1.75k likes | 2.54k Views
การประเมิน PISA 2012. กรอบคำชี้แจง. แนวทางการประเมินของโครงการ PISA ตัวอย่างข้อสอบประเมินที่ผ่านมา การดำเนินการของ PISA 2012 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากท่านผู้บริหาร. แนวทางการประเมินของโครงการ PISA. PISA (Program for International Student Assessmen t ).
E N D
กรอบคำชี้แจง • แนวทางการประเมินของโครงการPISA • ตัวอย่างข้อสอบประเมินที่ผ่านมา • การดำเนินการของPISA 2012 • ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากท่านผู้บริหาร
PISA (Program for International Student Assessment) เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติ (OECD) ที่วัดความรู้และทักษะของนักเรียนอายุ 15 ปี ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และประเมินต่อเนื่องกันทุก 3 ปี
การประเมินผลนานาชาติ - PISA
PISA ประเมินใคร โครงการ PISA ได้เลือกประเมินนักเรียนที่มีอายุ 15 ปี ณ. วันที่ 1 มกราคม ของปีที่เก็บข้อมูล ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ถือว่าเป็นวัยจบการศึกษาภาคบังคับแล้ว สำหรับประเทศไทยจะเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคม 2555 (นั่นคือนักเรียนที่เกิดระหว่างเดือนมิถุนายน 2539( อายุ 16 ปี 2 เดือน) ถึง พฤษภาคม 2540( 15 ปี 3 เดือน)
การดำเนินการสอบ ช่วงวันที่จัดสอบ วันใดวันหนึ่งในช่วงวันที่ 1-31 สิงหาคม 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล • นักเรียน แบบทดสอบ 13 ฉบับ แต่ละฉบับมี 4 clusters (จากข้อสอบคณิตศาสตร์ 7 clusters วิทยาศาสตร์ 3 clusters และการอ่าน 3 clusters) • แบบสอบถาม เช่น ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน การศึกษาและอาชีพการงานของผู้ปกครอง ทรัพยากรการเรียนรู้ในบ้าน ความสนใจและแรงจูงใจในการเรียนคณิตศาสตร์ เป็นต้น (ประมาณ 3 ชั่วโมง) • ผู้บริหาร ตอบแบบสอบถามโรงเรียน เช่น แหล่งงบประมาณ จำนวนครูคณิตศาสตร์ การขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน ขนาดของชั้นเรียน กิจกรรมเสริม การเรียนรู้ เป็นต้น (ประมาณ 1 ชั่วโมง)
กรอบการสุ่ม PISA 2012 จำนวนโรงเรียนในกรอบการสุ่มตัวอย่าง
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
กรอบการสุ่ม PISA 2012 – ตามอนุภูมิภาค
ลักษณะการประเมินของ PISA 1 ไม่ถามเนื้อหาสาระโดยตรงตามหลักสูตร 2 เน้นวัดสมรรถนะด้านต่างๆ 3 เน้นการคิดวิเคราะห์และหาคำอธิบาย เป็นทั้งแบบเขียนตอบและเลือกตอบ 4
ตัวอย่างข้อสอบประเมินที่ผ่านมาตัวอย่างข้อสอบประเมินที่ผ่านมา
การอ่าน การค้นสาระ • ค้นหาหรือสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่าน • ตีความหรือแปลความจากเรื่องที่อ่าน • วิเคราะห์เนื้อหาหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ การตีความ • วิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอของข้อความ • ประเมินและให้ความเห็นหรือโต้แย้งด้วยมุมมองของตนเองต่อบทความที่อ่าน การวิเคราะห์ และประเมิน
ตัวอย่างข้อสอบ: การค้นสาระ คำถาม: จากสถานีรถไฟใต้ดินสถานีใด ที่นักเรียนสามารถขึ้นทั้ง รถเมล์ระหว่างเมืองและรถไฟระหว่างเมืองได้ ………………………………………… คำถาม: บางสถานี เช่น สถานีสุดตะวันตก สถานี สวนสัตว์ และสถานีอิสรภาพ มีการแรเงาสีเทาล้อมรอบสถานี การแรเงาแสดงว่าสถานีเหล่านี้คืออะไร …………………………………………
