400 likes | 581 Views
LOGO จังหวัด. การประชุมคณะอนุกรรมการสถิติ กลุ่มจังหวัด.......... / จังหวัด................ ครั้งที่ 1/2557. โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด. ภายใต้โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด
E N D
LOGO จังหวัด การประชุมคณะอนุกรรมการสถิติกลุ่มจังหวัด.......... / จังหวัด................ครั้งที่ 1/2557 โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด
ภายใต้โครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด วัน....... มีนาคม 2557เวลา ............................. น. ห้องประชุมสำนักงานจังหวัด .......................... • ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ • 1.1 ความเป็นมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด • 1.2 สรุปประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ……………… /กลุ่มจังหวัด …………………. • ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องนำเสนอเพื่อพิจารณา : ร่างแผนพัฒนาสถิติจังหวัด เพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาจังหวัด • 2.1 Product Champion/ Critical Issue ตามประเด็นยุทธศาสตร์ และการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ • 2.2 ช่องว่างการพัฒนาข้อมูล (Data Gap Analysis) • ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องนำเสนอเพื่อทราบ : รายงานสถานการณ์ (นำเสนอโดย จนท.วิเคราะห์ ที่มาเรียนกับ ดร.บัญชร) หากทำเสร็จทันก่อนการนัดหมายการประชุมจะต้องมีวาระนี้เพื่อนำเสนอ เดี๋ยวทีมกลางจะช่วยประสานงาน ตรวจสอบ และแจ้งให้ • ระเบียบวาระที่ 4เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) : นัดหมายการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2 วาระการประชุมคณะอนุกรรมการสถิติจังหวัด
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องเพื่อทราบ1.1 ความเป็นมา และแนวทางการดำเนินงานโครงการการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด
วัตถุประสงค์ และผลผลิตหลักโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ • บูรณาการข้อมูลสารสนเทศระดับพื้นที่เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด สนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ • พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านสถิติขององค์กรภาครัฐ ให้มีความเป็นมืออาชีพด้านข้อมูลสถิติและสารสนเทศ ผลผลิต • ร่างแผนพัฒนาสถิติจังหวัดเพื่อการตัดสินของประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด ได้แก่ ข้อมูลในการบริหารจัดการ Product Champion ที่ได้รับการเลือก อาทิ ข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยสู่ความสำเร็จ KPI ฯลฯ 3
สำนักงานสถิติได้ดำเนินการพัฒนาระบบสถิติเชิงพื้นที่ รองรับการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของประเทศสู่ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด 2557 พัฒนาข้อมูลสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ 76 จังหวัด/18 กลุ่มจังหวัด 2556 นำร่อง 2 กลุ่มจังหวัด 2555 นำร่อง 10 จังหวัด 4
กรอบแนวคิดการดำเนินงานเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาสถิติกลุ่มจังหวัด / จังหวัด การพัฒนาต่อยอดและขยายชุดข้อมูลเพื่อการตัดสินใจจากประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับพื้นที่ใน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ชุดข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 แผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่
แผนพัฒนาจังหวัด > GVC เครื่องมือในการทำงาน VISION High ข้อมูลเพื่อการลำดับความสำคัญ 1 2 การเลือก PC / CS ของประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญ 5 4 Prioritization BCG 3 6 Low Long term Short term Value Chain Analysis : ปัจจัย และ KPI วิเคราะห์ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ และ การกำหนด ตัวชี้วัด Implementation Timeframe Critical Data ผังข้อมูลสถิติทางการ และ แผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด KPI MIS ACTION
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องเพื่อทราบ1.2 สรุปประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ……………… / สรุปประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ………………….
