460 likes | 893 Views
การเปิดเสรีการลงทุน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาเซียน. โดย ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ กรมประมง. การค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียน. มูลค่าการค้ากับกลุ่ม ASEAN 23,705 ล้านบาท ( 8% ของทั้งหมด) นำเข้าจากกลุ่ม ASEAN 11,755 ล้านบาท ( 17% ของทั้งหมด)
E N D
การเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาเซียนการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอาเซียน โดย ดร. วราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาการประมงต่างประเทศ กรมประมง
การค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียนการค้าสินค้าประมงไทยกับอาเซียน • มูลค่าการค้ากับกลุ่ม ASEAN23,705 ล้านบาท (8% ของทั้งหมด) • นำเข้าจากกลุ่ม ASEAN 11,755 ล้านบาท (17% ของทั้งหมด) • ส่งออกไปกลุ่ม ASEAN 11,950 ล้านบาท (5% ของทั้งหมด) 3
การค้าสินค้าประมงที่สำคัญการค้าสินค้าประมงที่สำคัญ (ส่งออก) (นำเข้า)
กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (the Framework Agreement on ASEAN Investment Area: AIA) - มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2541 ไทยต้องเปิดเสรีลงทุนในกิจการที่สงวนไว้ชั่วคราว (TEL) ๓ สาขา ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำไม้จากป่าปลูก และการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธ์พืช ภายใน 1 มกราคม 2553 โดยอนุญาตให้นักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาถือหุ้นประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในไทยได้สูงสุด 100% ความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) เป็นความตกลงฉบับใหม่ ลงนามเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในต้นปี 2555 กำหนดให้สมาชิกอาเซียนเปิดเสรีการลงทุนตามความสมัครใจ โดยเลือกเปิดในสาขาการลงทุนที่มีความพร้อมตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน AEC Blueprint แต่ทั้งนี้ สมาชิกจะต้องเปิดตลาดการลงทุนไม่น้อยกว่าพันธกรณีที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลง AIA เดิม พันธกรณีการเปิดเสรีการลงทุนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้ความตกลงของอาเซียน 5
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำถือเป็นอาชีพสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นแหล่งผลิตสัตว์น้ำและแหล่งรายได้ที่สำคัญของไทย มีเกษตรกรรายย่อย 80-90% ที่ต้องพึ่งพิงรายได้จากการเพาะเลี้ยงเป็นรายได้หลัก ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยรวม ปี 2551 จำนวน 1.37 ล้านตัน หรือ 42% ของผลผลิตสัตว์น้ำทั้งหมด มีมูลค่าผลผลิต 78,023 ล้านบาท ปี 2553 มีฟาร์มเพาะเลี้ยงน้ำจืดกระจายทั่วประเทศ 547,178 ฟาร์ม โดย 80% เป็นฟาร์มขนาดเล็ก และ 20% เป็นฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทำการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดย ปี 2553 มีฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล 29,000 ฟาร์ม ซึ่ง85% เป็นผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย ซึ่งได้พัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องโดยมีการใช้เทคโนโลยีเฉพาะที่ก้าวหน้า ผลผลิตเฉลี่ย 500,000 ตัน/ปี โดยผลผลิตกว่า 90% ส่งออก การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน 6
เมื่อกลางปี 2552 เนื่องจากมีเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องของไทยได้แสดงความกังวลว่าการเปิดเสรีดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ไทยมีการพิจารณาทบทวนการเปิดเสรีดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 เห็นชอบให้ชะลอการเปิดเสรีการลงทุนตามรายการยกเว้นชั่วคราว (TEL) ในกิจการ 3 สาขา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะขยายและการปรับปรุงพันธุ์พืช และการทำไม้จากป่าปลูก การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 7
ส่งผลให้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 ไทยยังไม่ได้เปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้กับนักลงทุนอาเซียน แต่อย่างไร ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางและผลกระทบในการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้กรอบความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ACIA) โดยมีเลขาธิการ BOI เป็นประธาน และมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องและกรมประมงร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาแนวทางการเปิดเสรีการลงทุน 3 สาขาดังกล่าว และแนวทางในการรองรับและเยียวยาผลกระทบจากการเปิดเสรีดังกล่าว พร้อมทั้งให้มีการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขา ดังกล่าว การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 8
