920 likes | 1.33k Views
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพิจารณาโครงการเบื้องต้น รุ่นที่ 1 24 – 26 มีนาคม 2557. ณ. ห้องประชุมอาคาร NEWMASIP สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน ( ปากเกร็ด ) จังหวัดนนทบุรี. กำหนดการบรรยาย 24 มีนาคม 2557 หัวข้อ “มาตรฐานงานวางโครงการ” 3 ชั่วโมง ( 13.00-16.00 น. )
E N D
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการพิจารณาโครงการเบื้องต้น รุ่นที่ 1 24 – 26 มีนาคม 2557 ณ. ห้องประชุมอาคาร NEWMASIP สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน (ปากเกร็ด) จังหวัดนนทบุรี
กำหนดการบรรยาย • 24 มีนาคม 2557 หัวข้อ “มาตรฐานงานวางโครงการ” 3 ชั่วโมง (13.00-16.00 น.) 13.00 - 14.00 น. จัดทำมาตรฐานวางโครงการ และกฎหมายและระเบียบที่ เกี่ยวข้องกับงานวางโครงการ 14.30 - 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 14.45 - 16.00 น. การจัดทำรายงานศึกษาโครงการเบื้องต้น (RR) และ แนวทางการเขียนรายงาน
หัวข้อวิชา “มาตรฐานวางโครงการ” โดย นายอาทร สุทธิกาญจน์หัวหน้ากลุ่มมาตรฐานวางโครงการ24 มีนาคม 2556 13.00 - 16.00 น.
มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอามาเป็นเกณฑ์ที่รองรับกันทั่วไป เช่น กฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็น ปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามความข้อกำหนดที่วางไว้ (จากคู่มือ การปฏิบัติตามข้อบังคับกรมชลประทาน ว่าด้วย จรรยาข้าราชการ กรมชลประทานพ.ศ.2553)
1. โครงการ (Projects) คืออะไร? โครงการ หมายถึง: • กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร • เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อหวังผลประโยชน์ตอบแทนทั้งทางตรงและทางอ้อม • เป็นกิจกรรมที่สามารถจะวิเคราะห์ –วางแผน และนำไปปฏิบัติได้ • เป็นกิจกรรมที่สามารถดำเนินการบริหารได้โดยอิสระ • เป็นกิจกรรมที่มีการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดไว้ • เป็นกิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. ประเภทของโครงการ โครงการต่างๆ โดยทั่วไปอาจจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ • โครงการประเภทหวังผลกำไร (Profit making project) • โครงการประเภทไม่หวังผลกำไร (Non – Profit masking project)
3. การวางโครงการ (Project Planning) คืออะไร การวางโครงการ หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้อย่างฉลาด ระมัดระวัง โดยมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า และมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง การวางโครงการ เป็น ขั้นตอน ที่สำคัญที่สุดในการทำงานเพราะเป็นขั้นที่ต้องกำหนดนโยบายวัตถุประสงค์และวิธีการปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรวมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การวางโครงการ จะช่วยให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีระบบ (Systematic) สามารถควบคุมการดำเนินงานได้ทุกขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้โดยรวดเร็ว
3. การวางโครงการ (Project Planning) คืออะไร (ต่อ) การวางโครงการ เป็นการวางแผน เพื่อผลประโยชน์ในอนาคตเพื่อให้ผู้ตัดสินใจสามารถจะตัดสินใจได้ในปัจจุบันว่าโครงการใดควรดำเนินการ โครงการใดควรชะลอไว้ก่อน หรือ โครงการใดควรระงับ กล่าวโดยสรุป การวางโครงการก็คือการศึกษารายละเอียดและการจัดทำรายงานความเหมาะสม (Feasibility Study) ของโครงการนั้นเอง
แนวคิดในการจัดทำมาตรฐานการศึกษาแนวคิดในการจัดทำมาตรฐานการศึกษา มาตรฐานการศึกษาที่ดี ควรประกอบด้วย 2 สิ่งดังนี้ • เนื้อหาที่จะต้องปรากฏในรายงานการศึกษาระดับต่างๆ ที่เหมาะสม • ระดับความถูกต้องของการศึกษาที่เหมาะสม
