580 likes | 1.18k Views
ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล Data Management Center รอบสิ้นปี การศึกษา 2556. โดย จิตรา ภรณ์ คำสุวรรณ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3. .....เป้าหมายการอบรมร่วมกัน. กำหนดการรายงานข้อมูลให้แล้วเสร็จ รับรองข้อมูลผ่านเว็บไซต์
E N D
ระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคลData Management Centerรอบสิ้นปีการศึกษา 2556 โดย จิตราภรณ์ คำสุวรรณ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3
.....เป้าหมายการอบรมร่วมกัน..........เป้าหมายการอบรมร่วมกัน..... กำหนดการรายงานข้อมูลให้แล้วเสร็จ รับรองข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ภายในวันที่ .....25....... เมษายน 2557เอกสารส่งกลุ่มนโยบายและแผน Print out รายงานจำนวนนักเรียนแยกชั้นเพศห้องเรียน รับรองข้อมูลโดย ผอ.รร. ภายในวันที่ .....25....... เมษายน 2557 Data Management Center 2013
Data Management Center : DMC คือ ระบบบริหารจัดการ และเก็บข้อมูลนักเรียนรายคน และข้อมูลสิ้นปีการศึกษา โดยให้โรงเรียนและ สพท. สามารถบริหารจัดการ ปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลนักเรียนรายคนของโรงเรียนเองได้ตามความต้องการ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต Data Management Center 2013
ประโยชน์ของระบบ DMC Data Management Center end of year 2012
ประโยชน์ของระบบ DMC (ต่อ) Data Management Center end of year 2012
การจัดทำข้อมูลมี 3 ระดับ Data Management Center 2013
ขั้นตอนการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล สิ้นปีการศึกษา 2556 1. ใช้ browser และ 2. เข้าไปที่เว็บไซต์ http://portal.bopp-obec.info/obec56/ ใช้ Username และ Password เดิม Data Management Center 2013
การลงทะเบียนผู้ใช้ระบบใหม่ การลงทะเบียนผู้ใช้ระบบใหม่ Data Management Center 2013
การลงทะเบียนผู้ใช้ระบบใหม่ การลงทะเบียนผู้ใช้ระบบใหม่ • 1. การตั้งชื่อผู้ใช้งาน(Username) ให้ตั้งตามข้อกำหนดดังนี้มิเช่นนั้นจะไม่เปิดใช้งาน • ใช้อักษรภาษาอังกฤษ a ถึง z ได้ทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ , ตัวเลข 0-9 กรุณาอย่าตั้ง username เป็นภาษาไทย • ห้ามมีช่องว่างและตัวอักขระพิเศษ • ความยาวอย่างน้อย 6 ตัวอักษร • 2. ในช่องถัดไปให้กรอกชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน โทรศัพท์ติดต่อ และ อีเมล์ของท่าน • 3 ให้เลือกกลุ่มผู้ใช้งานเป็น SCHOOL_MANAGER ซึ่งหมายความว่าเป็นเจ้าหน้าที่ข้อมูลของโรงเรียน • 4. หลังจากเลือกเขตพื้นที่การศึกษา รหัสเขต 44030000 • แล้วให้เลือกโรงเรียนที่ดูแลข้อมูลอยู่ • 5. ตั้งรหัสผ่านและยืนยันรหัสผ่าน ให้กรอกรหัสผ่านของคุณทั้งสองช่องให้เหมือนกัน • หลังจากกรอกข้อมูลเสร็จแล้วให้กด Data Management Center 2013
