1.09k likes | 1.69k Views
Project and Change Management. ผู้สอน : พนม เพชรจตุพร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมระบบวัดคุม . ITEC 0521 : Project and Change Management. Text Book: 1) Information Technology Project Management 3 nd Ed. by Jack T. Marchewka, Wiley.
E N D
Project and Change Management ผู้สอน: พนม เพชรจตุพร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมระบบวัดคุม
ITEC 0521 : Project and Change Management • Text Book: • 1) Information Technology Project Management 3nd Ed. by Jack T. Marchewka, Wiley. • 2) A Guide To The Project Management Body Of Knowledge (PMBOK) by PMI Standards Committee., William R. Duncan. • Reference Book: • 1) Information Technology Project Management by Kathy Schwalbe, Thomson. • 2) Project and Program Risk Management; A Guide to Managing Project Risks and Opportunities by R. Max Wideman, Project Management Institute.
Score • Homework 20% • Midterm 30% • Examination 50% • Note: • It may be changed if anyone has a good suggestion.
Content of Text Book (1) • Chapter 1: ทบทวนเรื่องของการจัดการโครงการ IT • (An Overview of IT Project Management) • Chapter 2: กรณีศึกษาทางธุรกิจ • (Business Case) • Chapter 3: โปรเจค ชาร์เตอร์ • (Project Charter) • Chapter 4: กลุ่มดำเนินโครงการ • (Project Team) • Chapter 5: การวางแผนจัดการขอบเขตโครงการ • (The Scope Management Plan)
Content of Text Book (2) • Chapter 6: โครงสร้างของการแยกย่อยงาน • (The Work Breakdown Structure (WBS)) • Chapter 7: งบประมาณและแผนเวลาทำงานของโครงการ • (The Project’s Schedule and Budget) • Chapter 8: การวางแผนจัดการความเสี่ยงของโครงการ • (The RiskManagement Plan) • Chapter 9: การวางแผนสื่อสารภายในโครงการ • (The Project Communication Plan) • Chapter 10: การวางแผนคุณภาพของโครงการเกี่ยวกับ IT • (The IT Project Quality Plan)
Content of Text Book (3) • Chapter 11: การจัดการการเปลี่ยนแปลงขององค์กร การต่อต้าน และข้อขัดแย้ง • (Managing Change, Resistance, and Conflict) • Chapter 12: การบริหารการจัดซื้อในโครงการและการเอาต์ซอร์ส • (Managing Project Procurement and Outsourcing) • Chapter 13: ภาวะผู้นำและจรรยาบรรณของโครงการ • (Project Leadership and Ethics) • Chapter 14: การวางแผนการปฏิบัติงาน การปิดโครงการ • (The Implementation Plan and Project Closure) • Appendix: An Introduction to Function Point Analysis.
Information Technology Project Management by Jack T. Marchewka
Chapter 1: ทบทวนเรื่องของการจัดการโครงการ IT (An Overview of IT Project Management)
Chapter 1 Objectives • อธิบายถึงยุคที่เด่นๆของระบบสารสนเทศที่เรียกกันว่า ยุคการประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิคส์ (electronic data processing (EDP) ยุคไมโคร ยุคโครงข่าย และยุคโลกาภิวัฒน์ และทำความเข้าใจถึงวิธีการจัดการกับโครงการด้าน IT ในยุคต่าง ๆ ข้างต้นได้อย่างไร • ทำความเข้าใจสภาวการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการโครงการด้าน IT และการประสบความสำเร็จในการจัดการโครงการด้าน IT ยังคงมีความท้าทายต่อองค์กรต่าง ๆ อย่างไร • อธิบายถึงการใช้แนวทาง value-driven, socio-technical, project management และ knowledge management ที่สนับสนุน ITPM. • นิยามว่าโครงการ (project) คืออะไรและอธิบายถึงคุณลักษณะของโครงการ • กำหนดวินัยในการทำโครงการที่เรียกว่า การจัดการโครงการ (project management)