คำว่า “เหมาะสม” หมายถึงอะไร - ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไข หรือ ข้อจำกัดต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ เวลา งบประมาณ ข้อมูล องค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ใช้
มาตรฐานการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ความการเปลี่ยนแปลง หรือ ข้อจำกัดต่างๆ และมาตรฐานที่ดีควรได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมและอยู่ในวิสัยที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อยู่เสมอ
การจัดทำมาตรฐานวางโครงการการจัดทำมาตรฐานวางโครงการ • เนื้อหาของมาตรฐานวางโครงการ จะต้องให้เหมาะสมกับระดับการศึกษาด้านต่างๆของรายงานแต่ละประเภท • การเปลี่ยนแปลง หรือปรับปรุงมาตรฐานวางโครงการจะต้องได้รับการพิสูจน์เทคโนโลยีก่อน โดยเป็นการศึกษานำร่อง • การปรับปรุงมาตรฐานใดๆ จะต้องผ่านการประชุมสัมมนากับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้รับข้อคิดเห็น ปรับปรุงและยอมรับร่วมกัน
การพัฒนาลุ่มน้ำ • การวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำ (Basin Planning) แบ่งเป็น 3 ระดับ1.1.การศึกษาการพัฒนาลุ่มน้ำเบื้องต้น (Desk Study) 1.2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำ (Preliminary Study) 1.3 การศึกษาแผนพัฒนาลุ่มน้ำ (Comprehensive Study) • การวางแผนพัฒนาโครงการ (Project Planning) 2.1 การศึกษาโครงการเบื้องต้น (Reconnaissance Study) 2.2 การศึกษาวางโครงการ (Pre-feasibility Study) 2.3 การศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study)
2. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานวางโครงการ • พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 - มีจำนวน 42 มาตรา ข้อปฏิบัติ ที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 • กรมชลประทานมีหน้าที่หลักคือ 1. การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม 2.การอุปโภคบริโภค 3.การพลังงาน 4.การคมนาคม 5.การกักเก็บ รักษา และการระบายน้ำ 6.การบรรเทาอุทกภัย 7.การไล่น้ำเค็ม
2. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานวางโครงการ (ต่อ) • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่2) พ.ศ. 2497 • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่3) พ.ศ. 2407 • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่4) พ.ศ. 2518 • พรบ. การชลประทานหลวง (ฉบับที่5) พ.ศ. 2530 • พระราชบัญญัติกันและคูน้ำ พ.ศ. 2505 • พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 • พระราชบัญญัติรักษาคลอง รัตนโกสินทร ศก 121 (พ.ศ.2445) ที่มา:www.moac.go.th/more-news.php?cid=107, 17 มีนาคม 2557
กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ • พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 • ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2552 และ2553) • ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ.2555) • มติ ครม. เกี่ยวกับป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (พ.ศ.2554) • มติครม. เกี่ยวกับทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระดับนานาชาติ และระดับชาติ (พ.ศ.2543 และ พ.ศ.2582)
แผงผัง แสดงขั้นตอนการพิจารณาระดับการศึกษาจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
เกณฑ์การจัดทำรายงานการศึกษาโครงการเบื้องต้น (RR) บทที่ 1 บทนำ • 1.1. ความเป็นมาของโครงการ • เพื่อให้ทราบถึงที่มาของโครงการ ลำดับเหตุการณ์ หนังสือและ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขอให้กรม/สำนักบริหารโครงการทำการศึกษาโครงการ • วิธีการเขียนรายงาน • การเรียบเรียง จัดลำดับ เหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง เป็นร้อยแล้ว จากหนังสือ (บันทึกข้อความ)