การลงทะเบียนผู้ใช้ระบบใหม่ การลงทะเบียนผู้ใช้ระบบใหม่ • ข้อควรจำ • กรอกข้อมูลให้ครบทุกช่อง • 1 โรงเรียน ลงทะเบียนได้ 2username • ต้องมีครูผู้รับผิดชอบงานข้อมูลเป็นหลัก • ขอความกรุณาอย่าพึ่งลงทะเบียนซ้ำเพราะคิดว่าใช้งาน Username ยังไม่ได้ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เขตโดยแจ้งชื่อ Username และชื่อโรงเรียน เพื่อให้เจ้าหน้าที่เขตเปิดใช้งาน • ลืมรหัสผ่านให้แจ้งเจ้าหน้าที่เขตจะดำเนินการตั้งรหัสผ่านใหม่เท่านั้น Data Management Center 2013
การเข้าระบบ Data Management Center 2013
ระบบ DMC (ส่วนของเจ้าหน้าที่ข้อมูลโรงเรียน) • แบ่งเป็น 3 ส่วน • 1 เมนูหลัก • 2 รหัสเขตพื้นที่การศึกษา, ชื่อเขตพื้นที่การศึกษา, รหัสโรงเรียน,ชื่อ • โรงเรียน • 3 ชื่อผู้ใช้งาน, ชื่อ นามสกุล, กลุ่มผู้ใช้งาน (SCHOOL_MANAGER • หมายถึงเป็นเจ้าหน้าที่โรงเรียน) Data Management Center 2013
ระบบ DMC (ส่วนของเจ้าหน้าที่ข้อมูลโรงเรียน) • เมนูหลัก หน้าจอเบื้องต้นของทุกเมนูจัดการนักเรียนจะทำงานเหมือนกันทุกหน้า ตามแนวทางดังนี้ • เมื่อเข้าสู่เมนูจะแสดง “รายการ” ตามชื่อเมนูนั้น (ให้ดูชื่อหัวข้อบนหน้าเว็บเพื่อกันความสับสน) • หากเราต้องการค้นหา ให้ใส่ข้อมูลที่จะค้นหาลงในช่องต่างๆ กดปุ่ม • หากต้องการเพิ่มรายการตามชื่อเมนูกดปุ่ม Data Management Center 2013
การกรอกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล การกรอกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล • เมนูปรับปรุงข้อมูลของผู้ใช้งานของฉัน • ในหน้านี้สามารถปรับปรุงข้อมูลของผู้ใช้งานตัวเอง และสามารถจะเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานระบบได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยน username Data Management Center 2013
การกรอกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล การกรอกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล • ปรับปรุงข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน • ในหัวข้อ “ข้อมูลทั่วไป”ให้ทำการแก้ไขข้อมูลของโรงเรียนเช่น ชื่อโรงเรียน สังกัด กระทรวง เขตเทศบาล เขตตรวจราชการ วันก่อตั้ง ชื่อผู้อำนวยการ และที่อยู่ของโรงเรียน Data Management Center 2013
