1 / 34

PDCA

PDCA. PLAN. DO. CHECK. ACT. ประวัติ Dr. W.Edwards Deming.

dawns
Download Presentation

PDCA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. PDCA PLAN DO CHECK ACT

  2. ประวัติ Dr. W.Edwards Deming ดร.เอ็ดเวิร์ด เดมมิ่ง(Dr. W. Edwards Deming) เป็นนักสถิติชาวอเมริกัน สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยไวโอมิง (University of Wyoming) ปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado) และปริญญาเอกสาขาคณิตศาสตร์ฟิสิกส์(Mathematical Physics) จากมหาวิทยาลัยเยล (Yale University)

  3. ประวัติ Dr. W.Edwards Deming • ปี 1982 Dr. W. Edwards Deming  เริ่มงานกับกระทรวงกระทรวงเกษตร (Department of Agriculture) • ปี 1938 ตำแหน่งนักคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์ • ปี 1939 ย้ายไปทำงานที่สำนักงานสำมะโนประชากร (Bureau of the Census) • ปี 1946 เริ่มสอนหนังสือที่คณะบริหารธุรกิจ New York University (N.Y.U.) • ได้เป็นศาสตราจารย์ตั้งแต่ ปี 1946 และสอนหนังสือจนถึงปี 1993

  4. ประวัติ Dr. W.Edwards Deming Dr. W.Edwards Deming เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1947 เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นายพลแมคอาเธอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังทหารสหรัฐอเมริกาที่ยึดครองญี่ปุ่น ได้ไล่ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางของบริษัทในญี่ปุ่นออกเนื่องจากบุคคลเหล่านั้นพัวพันกับการทำสงความที่ผ่านมา แล้วหนุนคนรุ่นใหม่ขึ้นมาบริหาร นายพลแมคอาเธอร์ ขอความช่วยเหลือทางวิชาการมายังสหรัฐอเมริกา ทางสหรัฐอเมริกาจึงได้ส่ง Dr. W.Edwards Deming เพื่อมาช่วยการเก็บสำมะโนประชาการของญี่ปุ่นตามหลักสถิติ Dr. W.Edwards Deming จึงได้นำเรื่องของเทคนิคการควบคุมทางสถิติเพื่อเพิ่มผลผลิตที่ตนเองทำแล้วประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกามาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่นด้วย

  5. ประวัติ Dr. W.Edwards Deming ปี ค.ศ. 1950 สหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรญี่ปุ่นได้สนับสนุน Dr.W.EdwardsDeming ในการเผยแพร่แนวความคิดเรื่องคุณภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต มีการสอนและจัดสัมมนาแก่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการและวิศวกรญี่ปุ่น ในภาคอุตสาหกรรม มีผู้เข้าร่วมกว่า400 คน โดยผู้บริหารเหล่านั้นอยู่ในบริษัทสำคัญ เช่น Sony, Nissan, Mitsubishi, และ Toyota ความรู้และวิธีการที่นำเสนอโดย Dr.W.EdwardsDemingเป็นที่ประทับใจและได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก จนนับได้ว่า Dr. W.Edwards Deming เป็นผู้มีส่วนช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังญี่ปุ่นจึงได้ตั้งรางวัล Deming Prize หรือ Deming Award ให้กับบริษัทที่มีผลงานดีเด่นด้านคุณภาพ ปี ค.ศ. 1980 โทรทัศน์ NBC นำผลงานของ Dr. W.Edwards Deming ไปเผยแพร่ทั่วสหรัฐอเมริกาจนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งคลื่นลูกที่สามของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

  6. ที่มาของวงจร PDCA Dr. W.Edwards Deming ได้พัฒนาวงจร PDCA จากแนวคิดของ Dr. Walter A. Shewhartนักควบคุมกระบวนการเชิงสถิติที่ Bell Laboratories ในสหรัฐอเมริกาที่ได้นำเสนอในหนังสือ Statistical Method from the Viewpoint of Quality Control (1930) ในระยะแรกรู้จักวงจร PDCA ในนาม Shewhart Cycle จากนั้น Dr. W.Edwards Deming ได้นำมาพัฒนาปรับใช้ในการควบคุมคุณภาพในวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น จึงมีชื่อเรียกว่า Deming Cycle