ตัวอย่าง บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมา กรมชลประทานได้รับหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ กร.0007.4 1248 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ขอให้กรมพิจารณา................................. .......................................................................... สำนักบริหารโครงการ โดยกลุ่มงานวางโครงการ 3 จึงได้มีแผนงานในการศึกษาโครงการเบื้องต้น โครงการ..........ในปีงบประมาณ 2550
1.2. เหตุผลความจำเป็น • สาระสำคัญ เพื่อให้ทราบถึงเหตุผลความจำเป็นที่ผู้ร้องขอโครงการคาดว่าจะได้รับบริการจากกรมชลประทาน โดยเป็นการชี้ปัญหาจากเรื่องเดิม • กรอบแนวคิด/วิธีเขียนรายงาน วิเคราะห์ความต้องการโครงการจากหนังสือและเอกสารในข้อ 1.1 แล้ว พรรณนาเป็นร้อยแก้ว
1.3. วัตถุประสงค์ของโครงการ • สาระสำคัญ เพื่อบรรเทาหรือแก้ไขความเดือดร้อนในระดับที่ส่งผลให้เกิดความพึ่งพอใจแก่ผู้ร้องขอโครงการ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งภายใน และ ภายนอก โครงการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม มวลชน และสิ่งแวดล้อม • กรอบแนวคิด/วิธีเขียนรายงาน ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการของผู้ร้องขอโครงการ พร้อมทั้งการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ร้องขอโครงการและผู้เกี่ยวข้องในช่วงออกงานสนาม • ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ของโครงการ • เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ สำหรับการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง • เพื่อชะลอน้ำ ในช่วงฤดูน้ำหลาก • เพื่อเป็นแหล่งน้ำ สำหรับการอุปโภค-บริโภค
1.4 วัตถุประสงค์ของรายงานการศึกษา • สาระสำคัญ • เพื่อให้ศึกษาให้ทราบถึงปัญหา และ แนวทางในการเปิดโครงการ มีลู่ทางดำเนินการหรือไม่ • เพื่อกำหนดประเภทโครงการเบื้องต้นว่าควรเป็นโครงการประเภทใด มีพื้นที่โครงการ และราคาค่าก่อสร้าง โดยประมาณเบื้องต้นเท่าใด • เพื่อกำหนดขอบเขตสำรวจ และ รายละเอียดต่างๆ อาทิ แผนที่สำรวจภูมิประเทศ แผนที่ภาพถ่ายจากดาวเทียม การศึกษาสำรวจสภาพการใช้ที่ดิน และ จำแนกประเภทที่ดินเพื่อชลประทาน • เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในตอนขอร้องเรียน หรือ ปัญหาข้อชี้แจ้งต่างๆในทุกระดับ • วิธีการ เขียนเป็นเชิงพรรณนา แยกเป็นข้อๆ
บทที่ 2 สภาพทั่วไปของพื้นที่โครงการ 2.1 ที่ตั้งและขอบเขตของพื้นที่ศึกษา • สาระสำคัญ • เป็นการชี้ให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของโครงการเบื้องต้น • จัดทำบนแผนที่ 1 : 50,000 • แผนที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ • แผนที่พื้นที่ชุ่มน้ำ
2.2 สภาพภูมิประเทศ • สาระสำคัญ สรุปลักษณะภูมิประเทศในภาพรวมครอบคลุมทั้งพื้นที่โครงการอาณาบริเวณใกล้เคียงและลุ่มน้ำ เป็นการกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานที่นำมาสู่ความเข้าใจพื้นที่โครงการและประโยชน์ในการพิจารณาโครงการต่อไป • วิธีการ • ข้อมูล ทุติยภูมิ • แผนที่มาตรส่วน 1 : 50,000 • เอกสารสรุปด้านการผลิตพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรจากจังหวัด • ข้อมูลจาก INTERNET
2.3 สภาพภูมิอากาศ • สาระสำคัญ เพื่อให้ทราบข้อมูลในภาพรวม อิทธิพลของลมมรสุม ช่วงเวลาของฤดูกาล ข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา โดยเป็นข้อมูลของบพื้นที่อำเภอ สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ ซึ่งมีอิทธิพลต่อโครงการและลุ่มน้ำ • วิธีการ • ข้อมูลทุติยภูมิ • ตรวจสอบสถานีอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อโครงการ • นำเสนอข้อมูลการตรวจวัดในรูปแบบตารางและการสรุปประกอบการบรรยายความ