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีสมาชิกหลายประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ตามพันธกรณีดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการความร่วมมือด้านการลงทุนอาเซียน (CCI) เมื่อมีนาคม 2553 จึงมีมติให้ผ่อนปรนการเปิดเสรีฯ โดยเห็นชอบให้สมาชิกประเทศอาเซียนสามารถนำรายการยกเว้นชั่วคราว (TEL) ภายใต้ความตกลง AIA ที่เดิมผูกพันให้ต้องเปิดเสรีการลงทุนภายใน 1 มกราคม 2553 มาทยอยเปิดเสรีเพิ่มขึ้น โดยผ่อนปรนข้อจำกัดต่างๆ ให้กับนักลงทุนอาเซียนมากขึ้น เป็นระยะ ๆตามกรอบระยะเวลาภายใต้ความตกลง ACIAโดยกำหนดระยะเวลาอย่างช้าที่สุดภายในปลายปี 2557 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน 8 ประเทศ และภายในปลายปี 2558 สำหรับลาวและพม่า การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 9
จากแนวทางดังกล่าวของอาเซียน ไทยเห็นควรเปิดเสรีการลงทุนในสาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เฉพาะใน 2 สาขาย่อย คือ 1) สาขาการเพาะเลี้ยงทูน่าในกระชังน้ำลึก 2) สาขาการเพาะเลี้ยงกุ้งล็อบสเตอร์ชนิดพันธุ์ท้องถิ่นในประเทศไทย ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ (6 ชนิดพันธุ์) ก่อน โดยเปิดให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นในกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2 สาขาย่อยดังกล่าว ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 51 และ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนด ซึ่งคาดว่าไทยจะต้องเปิดเสรีการลงทุนสัตว์น้ำทั้ง 2 สาขาดังกล่าวภายในต้นปี 2555 นี้ การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 10
เนื่องจากสัตว์น้ำทั้ง 2 ชนิด เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง และต้องใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงขั้นสูง ซึ่งไทยยังไม่สามารถเพาะเลี้ยงได้ ดังนั้น การให้เปิดเสรีให้อาเซียนเข้ามาลงทุนในสาขาดังกล่าวจะช่วยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยและทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงฯ ต่อไป แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน 2 สาขาย่อย ดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในอนาคต (ภายในปี 2557) ไทยอาจจะต้องเปิดเสรีให้นักลงทุนอาเซียนสามารถเข้ามาถือหุ้นประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งหมดได้ 100 % การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย ภายใต้กรอบอาเซียน(ต่อ) 11
โครงสร้างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยปี ๒๕๕๑ รวม 1,374,024 ตัน
โครงสร้างการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยปี ๒๕๕๓ รวม 547,178 ฟาร์ม 80% เป็นฟาร์มขนาดเล็ก
โครงสร้างการเพาะเลี้ยงของไทยแยกตามชนิดสัตว์น้ำโครงสร้างการเพาะเลี้ยงของไทยแยกตามชนิดสัตว์น้ำ
เพื่อเป็นการรองรับพันธกรณีการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยภายใต้กรอบอาเซียน และเพื่อให้มีการพิจารณากำหนดแนวทางเพื่อเตรียมรองรับการเปิดเสรีการลงทุนในอนาคตกรมประมงได้จัดจ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดำเนินการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระยะที่ 1 ในปี 2554 เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดทิศทาง และนโยบายการตัดสินใจต่อการเปิดเสรีการลงทุน รวมทั้งการจัดทำมาตรการรองรับและการเยียวยาผลกระทบ โดยใช้งบประมาณกรมประมงจำนวน 2 ล้านบาท กรมประมงมีแผนจะดำเนินการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนฯ ระยะที่ 2 ปี 2555 โดยเน้นการศึกษาการออกทางกฎหมายเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีดังกล่าว การศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้กรอบอาเซียน 15
สาระสำคัญของการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้กรอบอาเซียน ระยะที่ 1 ทำการศึกษาโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) 16
ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของประเทศอาเซียนความได้เปรียบเชิงแข่งขันของประเทศอาเซียน ที่มา:TDRI 17
ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลกระทบทางบวก 1. สร้างรายได้ สร้างการจ้างงานในภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ /อุตสาหกรรม ต่อเนื่อง 2. เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในไทย 3. การถ่ายโอนเทคโนโลยี (กรณีที่มีไทยร่วมทุนด้วย) ซึ่งมีส่วนช่วย สนับสนุนการพัฒนาภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทย
ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ผลกระทบทางลบ • ด้านเศรษฐกิจ • ผลกระทบต่อราคาสัตว์น้ำที่ผลิตในประเทศ โดยเกษตรกรไทย • เพิ่มความยากลำบากในการจัดการ/กำหนดปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำ ( Balanced Demand – Supply) ในประเทศ • ผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันเกษตรไทย โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย
ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ผลกระทบทางลบ (ต่อ) • ด้านสังคม • ผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร อาทิ เกษตรกร ต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ หรือ เปลี่ยนจากสถานภาพผู้ประกอบการเป็นลูกจ้าง และอาจต้องขายที่ดินทำกินของตนเองไป • ต่างชาติเข้ามาถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยใช้ Nominee • ปัญหาการจ้างแรงงานข้ามชาติ
ผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • ผลกระทบทางลบ (ต่อ) • ด้านสิ่งแวดล้อม • ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะหากขาดการควบคุมที่ดี • ปัญหาโรคระบาดสัตว์น้ำ • 9. ปัญหาสัตว์น้ำชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) • 10. ผลกระทบต่อการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่น และความหลากหลายทางชีวภาพ
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเด็นที่ ๑ : เกษตรกรรายย่อยด้อยความสามารถในการแข่งขัน ขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยี มาตรการที่ ๑.๑เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรรายย่อย จัดการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะในการเพาะเลี้ยงและการบริหารจัดการฟาร์มและการแปรรูป ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเน้นร่วมมือกับชุมชน มาตรการที่ ๑.๒เสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกร ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร พัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำธุรกิจเพาะเลี้ยง/แปรรูป/ค้าสัตว์น้ำ เพิ่มโอกาสทางการตลาด สร้างระบบคลัสเตอร์ภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๑ : เกษตรกรรายย่อยด้อยความสามารถในการแข่งขัน ขาดแคลนเงินทุนและเทคโนโลยี (ต่อ) มาตรการที่๑.๓ จัดทำระบบประกันภัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่๑.๔จัดตั้งกองทุนรองรับผลกระทบทางลบที่อาจเกิดขึ้นกับเกษตรกร (จัดตั้งกองทุนใหม่ หรือใช้ประโยชน์จากกองทุนที่มีอยู่เดิม)
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๒ : การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มาตรการที่๒.๑ ส่งเสริมการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่ม
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๓ : การให้ความรู้และข้อมูลการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่ ๓.๑ เผยแพร่ข้อมูล โดยจัดประชุมสัมมนาระหว่างเกษตกร ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดเสรีฯ และการดำเนินการของภาครัฐ มาตรการที่ ๓.๒เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อที่เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ มาตรการที่ ๓.๓จัดประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ ผู้นำกลุ่มเกษตรกร ผู้นำท้องถิ่นผ่านตัวแทนองค์กรปกครองท้องถิ่น ในการกำหนดแนวทางตั้งรับและใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำฯ
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๔ : การแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทย และการปกป้องเกษตรกรรายย่อย มาตรการที่ ๔.๑ แยกการเพาะเลี้ยงเป็นสองระดับ คือ 1) การเพาะเลี้ยงของเกษตรกรรายย่อย ที่ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศ ซึ่งต้องการการปกป้อง และการสร้างความสามารถในการผลิต กลุ่มนี้จะยังไม่ถูกบังคับด้วยเงื่อนไขการลงทุน และ 2) ผู้ประกอบการรายใหญ่เพื่อการส่งออก โดยให้เฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ ต้องทำตามเงื่อนไขการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่กำหนด เช่น การจัดทำแผนการลงทุน การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เป็นต้น เพื่อปกป้องผลกระทบทางลบที่จะเกิดกับเกษตรกรรายย่อย
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๔ : การแข่งขันกับธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในไทย และการปกป้องเกษตรกรรายย่อย มาตรการที่ ๔.๒กำหนดเงื่อนไขการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยยึดหลักการคุ้มครองเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย และวิถีชุมชน โดยกระจายอำนาจให้องค์การปกครองท้องถิ่น (อปท.) บริหารจัดการร่วมกับกรมประมง และควรรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน มาตรการที่ ๔.๓ร่วมมือกับ อปท. ในการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ ให้ อปท. มีบทบาทในการพิจารณาให้นักลงทุนเข้ามาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๕ : ผลกระทบต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากร มาตรการที่ ๕.