ในหัวข้อ “ชั้นเรียนที่เปิดสอน” ให้ทำการระบุชั้นเรียนต่ำสุดและสูงสุดที่โรงเรียนเปิดสอน ในหัวข้อ “จำนวนห้องในแต่ละชั้น”ให้ทำการระบุจำนวนห้องเรียนที่เปิดสอนในแต่ละชั้น Data Management Center 2013
การกรอกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล การกรอกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล • เมนูทะเบียนนักเรียน • ใช้แสดงรายละเอียดนักเรียนในโรงเรียนทั้งสิ้น และสามารถเข้าตรวจสอบข้อมูลนักเรียนรายบุคคลได้ Data Management Center 2013
ลำดับการกรอกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลสิ้นปีการศึกษา 2556 1. ย้ายเข้า นักเรียนให้ครบจำนวนตอนสิ้นปีการศึกษา 2556 (ก่อนสอบปลายภาค) 2. ย้ายออก นักเรียนที่ออกก่อนสิ้นปีการศึกษา 2556 (นักเรียนที่ยึดไว้ไม่ยอมย้ายให้โรงเรียนอื่น, นักเรียนที่ไม่มีตัวตนอยู่ในโรงเรียนแล้วก่อนสอบปลายภาค) 3. ออกกลางคัน/จำหน่าย นักเรียนที่ออกก่อนสิ้นปีการศึกษา 2556 (นักเรียนก่อนสอบปลายภาค) 4. กรอกแผนการรับนักเรียน ในปี 2557 โรงเรียนมีแผนว่าจะรับนักเรียนในชั้นไหนเป็นจำนวนกี่คน 5. กรอกข้อมูล GPA , O-NET, NT Data Management Center 2013
1. ย้ายเข้า • การย้ายเข้า เป็นการค้นหาเด็กนักเรียนจากเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักในฐานข้อมูลกลางของระบบ DMC56 เมื่อค้นหาพบแล้วให้ทำการระบุวันที่เข้าเรียน ชั้น ห้อง เลขประจำตัวนักเรียน กรอกข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนจนครบถ้วนจึงกดบันทึก • - ไม่มีเลข 13 หลักให้เข้าไปกรอกข้อมูลในเมนู “เพิ่มนักเรียน” • - ค้นหาเลข 13 หลักในหน้าย้ายเข้าไม่พบ ให้ไปกรอกข้อมูลในเมนู “เพิ่มนักเรียน” เช่นกัน • ข้อควรจำ • ทุกครั้งที่กรอกข้อมูลนักเรียนเนื่องจากข้อมูลที่ให้กรอกมีเยอะมาก ให้ลองกด Enter ซักครั้งเพื่อให้แสดงผลว่าควรกรอกในช่องไหนข้อมูลถึงจะครับถ้วน ในครั้งแรกหน้าจอจะแจ้งเตือนและแสดงผลเป็นช่องสีแดงขึ้นมา ให้เข้าไปกรอกในช่องสีแดงให้ครบถ้วน (ถ้าไม่ทราบข้อมูลในบางช่อง ใส่เป็น – แทน) กดค้นหาเพื่อดูสถานการณ์ย้ายเข้า ตรวจว่าเข้าสำเร็จหรือไม่ Data Management Center 2013