ป้ายประกาศในซุปเปอร์มาเก็ตป้ายประกาศในซุปเปอร์มาเก็ต การแจ้งเตือนการแพ้ถั่วลิสง ขนมปังกรอบไส้ครีมมะนาว วันที่แจ้งเตือน : 4 กุมภาพันธ์ ชื่อผู้ผลิต:บริษัท ไฟน์ฟู้ดส์ จำกัด ข้อมูลผลิตภัณฑ์:ขนมปังกรอบไส้ครีมมะนาว125 กรัม (ควรบริโภคก่อน18 มิถุนายน และ ควรบริโภคก่อน 1 กรกฎาคม) รายละเอียด: ขนมปังกรอบบางอย่างในรุ่นการผลิตเหล่านี้ อาจมีชิ้นส่วนของถั่วลิสงผสมอยู่ แต่ไม่แจ้งไว้ในรายการส่วนผสม คนที่แพ้ถั่วไม่ควรรับประทานขนมปังกรอบนี้ การปฏิบัติของผู้บริโภค:ถ้าท่านซื้อขนมปังกรอบนี้ไป ท่านสามารถนำมาคืน ณ ที่ที่ท่านซื้อ เพื่อรับเงินคืนได้เต็มจำนวน หรือโทรสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1800 034 241 ตัวอย่างข้อสอบ: การตีความ คำถาม: จุดประสงค์ของป้ายประกาศนี้คืออะไร 1. เพื่อโฆษณาขนมปังกรอบไส้ครีมมะนาว 2. เพื่อบอกประชาชนว่าขนมปังกรอบผลิตเมื่อใด 3. เพื่อเตือนประชาชนเกี่ยวกับขนมปังกรอบ 4. เพื่ออธิบายว่าจะซื้อขนมปังกรอบไส้ครีม มะนาวได้ที่ไหน
ตัวอย่างข้อสอบ: การวิเคราะห์และประเมิน การแปรงฟันของคุณ ฟันของเราสะอาดมากขึ้นและมากขึ้นเมื่อเรายิ่งแปรงนานขึ้นและแรงขึ้นใช่หรือไม่? นักวิจัยชาวอังกฤษบอกว่าไม่ใช่ เขาได้ทดลองหลายๆ ทางเลือก และท้ายที่สุดก็พบวิธีที่สมบูรณ์แบบในการแปรงฟัน การแปรงฟัน 2 นาทีโดยไม่แปรงฟันแรงจนเกินไปให้ผลที่ดีที่สุด ถ้าคุณแปรงฟันแรงคุณกำลังทำร้ายเคลือบฟันและเหงือกโดยไม่ได้ขจัดเศษอาหารหรือคราบหินปูน เบนท์ฮันเซน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแปรงฟัน กล่าวว่าวิธีจับแปรงสีฟันที่ดีก็คือจับให้เหมือนจับปากกา “เริ่มจากมุมหนึ่ง และแปรงไปตามฟันจนหมดแถว” เธอบอกว่า “อย่าลืมลิ้นของคุณด้วย! มันสามารถสะสมแบคทีเรียได้มากทีเดียว ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก” คำถาม: ทำไมในเรื่องจึงกล่าวถึงปากกา 1. เพื่อช่วยให้เราเข้าใจว่าควรจับแปรงสีฟันอย่างไร 2. เพราะเราเริ่มจากมุมหนึ่งเหมือนกันทั้งปากกาและแปรงสีฟัน 3. เพื่อแสดงว่าเราสามารถแปรงฟันได้หลายๆ วิธี 4. เพราะเราควรแปรงฟันอย่างจริงจังเช่นเดียวกับการเขียน
บอลลูน การบันทึกสถิติความสูงของบอลลูนอากาศร้อน นักบินชาวอินเดีย วิเจย์พัต สิงหาเนีย ได้ทำลายสถิติความสูงของบอลลูนอากาศร้อน ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 เขาเป็นบุคคลแรกที่พาบอลลูนลอยไปถึง 21,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สถิติระดับความสูงที่บันทึกได้: 21,000 ม. ช่องตามยาวสามารถเปิดให้อากาศ ร้อนออกได้ เพื่อลดความสูง ออกซิเจน:เพียง 4% ของระดับพื้นดิน ขนาดปกติของบอลลูนอากาศร้อนทั่วไป สถิติเดิม: 19,800 m ความสูง: 49 m อุณหภูมิ: –95 °C บอลลูนมุ่งหน้าออกทะเล ในตอนแรก เมื่อปะทะกับกระแสลมแรงจึงถูกพัดกลับมาอยู่เหนือแผ่นดินอีกครั้ง เส้นใย: ไนลอน เครื่องบินจัมโบ้เจ็ท: 10,000 m การเติมอากาศ: 2.5 ชั่วโมง ขนาด: 453,000 m3 (ขนาดปกติของบอลลูนอากาศร้อนปกติ 481 m3) นิวเดลี จุดที่ลงจอดโดยประมาณ น้ำหนัก: 1,800 kg 483 km กระเช้า: สูง: 2.7 m กว้าง: 1.3 m ห้องโดยสารเป็นแบบปิดและปรับความดัน มีหน้าต่างเป็นฉนวน มุมไบ สร้างด้วยอลูมิเนียมเช่นเดียวกับเครื่องบิน วิเจย์พัต สิงหาเนีย สวมชุดอวกาศระหว่างการเดินทาง ตัวอย่างข้อสอบ: การวิเคราะห์และประเมิน คำถาม: การนำภาพเครื่องบินจัมโบ้เจ็ทมาใส่ไว้ในเนื้อเรื่องมีจุดประสงค์อะไร ………………………………………… ………………………………………… …………………………………………