อธิบายบทบาทและผลกระทบของโครงการ IT ที่มีต่อองค์กร • บ่งชี้ความแตกต่างและความสนใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ (project stakeholder) • อธิบายแนวทางที่มักใช้กันในการพัฒนาระบบอย่างเป็นโครงสร้างและการพัฒนาระบบแบบทำซ้ำ ๆ (iterative systems development) • อธิบายวงรอบชีวิตของโครงการ (project life cycle (PLC)) วงรอบชีวิตในการพัฒนาระบบ ( systems development life cycle (SDLC)) และความสัมพันธ์ระหว่างกัน • อธิบายถึงการจัดการโครงการแบบสุดขั้ว (extreme project management) • บ่งชี้ Project Management Body of Knowledge (PMBOK®) ในส่วนที่แกนหลัก
IntroductionIT and Modern Day Project Management 1940s 1950s 1960s 1970s 1980s 1990s 2000s 2010s First Electronic Computer EDP Era PC Era Network Era Globalization
Introduction • โครงการเกี่ยวกับ IT (Information Technology (IT) projects) ถือเป็นการลงทุนขององค์กรที่ต้องการ • เวลา (Time) • เงิน (Money) • และทรัพยากรอื่น ๆ เช่น ผู้คน เทคโนโลยี ส่วนสนับสนุน และอื่น ๆ • ดังนั้นองค์กรจึงคาดหวังว่ามันต้องมีคุณค่าบางสิ่งบางอย่างกลับคืนมาหลังจากการลงทุน • ดังนั้นการจัดการโครงการเกี่ยวกับ IT จะสัมพันธ์กับวินัยในการทำงานใหม่ ๆ อันนำมาใช้เพื่อทำให้โครงการเกี่ยวกับ IT ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยนำมาใช้ร่วมกับการจัดการกับโครงการแบบทั่ว ๆ ไปซึ่งอาศัย Software Engineering/Management Information Systems
An ITPM Approach เนื่องจากทรัพยากรขององค์กรมีจำกัด ดังนั้นองค์กรจึงต้องเลือกเอาระหว่างสิ่งที่องค์กรสนใจเทียบกับเงินทุนที่ต้องใช้ในโครงการต่าง ๆ การตัดสินใจจะตั้งอยู่บนคุณค่าของโครงการต่าง ๆ ที่มีให้กับองค์กร ที่เสนอขึ้นมาให้คัดเลือก สถานการณ์ใดแย่กว่ากัน การประสบความสำเร็จในการสร้างระบบขึ้นมาและนำมาใช้งาน แต่ให้คุณค่าแก่องค์กรเล็กน้อยหรือไม่มีเลย? หรือ… ล้มเหลวในการนำระบบสารสนเทศ(information system) มาใช้งาน ซึ่งระบบนี้ให้คุณค่าแก่องค์กรแต่กำลังพัฒนาอยู่ ยังไม่แล้วเสร็จ หรือ มีการจัดการที่แย่?
Advantages of Using Formal Project Management • สามารถควบคุม financial, physical, และ human resources ได้ดีขึ้น • ความสัมพันธ์กับลูกค้า ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น • เวลาที่ใช้พัฒนาลดน้อยลง • ต้นทุนต่ำลง • คุณภาพและความวางใจได้เพิ่มสูงขึ้น • ผลกำไรสูงขึ้น • ผลิตผลถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น • การประสานงานภายในดีขึ้น • อารมณ์ร่วมในการ(อยาก)ทำงานสูงขึ้น