2.4 สภาพเศรษฐกิจสังคม และ การเกษตร • สาระสำคัญ • อธิบายลักษณะชุมชน จำนวนประชากร โครงสร้างของครัวเรือน การประกอบอาชีพ รายได้ และรายจ่ายของครัวเรือน ตลอดจนปัญหาต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม • รายได้ทางการเกษตรการประกอบด้วยปริมาณผลผลิต ราคาขาย มูลค่าของต้นทุน ค่าใช้จ่าย ในเขตพื้นที่ โครงการ หรือ ใกล้เคียงในสภาพปัจจุบัน • วิธีการ • รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ข้อมูลจาก Internet • จัดทำเป็นตาราง หรือ กราฟ และพยายามสรุป
2.5 การใช้ที่ดินและการถือครองที่ดิน • สาระสำคัญ • เป็นการรวบรวมข้อมูลการใช้ที่ดิน และการถือครองที่ดินในเขตพื้นที่โครงการไปถึงระดับอำเภอ • ความสำคัญของข้อมูลคือการนำไปใช้กำหนดขอบเขตพื้นที่โครงการและระบบส่งน้ำของโครงการ • วิธีการ • ข้อมูลทุติยภูมิจากสำนักงานที่ดินอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ และ เกษตรจังหวัด • ข้อมูลจากแผนที่ลักษณะและชนิดที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
2.6 สภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ • สาระสำคัญ • เพื่อตรวจสอบข้อมูลป่าไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่มีการประกาศใช้ พรบ. และ มติ ครม. • สำหรับทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ในระดับอำเภอ • วิธีการ • ข้อมูลทุติยภูมิ • แผนที่ป่าสงวน, แผนที่ชั้นคุณภาพของลุ่มน้ำ • ข้อมูลจาก Internet
2.7 ปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ • สาระสำคัญ • เพื่อให้ทราบปัญหาความเดือดร้อน ในด้านต่างๆของราษฎรในเขตอำเภอที่ตั้งโครงการ • ปัญหาเหล่านั้น จะนำมาประมวลผล เพื่อบรรเทาในส่วนของงานชลประทาน • วิธีการ • ข้อมูลปฐมภูมิ เช่นการไปสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น นายอำเภอ ปลัดปกครอง พัฒนาการอำเภอ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน • ข้อมูลทุติยภูมิ เช่น การจัดหา รายงานประจำปีของอำเภอนั้นๆ
2.8 การสาธารณสุข และ สาธารณูปโภค • สาระสำคัญ • รวบรวมข้อมูลบริการสาธารณสุข และ จำนวนประเภทสถานบริการในเขตอำเภอที่ตั้งโครงการ • รวบรวมข้อมูลการสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นการบริการด้านประปา ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรศัพท์ • ข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการพัฒนาโครงการชลประทานในอนาคต • วิธีการ • ข้อมูลปฐมภูมิ ได้จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐ • ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานประจำปีของอำเภอนั้นๆ • จัดทำเป็นตารางและสรุปบรรยาย
2.9 การศาสนา และ การศึกษา • สาระสำคัญ • การรวบรวมข้อมูลทางด้านศาสนาและการศึกษา จำนวน ประเภท ของ ศาสนสถาน และโรงเรียน เพื่อการสนับสนุนโครงการชลประทาน • วิธีการ • ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ หรือ บรรยายสรุปในภาคสนาม • จัดทำเป็นตาราง และ บรรยายสรุป
2.10 ทรัพยากรการท่องเที่ยว • สาระสำคัญ • เป็นการนำเสนอศักยภาพในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่อำเภอที่เป็นที่ของตั้งโครงการ • โครงการชลประทาน หรือ พัฒนาแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ สำหรับการท่องเที่ยวอย่างไร • วิธีการ • รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ พัฒนาการอำเภอ • จัดทำเป็นตารางและบรรยายสรุป
บทที่ 3 สภาพแหล่งน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำในปัจจุบัน 3.1 ระบบลำน้ำและข้อมูลอุทกวิทยา • สาระสำคัญ • ข้อมูลพื้นฐานแสดงพื้นที่ลุ่มน้ำที่ศึกษาอยู่ในลุ่มน้ำหลักใด ขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา ชื่อของลำน้ำย่อย และลำน้ำที่ไหลผ่านหัวงานโครงการ ความยาวของลำน้ำ ทิศทางการไหล และจุดบรรจบกับลำน้ำหลัก • วิธีการ • ใช้แผนที่ มาตรส่วน 1:50,000 • จัดทำเป็นแผนภูมิลำน้ำ • แสดงเป็นตาราง,แผนที่บริเวณหัวงาน,แผนภูมิ • บรรยายสรุป