ระบุตัวแปรหรือประเด็นที่สำคัญจากสถานการณ์ในโลกจริง • รับรู้ถึงโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ในปัญหาหรือสถานการณ์ • ทำปัญหาหรือสถาณการณ์ให้อยู่ในรูปอย่างง่าย หรือแปลงโมเดลทางคณิตศาสตร์ การกำหนดปัญหาทางคณิตศาสตร์ • เลือกและใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ • ใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์หาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา • ประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริง กฎ ขั้นตอนและโครงสร้าง ในการแก้ปัญหา การนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ • นำผลที่ได้จากการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตจริง • ประเมินความเหมาะสมของวิธีแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในบริบทของความเป็นจริง • ระบุและวิจารณ์ข้อจำกัดของรูปแบบที่ใช้ในการแก้ปัญหา การแปลผลลัพท์ทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์
กรอบการประเมินคณิตศาสตร์กรอบการประเมินคณิตศาสตร์ เนื้อหาที่ครอบคลุม • ปริภูมิและรูปทรงสามมิติ • การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ • ปริมาณ • ความไม่แน่นอน
คอนเสิร์ตร็อค ตัวอย่างข้อสอบ: การกำหนดปัญหาทางคณิตศาสตร์ สนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 100 เมตร คูณ 50 เมตร ถูกจองไว้สำหรับแสดงคอนเสิร์ตร็อค บัตรคอนเสิร์ตขายได้หมดและสนามเต็มไปด้วยแฟนเพลงที่ยืนดู การประมาณจำนวนผู้เข้าชมคอนเสิร์ตที่มีจำนวนใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดเป็นเท่าใด 1. 2000 2. 5000 3. 20000 4. 50000 5. 100000
ขยะ ตัวอย่างข้อสอบ: การแปลผลลัพท์ทางคณิตศาสตร์ ในการทำการบ้านเรื่องสิ่งแวดล้อม นักเรียนได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ระยะเวลาการสลายตัวของขยะชนิดต่างๆ ที่ประชาชนทิ้งได้ดังนี้ คำถาม นักเรียนคนหนึ่งคิดที่จะแสดงข้อมูลเหล่านี้เป็นกราฟแท่ง จงให้เหตุผลมาหนึ่งข้อว่า ทำไมกราฟแท่งจึงไม่เหมาะสมในการแสดงข้อมูลเหล่านี้ ……………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………
ลูกเต๋า ลูกที่ 1 ลูกที่ 2 ลูกที่ 3 ตัวอย่างข้อสอบ: ปริภูมิและรูปทรงสามมิติ ทางซ้ายมือมีภาพของลูกเต๋าสองลูก ลูกเต๋า คือ ลูกบาศก์ที่มีจำนวนจุดอยู่บนด้านทั้งหก ซึ่งเป็นไปตามกฎ คือ ผลบวกของจำนวนจุดที่อยู่บนหน้าตรงข้ามเท่ากับเจ็ดเสมอ คำถาม ทางด้านขวา จะมีลูกเต๋าสามลูกวางซ้อนกันอยู่ลูกเต๋าลูกที่ 1 มองเห็น มี 4 จุดอยู่ด้านบน จงหาว่า บนหน้าลูกเต๋าที่ขนานกับแนวนอนห้าด้าน ซึ่งท่านมองไม่เห็น (ด้านล่างของลูกเต๋าลูกที่ 1 ด้านบนและล่างของลูกเต๋าลูกที่ 2 และลูกที่ 3) มีจำนวนจุดรวมกันทั้งหมดกี่จุด ......................................