  7. ที่มาของวงจร PDCA Dr. W. Edwards Deming มีความเชื่อว่า คุณภาพสามารถปรับปรุงได้ จึงเป็นแนวคิดของการพัฒนาคุณภาพงานขั้นพื้นฐาน เป็นการกำหนดขั้นตอนการทำงาน เพื่อสร้างระบบการผลิตให้สินค้ามีคุณภาพดี การให้การบริการดี หรือทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างมีระบบ โดยใช้ได้กับทุกๆสาขาวิชาชีพ แม้กระทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์

  8. ที่มาของวงจร PDCA เริ่มแรกวงจร PDCA เน้นถึงความสัมพันธ์ของ 4 ฝ่ายในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้า ได้แก่ ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย และฝ่ายวิจัย ความสัมพันธ์ทั้ง 4 ฝ่าย จะต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยให้ถือว่าคุณภาพต้องมาก่อนสิ่งใด ภาพแสดงวงจร PDCA ในยุคแรก

  9. ที่มาของวงจร PDCA วงจร Deming ได้พัฒนาไปในทิศทางที่นุ่มนวลขึ้น ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับพื้นฐานการบริหารงาน 2 อย่าง คือ การสื่อสารและความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนในหน่วยงาน โดยผู้บริหารยังคงเป็นผู้กำหนดแผนงาน แต่จะสื่อสารผ่านช่องทางหัวหน้างานและพนักงานตามลำดับขั้นเป้าหมายถูกกำหนด ขึ้นตามความเหมาะสมเป็นไปได้ ภาพแสดงวงจร PDCA แบบญี่ปุ่น

  10. ที่มาของวงจร PDCA เรา ใช้วงจร PDCA เพื่อการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ทุกครั้งที่วงจรหมุนครบรอบก็จะเป็นแรงส่งให้หมุนในรอบต่อไป วิธีการใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดการปรับปรุงก็จะถูกจัดทำเป็นมาตรฐานการทำงาน ซึ่งจะทำให้การทำงานมีการพัฒนาอย่างไม่สิ้นสุด อาจเริ่มด้วยการปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ ก่อนที่จะก้าวไปสู่การปรับปรุงที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ภาพแสดงวงจร PDCA กับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  11. การบริหารงานด้วยวงจรเดมมิ่งการบริหารงานด้วยวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) การบริหารงานด้วยวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) เป็นกระบวนการบริหารคุณภาพที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในองค์กรหรือหน่วยงาน และเพื่อให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การบริหารงานด้วยกระบวนการวงจรเดมมิ่ง จะต้องประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  12. Planคือ การวางแผน ขั้นตอนการวางแผนครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ฯลฯ Checkคือ การตรวจสอบ การประเมินผลที่ได้รับจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทราบว่า ในขั้นตอนการปฏิบัติงานสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ DOคือ การปฏิบัติตามแผน การลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน Act คือ การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสมหรือการจัดทำมาตรฐานใหม่ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพ PDCA หมุนครบรอบ ก็จะเป็นแรงส่งสำหรับการดำเนินงานในรอบต่อไป และก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  13. การนำวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) มาใช้ในระบบการศึกษา การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพ คือ กระบวนการบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพตามหลักการบริหาร โดยการควบคุมคุณภาพ คือ การที่สถานศึกษาต้องร่วมกันวางแผนและดำเนินการตามแผน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา

  14. ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Plan) การวางแผนงานจะช่วยพัฒนาความคิดต่างๆ เพื่อนำไปสู่รูปแบบที่เป็นจริง โดยมีรายละเอียดให้พร้อมในการเริ่มต้นลงมือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติ (DO) ประกอบด้วยการทำงาน 3 ระยะ คือ 1. การวางแผนการกำหนดการ - การแยกแยะกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องการกระทำ - กำหนดเวลาที่ต้องใช้ในกิจกรรมแต่ละอย่าง 2. การจัดแบบเมทริกซ์ (MatrixManagement) การจัดแบบนี้ สามารถช่วยดึงเอาผู้เชี่ยวชาญหลายแขนงจากแหล่งต่างๆ มาได้และเป็นวิธีช่วยประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ 3. การพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานของผู้ร่วมงาน -ให้ผู้ร่วมงานเข้าใจถึงงานทั้งหมดและทราบเหตุผลที่ต้องกระทำ

