250 likes | 561 Views
(Knowledge Management System: KMS). การจัดการความรู้. การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS).
E N D
(Knowledge Management System: KMS) • การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) การจัดการความรู้ คือเครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่าOperation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่กำหนดไว้ ที่เรียกว่าOperation Effectiveness และนิยามผลสัมฤทธิ์ ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1. การสนองตอบ (Responsiveness)ซึ่งรวมทั้งการสนองตอบความต้องการของลูกค้า สนองตอบความต้องการของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น สนองตอบความต้องการของพนักงาน และสนองตอบความต้องการของสังคมส่วนรวม 2. การมีนวัตกรรม (Innovation)ทั้งที่เป็นนวัตกรรมในการทำงาน และนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการ 3. ขีดความสามารถ (Competency)ขององค์กร และของบุคลากรที่พัฒนาขึ้น ซึ่งสะท้อนสภาพการเรียนรู้ขององค์กร 4. ประสิทธิภาพ (Efficiency)ซึ่งหมายถึงสัดส่วนระหว่างผลลัพธ์ กับต้นทุนที่ลงไป การทำงานที่ประสิทธิภาพสูง หมายถึง การทำงานที่ลงทุนลงแรงน้อย แต่ได้ผลมากหรือคุณภาพสูง เป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) 1. “คน”ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 2. “เทคโนโลยี”เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น 3. “กระบวนการความรู้”นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) กระบวนการจัดการความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) • กระบวนการจัดการความรู้ • กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ • 1. การบ่งชี้ความรู้เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร • 2. การสร้างและแสวงหาความรู้เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว • 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบเป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต • 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) 5. การเข้าถึงความรู้เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น 7. การเรียนรู้ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) เครื่องมือในการจัดการความรู้ กรมการปกครองได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ (KMS Action Plan) ซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสาร “คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549” ซึ่งได้ส่งให้ ก.พ.ร.เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2549 แล้ว เมื่อพิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระในแผนดังกล่าว จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 1. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการความรู้ (KMS Process) 2. แผนการจัดการความรู้ในส่วนของกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ซึ่งทั้ง 2 ส่วน จะมีความสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจนตามขอบเขต และเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้บรรลุผล ขณะเดียวกันในแต่ละ ส่วนก็จะมีโครงการและกิจกรรมของแต่ละสำนัก กอง รองรับ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้มีอยู่ไม่น้อยกว่า 15 โครงการ/กิจกรรม การขับเคลื่อนการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) ความจำเป็นของ Knowledge Management ในองค์กร ในปัจจุบัน Knowledge Management ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะสิ่งหนึ่งที่เป็นอำนาจแข่งขันหลักๆขององค์กรก็คือบุคลากรภายในองค์กร โดยเฉพาะคนที่มีความรู้ ความชำนาญ องค์กรที่ดีก็ควรจะนำความรู้เหล่านั้นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ Knowledge Management เป็นเรื่องที่หลายองค์กรค่อนข้างให้ความสำคัญ เช่น กรณีที่มีการ lay off พนักงาน หรือเกษียณอายุงาน หรือมีการโยกย้ายไปทำงานกับองค์กรอื่น จะพบปัญหาว่า เมื่อบุคลากรเหล่านั้นจากไป แล้วนำความรู้ ความชำนาญต่าง ๆ ที่ควรเก็บไว้ในองค์กรติดตัวไปด้วย
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) ประเภทของ Knowledge
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) 1. Explicit Knowledge เป็นความรู้ที่สามารถบันทึกได้ ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร หรือ วิชาการ อยู่ในตำรา คู่มือปฏิบัติงาน สามารถถ่ายทอดได้ง่าย และ เรียนรู้ได้ง่าย สามารถถ่ายทอดในลักษณะของ One To Many ได้ซึ่งสะดวกใช้ในการบริหารงานระดับล่าง 2. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่ไม่สามารถสามารถบันทึกได้หรือบันทึกได้ไม่หมด เช่น ประสบการณ์, สัญชาตญาณ, ความชำนาญ เกิดจากการสั่งสมมาเป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีหรือใกล้ชิดเกิดขึ้นในการถ่ายทอด ในลักษณะของ One To One เช่น การ Coaching ส่วนใหญ่เป็นการทำงานในระดับบริหาร การตัดสินใจต่างๆ ข้อเสีย คือ ความรู้จะอยู่กับคนๆ เดียว จะทำให้เมื่อเสียทรัพยากรบุคคลไป ก็เสียความรู้ที่คนๆ นั้นมีไปด้วย
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) เป้าหมายของ Knowledge Management การที่องค์กรนำความรู้ของคนในองค์กร 2 รูปแบบทั้ง Explicit Knowledge และ Tacit Knowledge มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และ มีประสิทธิภาพสูงสุด Knowledge Management มีความเชื่อมโยงกับ Learning Organization โดย Learning Organization มี Concept คือ การที่องค์กรต้องสร้างความยั่งยืน โดยเรียนรู้ทั้งจากตนเองและผู้อื่น หรือ จากภายในและภายนอกองค์กร