ช่างไม้ แบบ 1 แบบ 2 6 เมตร 6 เมตร 10 เมตร 10 เมตร แบบ 4 แบบ 3 6 เมตร 6 เมตร 10 เมตร 10 เมตร ตัวอย่างข้อสอบ: การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ ช่างไม้มีกระดานยาว 32 เมตร และต้องการใช้ไม้นี้ล้อมกรอบสวนหย่อม เขามีแบบสวนหย่อมที่คิดไว้ 4 แบบ ดังนี้ คำถาม จงเขียนวงกลมรอบคำว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เพื่อบอกว่าสวนหย่อมแต่ละแบบสามารถล้อมกรอบด้วยไม้กระดาน 32 เมตรนี้ได้ใช่หรือไม่
ถังน้ำ 1.0ม. 1.5 ม. 1.5 ม. ถังน้ำ 1. 2. 3. ความสูง ความสูง ความสูง เวลา เวลา เวลา 4. 5. ความสูง ความสูง เวลา เวลา ตัวอย่างข้อสอบ: การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ ถังน้ำใบหนึ่งมีรูปร่างและขนาดดังแสดงในแผนผัง เริ่มต้นจากถังเปล่า แล้วเติมน้ำด้วยอัตรา 1 ลิตรต่อวินาที กราฟใดต่อไปนี้ แสดงการเปลี่ยนแปลงความสูงของผิวน้ำตามเวลาที่ผ่านไป
อัตราแลกเปลี่ยน ตัวอย่างข้อสอบ: ปริมาณ เหม่ยหลิงอยู่ในประเทศสิงคโปร์กำลังเตรียมตัวที่จะเดินทางไปอัฟริกาใต้เป็นเวลา 3 เดือน ในฐานะนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน เธอต้องแลกเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (SGD) เป็นเงินแรนด์ อัฟริกาใต้ (ZAR) คำถาม: เหม่ยหลิงพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์สิงคโปร์และแรนด์อัฟริกาใต้คือ 1 SGD = 4.2 ZAR เหม่ยหลิงต้องการแลกเงิน 3000 ดอลลาร์สิงคโปร์เป็นแรนด์อัฟริกาใต้ตามอัตรานี้ เหม่ยหลิงจะแลกเป็นเงินแรนด์อัฟริกาใต้ได้เท่าใด …………………………………………………………………. คำถาม: ในช่วงเวลา 3 เดือน อัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนจาก 4.2 เป็น 4.0 ZAR ต่อ SGD เหม่ยหลิงพอใจหรือไม่ที่อัตราแลกเปลี่ยนในตอนนี้เปลี่ยนเป็น 4.0 ZAR แทน 4.2 ZAR เมื่อเธอแลกเงิน อัฟริกาใต้กลับคืนเป็นดอลลาร์สิงคโปร์ จงให้คำอธิบายสนับสนุนคำตอบ ……………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………….