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ในปี 2554 โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัด มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) (ตามราคาประจำปี) เท่ากับ 71,628 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัว (Per Capital GPP) เท่ากับ 59,018 บาท/ปี อยู่อันดับที่ 11 ของภาคเหนือ และอยู่ลำดับที่ 53 ของประเทศ รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสาขา การเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้มากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 23,929 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน คิดเป็นมูลค่า 9,683 ล้านบาท และสาขาการศึกษา คิดเป็นมูลค่า 7,049 ล้านบาท ตามลำดับ สรุปภาพรวมศักยภาพจังหวัด ภาพรวม เศรษฐกิจจังหวัด ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงราย ตามราคาประจาปี จำแนกตามสาขาการผลิตที่สาคัญ ปี พ.ศ. 2554 ภาคการเกษตร การผลิตสาขาเกษตรกรรมฯ จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ประเภท ได้แก่ พืช ปศุสัตว์ ป่าไม้ และการบริการทางการเกษตร โดยกิจกรรมด้านพืชมีสัดส่วนมากที่สุด ในปี 2555 มีส่วนแบ่ง คิดเป็นร้อยละ 90 กิจกรรม ด้านปศุสัตว์มีส่วนแบ่งคิดเป็นร้อยละ 6 กิจกรรม ด้านการบริการทางการเกษตร มีส่วนแบ่งคิดเป็นร้อยละ 4 การผลิตสาขาเกษตรกรรมฯ จังหวัดเชียงราย ปี พ.ศ. 2555
ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ในปี 2555 มีพื้นที่เพาะปลูก ข้าวนาปี จำนวน 1,351,430 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว1,297,890 ไร่ ผลผลิต 740,923 ตัน พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง จำนวน 515,794 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 514,245 ไร่ ผลผลิต 365,823 ตัน แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอเมือง พาน เทิง เชียงของ และแม่จัน สรุปภาพรวมศักยภาพจังหวัด ล้อสนับสนุนตามประเด็นยุทธศาสตร์: ด้านเกษตร ข้อมูลการปลูกข้าวนาปี - นาปรัง ปี พ.ศ.2552-2555 ชา จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกชามากที่สุดของประเทศและในปี 2547 จังหวัดได้กำหนดให้ชาเป็นพืชยุทธศาสตร์หลัก โดยส่งเสริมให้มีการปลูกชาเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนพืชอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ และผลักดันให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์กลางผลิตชาพันธุ์ดีของประเทศ พันธุ์ที่ปลูก ได้แก่ ชาอัสสัม ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิม และชาจีน ที่เริ่มนิยมปลูกเนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ในปีเพาะปลูก 2555 มีพื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 50,515 ไร่ เนื้อที่เก็บเกี่ยว 29,381 ไร่ ผลผลิตรวม 19,538 ตัน แหล่งผลิตสำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง แม่สรวย และเวียงป่าเป้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจรองจากข้าว ในปี 2555 มีพื้นที่เพาะปลูก 482,089 ไร่ ผลผลิตรวม 333,751 ตัน แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า เชียงแสน เทิง แม่สรวย และเชียงของ กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่นอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ในปี 2555 มีพื้นที่เพาะปลูกรวม 30,178 ไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 2,829 ตัน แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ในเขตอำเภอแม่สรวย แม่ฟ้าหลวง เมือง และแม่สาย จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 6 ชนิดได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน และลำไย
ในปี 2555 การค้ากับประเทศเพื่อนบ้านด้านจังหวัดเชียงราย ซึ่งประกอบด้วยสาธารณรัฐประชาชนจีน (ตอนใต้) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยผ่านด่านชายแดน (ด่านแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ) มีมูลค่าการค้ารวม 35,977.63 ล้านบาท โดยแยกเป็นมูลค่าการค้าชายแดนด่านเชียงของ มีมูลค่ามากที่สุด 13,309.23 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.00 ของมูลค่าทั้งหมด รองลงมาคือด่านเชียงแสน มีมูลค่า 12,938.73 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35.96 ของมูลค่าทั้งหมด และด่านแม่สาย มีมูลค่า 9,729.67 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.04 ของมูลค่าทั้งหมด สรุปภาพรวมศักยภาพจังหวัด ล้อสนับสนุนตามประเด็นยุทธศาสตร์: ด้านการค้าชายแดน