ข้อมูลอุทกวิทยา • สาระสำคัญ • ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนในพื้นที่ลุ่มน้ำของโครงการ • ปริมาณน้ำท่ารายเดือนที่ผ่านผัวงานโครงการ ในกรณีที่มีสถานีวัดน้ำตั้งอยู่ในลุ่มน้ำนั้นๆ หรือได้จากการคำนวณทางอุทกวิทยา • ข้อมูลปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่ (Average Annual Runoff Yield) ของสถานีวัดน้ำท่าที่มีคุณลักษณะลุ่มน้ำใกล้เคียงลุ่มน้ำที่ศึกษา
ข้อมูลอุทกวิทยา (ต่อ) • วิธีการ • การคำนวณปริมาณน้ำท่าไหลผ่านหัวงาน มี 2 วิธีดั่งนี้ • ใช้ Specific yield • ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิประเทศ ฝนเฉลี่ย และ สัมประสิทธิ์การเกิดน้ำท่า • นำเสนอในรายงานในรูปของตาราง สมการ หรือ วิธีการที่ใช้คำนวณปริมาณน้ำท่า บรรยายสรุป
3.2 แผนพัฒนาลุ่มน้ำและสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบัน • สาระสำคัญ • เพื่อนำเสนอแผนพัฒนาและศักยภาพการพัฒนาในลุ่มน้ำ รวมทั้งโครงการที่ก่อสร้างแล้ว • มีการวิเคราะห์ผลของการดำเนินโครงการที่กำลังศึกษาจะมีผลอย่างไรต่อระดับลุ่มน้ำ • วิธีการ • รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลสารสนเทศกรม • ศึกษาข้อมูลจากแผน MTEF ตลอดจน แผนพัฒนาลุ่มน้ำเน้นผลที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาในภาพรวม
3.3 สภาพอุทกวิทยาทั่วไป • สาระสำคัญ • รวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม อาทิ น้ำไหล ตลอดปี หรือ ขาดน้ำบางช่วง การเกิดสภาพน้ำท่วมในลุ่มน้ำ โดยเปรียบเทียบกับผลทางอุทกวิทยาที่ได้ มีการเปรียบเทียบ จะนำไปสู่การพิจารณาลักษณะโครงการต่อไป • วิธีการ • บรรยายผลเชิงพรรณนาเปรียบเทียบ แล้วพิจารณาเบื้องต้นว่า ควรมีลักษณะโครงการประเภทใด
3.4 การใช้น้ำและความต้องการน้ำโดยทั่วไป • สาระสำคัญ • ศึกษาสภาพตามต้องการน้ำในภาพรวมของพื้นที่โครงการและพื้นที่ใกล้เคียง โดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมในสนาม • วิธีการ • ศึกษาข้อมูลจากการสอบถามในภาคสนาม และข้อมูลทุติยภูมิ • บรรยายในเชิงพรรณนา ลักษณะทั่วไปของการใช้น้ำ และความต้องการน้ำ
บทที่ 4 การพิจารณาลักษณะโครงการเบื้องต้น 4.1 ความต้องการใช้น้ำเบื้องต้นของโครงการ • สาระสำคัญ • ประเมินความต้องการใช้น้ำตาม ลักษณะที่ได้จาก 3.4 ในปัจจุบัน และ อนาคตไปข้างหน้า 20 ปี • ประเมินความต้องการใช้น้ำสำหรับการเกษตร อุปโภค บริโภค การปศุสัตว์ อุตสาหกรรม และรักษาระบบนิเวศ • ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้สำหรับการศึกษาลักษณะโครงการต่อไป • วิธีการ • ประเมินประชากร,ปศุสัตว์ และ อุตสาหกรรม ใน 20 ปีข้างหน้า • ความต้องการใช้น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค ใช้ 200 ลิตร/คน/วัน • ความต้องการใช้น้ำ เพื่ออุตสาหกรรม ใช้ 10 ลบ.ม./ไร่/วัน
4.1 ความต้องการใช้น้ำเบื้องต้นของโครงการ (ต่อ) • วิธีการ (ต่อ) • ความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร คำนวณจากค่า ETO และ ค่า Kd หรือประมาณ 1,700- 2,000 ลบ.ม. /ไร่ สำหรับข้าว และ 800 ลบ.ม. /ไร่ สำหรับพืชไร่ • ความต้องการน้ำเพื่อปศุสัตว์ : โคนม 200 ลิตร /ตัว/วัน ปศุสัตว์ อื่นๆ 50ลิตร/ตัว/วัน • ความต้องการใช้น้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศท้ายน้ำประเมินจากปริมาณน้ำต่ำสุดในช่วงฤดูแล้งจากสถิติน้ำท่าเฉลี่ยรายปี หรือ พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ยในช่วงข้อมูลหลายปีต่อเนื่องกันกับ %Flow duration โดยพิจารณาปริมาณน้ำท่า 90%Flow duration