ในระบบ DMC56 สถานะการย้ายในหน้ารายการย้ายเข้านักเรียนมีความหมายดังนี้ • สำเร็จ หมายความว่ามีการย้ายเข้า และโรงเรียนเก่าย้ายออก/จบการศึกษา/จำหน่ายมาเรียบร้อยแล้ว เด็กคนนี้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนทันที • รอเข้า/ไม่สำเร็จหมายความว่า โรงเรียนเก่ายังไม่ได้ทำการย้ายออก/จบการศึกษา/จำหน่ายเด็กนักเรียนคนนี้ออกจากโรงเรียน หรือ โรงเรียนเก่าทำการเลื่อนชั้นให้เด็กไปศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่อไป เด็กคนนี้จะอยู่ในรายการย้ายเข้าและยังไม่ถูกนำไปอยู่ในทะเบียนนักเรียน ให้กดที่ปุ่ม หลังชื่อโรงเรียนเดิม จะปรากฏหน้าต่างใหม่ แสดงเบอร์ติดต่อเจ้าหน้าที่เขตและเจ้าหน้าที่โรงเรียนประสานงานให้ทำการย้ายเด็กออกจากโรงเรียนเดิม เนื่องจากตัวเด็กอยู่ที่รร.ของคุณแล้วจริง Data Management Center 2013
เพิ่มนักเรียน • การเพิ่มนักเรียน เป็นการกรอกข้อมูลส่วนตัวของนักเรียนใหม่ที่ค้นหาเลขบัตรประชาชนจาก เมนู “ย้ายเข้า” แล้วไม่พบข้อมูล (เป็นเด็กใหม่ที่พึ่งเข้าเรียน,ย้ายมาจากนอกสังกัด หรือเป็นเด็กที่ถูกลบข้อมูลไปในปีการศึกษาก่อนทำให้ไม่พบในฐานข้อมูล DMC) • ข้อควรจำ • - กรอกข้อมูลในหน้าเพิ่มนักเรียนให้ครบถ้วน โดยเฉพาะช่องสีแดงเป็นการบังคับให้มีข้อมูล ในช่อง ห้ามเว้นว่าง ถ้าไม่ทราบหรือไม่มีข้อมูลในช่องใดให้ใส่ – หรือ 0 ตามคำอธิบายแต่ละชนิด • - เลข 13 หลัก ถ้าไม่มีให้ใส่เป็นรหัส G รหัส G สร้างด้วยตัวอักษร G ตามด้วยรหัสsmis8 หลัก และตัวเลขไล่ไปอีก 4 หลัก สำหรับคำแนะนำให้ใช้ G รหัส smisและปีคือ 56 ตามด้วยเลขรันตามลำดับ 2 หลัก • เพื่อกันความสับสนในการตั้งรหัส G ในแต่ละปีตัวอย่าง G990000015601 , G990000015602 , G990000015603 • - ในการเพิ่มนักเรียน/การย้ายเข้านักเรียน ให้ตรวจคำนำหน้าชื่อและเพศให้ตรงกันทุกครั้ง ไม่งั้นระบบจะไม่นับจำนานในทะเบียนนักเรียน • - ถ้าเพิ่มสำเร็จระบบจะนับยอดให้ทันที Data Management Center 2013
ข้อมูลเพิ่มนักเรียน • 1. เลข 13 หลัก 2. เลขประจำตัวนักเรียน • 3. ห้องเรียน 4.ชนิดบัตร บัตรประชาชนหรืออื่นๆ สำหรับเด็ก G • 5. คำนำหน้าชื่อ 6. เพศ 7. ชื่อ นามสกุล 8. วันเกิด • 9. จังหวัดที่เกิด 10. เชื้อชาติ 11. สัญชาติ 12.ศาสนา • 13. ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน,โทรศัพท์ติดต่อ • 14. ที่ปัจจุบัน, โทรศัพท์ติดต่อ 15. การเดินทาง • 16. ระยะเวลาเดินทางมาโรงเรียน • 17. ระยะห่างจากรร. ตามชนิดเส้นทางต่างๆ • 18. น้ำหนัก ส่วนสูง • 19. ข้อมูลครอบครัว-สถานะภาพสมรสของบิดามารดา ข้อมูลจำนวนพี่น้อง • 20. ข้อมูลครอบครัว – บิดา , มารดา และผู้ปกครอง Data Management Center 2013
2. ย้ายออก • เป็นการบันทึกข้อมูลการจำหน่ายนักเรียนแบบย้ายออก ซึ่งหมายความว่านักเรียนในปีได้ออกไปศึกษาต่อที่อื่นแล้ว หลังทำการบันทึก นักเรียน จะถูกลบออกจากทะเบียนนักเรียนทันที Data Management Center 2013