การท่องเที่ยว ในปี 2553 จังหวัดเชียงรายมีผู้มาเยี่ยมเยือน 2,288,218 คน ในปี 2554 มีผู้มาเยี่ยมเยือน 2,311,370 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.01 ส่วนในปี 2555 มีผู้มาเยี่ยมเยือน 2,751,780 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 19.05 ซึ่งเกิดจากนโยบายรัฐบาลส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยว หรือ Miracle Thailand ด้านรายได้การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย ในปี 2553 มีรายได้รวม 15,024.64 ล้านบาท ปี 2554 มีรายได้ลดลงเหลือ 14,485.38 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 3.59 ส่วนปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 18,817.93 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.91 สรุปภาพรวมศักยภาพจังหวัด ล้อสนับสนุนตามประเด็นยุทธศาสตร์: ด้านการท่องเที่ยว ภาพรวมด้านเศรษฐกิจ สาขาบริการและการท่องเที่ยว เมื่อพิจารณาจากปีที่ผ่านมา ยังคงชะลอตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภาวการณ์ถดถอยของเศรษฐกิจโลก ทำให้นักท่องเที่ยวมีปริมาณลดลง แต่ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ – ใต้ (North - South Economic Corridor : NSEC) ตามกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) มีศักยภาพเป็นประตูเชื่อมโยงกลุ่มประเทศจีน เมียนมาร์ สปป.ลาว โดยเส้นทาง R3A (ไทย – สปป.ลาว – จีน) เส้นทาง R3B (ไทย – เมียนมาร์ – จีน) มีท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ที่อำเภอเชียงของ อยู่ระหว่างดำเนินการ กำลังก่อสร้างมีการพัฒนาโครงข่ายถนน 4 ช่องจราจร อำนวยความสะดวก สามารถสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านของการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา วัฒนธรรม การเกษตร และ Logistics มีพื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารและสินค้าเกษตรที่สำคัญของภาคเหนือ ได้แก่ ข้าวเจ้าหอมมะลิ ข้าวเหนียว ชา กาแฟ ลิ้นจี่ ลำไย สับปะรด ส้มโอ ขิง ข้าวโพด ปลานิล โคเนื้อ และสุกร และมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ทางธรรมชาติเชิงนิเวศน์ เชิงเกษตร เชิงสุขภาพ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมล้านนา โดยสรุปจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพเพื่อรองรับการเป็นเศรษฐกิจชายแดนอย่างแท้จริง
กรอบแนวคิดด้านพื้นที่การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดเชียงราย • จากการศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนจังหวัดเชียงราย ในช่วงปี 2554-2555 โดยได้กำหนดให้มีการจัดตั้งครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ บทบาทของแต่ละเมืองนั้นมีความต่างกันไปดังนี้ • อำเภอแม่สาย ศูนย์กลางทางการค้าการบริการ ท่องเที่ยว รวมไปถึงการเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Trading City) • อำเภอเชียงแสน เป็นเมืองท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และเมืองโลจิสติกส์ท่องเที่ยวทางแม่น้ำโขง (Port City) • อำเภอเชียงของ เป็นเมืองโลจิสติกส์และบริการขนส่ง และเมืองแวะผ่านสำหรับนักท่องเที่ยว (Logistics City) สรุปภาพรวมศักยภาพจังหวัด ล้อสนับสนุนตามประเด็นยุทธศาสตร์: ด้านสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2558 - 2561 วิสัยทัศน์ : เมืองแห่งการค้าการลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยว รุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรม ล้านนา นำพาประชาอยู่เย็นเป็นสุข แสดงภาพรวมยุทธศาสตร์ของจังหวัดตามแผนพัฒนาจังหวัด ประเด็นยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าการลงทุน และบริการ โลจิสติกส์ เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด กลุ่มอาเซียน+6 และ GMS ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ มาตรฐานสากล และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 6 การรักษาความมั่นคงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป้าประสงค์ 1. เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรสำคัญของจังหวัด 2. เพิ่มสัดส่วนสินค้าเกษตรที่ได้คุณภาพ มาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว 2. เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว 3. เพิ่มจำนวนแหล่งวัฒนธรรม 4. เพิ่มจำนวนปราชญ์ล้านนาและภูมิปัญญาสาขาต่างๆ ได้รับการส่งเสริม สืบสาน และสร้างสรรค์ 1. แก้ไขปัญหาความยากจน 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาของประชาชน 3. ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน 4. ยกระดับบริการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน 5. แก้ไขปัญหาสังคมและลดความเหลื่อมล้ำ 1. เพิ่มฟื้นที่ป่า 2. ยกระดับการพัฒนาเมืองให้มีความสมดุลและยั่งยืน 3. ลดปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยพิบัติ 1. แก้ไขปัญหายาเสพติด 2. ลดปัญหาอาชญากรรม 3. ลดอุบัติเหตุการจราจรทางบก 1. เพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน 2. เพิ่มมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP 13
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องนำเสนอเพื่อพิจารณา2.1 Product Champion/ Critical Issue ตามประเด็นยุทธศาสตร์ และการพัฒนาห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ มติที่ประชุม ที่ต้องการ เห็นชอบกับ Product Champion/ Critical Issue ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ตามที่นำเสนอ เห็นชอบกับ ห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ตามที่นำเสนอ รับทราบ ภาพรวมช่องว่างการพัฒนาข้อมูล (Data Gap Analysis) ของ VC แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์ “ผู้นำเกษตรปลอดภัย มุ่งให้เป็นเมืองน่าอยู่ และใช้ทุนทางปัญญาสร้างรายได้” เศรษฐกิจ /สังคม/สิ่งแวดล้อม เหตุผลสนับสนุน PC/CI ยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาสินค้าเกษตรปลอดภัย เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต • มีการเลี้ยงสุกรมากที่สุดในประเทศ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่จังหวัด เศรษฐกิจ => เกษตร -> ปศุสัตว์ -> สุกร สุกรแปรรูป ในประเด็นยุทธศาสตร์เกษตร ต้องเลือก PC ให้ได้ และแสดง BCG แสดงไว้ด้วย 2.การส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และเพิ่มมูลค่าผลผลิตเชิงสร้างสรรค์ เศรษฐกิจ -> การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม • มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายและมีทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นพื้นฐานการการสร้างคุณค่าและมูลค่าด้านการท่องเที่ยว การบริการ และการผลิต 3.พัฒนาสังคมคุณธรรมและชุมชนเข้มแข็ง สังคม –> สังคมและชุมชนเข้มแข็ง การศึกษา - บุคลากรทางการศึกษามีความเชี่ยวชาญวิชาหลักในระบบการศึกษาที่ไม่เพียงพอ 4. พัฒนาความอุดมสมบูรณ์และคุณภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ เป็นเมืองน่าอยู่ • - มีการบุกรุกพื้นที่ป่าบริเวณแนวชายแดนในการประกอบธุรกิจที่พักและการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม –>เมืองน่าอยู่ Green City 5. พัฒนาการบริหารจัดการและเสริมสร้าง ความมั่นคง สังคม –> ความมั่นคง แรงงานต่างด้าว • มีความต้องการแรงงานไร้ฝีมือจากแรงงานต่างด้าว และเป็นพื้นที่ติดชายแดนและเป็นทางผ่านการแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย จากประเด็นยุทธศาสตร์ต่างๆ วิเคราะห์ จากข้อมูลศักยภาพที่อยู่ในแผน ระบุ PC/CI ในแต่ละประเด็นให้ได้ ใส่เหตุผลสั้นๆ เพื่อ Remind ตนเองในการนำเสนอ 15
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าการลงทุน และบริการ โลจิสติกส์ เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด กลุ่มอาเซียน+6 และ GMS กลยุทธ์ ตัวอย่าง 1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักเพื่ออำนวยความสะดวกทางระบบโลจิสติกส์ รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอาเซียน+6 และ GMS 2. ส่งเสริมความร่วมมือการค้าชายแดนในภาพรวม เพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีทางเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอาเซียน+6 และ GMS 3. พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP และ SMEs เพื่อเพิ่มมูลค่าการแข่งขัน ขอให้จัดทำตารางเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดเป้าหมาย 4 ปี แบบด้านบนนี้ด้วย เพื่อจะได้เห็นการเชื่อมโยงตัวชี้วัดภาพรวมกับตัว CSF – KPI ที่เลือกจัดทำใน VC
