E N D
คำนำ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ จากการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินเล่มนี้เกิดขึ้น เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาและระเบียบกระทรวงการคลังที่ใช้ในการขออนุมัติเบิกจ่ายค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุมีเนื้อหาจำนวนมาก อาจทำให้ไม่สะดวกในการค้นหาในเวลาเร่งด่วน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องหยิบเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็นใช้ในการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานและเป็นเอกสารเผยแพร่สำหรับผู้สนใจ ศนิยา พิมพ์มีลาย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน
สารบัญ • เนื้อเรื่องหน้า • การเบิกจ่ายเงิน 3-19 • การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง 20-25 • เงินยืมราชการ 26-26 • การจัดซื้อจัดจ้าง 27-29 • หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา 30-30 • การควบคุมวัสดุ/ครุภัณฑ์ 31-32 • รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง 33-35 • ค่าสาธารณูปโภค 36-37
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน งานการเงินและบัญชี ฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี นำเสนอโดย นางศนิยา พิมพ์มีลาย เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญงาน
เรื่องที่นำเสนอ • การเบิกจ่ายเงิน • การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง • เงินยืมราชการ • การจัดซื้อจัดจ้าง • การควบคุมพัสดุ • รถยนต์/น้ำมันเชื้อเพลิง • ค่าสาธารณูปโภค
การเบิกจ่าย-เงิน • มีการก่อหนี้ผูกพัน ก่อน ที่กรมจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวด • นำค่าใช้จ่ายของปีก่อนมาเบิกจ่ายในปีปัจจุบัน (ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด)
การเบิกจ่าย-เงิน • รายการที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อได้รับใบแจ้งหนี้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งสามาถนำมาเบิกจ่ายในปีงบประมาณ ถัดไปที่ได้รับใบแจ้งหนี้ได้ เช่น • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เฉพาะเดือน กย. • ค่าไฟฟ้า ประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าฝากส่งไปรษณีย์รายเดือน เฉพาะเดือน สค. กย. • ค่าเช่าบ้าน
การเบิกจ่าย-เงิน • นำค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือกระทรวงการคลังไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำมาเบิกได้ มาเบิกจากทางราชการ • ค่าของขวัญวันเด็ก วันปีใหม่ • ค่าการ์ด สคส. และค่าจัดส่ง • ค่าบริการเสริมโทรศัพท์มือถือ
การเบิกจ่าย-เงิน นำค่าใช้จ่ายที่ต้องเบิกจากงบลงทุนมาเบิกจากงบดำเนินงาน • การจัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานนาน มีลักษณะคงทน แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด เกิน 5,000 บาท นำมาเบิกจ่ายในค่าวัสดุ • รายการประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 50,000 บาท
การเบิกจ่าย-เงิน การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และการฝึกอบรม ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม • มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง (ระบุจำนวน.....วัน.....ชั่วโมง ไม่ถูกต้องครบถ้วน) • เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ซ้ำซ้อนกับ OTและวันลา • ขออนุญาตเดินทางไปราชการในพื้นที่ ที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบ(เป็นภารกิจส่วนตัว แต่ขออนุญาตเดินทางไปราชการเพื่อเบิกค่าใช้จ่าย)
การเบิกจ่าย-เงิน • ขออนุญาตเดินทางโดยรถส่วนตัวแต่ นำใบเสร็จค่าเติมน้ำมันระหว่างทางมาเบิก (ต้องเบิกเป็นค่าชดเชยตามระยะทาง) • เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการโดยไม่ประหยัด เช่นออกเดินทางจากโรงแรม หรือที่พักอาศัยในหน่วยงานเดียวกัน ไปยังจุดหมายเดียวกัน เบิกค่า แท็กซี่ คนละคัน • ระยะทางไม่สอดคล้องกับสถานที่ในการขออนุญาตเดินทาง
