนังสือรับรองให้ผู้รับบำนาญ ให้บันทึกการไม่คืนหนังสือลงในระบบด้วย เพื่อให้ระบบยินยอมให้ส่วนราชการผู้เบิกสามารถออกหนังสือรับรองฉบับใหม่ให้แก่ผู้รับบำนาญได้

  28. การหักหนี้ของส่วนราชการผู้เบิกการหักหนี้ของส่วนราชการผู้เบิก ส่วนราชการผู้เบิก • ดำเนินการส่งข้อมูลหนี้( แบบ สรจ.6 )ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัด • ธนาคารจะส่งข้อมูลหนี้บำเหน็จค้ำประกันของผู้รับบำนาญในสังกัด ผ่านระบบบำเหน็จบำนาญทุกเดือน • ตรวจสอบรายการหนี้บำเหน็จค้ำประกันที่ได้รับจากธนาคาร ทุกเดือน • บันทึกรายการหักหนี้ในแบบ สรจ.6 แล้วให้ตรวจสอบยอดรวมเงินว่าเมื่อรวมแล้ว มีบำนาญคงเหลือเพียงพอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหักหนี้บำเหน็จค้ำประกันหรือไม่

  29. ส่วนราชการผู้เบิก ลำดับการหักหนี้ 1.ภาษีอากร 2.สหกรณ์ 3.บำเหน็จค้ำประกัน 4.หนี้อื่น ๆ

  30. บำนาญ +ช.ค.บ. เดือนละ 30,000 บาท หัก ภาษี 700 บาท กันส่วนสำหรับ หักบำเหน็จค้ำประกัน จำนวน 9,000 บาท หักหนี้อื่น ใน สรจ.6 ไม่เกินจำนวน 7,300 บาท 2. หักหนี้ สหกรณ์ จำนวน 13,000 บาท ใน สรจ.6

  31. การหักหนี้ของส่วนราชการเจ้าสังกัดการหักหนี้ของส่วนราชการเจ้าสังกัด ส่วนราชการเจ้าสังกัด • รับข้อมูลหนี้ (แบบ สรจ.6) จากส่วนราชการผู้เบิก • หักหนี้บำเหน็จค้ำประกันให้ธนาคาร (ผู้ให้กู้) • จัดทำแบบ สรจ.7 และ สรจ. 8 ส่งให้กรมบัญชีกลางเพื่อดำเนินการต่อไป • แบบ สรจ.7 และ สรจ.8 จะแยกยอดหนี้ออกเป็นสองรายการ ดังนี้ $ หนี้ของส่วนราชการผู้เบิก (จาก แบบ สรจ.6) $ หนี้บำเหน็จค้ำประกัน

  32. กรมบัญชีกลาง • โอนหนี้ที่หักรายเดือนจากผู้รับบำนาญ(ผู้กู้) เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสถาบันการเงิน (ผู้ให้กู้) • ส่งหลักฐานการหักเงินให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง • ส่งหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้สถาบันการเงิน (ผู้ให้กู้)

  33. กรณีผิดนัดชำระหนี้ สถาบันการเงิน(ผู้ให้กู้) • ทำหนังสือพร้อมแนบหลักฐานแสดงจำนวนหนี้ค้างชำระ • ส่งข้อมูลผ่านระบบบำเหน็จค้ำประกัน • แจ้งกรมบัญชีกลาง กรมบัญชีกลาง • สั่งจ่ายบำเหน็จตกทอดเพื่อชำระหนี้ในส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงิน • โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสถาบันการเงิน(ผู้ให้กู้)

  34. กรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิตกรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิต ส่วนราชการผู้เบิก • ส่งแบบ สรจ.12 ให้กรมบัญชีกลาง (ตาม ว 53) กรมบัญชีกลาง • งดเบิกบำนาญ • แจ้งสถาบันการเงิน

  35. กรณีเสียชีวิต สถาบันการเงิน(ผู้ให้กู้) แจ้งกรมบัญชีกลาง • ทำหนังสือพร้อมแนบหลักฐานแสดงจำนวนหนี้ค้างชำระ • ส่งข้อมูลผ่านระบบบำเหน็จค้ำประกัน กรมบัญชีกลาง • สั่งจ่ายบำเหน็จตกทอดเพื่อชำระหนี้ในส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงิน และโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสถาบันการเงิน(ผู้ให้กู้) • สั่งจ่ายบำเหน็จตกทอดคงเหลือให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามกฎหมาย และโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน

  36. ผู้รับบำนาญถูกบังคับคดี(พิทักษ์ทรัพย์)ผู้รับบำนาญถูกบังคับคดี(พิทักษ์ทรัพย์) ผู้รับบำนาญซึ่งอยู่ในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์ จากกรมบังคับคดี ไม่สามารถ ยื่นเรื่องขอรับหนังสือรับรอง บำเหน็จตกทอดเพื่อค้ำประกัน การกู้เงินกับสถาบันการเงินได้

  37. คู่มือบำเหน็จตกทอด • สามารถค้นหาได้จาก www. Cgd.go.th. ในระบบงานบำเหน็จบำนาญ ( จำนวน 289 หน้า ) • เอกสาร หลักฐานที่ต้องใช้สำหรับการขอรับเงิน วิธีการใช้ระบบบำเหน็จบำนาญ ผู้มีสิทธิเข้าใช้ระบบงาน • เริ่มตั้งแต่ผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด ส่วนราชการผู้ขอ /นายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญ / ส่วนราชการผู้เบิก / กรมบัญชีกลาง • ใครต้องทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด • สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยจัดทำมา จัดทำโดย สรจ.

  38. กรมบัญชีกลาง โทร. 02 127 7000 สำนักบริหารการรับ – จ่ายเงินภาครัฐ ต่อ 4216 4250 4509 4295 6228 หรือ 6401 กลุ่มกำหนดสิทธิ์ ต่อ 4249 4296 หรือ 4507 Call Center โทร. 02 270 6400 - 3

  39. บำเหน็จค้ำประกัน • อยู่ในระหว่างดำเนินการ • หากท่านมีข้อคิด หรือข้อแนะนำ ดี ๆ ต้องการให้กรมบัญชีกลางดำเนินการ • โปรดแสดงความคิดเห็น ส่งไป หาเราคณะวิทยากร ได้ทันที • ขอแสดงความขอบคุณ มา ณ ที่นี้ด้วย

More Related