The State of IT Project Management • โดยการศึกษาของ Standish Group ผ่านทางการสำรวจผู้จัดการ IT 365 คนเมื่อปี 1994 การศึกษานี้เรียกว่า CHAOS แล้วได้ออกรายงานออกมาว่า • มีเพียง 16% ของโครงการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่ประสบความสำเร็จในเทอมที่ทันเวลาที่กำหนดและอยู่ในงบประมาณที่กำหนด • 31% ของโครงการถูกยกเลิกก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จ • 53% ของโครงการแล้วเสร็จก็จริง แต่เกินเวลาที่กำหนด เกินงบประมาณ และไม่บรรลุข้อกำหนดตามที่กำหนดไว้แต่แรก • จากการสำรวจยังพบว่าบริษัทขนาดกลางเมื่อทำโครงการแล้ว ได้ใช้งบประมาณเกินไปจากการคาดการณ์ในตอนต้นก่อนเริ่มโครงการ เฉลี่ยแล้วประมาณ 182% และใช้เวลาเกินที่กำหนดไว้เฉลี่ยแล้วประมาณ 202%
นั่นหมายความว่า โครงการขนาดกลางกำหนดไว้ก่อนทำโครงการว่าจะใช้เงินประมาณ 1 ล้านเหรียญ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี แต่เมื่อโครงการเสร็จสิ้นแล้ว ใช้เงินไปประมาณ 1.8 ล้านเหรียญและใช้เวลาไปถึง 2 ปี • ทำไมโครงการเกี่ยวกับ IT ถึงล้มเหลว? • โครงการขนาดใหญ่มีอัตราการประสบความสำเร็จน้อยกว่าโครงการขนาดกลางและขนาดเล็ก และมีความเสี่ยงมากกว่า • การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยีตัวแบบทางธุรกิจ (business models) และตลาดทำให้โครงการที่ใช้เวลานานกว่าหนึ่งปีถูกยกเลิกก่อนที่จะแล้วเสร็จ
ทำไมโครงงานถึงล้มเหลว? ในภาพกว้าง ๆ • ใช้งบประมาณเกินกำหนด (Cost Overruns) • เกินเวลาที่กำหนด (Schedule Overruns) • เพิ่มสิ่งสำคัญ ๆ เข้าไปหลังจากเริ่มโครงการ (Addition of features) • ลบสิ่งสำคัญ ๆ ออกเนื่องจากเกินงบและเกินเวลา (Deletion of features due to time and cost overruns) • โครงการถูกยกเลิกก่อนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ (Project is cancelled before completion) • ผู้ใช้ไม่พึงพอใจและไม่ใช้งาน (User dissatisfaction and non use)
Has the Current State of IT Projects Changed Since 1994? • Standish Group ได้ศึกษาโครงการ IT อย่างต่อเนื่องมาหลายปี พบว่า เมื่อกล่าวกว้าง ๆ จะเห็นว่าโครงการเกี่ยวกับ IT มีอัตราความสำเร็จสูงขึ้น อันเนื่องมาจาก • มีกระบวนการและเครื่องมือในการจัดการกับโครงการดีขึ้น • โครงการต่าง ๆ มีขนาดเล็กลง • การสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย (stakeholder)ได้รับการปรับปรุง • ผู้จัดการโครงการเกี่ยวกับ IT มีทักษะและความชำนาญมากขึ้น • แต่อย่างไรก็ตาม มันยังมีโอกาสในการปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกมาก
Table 1.1 Summary of CHAOS Study Factor Rankings for Successful Projects (Sources: Adapted from the Standish Group. CHAOS (West Yarmouth, MA: 1995) &http://www.infoq.com/articles/Interview-Johnson-Standish-CHAOS)
แล้วปี 2007 เป็นอย่างไร? • จากผลการศึกษาของ Tata Consultancy Services ได้สำรวจ 800 Senior IT Managers จาก U.K., USA, France, India, Japan และ Singapore พบคล้าย ๆ กันว่า • 62% ของโครงการเกี่ยวกับ IT ล้มเหลวเสร็จไม่ทันเวลาตามที่กำหนด • 49% ใช้งบประมาณเกินกำหนด (budget overrun) • 47% ใช้ต้นทุนในการบำรุงรักษาเกินที่กำหนดไว้ • 41% ล้มเหลวในเรื่องที่ต้องส่งมอบคุณค่าทางธุรกิจตามที่คาดหวังเอาไว้และผลตอบแทนในการลงทุน (Return on Investment, ROI) • จากผลการศึกษาของ Machewka ในเรื่อง “Project Performance and Internal/External Customer Satisfaction” เป็นดังตารางในหน้าถัดไป
Table 1.2: Project Performance and Internal/External Customer Satisfaction. Source: Marchewka, J.T. (2008). n = 114.