๑กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติ/ผู้ประกอบการรายใหญ่ ต้องทำแผนการลงทุน การเลือกพื้นที่ วิธีการเลี้ยง การดำเนินงาน การจ้างงาน การลงทุน และการจำหน่ายผลผลิต การประเมินผลกระทบ EIA , SIA, HIA พร้อมทั้งเสนอแนะทางแก้ไขผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้น มาตรการที่ ๕.๒ กำหนดมาตรการเงื่อนไขการเข้ามาลงทุน โดยยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาจยกเว้น การทำ EIA, SIA, HIA สำหรับเกษตรกร/ผู้ประกอบการรายย่อย มาตรการที่ ๕.๓ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการใช้ทรัพยากรในพื้นที่
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่๖ : ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน มาตรการที่ ๖.๑บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการถือครองที่ดินที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ มาตรการที่ ๖.๒กระจาย/ถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วมกำกับดูแลการเข้ามาใช้ที่ดิน
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๗ : การกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของนักลงทุนอาเซียน/ต่างชาติ มาตรการที่ ๗.๑ กำหนดให้นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องขึ้นทะเบียนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และให้มีหน่วยงานหลัก คือ กรมประมง ทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์การพิจารณามาตรการและกำกับดูแลการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรการที่ ๗.๒ กำหนดมาตรการโดยยึดหลักการคุ้มครองเกษตร/ผู้ประกอบการรายย่อย และวิถีชุมชนท้องถิ่น โดยกระจายอำนาจให้ อปท. บริหารจัดการร่วมกับกรมประมง และควรรับฟังความคิดเห็นจากชุมชน
มาตรการรองรับการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ต่อ) ประเด็นที่ ๗ : การกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยคนต่างชาติ มาตรการที่ ๗.๓กำหนดมาตรการโดย ยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยแยกการเพาะเลี้ยงเป็นสองระดับ ระดับแรก เป็นการเพาะเลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อย เพื่อการบริโภคในประเทศ และระดับที่สอง เป็นการเพาะเลี้ยงโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งเพาะเลี้ยงเพื่อส่งออก ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการนี้
แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแนวทางการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทยอยเปิดให้ลงทุนในสาขาที่ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงที่ไทยยังไม่มี และ/หรือ ต้องการพัฒนาเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งมังกร และทูน่าในกระชังน้ำลึก ที่ไทยได้เสนอไปแล้ว จากผลการศึกษาของ TDRI ในเบื้องต้นสัตว์น้ำที่จะมีโอกาสเปิดให้ ต่างชาติมาลงทุนคือ ปลากะรัง ปลานิลแดง และกุ้งขาว ?? หลังจากเปิดเสรีการลงทุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนแล้ว ๓ ปี ควรมีการ ทบทวนผลดีผลเสียที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งประเทศ ทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หากมีผลเสียมากกว่าผลดี ควรดำเนินการ เจรจาในระดับอาเซียนเพื่อขอยกเลิกการเปิดเสรีในสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สรุปแนวทาง/มาตรการกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรณีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย • Zoning ตาม capacity ประสานงาน กรมประมง และ อปท. • แผนการลงทุน พิจารณาโดย กรมประมง และ อปท. + Public hearing • Maximum capital • ผลตอบแทนท้องถิ่น • การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้รายย่อย • พ.ร.บ. ท้องถิ่น / อบจ. / สภาตำบล / สาธารณสุข • ไม่อนุญาตให้พื้นที่สาธารณประโยชน์ - อปท. • พื้นที่เอกชน – กรมประมง และ อปท. • ให้ความสำคัญแก่การลงทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อ ชุมชนก่อน กำหนดมาตรการ โดยยึดหลักการคุ้มครองวิถีชุมชน และเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย
สรุปแนวทาง/มาตรการกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรณีต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย (ต่อ) • กำหนดขนาดที่จะควบคุมและอนุญาตให้ ต่างชาติลงทุน • กำหนด Invasive alien species • แผนการลงทุน EIA, SIA, HIA • กำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อม • การใช้ GAP HACCP การทำ Traceability โดยใช้มาตรฐานส่งออกสำหรับขนาดฟาร์ม ที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน กำหนดข้อสงวนโดยยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นโอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น • กุ้ง - พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย บรูไน • สวาย - กัมพูชา เวียดนาม • ปลานิล / ปลาทับทิม – ลาว ฟิลิปปินส์ ที่ทำอยู่แล้ว • พม่า – รัฐบาลทหาร • กัมพูชา – การเมืองการปกครอง • ลาว - ชุมชน ปัญหา • โลจิสติคส์ • ต้นทุนอาหารและพันธุ์สัตว์น้ำ สำหรับการเลี้ยงเพื่อส่งออก ปัญหาโดยรวม
โอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น (ต่อ) ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ที่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่นักลงทุนไทยควรเข้าไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ พม่า ลาว (กัมพูชา) บูรไน อินโดนีเซีย (ภายใต้ IMT-GT)
โอกาสที่ไทยไปลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น (ต่อ) • การให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการไทย • พื้นที่ และชนิด การเพาะเลี้ยง • นโยบาย กฎระเบียบ ขั้นตอน • โอกาส • พม่า – ศักยภาพด้านพื้นที่ และทรัพยากร • ลาว – ประสานงาน ระดับชุมชน • บรูไน - เปิดรับการลงทุน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • โครงการนำร่อง • รัฐประสานงาน นำเอกชนดูงาน • ประสานการลงทุน รัฐ - เอกชน
ประเทศอาเซียนที่มีศัยกภาพและคาดว่าจะเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย สิงคโปร์: ประเทศมีศัยกภาพด้านเงินทุน และไม่มีพื้นที่ในการเพาะเลี้ยง จึงใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนเพื่อผลิตสัตว์น้ำ มาเลเซีย:ประเทศมีศักยภาพด้านการลงทุน มีนโยบายและเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำที่ชัดเจน เวียดนาม :เข้ามาลงทุนในเบื้องต้น เพื่อนำเอาความรู้และเทคโนโลยีที่ไปใช้ในประเทศตน
การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! ก) ด้านการเตรียมการกำกับดูแลการลงทุนอาเซียนในประเทศไทย 1) รวมรวมและเผยแพร่กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) จัดทำเกณฑ์พิจารณาการให้อนุญาต (เชิงเทคนิค) การเข้ามาลงทุนโดยต่างชาติแล้วแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและ BOI ทราบ 3) จดทะเบียนเพื่อกำกับดูแลและติดตามให้ปฏิบัติและเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้ กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:
การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ก) ด้านการเตรียมการกำกับดูแลการลงทุนอาเซียนในประเทศไทย (ต่อ) 4) ประสานกับ อปท. ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 5) ประสานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลการเข้ามาลงทุนไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบต่อเกษตรกร กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:
การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ข) ด้านการเตรียมการให้นักลงทุนไทยเพื่อการลงทุนในอาเซียน 1) ประสานงานกับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เพื่อรวบรวมข้อมูล กฎระเบียบ ขั้นตอนการขอเข้าไปลงทุนและเผยแพร่ให้แก่นักลงทุนไทย เพื่อเป็นแนวทางในการลงทุน 2) จัดโครงการนำร่องนำนักลงทุนที่สนใจ เข้าไปสังเกตพื้นที่และโอกาสการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น อาทิ พม่า กัมพูชา ลาว บรูไน อินโดนีเซีย 3) ประสานงานกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีร่วมกัน รวมถึงพัฒนาช่องทางการตลาดเพื่อการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมและยั่งยืนในภูมิภาค กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:
การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ค) ด้านการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง 1) ให้ข้อมูลการเปิดเสรีการลงทุนแก่เกษตรกร 2) ฝึกอบรมเทคนิคการเพาะเลี้ยงที่มีต้นทุนต่ำและผลผลิตสูงได้คุณภาพให้แก่เกษตรกรรายย่อย 3) จัดประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาการรวมกลุ่มให้แก่เกษตรกรเพื่อพัฒนาศักยภาพการพัฒนาในธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:
การบริหารจัดการเพื่อการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยหน่วยงานของภาครัฐ – กรมประมง !! (ต่อ) ง.) ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากรภาครัฐ 1) จัดประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเปิดเสรีการลงทุน เพื่อสามารถเตรียมการองรับและเยียวยาผลกระทบฯ 2) กรมประมงจัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อจัดทำมาตรการรองรับ การเปิดเสรีการลงทุนทั้งที่อาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย และที่ไทยไปลงทุนในอาเซียน กำหนดให้มีหน่วยงานในสังกัดกรมประมง ทำหน้าที่กำกับดูแลการเปิดเสรีการลงทุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีขอบเขตหน้าที่:
ขอขอบคุณค่ะ 44