การเบิกจ่าย-เงิน • มีการแก้ไขใบขออนุญาตเดินทาง เพิ่มเติม หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว เช่นเปลี่ยนแปลง วันที่เดินทาง ผู้ร่วมเดินทาง • ระยะเวลาในการเดินทางที่ขอเบิกเงินไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ • การขออนุญาตใช้รถในการเดินทางไม่ตรงกับการเดินทางไปราชการจริง
การเบิกจ่ายเงิน • การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา ไม่ได้เบิกค่าใช้จ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่ผู้จัดไม่ออกค่าใช้จ่ายให้ แต่เบิกเพิ่มทั้งค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พักเหมาจ่าย • การรับเชิญเป็นวิทยากรให้หน่วยงานอื่น แต่เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากหน่วยงานต้นสังกัด (ต้องเบิกจากหน่วยงานผู้จัด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดี) • การเดินทางเกี่ยวข้องเรื่องทุนการศึกษา ไม่ถือเป็นการเดินทางไปราชการชั่วคราวตามระเบียบกระทรวงการคลัง เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้
การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ของมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ถูกต้อง • ปริญญาตรี ปวส.เอกชน ระเบียบกำหนดให้เบิกครึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลัง กำหนด แต่นำมาเบิกทั้งหมด โดนไม่หารครึ่งก่อน
การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่ารักษาพยาบาล เกินสิทธิ์ • การเบิกค่าตรวจสอบสุขภาพให้บุคคลในครอบครัว เบิกได้เฉพาะตัวเท่านั้น • ไม่ได้ทำการตรวจสอบ อัตราการเบิกจ่ายแต่ละรายการตามรหัสค่ารักษาพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด • ให้ธุรการเป็นผู้รับรองการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล เงินสวัสดิการศึกษาบุตร ไม่ได้
การเบิกจ่ายเงิน • การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ไม่จัดทำการออกใบสั่งซื้อในระบบ GFMIS (PO) เพื่อวางฎีกาจ่ายตรงให้แก่ผู้ขาย • มีการสำรองจ่ายเงินสดในการจัดซื้อจัดจ้างบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลสมควร ทำการเบิกจ่ายเงินไม่เป็นหลักเกณฑ์ที่ระเบียบกำหนด เช่นการจัดทำ PO การหักภาษี ณ ที่จ่าย การออกใบรับรองการหักภาษี เป็นต้น
การเบิกจ่ายเงิน • ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย /หักบ้างไม่หักบ้าง /หักไม่ถูกต้อง หลักเกณฑ์การหัก ภาษี ณ ที่จ่าย • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป • นิติบุคคล ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป • เบิกผิดศูนย์ต้นทุน/ จ่ายเงินขาดเกินบัญชี
การเบิกจ่ายเงิน • ไม่ได้พิสูจน์ยอดบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นประจำทุกเดือน • บางครั้ง กรณี บัญชีเงินฝากธนาคารมีเงินคงค้างบัญชี เจ้าหน้าที่จะทำเช็คถอนเงินสดรวมกับยอดอื่นออกมา เพื่อให้บัญชีเป็น ศูนย์ โดยไม่มีการพิสูจน์ว่าเกิดจากอะไร (แต่เก็บเงินไว้เสียเอง)
การเบิกจ่าย-เงิน การปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง • การตรวจสอบความถูกต้อง และครบถ้วนของเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายว่า เป็นไปตามระเบียบฯที่กำหนดไม่เคร่งครัด ทำให้มีการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน • เจ้าหน้าที่ ไม่ติดตาม ศึกษาและทำความเข้าใจในระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง บ่อยครั้ง • เบิกจ่ายเงินตามระเบียบที่ยกเลิกไปแล้ว
การเบิกจ่าย-เงิน • หลักฐานการเบิกจ่าย ไม่ครบถ้วน • จ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่ติดตามใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายแนบประกอบใบสำคัญคู่จ่ายให้ครบถ้วน (บางหน่วยจ่ายเงินตั้งแต่ต้นปี ปลายปียังไม่มีการติดตามใบเสร็จรับเงินแนบหลักฐานการจ่าย) • ไม่ได้ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว”รับรองการจ่ายเงินตามที่ระเบียบกำหนด เสี่ยงต่อการนำมาเบิกซ้ำได้ • การจัดเก็บหลักฐานเสี่ยงต่อการสูญหาย