2. ย้ายออก • เป็นการบันทึกข้อมูลการจำหน่ายนักเรียนแบบย้ายออก ซึ่งหมายความว่านักเรียนในปีได้ออกไปศึกษาต่อที่อื่นแล้ว หลังทำการบันทึก นักเรียน จะถูกลบออกจากทะเบียนนักเรียนทันที • ข้อควรจำ • - ให้ติ๊กที่ข้างหน้านักเรียนคนที่ต้องการย้ายออก • (ถ้าไม่ติ๊กโปรแกรมจะไม่ย้ายออกให้เด็กคนนั้น) • - ระบุวันที่ย้ายออกถ้าไม่ระบุจะเป็นวันปัจจุบัน • - การย้ายออก ในระบบ DMC56 เมื่อทำการกดบันทึกแล้วจะเป็นการบันทึกไว้ว่าเด็กออกไปแล้ว และลบนักเรียนคนดังกล่าวออกจากทะเบียนทันที ดังนั้นถ้าหากทำออกผิดคน วิธีแก้ไขคือ การทำการย้ายเข้านักเรียนคนเดิม เข้ามายังห้องเดิม ชั้นเดิมและเลขประจำตัวนักเรียนเดิม Data Management Center 2013
3. ออกกลางคัน / จำหน่าย • การออกกลางคัน / จำหน่าย เป็นการบันทึกข้อมูลการจำหน่ายนักเรียน,หรือการจำหน่ายนักเรียนออกกลางคัน หลังทำการบันทึกแล้ว นักเรียนจะถูกลบออกจากทะเบียนนักเรียนทันที Data Management Center 2013
3. ออกกลางคัน / จำหน่าย(ต่อ) • ข้อควรจำ • - ให้ติ๊กที่ข้างหน้านักเรียนคนที่ต้องการจำหน่าย • (ถ้าไม่ติ๊กโปรแกรมจะไม่จำหน่ายเด็กคนนั้น) • - ระบุวันที่ย้ายออกถ้าไม่ระบุจะเป็นวันปัจจุบัน • -ไม่ให้เจ้าหน้าที่โรงเรียนทำการ (จำหน่าย)เรียนจบชั้นสูงสุด แทนการทำจบการศึกษา เพราะจะทำให้ข้อมูลสิ้นปีไม่ตรงกับข้อมูลเด็กก่อนสอบปลายภาคสิ้นปีทันที • - การจำหน่ายในระบบ DMC56 เมื่อทำการกดบันทึกแล้วจะเป็นการบันทึกไว้ว่าเด็กออกไปแล้ว และลบนักเรียนคนดังกล่าวออกจากทะเบียนทันที ดังนั้นถ้าหากทำจำหน่ายผิดคน วิธีแก้ไขคือ การทำการย้ายเข้านักเรียนคนเดิม เข้ามายังห้องเดิม ชั้นเดิมและเลขประจำตัวนักเรียนเดิม Data Management Center 2013
4. แผนการรับนักเรียน • ในปี 2557 โรงเรียนมีแผนว่าจะรับนักเรียนในชั้นไหนเป็นจำนวนกี่คน
5. กรอกเกรด GPA • การกรอกข้อมูล GPA สิ้นปีการศึกษานี้ ให้กรอกเป็นรายคน โดยที่จะต้องกรอกเกรดรายสาระวิชาทั้ง 8 และเกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชานักเรียนทุกคนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียน • สามารถทำได้ 2 วิธีคือ • 1. กรอกบนหน้าเว็บ • 2. กรอกในไฟล์ Excel ที่ดาวน์โหลดจากระบบแล้วอัพโหลดเข้ามาผ่านหน้าเว็บอีกครั้ง
กรอกเกรด GPA • ข้อควรจำ • - ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง กรอกหน้าเว็บ หรือกรอกด้วยไฟล์ อย่าทำซ้ำซ้อนกันสองวิธี • - การกรอกเกรดให้กรอก GPA สิ้นปีการศึกษา (เฉพาะเทอม 2/56) ของชั้นประถม,มัธยม อนุบาลให้ข้ามไปเว้นว่างไว้ ห้ามกรอก 0หรือ - • - เกรดรายสาระวิชา หากมีหลายวิชาย่อยให้นำเกรดมารวมกันแล้วหารจำนวนวิชาที่เรียนแล้วปัดขึ้นลงให้ลงตัวตามวิธี