Why IT Projects Fail • เหตุผลหนึ่งที่ทำให้โครงการเกี่ยวกับ IT ล้มเหลวในอัตราที่สูง ก็คือ การนิยามการ “ประสบความสำเร็จ(Success)” หรือ “ล้มเหลว (Failure)” ตามนิยามของ CHAOS ได้นิยามว่า โครงการใด ๆ ก็ตาม แม้ว่าจะสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรอย่างมากมาย แต่ถ้าเกินงบประมาณหรือเวลาที่กำหนด จะถือว่า “ล้มเหลว”ทั้งสิ้น • จากการศึกษาของ CHAOS ได้ผลออกมาน่าสนใจดังตารางในหน้าถัดไป มันเป็นการบอกถึงปัจจัยที่ท้าทายของโครงการอันก่อให้เกิดปัจจัยแห่งความล้มเหลว เช่น อินพุตจากผู้ใช้ไม่พอเพียง หรือ ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ทำให้ทีมที่ทำโครงการเสียเวลาในการทำความเข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการอะไร เสียเวลาในการกำหนดความต้องการของโครงการ ท้ายที่สุดก็จะเกิดข้อขัดแย้งระหว่างผู้พัฒนาโปรแกรมและผู้ใช้ เป็นต้น
Table 1.3: Summary of Factor Rankings for Challenged and Failed (Impaired) Projects Source: Adapted from the Standish Group. CHAOS (West Yarmouth, MA: 1995)
จากการทำโพลผ่านทางเวบของ Computing Technology Industry Association (CompTIA) จากจำนวนผู้ตอบประมาณ 1,000 ราย มี • 28% กล่าวว่าการสื่อสารที่แย่เป็นสาเหตุที่ทำให้โครงการล้มเหลว • 18% กล่าวว่าทรัพยากรไม่พอเพียงก่อให้เกิดความล้มเหลว • 13.2% กล่าว่าการกำหนดเส้นตายที่ไม่เป็นไปตามความจริง ทำให้โครงการล้มเหลว • ในแง่ของการสื่อสาร ตารางในหน้าถัดไปได้แสดงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายและความล้มเหลวของโครงการในแง่ของการสื่อสารทั้งทางตรงและทางอ้อม
Improving the Likelihood of success • ใช้แนวทางขับเคลื่อนด้วยคุณค่า (A Value-Driven Approach) • Plain & Simple: IT Projects must provide value to the organization • แนวทางผสมผสานด้านเทคนิคและสังคมเข้าด้วยกัน (Socio-technical Approach) • It’s not just about the technology or building a better mouse trap • ใช้แนวทางการบริหารโครงการ (Project Management Approach) ผ่านทาง • กระบวนการต่าง ๆ และโครงสร้าง • ทรัพยากรต่าง ๆ • ความคาดหวัง • การแข่งขัน • ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ใช้แนวทางการบริหารองค์ความรู้ (Knowledge Management Approach) • บทเรียนจากอดีต (lesson learned) • การปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (best practices) และ • การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)
The Context of Project Management • คำนิยามของ “โครงการ (Project)” • โครงการ (project) คือ การรวมตัวกันชั่วคราวเพื่อพยายามดำเนินการให้บรรลุเป้าประสงค์เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ชัดเจน • ดังนั้น การบริหารโครงการจึงหมายถึงการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ทักษะ เครื่องมือต่าง ๆ และ เทคนิคต่าง ๆกับการดำเนินโครงการเพื่อให้ได้ผลตาม ความต้องการหรือความคาดหวัง (หรือดีกว่า) จากโครงการหนึ่ง ๆ โดยผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย • ลองนึกซิครับว่า งาน (ที่เราทำกันอยู่ทุก ๆ วัน) จะเรียกว่า โครงการได้หรือไม่ ?!? ถ้าไม่ได้ แล้วโครงการจะต้องมีลักษณะ (attribute) อะไรที่แสดงให้เราเห็น เพื่อใช้แยกแยะความแตกต่างได้ (เราเรียกว่า Project Attribute)
การจัดการกับโครงการจะประกอบด้วย:การจัดการกับโครงการจะประกอบด้วย: • การบ่งชี้ถึงความต้องการต่าง ๆ • กำหนดเป้าประสงค์ที่สามารถบรรลุได้และชัดเจน • สมดุลความต้องการในแง่ของคุณภาพ ขอบเขต เวลา และงบประมาณ • ปรับข้อกำหนดเฉพาะ แผนการ และแนวทางต่าง ๆ ให้เข้ากับความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่มีหลากหลาย