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของ Knowledge Management 1. ทำให้ความรู้ในองค์กรที่มีการจัดเก็บไว้สามารถเข้าถึงได้ง่าย 2. เป็นข้อที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์กรเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งในหลายองค์กรอาจทำได้ยาก เพราะคนมักอยากจะเก็บความรู้ไว้กับตัวเอง และคนในองค์กรมองว่าเป็นการสูญเสียผลประโยชน์ หรือเพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรอง ทำให้ความรู้ที่มีไม่สามารถถูกนำมาแลกเปลี่ยนและถูกนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ต้องมีการสร้างระบบที่ทำให้มีการสร้าง, จัดเก็บ และ กระจายความรู้ได้ง่าย ซึ่ง IT จะเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้เป็นอย่างมาก 4. นำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) บทบาทของคนใน Knowledge 1. Chief Knowledge Officer (CKO) : ผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ 2. CEO: ผู้บริหารสูงสุดของบริษัท ต้องให้การสนับสนุน 3. Officers and managers: ผู้จัดการและพนักงาน 4. สมาชิกและหัวหน้าของชุมชนนักปฏิบัติ 5. นักพัฒนา Knowledge Management System 6. เจ้าหน้าที่ Knowledge Management System
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) ปัจจัยที่ทำให้กระบวนการของ Knowledge Management ไม่ประสบผลสำเร็จ 1. มีข้อมูลที่มากเกินไปและยากต่อการค้นหาข้อมูล 2. มีข้อมูลที่ไม่เพียงพอหรือมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ 3. การขาดความสามารถในการเก็บข้อมูล การจัดหมวดหมู่ของความรู้ และการจัดการกระบวนการจัดการความรู้ 4. ขาดความรับผิดชอบ ในการดำเนินงาน 5. ไม่มีการจัดเตรียม Incentive ให้กับคนที่ใช้ระบบ 6. ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากเกินไปทำให้มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย 7. ขาดความร่วมมือหรือสนับสนุนจากผู้บริหาร 8. ขาดความเข้าใจในผลประโยชน์ของการจัดการความรู้ 9. ขาดบุคลลากรและทรัพยากรในการสนับสนุนงาน Knowledge Management 10. มีของเขตของ Knowledge Management ที่กว้างเกินไป
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) ปัจจัยที่ทำให้กระบวนการของ Knowledge Management ประสบความสำเร็จ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) ปัจจัยที่ทำให้ Knowledge Management ประสบความสำเร็จในองค์กร 1. วัฒนธรรมและพฤติกรรมของคนในองค์กรคนในองค์กรต้องมีความเจตคติที่ดีในการแบ่งปันความรู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาเป็นฐานในการต่อยอดความรู้ของคนรุ่นใหม่ต่อไป 2.ผู้นำและการสร้างกลยุทธ์ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความเชื่อในคุณค่าของคนและความรู้ที่มีในองค์กร เข้าใจในลักษณะของปัญหาและพันธะกิจขององค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนความเป็นมืออาชีพในด้านต่างๆให้เกิดขึ้น 3. Technologyความพร้อมของอุปกรณ์ทันสมัยของเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนการทำงานและการเรียนรู้ของคนในองค์กรได้ 4. การวัดผลและการนำไปใช้จัดทำระบบการติดตามและวัดผลของการจัดการความรู้และประโยชน์จากการนำไปใช้ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้คนในองค์กรมีความกระหายอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมในการสร้างฐานความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง5. โครงสร้างพื้นฐานการวางระบบการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล และการรายงานผลการดำเนินการต่างๆที่จะเอื้อให้แผนงานของการจัดการความรู้ประสบผลสำเร็จ
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ใช้ใน Knowledge Management มีมากมาย อาทิ• Structured Knowledge System ระบบ Content management system (CMS) ใช้ในการจัดทำระบบฐานข้อมูลความรู้ที่เป็นในรูปแบบเอกสารที่เป็นทางการต่างๆ ถูกนำไปจัดเก็บในรูปแบบของ Database ที่สามารถทำให้คนในองค์กรเข้าถึงหรือค้นหาเอกสารในรูปแบบต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น Web Kworld’s Knowledge Domains เป็นเว็บที่รวบรวม content เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ KPMG ที่คนภายในสามารถเข้าถึงได้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) บรรณานุกรม Wikidot.com.2011. Knowledge Management.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://y31.wikidot.com/. 7 กรกฎาคม 2013. Pornthip Kaolex.2010. Knowledge management System : KM.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://pornthip-yui.blogspot.com/. 7 กรกฎาคม 2013. Wikipedia.2012.ระบบสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org/. 7 กรกฎาคม 2013. Dek-IT-Suan Dusit.2007. Knowledge Menegment System (KMS) คือ.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://clubs-it.blogspot.com/. 7 กรกฎาคม 2013.
การจัดการความรู้ (Knowledge Management System: KMS) สมาชิกในกลุ่ม นางสาวกฤติกาเลื่อนกฐิน รหัสนักศึกษา 556209110001-0 นางสาวจิรพรรณ เลี่ยนพานิช รหัสนักศึกษา 556209110002-8 นางสาวปิยนุช รักแก้ว รหัสนักศึกษา 554409110035-6 สาขาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
จบการนำเสนอ (Knowledge Management System: KMS)