กรอกเกรด GPA • - เกรดเฉลี่ยทุกสาระวิชา ให้เอาเกรดสิ้นปีการศึกษาของนักเรียนกรอกมาได้เลย - เกรดรายสาระวิชาจะเป็น drop down ให้เลือกในหน้าเว็บ • - ในไฟล์ Excel ขอให้กรอกตามนี้ I (ไอ อักษรตัวใหญ่) = รอ , 0 , 0.5 , 1 , 1.5 , 2, 2.5 , 3, 3.5, 4, มผ. เว้นว่างไว้ , มส. เว้นว่างไว้
กรอกเกรด GPA ในไฟล์ดาวน์โหลด ขั้นตอนที่ 1"ดาวโหลดฟอร์มกรอกเกรด GPA" (จะได้รายชื่อเด็กนักเรียนทั้งโรงเรียนมาเป็นไฟล์ Excel) หรือหากต้องการจะกรอกทีละห้อง ให้ใส่เลขห้อง, ทีละชั้น ให้เลือกชั้นก่อนจะกดปุ่มดาวโหลดฟอร์ม (ไฟล์ Excel สามารถจะอัพโหลดได้เรื่อยๆ ทำทีละห้องหรือทีละชั้นก็ได้)
กรอกเกรด GPA ในไฟล์ดาวน์โหลด ขั้นตอนที่ 2กรอก GPA ในไฟล์ Excel เฉพาะ ป. 1-6 , ม. 1-6 , ปวช 1-3 โดยที่ชั้นอนุบาลไม่ต้องกรอก เว้นว่างไว้ได้เลย หลังจากนั้นให้กรอกเกรดเฉลี่ยตาม รายสาระวิชาให้ครบรวมถึงเกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชาด้วย ไฟล์ Excel สามารถนำไปเรียงลำดับชั้น, ห้องสลับนักเรียนขึ้นลงได้ตามสะดวก โดยที่หัวข้อตารางด้านบนให้คงไว้อยู่ที่เดิมและห้ามสลับตำแหน่งแนวนอน สามารถนำข้อมูลไปคัดลอก วางไว้ในไฟล์ Excel ใหม่ให้อยู่ในรูปแบบคงเดิมได้ โดยไฟล์ที่สร้างขึ้นใหม่ต้องบันทึกอยู่ในรูปแบบ Microsoft Excel 97-2003 (.xls) เท่านั้น ไม่ใช่ 2007 ขึ้นไป (.xlsx)
กรอกเกรด GPA ในไฟล์ดาวน์โหลด ขั้นตอนที่ 3เมื่อกรอกข้อมูลในไฟล์ Excel เสร็จเรียบร้อย ให้กดที่ปุ่ม “นำเข้าไฟล์เกรด GPA" ขั้นตอนที่ 4กดปุ่ม "+ อัพโหลดไฟล์" ขั้นตอนที่ 5กดปุ่ม Browse, Choose File เลือกไฟล์ Excel เกรดนักเรียนรายคนที่เราต้องการจะอัพโหลด เสร็จแล้วกดปุ่ม "บันทึก" เพื่อนำเข้าไฟล์เกรดที่ได้กรอกข้อมูลไว้ ข้อควรจำ หลังจากอัพโหลดไฟล์ไปแล้ว ไปทำอย่างอื่นก่อน ราวๆ 15-20 นาที กลับมาเปิดเมนูอัพโหลดอีกรอบ อย่าเปิดหน้าผลอัพโหลดค้างไว้ หน้าสถานะมันจะไม่ reload เอง เราต้องเข้าหน้าสถานะอัพโหลดแล้วกดค้นหาใหม่เอง ถึงจะเห็นว่าสถานะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าเปิดค้างไว้ก็จะเห็นว่า "รอ" ไปตลอดไม่มีการเปลี่ยนแปลง
กรอกเกรด GPAในไฟล์ดาวน์โหลด คำอธิบายสถานะอัพโหลด - รอ แสดงว่ายังไม่นำเข้า - นำเข้าแล้วพบปัญหาบางอย่าง คือผ่านไม่ครบทุกคน คนที่เกรดเข้าก็เข้าไปแต่บางคนติดปัญหาบางอย่าง ต้องดู error ด้านขวาประกอบ - นำเข้าสำเร็จ คือผ่านทุกคนเกรดบันทึกเข้าไปเรียบร้อยแล้ว