The Context of Project Management ลักษณะของโครงการ (Project Attributes): • มีกรอบเวลา (Time Frame) • มีวัตถุประสงค์ (Purpose) เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าต่อองค์กร • มีความเป็นเจ้าของ (Ownership) • มีทรัพยากร (Resources) (เป็นไปตามข้อจำกัดสามข้อ) • มีหน้าที่รับผิดชอบ (Roles) • ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) • สปอนเซอร์ของโครงการ (Project Sponsor) • SME (Domain & Technical)
มีความเสี่ยงและสมมุติฐาน (Risks & Assumptions) • มีกิจกรรมที่อิสระจากกัน (Interdependent tasks) • เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรอบคอบ: มีหลายขั้นตอนแต่ก้าวไปที่ละขั้น • มีการวางแผนปรับเปลี่ยนองค์กร (Planned Organizational change) • ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ใหญ่กว่าตัวโครงการเองในการทำงาน (Operate in Environments Larger than the Project Itself)
คุณลักษณะของโครงการ (Project Characteristics) • มีวัตถุประสงค์ที่เจาะจง ชัดเจน (ซึ่งอาจเป็นเรื่องเดียว (unique) หรือ ประเภทใดประเภทหนึ่ง ก็ได้)สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในข้อกำหนดที่ชัดเจนแน่นอน • มีการกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด • มีการกำหนดวงเงินที่ต้องใช้จ่าย (ถ้าเป็นไปได้) • ใช้ทรัพยากรทั้งที่เป็นคนและไม่ใช่ (เช่น เงิน เครื่องจักร เทคโนโลยี) • เป็นแบบหลายฟังก์ชัน (multifunctional) (cut across several functional lines)
การบริหารโครงการ มีลักษณะพิเศษ ไม่ซ้ำกับโครงการอื่นใด มีระยะเวลาที่แน่นอน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ สภาพการดำเนินงานไม่คงที่สม่ำเสมอ ให้น้ำหนักแก่วัตถุประสงค์ไม่เท่ากัน เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิม สร้างกลุ่มทีมงานชั่วคราวขึ้นมาดำเนินการ การบริหารทั่วไป มีลักษณะซ้ำ ๆ กันเป็นกิจวัตร มีระยะเวลาไม่สิ้นสุด เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงแบบค่อย ๆ ไป สภาพการทำงานมีลักษณะคงที่ สม่ำเสมอ ให้น้ำหนักแก่วัตถุประสงค์เท่ากัน เพื่อรักษาสภาพเดิม สร้างกลุ่มทีมงานถาวรขึ้นมาดำเนินการ ความแตกต่างระหว่างการบริหารโครงการกับการบริหารทั่วไป
วัฒนธรรมในการบริหารก็ต่างกันวัฒนธรรมในการบริหารก็ต่างกัน
ข้อจำกัดสามข้อ (The Triple Constraint) • ทุก ๆ โครงงานจะถูกข้อจำกัดของตัวมันเข้ามาบีบ ได้แก่: • เป้าหมายเรื่องขอบเขต (Scope goals): อะไรคือสิ่งที่โครงงานต้องบรรลุ • เป้าหมายเรื่องเวลา (Time goals): ใช้เวลานานเท่าใดจึงจะสำเร็จ • เป้าหมายเรื่องงบประมาณ (Cost goals): ใช้ต้นทุนเท่าใด • มันจึงถือเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโครงการต้องสมดุลระหว่างสามเรื่องนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
Figure 1.2 The Triple Constraint ขอบเขตบาน เวลาเกิน งบเกิน
Project Management คืออะไร? • Project management is “the application of knowledge, skills, tools, and techniques to project activities in order to meet project requirements” (PMI*, Project Management Body of Knowledge (PMBOK® Guide), 2000, p. 6) • การบริหารโครงการ คือ การประยุกต์ใช้ องค์ความรู้ ทักษะ เครื่องมือ และ เทคนิคต่าง ๆ กับกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ เพื่อให้บรรลุถึงข้อกำหนดของโครงการ *The Project Management Institute (PMI) is an international professional society. Their web site is www.pmi.org.
แฟกเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม (The Culture Factor) • ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างการทำงานรายวัน (daily working) กับผู้บริหารโครงการ (project manager) และผู้บริหารแผนก (line managers) ผู้ซึ่งมีหน้าที่กำหนดทรัพยากรต่าง ๆ ลงไปในโครงงาน • ความสามารถของ functional employees ในการรายงานตามสายบังคับบัญชาไปยัง line manager ของเขา (ถือเป็นแนวตั้ง) และเขายังต้องรายงานไปยังผู้บริหารโครงการหนึ่งคนหรือมากกว่า (ถือเป็นแนวนอน) Functional Manager Project Manager 1 Project Manager 2
ทรัพยากรของโครงการ (Project Resources) • เงิน • คนงาน (Manpower) • เครื่องมือ • สิ่งอำนวยความสะดวก • วัตถุดิบ (Materials) • สารสนเทศ/เทคโนโลยี
อุปสรรคกีดขวางต่อโครงการ (Project Obstacles) • ความซับซ้อนของโครงการ (Project complexity) • ความต้องการพิเศษของลูกค้า และ การเปลี่ยนขอบเขตของโครงการ • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร • ความเสี่ยงของโครงการ (Project risks) • การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (Changes in technology) • การวางแผนและการคำนวณราคาล่วงหน้า (Forward planning and pricing)
ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ • ผู้เกี่ยวข้อง(มีส่วนได้ส่วนเสีย)กับโครงการ (Project Stakeholders) • ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) • ผู้ให้การสนับสนุนหรือสปอนเซอร์ของโครงการ (Project Sponsor) • เรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้ชำนาญการ (Subject Matter Expert(s) (SME)) • ผู้ชำนาญด้านเทคนิค (Technical Expert(s) (TE))
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ (Project Stakeholders) • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholders คือ ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ประกอบด้วย • สปอนเซอร์ของโครงการ (Project sponsor) และทีมที่ทำโครงการ (Project team) • ฝ่ายสนับสนุน (support staff) • ลูกค้าต่าง ๆ (customers) • ผู้ใช้งาน (users) • ซัพพลายเออร์ (suppliers) • ผู้อยู่ตรงข้ามกับโครงการ (opponents to the project)
บทบาทของผู้บริหารโครงการ (Project Manager Roles) • จัดให้มีการประชุมครั้งแรก หรือKick off Meeting • จัดตั้งนโยบายของโครงงาน(project policies)และระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ (procedures) • ออกแบบแผนในการดำเนินโครงการ(project plan)และผังการไหลของงานที่ต้องทำในโครงงาน (workflow) • ขอเงินทุนสนับสนุน (Obtaining funding) • ดำเนินการตามแผน (Executing the plan) • ทำตัวเหมือนผู้ประสานงานในโครงการ (project facilitator) • แก้ไขปัญหา (Putting out fires)
บทบาทของผู้บริหารโครงการ (Project Manager Roles) • จัดหาสมาชิกของกลุ่ม • ผลักดันให้กลุ่มมุ่งเน้นอยู่ที่เส้นตายต่าง (deadlines) • MBWA – Manage by walking around • ทำการประเมินประสิทธิภาพ (Evaluating performance) • พัฒนาแผนที่ใช้จัดการกับสถานการณ์ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ (Developing contingency plans) • การสรุปเรื่องต่าง ๆ ให้ project sponsor, customer และ team ฟัง • การปิดโครงการ
การบริหารแบบเดิมที่ต้องใช้ (Classical Management) • การวางแผน (Planning) • การจัด(กลุ่ม)คนทำงาน (Organizing) • การจัดหาบุคลากร (Staffing) • การสั่งการ (Directing) • การควบคุมให้เป็นไปตามแผน (Controlling) • เรามักเขียนย่อ ๆ ว่า POSDC • Which of the above is Usually NOT performed by the project manager?
สปอนเซอร์ของโครงการ (The Project Sponsor) • เป็นหัวหน้าในการให้สนับสนุนโครงการ • Sponsor อาจอยู่/ไม่อยู่ในกลุ่มผู้บริหารระดับสูงก็ได้ • ฟังก์ชันของสปอนเซอร์คือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (run interference)