4.2 การศึกษาปริมาณน้ำท่า • สาระสำคัญ • ศึกษาปริมาณน้ำท่าที่ไหลผ่านหัวงานรายเดือน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาลักษณะโครงการและประเภทของโครงการ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการไหลของน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนหรือ ปริมาณน้ำต้นทุนของโครงการ • วิธีการ • การประเมินปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนสามารถใช้วิธี • อ่านค่า Specific yieldจากแผนที่ • คำนวณปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยจากค่า Yield • การกระจายน้ำท่ารายปี เป็นน้ำท่ารายเดือน โดยมี 3 วิธี คือ • กระจายตาม % การกระจายของสถานีวัดน้ำที่อยู่ใกล้เคียง • กระจายตามปริมาณฝนโดย Rational Formulor Q=CIA • กระจายโดยใช้ % เฉลี่ย ของ 2 วิธีข้างต้น
4.3 การศึกษาปริมาณตะกอน • สาระสำคัญ • ตะกอนเป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ ไหลปนมากับปริมาณน้ำท่า • ตะกอนจะถูกดักเก็บ หรือ ตกลงสู่พื้นหน้าอาคารชลประทาน ทำให้เกิดการตื้นเขิน ส่งผลให้อาคารใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ • อ่างเก็บน้ำจะเผื่อปริมาตรอ่าง สำหรับการตกตะกอน เรียกว่า ความจุใช้การไม่ได้ (Dead Storage) • การเกิดตะกอนขึ้นอยู่กับปริมาณและความเข้มของฝน ลักษณะของดิน และการใช้ที่ดิน ป่าไม้ในพื้นที่ลุ่มน้ำ และสภาพภูมิประเทศ • วิธีการ • คำนวณปริมาณตะกอนโดยใช้สมการV = C x d x A x m x 103 (ม3) • กรณีอ่างเก็บน้ำ นำปริมาณตะกอนไปเทียบหาค่าความจุอ่างเก็บน้ำ ใช้การไม่ได้ต่อไป
4.4 การกำหนดประเภทของโครงการ • สาระสำคัญ • การกำหนดประเภทโครงการในระดับ RR พิจารณาบนพื้นฐานข้อมูลทางด้านอุทกวิทยา สภาพภูมิประเทศ การใช้งานความต้องการใช้น้ำ ฯลฯ • พิจารณาจากปริมาณความต้องการน้ำ เทียบกับน้ำต้นทุนตลอดทั้งปี เช่น หากมีน้ำต้นทุน เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ ทั้งฤดูฝนและแล้ง ลักษณะโครงการอาจะเป็นฝายทดน้ำ เขื่อนทดน้ำ หรือ สถานีทดน้ำ • พิจารณาจากสภาพปัญหาน้ำท่วม หากต้องการเก็บกักน้ำไว้ในช่วงหน้าแล้ง แต่ต้องการระบายน้ำได้ มาก และรวดเร็วในช่วงน้ำหลาก อาจพิจารณาเป็นเขื่อนทดน้ำ หรือ ฝายแบบพับได้
4.4 การกำหนดประเภทของโครงการ • สาระสำคัญ (ต่อ) • พิจารณาที่ระดับน้ำ หากอยู่ต่ำกว่าพื้นที่ชลประทาน หรือ พื้นที่รับประโยชน์ ก็อาจจะพิจารณา เป็นสถานีสูบน้ำ • วิธีการ • บรรยายลักษณะเบื้องต้น เพื่อสนับสนุนลักษณะโครงการที่เลือก
4.5 การกำหนดโครงการเผื่อเลือก • สาระสำคัญ • การสร้างทางเลือกของการพิจารณาในระดับต่างๆที่จะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร/ผู้ร้องขอโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ • เริ่มจากโครงการขนาดเล็ก ไปถึงโครงการขนาดใหญ่ • วิธีการ • การนำเอาวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นเป้าหมาย • ใช้ข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้ อาทิ สภาพภูมิประเทศ ปริมาณน้ำต้นทุนที่ไหลผ่านหัวงาน ความต้องการใช้น้ำ หรือ ชนิดของพืช ความคุ้มค่าลงทุนเบื้องต้น และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม นำมาเป็นเกณฑ์คัดเลือก โครงการที่สมควรได้รับการพัฒนาต่อไป
4.6 การมีส่วนร่วมของประชาชน • สาระสำคัญ • เพื่อนำแนวคิด การพิจารณาโครงการ ตำแหน่งที่ตั้ง ลักษณะโครงการไปร่วมประชุม หาหรือ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โครงการ • สำนักบริหารโครงการ กำหนดการประชุม การมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เป็นการประชุมกับผู้นำชุมชนในพื้นที่โครงการทั้งได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์จำนวน 30 คน ครั้งที่ 2 ประชุมระดับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย จำนวน 100 คน • วิธีการ • จัดประชุม จำนวน 2 ครั้ง • รับฟังความคิดเห็น ตอบแบบสอบถาม • ประเมินผลการประชุม • สรุปผลการประชุมและข้อคิดเห็นเป็นร้อยละ และ พรรณนา นำสรุป