กรอกเกรด GPAกรอกบนหน้าเว็บ • ขั้นตอนที่ 1แนะนำให้กรอกทีละห้องเรียน โดยเข้าเมนูปรับปรุงข้อมูล > GPA แล้วให้เลือกชั้นเรียน และระบุห้องเรียนที่จะกรอกแล้วกดปุ่ม "ค้นหา" • ขั้นตอนที่ 2หลังจากค้นหานักเรียนโดยชั้นและห้องแล้ว เลื่อนลงไปด้านล่างจะเห็นรายการนักเรียนให้กรอกเกรดเฉลี่ยตามรายสาระวิชาให้ครบรวมถึงเกรดเฉลี่ยรวมทุกวิชาด้วย ติ๊กข้างหน้าช่องลำดับนักเรียนที่จะบันทึกด้วย (ระบบจะไม่บันทึกคนที่ไม่ติ๊กไว้)แล้วบันทึกข้อมูลโดยกดที่ปุ่ม "บันทึก" ระบบจะแสดงผลว่าบันทึกสำเร็จหรือไม่
กรอกเกรด GPAกรอกบนหน้าเว็บ • ขั้นตอนที่ 3 หลังจากการกดบันทึกไปแล้ว • ถ้าแสดงผลว่าบันทึกสำเร็จแล้ว (สีฟ้า) หน้าจอจะกลับไปแสดงผลเหมือนขั้นตอนที่ 1 ให้เลือกชั้นและหรือเลือกห้องต่อไปแล้วทำการกรอกและบันทึกข้อมูลจนครบทั้งโรงเรียน • ถ้าแสดงผลว่าบันทึกไม่สำเร็จ (สีแดง)ให้ตรวจสอบว่า ติ๊กข้างหน้าช่องลำดับเด็กคนที่จะบันทึกแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ติ๊กให้ทำการติ๊กด้วย
กรอกข้อมูล O-NET การกรอกข้อมูล O-NET สิ้นปีการศึกษานี้ ให้กรอกเป็นรายคน โดยที่จะต้องกรอกเกรดรายสาระวิชาทั้ง 8 ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. กรอกบนหน้าเว็บ 2. อัพโหลดไฟล์ผลคะแนน ปี 2556 จากเว็บประกาศและรายงานผลคะแนนโอเน็ตสำหรับโรงเรียน http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx
การกรอก O-NET บนหน้าเว็บ ขั้นตอนที่ 1หลังจากเข้าเมนูปรับปรุงข้อมูล > O-NET แล้ว ให้เลือกชั้นเรียนที่ต้องการจะกรอก(ผล O-NET จะมีชั้นป. 6 , ม. 3 , ม. 6 เท่านั้นชั้นอื่นให้ข้ามไปไม่ต้องกรอก) หรือเลือกห้องหากต้องการกรอกทีละห้องด้วย แล้วกดปุ่ม "ค้นหา" ขั้นตอนที่ 2 เลื่อนลงไปด้านล่างจะเห็นรายการนักเรียนให้กรอกเกรดเฉลี่ยตามรายสาระวิชา ติ้กข้างหน้าช่องลำดับนักเรียนที่จะบันทึกด้วย (ระบบจะไม่บันทึกคนที่ไม่ติ้กไว้)แล้วบันทึกข้อมูลโดยกดที่ปุ่ม "บันทึก" ระบบจะแสดงผลว่าบันทึกสำเร็จหรือไม่
การกรอก O-NET บนหน้าเว็บ การกรอกเกรดจากไฟล์ผลคะแนน O-NET หากต้องการกรอกหน้าเว็บ ให้ดูจากแถบช่วงข้อมูลด้านขวาในไฟล์ผลคะแนน O-NET ที่จะแสดงผลเป็นเกรดมาแล้ว (ตัวอย่างทำไฮไลท์สีเหลืองด้านขวาไว้) ให้เทียบรหัสวิชาให้ถูกต้องแล้วนำมากรอกในหน้าเว็บระบบ DMC
การกรอก O-NET บนหน้าเว็บ ขั้นตอนที่ 3หลังจากการกดบันทึกไปแล้ว ถ้าแสดงผลว่าบันทึกสำเร็จแล้ว (สีฟ้า) หน้าจอจะกลับไปแสดงผลเหมือนขั้นตอนที่ 1 ให้เลือกชั้นและหรือเลือกห้องต่อไปแล้วทำการกรอกและบันทึกข้อมูลจนครบ ถ้าแสดงผลว่าบันทึกไม่สำเร็จ (สีแดง)ให้ตรวจสอบว่า ติ๊กข้างหน้าช่องลำดับเด็กคนที่จะบันทึกแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ติ๊กให้ทำการติ๊กด้วย