VC> L4 : Product Champion: การค้าชายแดน 1 2 3 4 5 โครงสร้างพื้นฐานทางการค้า การลงทุน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมธุรกิจ การพัฒนา การให้บริการ โลจิสติกส์แก่ธุรกิจการค้า พัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย บรรทัดบนสุด : บอกชื่อ VC : Product Champion ต่อมาแสดง VC ที่ปรับ (customize) สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์แล้ว ข้อควรระวัง : การใช้สีที่แตกต่างมีผลต่อการนำเสนอว่ามีความหมายแตกต่างกัน หากจะ hilightหรือเน้นให้ความสำคัญอะไร สามารถใช้สีแตกต่างได้ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ควรทำสีให้ต่างกัน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ มาตรฐานสากล และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กลยุทธ์ 1. พัฒนาคุณภาพเกษตรกร 2. พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และความมั่นคงของอาหาร 3. พัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสมดุลและยั่งยืน 4. เพิ่มผลผลิตพัฒนาคุณภาพ ลดต้นทุน การแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มและการพัฒนาระบบตลาด
การเลือก Product Champion จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ 2 ชนิด ในการค้นหาว่าสินค้าหรือภาคเศรษฐกิจที่ต้องการวิเคราะห์อยู่ในตำแหน่งใด ได้แก่ Market Share สัดส่วนทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ และ Growth อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ และทำการวางตำแหน่ง โดย BCGMatrix 16
Value Chain Product Champion “ข้าวหอมมะลิปลอดภัย/GAP” การวิจัยและพัฒนา(R&D)และโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การแปรรูป การเพิ่มและสร้างคุณค่า การพัฒนาระบบการตลาด การพัฒนา เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร 1 2 3 4 การขนส่งสินค้าและจัดการบริหารสินค้า (Logistics) 5 6 ตัวอย่าง 4.1 โรงสีชุมชน โรงสีสหกรณ์มีจำนวนเพียงพอและได้รับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐานสำหรับการสีข้าวหอมมะลิปลอดภัยชนิดต่างๆ 4.2 ใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาคุณภาพข้าวหอมมะลิปลอดภัยหลังการเก็บเกี่ยว (เช่น การเก็บรักษาข้าวเปลือกให้มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐาน การใช้เครื่องอบลดความชื้นข้าว เป็นต้น) 4.3 ผลผลิตข้าวสารหอมมะลิปลอดภัยได้รับการรับรองคุณภาพข้าวเพื่อการค้าในประเทศ ตามมาตรฐานข้าวปลอดภัยของจังหวัด หรือในกรณีที่เป็นเงื่อนไขการส่งออกให้ต้องมีมาตรฐาน GAP/ GMP/ HACCP 4.4 ใช้เทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อเพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุข้าวหอมมะลิปลอดภัย 4.5 โรงสีชุมชนในกระบวน การผลิตข้าวปลอดภัยของจังหวัดส่วนใหญ่เป็น Zero Waste Industry เช่นโรงสีข้าวสามารถควบคุมการปล่อยของเสียได้/แกลบสามารถขายไปทำเชื้อเพลิง/รำข้าวสามารถนำไปทำน้ำมันรำข้าว 1.1 วิจัยความต้องการข้าวหอมมะลิปลอดภัยของตลาดภายใน ประเทศและต่างประเทศ(เช่นราคา ชนิดข้าว ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น) 1.2 มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและเป็นแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและทนต่อโรค 1.3 พัฒนาปัจจัยการผลิตที่มีความปลอดภัยจากการใช้สารเคมี เช่นการปรับปรุงดินการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารระบบนิเวศน์ในนาข้าว เป็นต้น 1.4 วิจัยและพัฒนาระบบมาตรฐานการปลูกข้าวหอมมะลิปลอดภัยที่เทียบเท่ามาตรฐาน GAP เช่น เกณฑ์มาตรฐาน กลไกและผู้ให้การตรวจรับรองพันธุ์ข้าวและผลผลิตข้าวปลอดภัยทีรวดเร็วและน่าเชื่อถือเทียบเท่ามาตรฐาน GAP 1.5 การพัฒนา ดัดแปลงและเลือก ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัยทั้งกระบวนการ 3.1 ส่งเสริมการรวมกลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3.2 พัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัยทั้งกระบวนการ 3.3 มีเครือข่ายสถาบันการเงิน/กองทุนเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวหอมมะลิปลอดภัย 2.1 ขยายการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัย 2.2 สนับสนุนเกษตรกรในระบบการผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัยที่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรม สาธิต ดูงานด้านการใช้พื้นที่เพาะปลูก การพัฒนาคุณภาพดิน แหล่งน้ำที่ปลอดภัยจากสารเคมี การเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุน เป็นต้น 2.3 เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิปลอดภัย 2.4 เกษตรกรมีแผนการผลิต และแผนการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม(Crop Zoning and planning) 2.5 เกษตรกรมีความสามารถในการจัดการวัตถุดิบเหลือใช้จากการปลูกข้าวปลอดภัยให้เกิดประโยชน์ 