  15. ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบ (Check) ทำให้รู้สภาพการของงานที่เป็นอยู่เปรียบเทียบกับสิ่งที่วางแผนซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ 2. รวบรวมข้อมูล 3. พิจารณากระบวนการทำงานเป็นตอนๆ เพื่อแสดงจำนวนและคุณภาพของผลงานที่ได้รับ แต่ละขั้นตอนเปรียบเทียบกับที่ได้วางแผนไว้ 4. การรายงาน จัดแสดงผลการประเมิน ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงแก้ไข (Act) ผลของการตรวจสอบหากพบว่าเกิดความบกพร่องขึ้นทำให้งานที่ได้ไม่ตรงเป้าหมายหรือผลงานไม่ได้มาตรฐาน ให้ปฏิบัติตามแก้ไขปัญหาตามลักษณะที่ค้นพบ ดังนี้ 1. ถ้าผลงานเบี่ยงเบนไปจากเป้าหมาย ต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ 2. ถ้าพบความผิดปกติใดๆ ให้สอบสวนค้นหาสาเหตุแล้วทำการป้องกัน เพื่อมิให้ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นซ้ำอีกในการแก้ปัญหาเพื่อให้ผลงานได้มาตรฐานอาจใช้มาตรการดังต่อไปนี้ - การย้ำนโยบาย - การปรับปรุงระบบหรือวิธีการทำงาน - การประชุมเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน

  16. ข้อดีและประโยชน์ของ PDCAข้อดีและประโยชน์ของ PDCA 1. การนำวงจร PDCA ไปใช้ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีการวางแผน ป้องกันปัญหาที่ไม่ควรเกิด ช่วยลดความสับสนในการทำงาน ลดการใช้ทรัพยากรมากหรือน้อยเกินความพอดี ลดความสูญเสียในรูปแบบต่างๆ 2. การทำงานที่มีการตรวจสอบเป็นระยะ ทำให้การปฏิบัติงานมีความรัดกุมขึ้น และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วก่อนจะลุกลาม 3. การตรวจสอบที่นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วไม่เกิดซ้ำ หรือลดความรุนแรงของปัญหา ถือเป็นการนำความผิดพลาดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 4. การใช้ PDCA เพื่อการแก้ปัญหา ด้วยการตรวจสอบว่ามีอะไรบ้างที่เป็นปัญหา เมื่อหาปัญหาได้ ก็นำมาวางแผนเพื่อดำเนินการตามวงจร PDCA ต่อไป 5. ช่วยให้ทุกคน/ทุกฝ่าย/ทุกระดับ ในองค์กร ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีผลงานดีมีคุณภาพ 6. มีการพัฒนาแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาพร้อมทั้งเพิ่ม/พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ในการทำงาน 7. ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ๆ ขึ้นมา

  17. ตัวอย่างการประกันคุณภาพการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

  18. การประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายใน มี 5 องค์ องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ประกอบด้วย 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

  19. สรุปผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  20. สรุปผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  21. สรุปผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (ต่อ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  22. การประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายในการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายใน • องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย ประกอบด้วย • 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ • 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ • 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

  23. การประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายในการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายใน • องค์ประกอบที่ 3 การบริหารวิชาการ ประกอบด้วย • 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม

  24. การประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายในการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายใน • องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ประกอบด้วย • 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

  25. การประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายในการประเมินตนเองตามเกณฑ์คุณภาพภายใน • องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ประกอบด้วย • 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน เอกลักษณ์ของคณะ • 5.2 ระบบการกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

  26. สรุปผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ ระดับคณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  27. สรุปผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ ระดับคณะ (ต่อ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  28. สรุปผลการประเมินตนเองตามองค์ประกอบคุณภาพ ระดับคณะ (ต่อ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  29. ผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ 3 ปีย้อนหลัง (2557-2559) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

  30. บทสรุป PDCA

  31. คำถามท้ายบท 1. ใครเป็นผู้พัฒนาแนวคิด PDCA เป็นคนแรก Dr. W. Edwards Deming Dr. Walter A. Shewhart Douglas MacArthur โนริอะคิ คะโน

  32. คำถามท้ายบท 2. ผู้ใดต่อไปนี้ เป็นผู้นำแนวคิด PDCA ไปพัฒนาปรับใช้ในการควบคุมคุณภาพในวงการอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น Dr. W. Edwards Deming Dr. Walter A. Shewhart Douglas MacArthur โนริอะคิ คะโน

  33. คำถามท้ายบท 3. ภาพใดเป็นภาพแสดงวงจร PDCA แบบญี่ปุ่น ก. ข. ค. ง.

  34. ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์ อาจารย์ผู้สอน และเพื่อนๆ ร่วมชั้นทุกคน ที่รับฟังการนำเสนอ PDCA ขอบคุณค่ะ

More Related