การอัพโหลดไฟล์ Excel ผลคะแนน O-NET ให้ดาวโหลดไฟล์ผลคะแนน O-NET ปี 2556 จาก"เว็บประกาศและรายงานผลคะแนนโอเน็ตสทศ"เฉพาะระดับชั้น ป.6,ม.3 และ ม.6 เท่านั้นเลือกเมนู ผลการสอบ O-NET รายบุคคล > ปีการศึกษา 2556 >ระดับชั้นข้อควรจำ - ดาวโหลด Excel (ห้ามแก้ไข,เปลี่ยนชื่อหรือทำการบีบอัดไฟล์ ให้ใช้ไฟล์ที่ดาวโหลดมาเลย) ทำการอัพโหลดในระบบ DMC โดยที่กดปุ่ม "นำเข้าไฟล์ผลคะแนน O-NET" ด้านบน - สามารถอัพโหลดไฟล์เข้ามาทีละระดับชั้นได้เพราะมีไฟล์แยกของ ป.6,ม.3 และ ม.6
การกรอกผลคะแนน NT ให้ดาวโหลดไฟล์ผลคะแนน NT ปีการศึกษา 2556 เฉพาะระดับชั้น ป.3 เท่านั้น(ขณะนี้ยังไม่ประกาศผล NT2556)จาก "รายงานผลประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเจ้าหน้าที่โรงเรียน" http://nt-result.bopp.go.th/ เลือกเมนู ระดับบุคคล > ปรนัย แล้วกดปุ่มสร้างรายงาน ***สามารถดูวีดิโอวิธีการดาวโหลดไฟล์ NTผ่านหน้าระบบ DMC
การยืนยันข้อมูล/รายงานข้อมูลการยืนยันข้อมูล/รายงานข้อมูล - ยืนยันผ่านระบบ DMC ไปที่ โรงเรียน > เมนู จำนวนนักเรียนแยกชั้นแยกเพศ ในหน้านี้ให้ตรวจสอบข้อมูลของนักเรียน สีของตัวเลขจำนวนมีความหมายดังนี้สีแดง คือ จำนวนที่ต้องกรอกให้ครบถ้วนทุกหัวข้อก่อนยืนยันสีเหลือง คือ จำนวนข้อมูลที่ไม่บังคับกรอกให้ครบในตอนนี้ก็สามารถยืนยันได้สีดำ คือ จำนวนข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องแล้ว (อ้างอิงจากจำนวนนักเรียนทั้งหมด
การยืนยันข้อมูล/รายงานข้อมูลการยืนยันข้อมูล/รายงานข้อมูล ในหน้านี้ให้ตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน ถ้าเป็น สีแดงปุ่มยืนยันข้อมูลจะไม่ขึ้น ต้องตรวจสอบหัวข้อนั้นและแก้ไขให้เรียนร้อย ข้อควรจำ ในหน้านี้ถ้าเป็นมีรายการข้อมูลเป็น สีแดงปุ่มยืนยันข้อมูลจะไม่ขึ้น ต้องตรวจสอบหัวข้อนั้นและแก้ไขให้เรียนร้อย จึงกดยืนยันข้อมูล และเมื่อยืนยันข้อมูลแล้วจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการแก้ไขให้ประสานที่เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
วิธีการแจ้งปัญหาการรายงานระบบ DMC • 1. แจ้งที่กลุ่มนโยบายและแผน สพป.มค.3 • เบอร์โทร 0-4376-2018 หรือ 0-8568-1337-7 • 0898411908 • 2. Facebook กลุ่มสารสนเทศ สพป.มค.3 • 3. แจ้งที่กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผน สพฐ. • ที่ http://bug.bopp-obec.info Data Management Center 2013