6.1 มีระบบตลาดกลางสินค้าข้าวหอมมะลิปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน 6.2 มีระบบตลาดซื้อขายข้าวหอมมะลิปลอดภัยล่วงหน้า 6.3 มีกลไกการกำหนดราคาข้าวหอมมะลิปลอดภัยที่เหมาะสมตามคุณภาพ 6.4 มีการประชา สัมพันธ์และการส่งเสริมการขายที่เหมาะสมกับแผนการผลิตและแผนการเก็บเกี่ยว 6.5 การจัดการข้อมูลการตลาด(Market Intelligence Unit) อย่างมีประสิทธิภาพ 6.6 พัฒนาขีดความ สามารถในการแข่งขันทางการตลาด (เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดกับภาคส่วนต่าง ๆ การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง ) 6.7 มีรูปแบบและตราสัญลักษณ์บรรจุภัณฑ์ข้าวหอมมะลิปลอดภัยและผลิตภัณฑ์จากข้าวปลอดภัยที่ดึงดูด น่าสนใจ ใช้ง่ายและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด 5.1 ส่งเสริมศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าข้าวหอมมะลิปลอดภัยในระดับจังหวัดและระดับกลุ่มจังหวัด เช่น มียุ้งฉาง หรือโกดัง หรือสถานที่รวบรวมสินค้าข้าวที่ได้มาตรฐาน(Warehouse) 5.2 ใช้ระบบการขนส่งข้าวหอมมะลิปลอดภัยที่เหมาะสมมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตั้งแต่แหล่งผลิตไปโรงสีชุมชน และคลังเก็บสินค้าข้าวที่ร่วมในกระบวน การผลิตข้าวปลอดภัยจนถึงตลาด
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : การดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนา เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และเชิงสุขภาพ กลยุทธ์ 1. พัฒนาให้จังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกิดการเชื่อมโยงวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน GMS 2. ส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวช่วง Low Season พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และเพิ่มศักยภาพบุคลากรสู่สากล 3. ส่งเสริมการเรียนรู้ อนุรักษ์ และเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณี สังคม และค่านิยมล้านนา เชื่อมโยงสู่การเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยว
VC> L4 : Product Champion: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ การตลาด การบริหารจัดการ ตัวอย่าง 3 4 1 2 5 6 7 พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ วาง ยุทธศาสตร์/แผนการท่องเที่ยว พัฒนาปัจจัย พื้นฐานด้าน ท่องเที่ยว/ทรัพยากร พัฒนาแหล่งและกิจกรรมท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพมัคคุเทศน์ และบุคลากร พัฒนาระบบบริหาร จัดการการท่องเที่ยว พัฒนาธุรกิจบริการการท่องเที่ยว 22
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข กลยุทธ์ 1. สนับสนุนให้ประชาชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิถีชีวิตเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันของครอบครัว ชุมชน และสังคม 2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับ สนับสนุนการลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3. พัฒนาขีดความสามารถของกำลังแรงงานและการคุ้มครองสวัสดิภาพ 4. พัฒนาระบบบริการด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม 5. พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน พัฒนาสังคมเชิงบูรณาการและเสริมสร้างกลไกการทำงานระหว่างภาคี ภาคสังคม เพื่อเข้าถึงสิทธิและการช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์สู่กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ประสบภัยทางสังคมอย่างทั่วถึง 23
VC> L4 : Critical Issue: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิต ส่งเสริมความอบอุ่นในครอบครัว ยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนของเยาวชน/ชุมชน 1 2 3 ส่งเสริมการพัฒนาสุขภาวะของประชาชนทุกระดับวัย 4 5 6 ขยาย/ปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณะสถานส่วนกลาง 7 การเฝ้าระวัง/ป้องกัน/แก้ปัญหา/การจัดการโรคระบาด/ติดต่อ ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ/การมีงานทำ/รายได้ ตัวอย่าง
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และ ยั่งยืน กลยุทธ์ 1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน 2. ส่งเสริมการพัฒนาเมืองเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3. ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติให้กับชุมชน
VC> L4 : Critical Issue: ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม(ไฟป่าหมอกควัน ) 4 5 6 1 พัฒนาปรับปรุงพื้นที่สีเขียวเขตเมือง/ชุมชน 2 3 ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ป้องกันการพังทลายของดิน การป้องกันและแก้ไขปัญหา ไฟป่าหมอกควัน สร้างความมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ดีจากทุกภาคส่วน พัฒนาระบบกำกับ ติดตามประเมินผล ตรวจสอบ และควบคุมการดำเนินงาน ตัวอย่าง
ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องนำเสนอเพื่อพิจารณา2.2 ช่องว่างการพัฒนาข้อมูล (Data Gap Analysis)
ตัวอย่าง สรุปสถานะรายการข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ” ของจังหวัดเชียงราย ต้องแสดงสรุปภาพรวม Data Gap ที่ได้ทำการเช็คข้อมูลออกมาแล้ว ในทุกๆ VC ประเด็นยุทธศาสตร์ นั่นคือ หากมี 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ ก็จะมี อย่างนี้ 3 หน้า
สรุปสถานะรายการข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”ของจังหวัดเชียงราย VC1 : วางยุทธศาสตร์/แผนการท่องเที่ยว ตัวอย่าง สำหรับตารางแผนผังรายการสถิติทางการ เราทำทุก VC ในทุกประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อใส่ในรายงาน แต่ในการดำเนิน คณะกรรมการ จะนำเสนอเพียงตารางเดียว ของ VC ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่เลือกนำเสนอ ต้องตกลงกับทาง สถิติจังหวัดด้วย ส่วนแผนผังรายการสถิติทางการอื่นๆ เป็นหน้าที่ที่สถิติจังหวัด จะนำเสนอต่อๆ ไปในการประชุมครั้งถัดๆ ไป
สรุปสถานะรายการข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”ของจังหวัดเชียงราย VC2 : พัฒนาระบบบริหาร จัดการ การท่องเที่ยว ตัวอย่าง ตารางแผนผังสถิติทางการของ VC ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่เลือกมานำเสนอ เพียง 1 VC ประเด็นยุทธศาสตร์
สรุปสถานะรายการข้อมูลสถิติที่สำคัญและจำเป็นต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ “การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”ของจังหวัดเชียงราย VC 2 การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน ตารางแผนผังสถิติทางการของ VC ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่เลือกมานำเสนอ เพียง 1 VC ประเด็นยุทธศาสตร์
แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล ตัวอย่าง รายชื่อหน่วยงานหลัก 16 หน่วยงาน ที่บูรณการฐานข้อมูล “ข้าวปลอดภัย” ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 โดยสถิติจังหวัดใน 4 จังหวัดจะเป็นหน่วยประสานและรวบรวมข้อมูล ดังนี้ • สนง.เศรษฐกิจการ เกษตรเขต7 • ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท • ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวลพบุรี • เกษตรจังหวัด ใน 4 จังหวัด • สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัด ใน 4 จังหวัด • เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ใน 4 จังหวัด • โครงการชลประทานจังหวัด ใน 4 จังหวัด • สำนักงานสหกรณ์จังหวัดใน 4 จังหวัด • อุตสาหกรรมจังหวัด ใน 4 จังหวัด • พาณิชย์จังหวัด /การค้าภาย ในจังหวัด 4 จังหวัด • พัฒนาชุมชนจังหวัด ใน 4 จังหวัด • สาธารณสุขจังหวัด ใน 4 จังหวัด • หอการค้าจังหวัด ใน 4 จังหวัด • ธกส.ใน 4 จังหวัด • สภาการเกษตร ใน 4 จังหวัด • กรมการข้าว หากกลุ่มไหน จังหวัดไหน สามารถเช็คความพร้อมของข้อมูล และสามารถทำสรุปผลการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลที่ต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ให้เก็บร่วมกัน หรือเป็นเจ้าภาพหลักในการจัดเก็บได้นั้น จะสามารถนำเสนอหน้านี้ได้ เพื่อให้ผู้ว่าและที่ประชุมเห็นภาพรวมว่าการดำเนินงานต่อไปให้อนาคตจะเป็นยังไง นำเสนอให้ที่ประชุมรับทราบในหลักการ ส่วนวิธีการดำเนินงานต่อไป สถิติจังหวัดจะต้องจัดทำแผนงานให้ (ถ้ายังไม่จบโครงการ ทีมที่ปรึกษาช่วยจัดทำแผน หรือให้คำแนะนำในการจัดทำ แต่ไม่มาช่วยนำเสนอแล้ว)
บทสรุป Data Gap และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล ตัวอย่างชุดข้อมูลสำคัญ ที่มีหน่วยงานจัดเก็บหลายหน่วยงาน ตัวอย่าง
บทสรุป Data Gap และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล(ต่อ) ตัวอย่างชุดข้อมูลสำคัญ ที่ไม่มีข้อมูล เนื่องจากการจัดเก็บไม่ต่อเนื่อง ต้องดำเนินการจัดเก็บเพิ่มเติม ตัวอย่าง 34
บทสรุป Data Gap และข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล(ต่อ) ตัวอย่างชุดข้อมูลสำคัญ ที่ยังไม่มีข้อมูล เนื่องจากการริเริ่มภารกิจใหม่ ต้องมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบและพัฒนาระบบการจัดเก็บ ตัวอย่าง
บทสรุปและข้อเสนอแนะ การจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด(แผนพัฒนาสถิติระดับกลุ่มจังหวัด) 1. การจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ควรใช้หลักการผนึกความมีส่วนร่วมและการสร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วนของกลุ่มจังหวัดอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2. เพื่อให้กลุ่มจังหวัดฯ สามารถได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะการเป็นเส้นทางที่สำคัญไปสู่ประเทศจีน ผ่านเวียนนาม และ สปป. ลาว รวมถึงการเลือกสนับสนุน Product Champion ของจังหวัดให้สอดคล้องกับความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในพื้นที่ ได้แก่ ยางพารา และการท่องเที่ยว 3. กลุ่มจังหวัดควรสนับสนุนให้มีการนำแผนพัฒนาสถิติระดับกลุ่มจังหวัดไปใช้ประโยชน์ในการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี รวมทั้งการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นเครื่องมือหลักในการตัดสินใจและพัฒนางาน ทั้งนี้ควรมีการจัดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญทั้งระดับกลุ่มจังหวัดและระดับจังหวัด โดยในระดับกลุ่มจังหวัด สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ร่วมกับสำนักงานสถิติจังหวัดใน 4 จังหวัด ดำเนินการเกี่ยวกับ > การจัดทำคู่มือการจัดเก็บข้อมูล > การจัดทำคำนิยามคำอธิบายให้เหมาะสมและชัดเจน > การกำหนดผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูลสำหรับรายการข้อมูลตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ให้ชัดเจน > การจัดระบบและวิธีการรับส่งเชื่อมโยงกับผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูล > การจัดอบรม/ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บ การประมวลผลข้อมูลและการประสานการรวมรวมข้อมูลจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบข้อมูล > ประมวลผล และจัดทำ Visualization พร้อมทั้งสรุปวิเคราะห์เสนอผู้บริหารกลุ่มจังหวัดเพื่อพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุก 6 เดือน และ 12 เดือน เป็นต้น สำหรับในระดับจังหวัด สำนักงานสถิติจังหวัดใน 4 จังหวัด ดำเนินการเกี่ยวกับการประสานรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบข้อมูลในแต่ละจังหวัด ตามรายละเอียดคำนิยามคำอธิบาย วิธีการ และระยะที่กำหนด เพื่อจัดส่งให้สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ตัวอย่าง
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องนำเสนอเพื่อทราบ :รายงานสถานการณ์ นำเสนอโดย จนท.วิเคราะห์ ที่มาเรียนกับ ดร.บัญชร) หากทำเสร็จทันก่อนการนัดหมายการประชุมจะต้องมีวาระนี้เพื่อนำเสนอ เดี๋ยวทีมกลางจะช่วยประสานงาน ตรวจสอบ และแจ้งให้
สำหรับข้อมูลที่มีการจัดเก็บปกติ สามารถนำมารายงานสถานการณ์เพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารงานยุทธศาสตร์ ได้ดังตัวอย่าง แผนภาพแสดงพื้นที่เพาะปลูกข้าวของกลุ่มจังหวัด ปี 2553 จำแนกรายอำเภอ ตัวอย่าง จังหวัดชัยนาทมี 8 อำเภอ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก 15 ชนิด ได้แก่ 1.ชัยนาท 1 2,ปทุมธานี 1 3.สุพรรณบุรี 1 4. กข 29 5.กข 31 6.พิษณุโลก 2 7. มะลิ 105 (นาปี) 8.สุพรรณบุรี 3 9.สุพรรณบุรี 90 10.ชัยนาท 2 11.กข 41 12.กข 43 13.กข 47 14.กขผ 1 15.กข 49 • ให้ จนท. วิเคราะห์ ที่เรียนกับ ดร.บัญชร ทำกราฟ แสดงการใช้ข้อมูลสำคัญที่มีการจัดเก็บปกติเพื่อรายงานให้เห็นประโยชน์ว่าหากมีข้อมูลปกติแล้วจะบอกอะไร ได้บ้าง หรือชี้ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเด็นยุทธสาสตร์ที่เลือกมานำเสนออะไรได้บ้าง ทำเป็นตัวอย่าง จังหวัดสิงห์บุรีมี 6อำเภอ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก 7 ชนิด ได้แก่ 1. กข31(ปทุมธานี 80) 2, กข47 (RD47) 3.ชัยนาท 1 4.ปทุมธานี 1 5.พิษณุโลก 2 6.สุพรรณบุรี 1 7.สุพรรณบุรี 3 จังหวัดลพบุรี มี 11 อำเภอ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก 5 ชนิด ได้แก่ 1. ขาวดอกมะลิ 105 2.ปทุมธานี 1 3. สุพรรณบุรี 1 4.กข47 (RD47) 5. กข31(ปทุมธานี 80) จังหวัดอ่างทองมี 7 อำเภอ พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก 7 ชนิด ได้แก่ 1. ข้าวชัยนาท 1 2.ข้าวสุพรรณบุรี 60 3.ข้าว กข 41 4. ข้าวพิษณุโลก 5. ข้าวนาปี 6. ข้าว กข 47 7. ข้าวพื้นเมืองอื่นๆ
ระเบียบวาระที่ 4เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)นัดหมายการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 2