การเบิกจ่าย-เงิน • การจัดทำบัญชีหรือทะเบียนคุมการเบิกจ่ายเงิน ควบคู่กับการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS ไม่เรียบร้อย ครบถ้วน โดยเฉพาะทะเบียนคุมเงินประจำงวด จึงไม่ทราบว่าในแต่ขณะมีเงินงบประมาณแต่ละรายการคงเหลืออยู่เท่าไหร่ เสี่ยงต่อการเบิกจ่ายเงินเกิน กว่างบประมาณที่ได้รับ หรือไม่สามารถบริหารงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขาดการสอบทานความถูกต้องกับรายงานจากระบบ
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การรับเงิน • ไม่ออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่มีการรับชำระเงิน แต่จะออกในวันที่จะนำส่งเงิน จะเก็บเงินไว้เองก่อน • ออกใบเสร็จรับเงินไม่ถูกต้อง ระบุจำนวนเงินผิด • ไม่ได้บันทึกรายการรับเงินในระบบ ทันทีภายในวันที่เกิดรายการ
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การเก็บรักษาเงิน • ไม่ได้ตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน • กรรมการฯไม่ได้ทำหน้าที่/ไม่ทราบว่าได้การแต่งตั้งเป็นกรรมการ/ไม่รู้ต้องทำอะไรบ้าง • ไม่ได้เก็บรักษาเงินในตู้นิรภัย แต่อยู่ที่เจ้าหน้าที่การเงินหรือผู้ออกใบเสร็จรับเงิน • ไม่ได้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวัน
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การนำเงินส่งคลัง • ไม่ได้นำเงินส่งคลังภายในระยะเวลาที่ ระเบียบกำหนด • ไม่ได้บันทึกรายการในระบบ GFMIS ในวันที่เกิดรายการ
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การควบคุมการใช้ใบเสร็จรับเงิน • ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และการรายงานการใช้ใบเสร็จรับเงิน ตอนสิ้นปีงบประมาณ • ใบเสร็จรับเงินใช้ต่อเนื่องหลายปี (ใบเสร็จรับเงินปีงบประมาณใดให้ใช้จัดเก็บเงินเฉพาะปีงบประมาณนั้น เท่านั้น
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ข้อพึงระวัง มีความเสี่ยงสูง • เจ้าหน้าที่คนเดียวทำหน้าที่ทั้งกระบวนการ • ออกใบเสร็จรับเงิน • เก็บรักษาเงิน • นำเงินฝากธนาคาร/ส่งคลัง • บันทึกรายการในระบบ • เจ้าหน้าที่ไม่เคยรายงาน การรับเงิน การจัดเก็บเงิน หรือการนำเงินส่งคลัง ให้ทราบ
การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ข้อพึงระวัง มีความเสี่ยงสูง • ผู้บริหาร/หัวหน้าหน่วยงาน ไม่เคยลงนามในเอกสารหลักฐาน ใดๆ เช่นรายงานเงินคงเหลือประจำวัน ใบจัดเก็บหรือนำส่งเงินรายได้ในระบบ GFMISเป็นต้น
เงินยืมราชการ การยืมเงินเพื่อการจัดฝึกอบรม ให้ยืมเฉพาะรายการที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการฝึกอบรมให้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุ และเบิกจ่ายเงินตามหลักเกณฑ์ตามระเบียบ เหมือนภารกิจอื่น รวมทั้งการจัดทำ PO การหักภาษี ณ ที่จ่าย การออกใบรับรองการหักภาษี การเขียนสั่งจ่ายเช็ค เป็นต้น 28
การจัดซื้อจัดจ้าง • ขาดการวางแผนการจัดซื้อ ซื้อบ่อยครั้ง • การจัดซื้อ/จ้าง ไม่ระบุราคาจัดซื้อครั้งก่อน ขาดคู่เทียบราคา • เข้าลักษณะการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง • การซ่อมแซมครุภัณฑ์ หรือการ up grade คอมพิวเตอร์ ไม่ระบุหมายเลขครุภัณฑ์ ให้ชัดเจน ซ่อมจริงหรือไม่จริง
การจัดซื้อจัดจ้าง • การสอบราคา ระบุในเอกสารการสอบราคาว่าให้ส่งของภายใน 30 วันนับจากวันลงนามในสัญญา แต่การทำสัญญากลับระบุ ให้ส่งของภายใน 60 วันหรือ 90 วัน • การจัดซื้อจัดจ้าง ในระบบ e-Auction ให้แนบหลักฐานการจ่ายเงินของบริษัทคู่สัญญา ที่จ่ายเงินให้แก่ผู้ให้บริการตลาดกลาง ประกอบการเบิกจ่ายเงินทุกครั้ง