งานวัด 4 1 10 2 8 6 ตัวอย่างข้อสอบ: ความไม่แน่นอนและข้อมูล ร้านเล่นเกมในงานวัดร้านหนึ่ง มีการเล่นเกมที่เริ่มด้วยหมุนวงล้อ ถ้าวงล้อหยุดที่เลขคู่ ผู้เล่นจะได้หยิบลูกหินในถุง วงล้อและลูกหินที่อยู่ในถุง แสดงในรูปข้างล่างนี้ • คำถาม: • ผู้เล่นจะได้รับรางวัลเมื่อเขาหยิบได้ลูกหินสีดำสมพรเล่นเกม 1 ครั้ง • ความเป็นไปได้ที่สมพรจะได้รับรางวัลเป็นอย่างไร • เป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับรางวัล • เป็นไปได้น้อยมากที่จะได้รับรางวัล • เป็นไปได้ที่จะได้รับและไม่ได้รับรางวัลเท่ากัน • เป็นไปได้มากที่จะได้รับรางวัล • ได้รับรางวัลแน่นอน
รู้ว่าประเด็นปัญหาหรือคำถามใด ตรวจสอบได้ด้วยวิทยาศาสตร์ • บอกคำสำคัญสำหรับการค้นคว้า • รู้ลักษณะสำคัญของการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ • ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลและ สอดคล้องกับประจักษ์พยาน • บรรยายหรือตีความปรากฏการณ์และพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงในเชิงวิทยาศาสตร์ • ระบุได้ว่าคำบอกเล่า คำอธิบาย และการพยากรณ์ใดที่สมเหตุสมผล การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ • ตีความหลักฐานประจักษ์พยานหรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ลง ข้อสรุป และสื่อสารข้อสรุป • ระบุข้อตกลงเบื้องต้น ประจักษ์พยานที่อยู่เบื้องหลังข้อสรุป • แสดงให้เห็นว่าเข้าใจแนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในสถานการณ์หรือบริบทต่างๆ • สะท้อนถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีนัยต่อสังคม การใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์
กรอบการประเมินวิทยาศาสตร์กรอบการประเมินวิทยาศาสตร์ • ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ • การค้นคว้าหาความรู้ • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ • ความรู้วิทยาศาสตร์ • ระบบกายภาพ • ระบบสิ่งมีชีวิต • ระบบโลกและอากาศ • ระบบเทคโนโลยี
เสื้อผ้า ตัวอย่างข้อสอบ: การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ จงอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม บทความเกี่ยวกับเสื้อผ้า นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคณะหนึ่ง ได้พัฒนาผ้า “ฉลาด” เพื่อที่จะช่วยให้เด็กพิการสามารถสื่อสารด้วย “คำพูด” ได้ เด็กใส่เสื้อกั๊กที่ทำด้วยเส้นใยพิเศษนำไฟฟ้าได้และเชื่อมต่อไปยังเครื่องสังเคราะห์เสียง จะสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร โดยการแตะลงบนผ้าที่มีความไวต่อการสัมผัสเท่านั้น วัสดุนี้ทำด้วยผ้าธรรมดาและเคลือบรูพรุนด้วยเส้นใยที่มีคาร์บอนสอดไส้อยู่ จึงสามารถนำไฟฟ้าได้ เมื่อมีแรงกดลงบนผ้า สัญญาณแบบต่างๆ จะถูกส่งไปตามเส้นใยและไปแปลงสัญญาณ ชิพคอมพิวเตอร์จะอ่านได้ว่าส่วนใดของผ้าถูกแตะแล้วก็จะไปทำให้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่ทำงาน เครื่องมือดังกล่าวมีขนาดไม่เกินกว่ากล่องไม้ขีด 2 กล่องเท่านั้น “ส่วนที่ฉลาด ก็คือ วิธีการทอและการส่งสัญญาณผ่านทางเส้นใย เราสามารถทอเส้นใยนี้ให้กลมกลืนเข้าไปในลายผ้าซึ่งทำให้เราไม่สามารถมองเห็นมัน” นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งกล่าว ผ้านี้สามารถซัก บิด หรือหุ้มห่อสิ่งต่างๆ โดยไม่เกิดความเสียหาย และนักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวด้วยว่าผ้านี้สามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ในราคาถูก
เสื้อผ้า ตัวอย่างข้อสอบ: การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ) คำถาม: คำกล่าวอ้างดังต่อไปนี้ สามารถทดสอบในห้องปฏิบัติการได้หรือไม่ จงเขียนวงกลมล้อมรอบคำว่า “ได้” หรือ “ไม่ได้”ในแต่ละข้อ