400 likes | 558 Views
สัมมนาพืชสวน Seminar (1202 480) อ.บุษบา บัวคำ. การเขียนรายงานสัมมนา. วิชาสัมมนาคือ. วิชาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของ อาจารย์ นักศึกษาไป ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองในหัวข้อที่ยังไม่เคยมีการศึกษา ค้นคว้ามา ก่อน เพื่อหาความรู้หรือข้อสรุปใหม่ๆ มาเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน
E N D
สัมมนาพืชสวนSeminar(1202 480)อ.บุษบา บัวคำ
วิชาสัมมนาคือ.... • วิชาที่มีกลุ่มนักศึกษาเรียนร่วมกันภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ • นักศึกษาไปศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองในหัวข้อที่ยังไม่เคยมีการศึกษาค้นคว้ามาก่อน เพื่อหาความรู้หรือข้อสรุปใหม่ๆ มาเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน • ออกมาบรรยายในที่ประชุมของนักศึกษาในชั้นเรียน • มีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้ต่างๆ ระหว่างกัน
จะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไรจะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไร • กำหนดหัวข้อเรื่องที่สนใจศึกษาค้นคว้า • ติดต่อ อ.ที่ปรึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง • ค้นคว้าหาบทความที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้น • วางเค้าโครงเรื่องย่อยในการเขียนตามบทความที่ค้นคว้ามาได้ • เขียนขยายความตามเค้าโครงเรื่องที่วางไว้พร้อมทั้งแสดงเอกสารอ้างอิงจากบทความที่ค้นคว้าและปฏิบัติตามข้อกำหนดในการเขียนสัมมนา เช่น ต้องมีส่วน บทคัดย่อ สรุป และบรรณานุกรม (ร่างที่ 1 )
จะเริ่มต้นเรียนวิชาสัมมนาได้อย่างไร (ต่อ) • แก้ไขร่างที่ 2, 3,…จนกระทั่งอ.ที่ปรึกษาเห็นชอบให้นำเสนอในที่ประชุมได้ • จัดทำสื่อในการนำเสนอ • ซ้อมการนำเสนอให้เป็นไปตามเวลาที่กำหนด • นำเสนอในที่ประชุม
รูปเล่มสัมมนา • โครงสร้างหลักของรูปเล่มสัมมนาประกอบด้วย 2 ส่วนคือ • ส่วนบทนำ • ปกนอก • ปกใน • ใบรับรองสัมมนา • บทคัดย่อ • กิตติกรรมประกาศ • สารบัญ • สารบัญตาราง (ถ้ามี) • สารบัญภาพ (ถ้ามี)
รูปเล่มสัมมนา (ต่อ) • ส่วนเนื้อความ • บทนำ (ความนำ) • เนื้อหา • สรุป • เอกสารอ้างอิง • ภาคผนวก (ถ้ามี)
หลักการตั้งชื่อเรื่องหลักการตั้งชื่อเรื่อง • ควรจะสั้น กะทัดรัด และครอบคลุมใจความในเรื่องไว้ทั้งหมด (ไม่ควรสั้นกว่า 5 คำ หรือยาวกว่า 20 คำ) • การตั้งชื่อเรื่องควรเลือกคำที่เด่น น่าสนใจและจูงใจให้อ่านเรื่องเต็ม • ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ไม่มีความหมายหรือไม่มีความสำคัญที่ชัดเจนและไม่ควรใช้ชื่อย่อ คำย่อ ศัพท์เทคนิค • ควรมีคุณสมบัติ 4 อย่างคือ (ไพศาล, 2545) • แสดงเอกลักษณ์ทางวิชาการ • มีคำสำคัญ (keyword) • มีคำดรรชนี (index word) • แสดงวัตถุประสงค์
ปกนอกและใน • ชื่อเรื่อง - ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ • ชื่อ-นามสกุล นักศึกษา นาย .............................................. นางสาว ........................................ • สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี • ปีการศึกษา ......................
ใบรับรองสัมมนา • ชื่อเรื่อง - ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ • ชื่อ-นามสกุล นักศึกษา • ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ที่ปรึกษา • วัน เดือน ปี • คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา ..............
กิตติกรรมประกาศ • เนื้อหาข้อความขอบคุณ • ชื่อ-นามสกุล • เดือน ปี พ.ศ.
สารบัญ • เรื่อง • หน้า • จัดทำในรูปแบบตาราง (ไม่มีเส้น)
บทนำ • ที่มาที่ไป/เหตุผล • ความสำคัญ • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่จะนำเสนอ 1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่จะนำเสนอ 2. ค่อยๆ บีบประเด็นให้แคบลง 3. ชี้ให้เห็นประเด็นนำเสนอ 4. บอกวัตถุประสงค์ 5. เข้าสู่เนื้อหา
หลักการเขียนบทนำ • เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด สำคัญอย่างไร ตอบคำถามว่าเราทำเรื่องนี้ทำไมและเมื่อได้ทำการค้นคว้าทดลองแล้วได้ประโยชน์อย่างไร • ควรเลือกใช้ข้อความที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการทดลอง และการวิจารณ์ที่จะปรากฏในบทความนั้น
การเขียนเนื้อเรื่อง • ตัวเนื้อเรื่อง (text) จะต้องเรียงเป็นขั้นเป็นตอนให้เข้าใจง่าย เรียบเรียงให้มีความกลมกลืน • ควรจะแทรกเสริมด้วยตัวเลขข้อมูล ตารางต่างๆ ตามที่ได้รวบรวมมา เมื่อเสนอตารางมา ก็จะต้องเสนอผลเป็นคำพูดมาด้วย หากจะมีการวิเคราะห์วิจารณ์ก็ย่อมทำได้เช่นกัน • ไม่ใช่การนำบทความวิจัยมาต่อกันโดยที่ยังมีส่วนที่เป็นวิธีการทดลอง ผลการทดลอง และวิจารณ์ผลการทดลอง
วัตถุประสงค์ • อยู่ท้ายสุดของย่อหน้าสุดท้ายในส่วนของบทนำ • ชัดเจน และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ • บอกทิศทาง และขอบเขตของบทความสัมมนา • ตัวอย่าง - เพื่อนำเสนอ - เพื่อเปรียบเทียบ - เพื่อวิเคราะห์ - เพื่อวิจารณ์ - เพื่อชี้แนะ
เนื้อหา • เขียนหัวข้อย่อยที่เราต้องการเขียน • เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่อง และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ • เขียนเนื้อหาในแต่ละหัวข้อย่อยจนครบ • ต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างย่อหน้า/บทความที่นำมาเสนอ • มีการอ้างอิงในเนื้อหา 1. อ้างอิงบทความ (ต้นบทความ/ท้ายบทความ) 2. อ้างอิงตาราง/ภาพ (ต้นฉบับ/ดัดแปลง)
ตัวอย่างหัวข้อย่อย • ชื่อเรื่อง “วัสดุห่อผลกับคุณภาพของผลมะม่วง” - ความสำคัญทางเศรษฐกิจของมะม่วง - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ - แมลงศัตรูพืชกับคุณภาพผลมะม่วง - ประเภทของวัสดุห่อผล - คุณสมบัติของวัสดุห่อผล - อิทธิพลของวัสดุห่อผลต่อคุณภาพผล (งานวิจัย)
โครงสร้างของย่อหน้า • ประโยคนำ • กลุ่มประโยคสนับสนุน • ประโยคสรุป (........................ประโยคนำ.............................) (............................ .........................กลุ่มประโยคสนับสนุน................................................. ........................................................................................................) (...........................................ประโยคสรุป........................................)
การเขียนตาราง • ชื่อตารางตัวหนา ใช้คำว่า “ตารางที่” และอยู่ตำแหน่งบนของตาราง • ถ้าชื่อตารางยาวเกิน 1 บรรทัด ให้พิมพ์อักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 2 ตรงกับอักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 1 • นำเสนอเฉพาะข้อมูลที่เรากล่าวถึง • หมายเหตุ (ถ้ามี) • ระบุ แหล่งที่มา พร้อมอ้างอิงบริเวณด้านล่างของตาราง • ให้แทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึงในบทความ โดยลำดับต่อจากเนื้อหานั้นๆ
การเขียนภาพ • ชื่อภาพตัวหนา ใช้คำว่า “ภาพที่” อยู่ตำแหน่งล่างของภาพ • ถ้าชื่อภาพยาวเกิน 1 บรรทัด ให้พิมพ์อักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 2 ตรงกับอักษรตัวแรกของบรรทัดที่ 1 • หมายเหตุ (ถ้ามี) • ระบุ แหล่งที่มา พร้อมอ้างอิงบริเวณตำแหน่งล่างของภาพใต้ชื่อภาพ • ให้แทรกในเนื้อหาที่กล่าวถึงในบทความ โดยลำดับต่อจากเนื้อหานั้นๆ
สรุป • การตอบคำถามของวัตถุประสงค์ของการนำเสนอรายงานสัมมนาครั้งนี้ให้กระชับ และเพื่อประโยชน์ให้ผู้อ่านนำไปใช้ต่อได้ • สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และชื่อเรื่อง • เป็นการตอบคำถามของวัตถุประสงค์ • ครอบคลุม กระชับ และชัดเจน • ไม่มีการอ้างอิง
บทคัดย่อ • ชื่อเรื่อง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ • ชื่อ-นามสกุล นักศึกษา • สาขาวิชา ........... • ชื่อ-นามสกุล อาจารย์ที่ปรึกษา ................ • บทคัดย่อ • คำสำคัญ
การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) • เขียนบทคัดย่อเมื่อได้เขียนบทความจบแล้ว • บทคัดย่อควรมีความยาวประมาณ 100-250 คำ (5-10 บรรทัด) • บทคัดย่อคือการย่อทุกโครงสร้างของบทความดึงมาเฉพาะส่วนสำคัญ • บทคัดย่อที่ดีต้องมีใจความ 5 ส่วน คือ • ที่มาของปัญหา หรือ หลักการและเหตุผล • วัตถุประสงค์ • เนื้อเรื่อง (แนวคิด ประเด็นที่นำเสนอ) กระชับ และครอบคลุม • ผลสรุปที่สำคัญๆ • บทคัดย่อจะไม่มีคำนำยืดยาว ไม่มีการอ้างเอกสารอ้างอิง ไม่มีตาราง แต่มีตัวเลข หรือผลที่สำคัญๆ เท่านั้น
ข้อควรระวังของการเขียนบทคัดย่อข้อควรระวังของการเขียนบทคัดย่อ • ไม่มีการอ้างอิง • ภาษาที่ใช้ต้องตรงประเด็น ลดคำที่ไม่จำเป็น • ต้องมีความเชื่อมโยงกันในทุกๆ ส่วน: เกริ่นนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา สรุป • ตัวสะกดต้องถูกต้อง • ชื่อวิทยาศาสตร์ต้องเอน • คำสำคัญที่ดี ต้องไม่ซ้ำกับชื่อเรื่อง • มีเพียง 1 หน้า A4 เท่านั้น
เอกสารอ้างอิง • เอกสารที่อ้างอิงต้องสอดคล้องกับในเนื้อหา • เรียงลำดับตามตัวอักษร ก......ฮ • ภาษาไทย ก่อน ภาษาอังกฤษ • ในกรณีมีชื่อผู้แต่งคนแรกเหมือนกัน ให้ดูคนถัดไปเรื่อยๆ • ในกรณีที่มีผู้แต่งคน/ชุดเดียวกัน ให้เรียงตามปี พ.ศ./ค.ศ. จากน้อยไปมาก • ในกรณีมีผู้แต่งคน/ชุด และปีเดียวกัน ให้เติม ก ข ฯ (ภาษาไทย) หรือ a b .. (ภาษาอังกฤษ) ต่อท้ายปีทั้งในเอกสารอ้างอิง และเนื้อหา
เอกสารอ้างอิง • เอกสารที่นำมาอ้างอิงบรรทัดแรกชิดซ้าย บรรทัดที่ 2 เป็นต้นไป ให้ tap เข้าไป 1 เคาะ หรือ 0.5 นิ้ว • เอกสารอ้างอิงแต่ละชนิดมีการเขียนแตกต่างกัน ให้ตรวจสอบในคู่มือการนำเสนอปัญหาพิเศษ • http://www.agri.ubu.ac.th/docs/handout_of_special_problem53.pdf
การพิมพ์รายงานสัมมนา 1. ตัวพิมพ์ • พิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวพิมพ์ TH Sarabun PSK เนื้อเรื่องใช้ขนาด (font size) 16 หัวเรื่องใช้ขนาด 18 2. กระดาษที่ใช้พิมพ์ • กระดาษขาวไม่มีบรรทัด ขนาดมาตรฐาน A4 ตั้งแต่ 70 แกรมขึ้นไปใช้เพียงหน้าเดียว 3. การเว้นที่ว่างริมขอบของกระดาษ • ขอบกระดาษ บน 2.5 ซ.ม. ล่าง 2.5 ซ.ม. ซ้าย 3.5 ซ.ม. ขวา 2.5 ซ.ม. ระยะขอบ 0 ซ.ม. หัวกระดาษ 1.25 ซ.ม. ท้ายกระดาษ 1.25 ซ.ม.
การพิมพ์รายงานสัมมนา (ต่อ) 4. การเว้นระยะในการพิมพ์ • การเว้นระยะบรรทัดก่อนขึ้นหัวข้อใหม่ 1 บรรทัดพิมพ์ • ถ้าพิมพ์คำสุดท้ายไม่จบในบรรทัดนั้น ๆ ให้ยกคำนั้นไปพิมพ์ในบรรทัดต่อไป เช่น ปฏิบัติการ ไม่ให้แยกเป็น ปฏิบัติ-การ เป็นต้น 5. การลำดับหน้า • ในการลำดับหน้าส่วนบทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ และสารบัญ ให้ใช้ตัวอักษรเรียงลำดับพยัญชนะในภาษาไทย (ก, ข, ค, ง, จ, ฉ, ช,.........) • จากนั้นตั้งแต่บทนำให้ลำดับหน้าโดยใช้หมายเลข 1, 2, 3,....... โดยให้อยู่แนวเดียวกับขอบขวามือ ห่างจากขอบบน และขอบขวา 1 นิ้ว ใช้ตัวพิมพ์ TH Sarabun PSK ขนาด 16 เช่นเดียวกับเนื้อหา
การพิมพ์รายงานสัมมนา (ต่อ) 6. การวางลำดับและการพิมพ์หัวข้อ • หัวข้อใหญ่ ให้พิมพ์กลางหน้ากระดาษ ตัวหนา ขนาด 18 พอยท์ ไม่ขีดเส้นใต้ • หัวข้อย่อย ให้พิมพ์ติดชิดริมซ้ายของกระดาษ ตัวหนา ขนาด 16 พอยท์ ไม่ขีดเส้นใต้ • การที่จะมีตัวอักษรหรือตัวเลขกำกับหัวข้อหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และถ้าเลือกใช้อย่างใดแล้วให้ใช้อย่างนั้นไปจนตลอดเล่ม
การพิมพ์รายงานสัมมนา (ต่อ) 7. ตาราง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ กราฟ • ตาราง ประกอบด้วยลำดับที่ของตาราง ชื่อของตาราง ส่วนข้อความและที่มาของตาราง ให้พิมพ์อยู่ในหน้าเดียวกันทั้งหมด • ขนาดของตารางไม่ควรเกินกรอบของหน้ารายงาน