การจัดซื้อจัดจ้าง • การจ้างไม่ติดอากร ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด • แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ครบตามระเบียบ ตั้งคนที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นกรรมการตรวจรับ • กรรมการตรวจรับไม่ลงลายมือชื่อในใบตรวจรับพัสดุ • การคิดค่าปรับไม่ถูกต้อง ไม่คิดค่าปรับ ไม่ลงวันที่ในใบส่งของ
หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญาหลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา • รับหลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญาเป็น เช็คบริษัท ซึ่งไม่สามารถรับได้ • ไม่ได้ทำหนังสือยืนยันยอด หนังสือค้ำประกันธนาคาร • บริษัทเสนอรับประกัน 3 ปี แต่เราทำสัญญาระบุ 1 ปี
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ไม่บันทึกรายการวัสดุครุภัณฑ์ที่ได้รับจากหน่วยงานอื่น เช่น กอง/สำนักต้นสังกัด สตร. ศทป. • เอกสารการจัดส่งพัสดุ จากกอง/สำนัก หรือหน่วยงานอื่นไม่มี / ไม่มีครบ • วัสดุรับมาจ่ายหมด ไม่มีของคงเหลือในทะเบียนคุม แต่ของจริงเหลือมาก • ของหมดอายุ เสื่อมสภาพ ใช้ไม่ทัน โดยเฉพาะวัสดุสำนักงาน
การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • การจัดทำทะเบียนควบคุมไม่เรียบร้อย รหัสมีไม่ครบ เสี่ยงต่อการสูญหายได้ • ไม่ได้ควบคุมรายการครุภัณฑ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ (เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งาน สภาพคงทนถาวร แต่ราคาไม่เกิน 5,000 บาท) • มีครุภัณฑ์ชำรุดรอจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ดำเนินการขออนุมัติจำหน่าย บางส่วนหาซากไม่เจอ เป็นภาระของหน่วยงาน • หลักฐานการยืม การจำหน่าย การโอน ไม่มี
รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง รถราชการ • ไม่พ่นตราเครื่องหมายกรมประมง • ติดสติกเกอร์แทน • ไม่ต่อทะเบียน • คู่มือการจดทะเบียนสูญหาย
รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง การใช้รถ • ไม่ขออนุญาตใช้รถ เว้นแต่การเดินทางที่มีการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง • สมุดการบักทึกการใช้รถ บันทึกไม่ครบถ้วน ระยะทางไม่สอดคล้องกับพื้นที่เดินทาง • ไม่บันทึกประวัติการซ่อม ลงบ้างไม่ลงบ้าง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ • สั่งซ่อมรถโดยไม่เคยตรวจสอบประวัติการซ่อม • มีการซ่อมซ้ำกับรายการเดิม ซ่อมรถคันที่จอดเสียใช้การไม่ได้อีกแล้ว
รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิง • ซื้อน้ำมันฝากปั้ม (จ่ายเงินซื้อคูปองแล้วทยอยเบิกน้ำมันจากปั้ม) • ไม่ทำทะเบียนคุมการเบิกจ่ายน้ำมัน • ไม่ได้กำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง • เติมรถส่วนตัว หรือรถที่อื่น • นำบิลน้ำมันเดือนของปีงบประมาณก่อนมาเบิก (ระเบียบกำหนดให้เฉพาะเดือนกันยายน เท่านั้น) • เบิกเติมน้ำมันรถ โดยไม่มีเนื้องานมารองรับ
ค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้าบ้านพัก • มิเตอร์เสียเป็นประจำ/เดินผิดปกติ ทำให้หน่วยการใช้ไฟฟ้าวิ่งเข้ามิเตอร์ประธาน ของสำนักงาน ส่วนราชการต้องรับภาระแทน โดยไม่มีการควบคุม • การเรียกเก็บเงินสมทบจากบ้านพัก โดยไม่คิดค่า vat และ ft ทำให้ส่วนราชการต้องจ่ายแทน
ค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ • ไม่มีการบันทึกควบคุม • ไม่มีการตรวจสอบก่อนเบิก • โทรส่วนตัวมาเบิกราชการ • โทรทางไกล ไม่ขออนุมัติผู้บังคับบัญชา
อ้างอิง www.cgd.go.th/ - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 - หลักเกณฑ์กรมประมง เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราการเบิกค่าเช่าที่พักเหมาจ่ายในการเดินทางไปราชการและการ ฝึกอบรมในประเทศ - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลังของส่วน ราชการ พ.ศ. 2551 - ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 - ที่ กษ 0503.5/ ว 4 ลว. 9 มกราคม 2552 เรื่อง การยืมเงินราชการ - ระเบียบสำ นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม