270 likes | 629 Views
SSC290 Environment and Development. มนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. การบรรยายครั้งที่ 1. ผศ. ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล. มนุษย์กับธรรมชาติ
E N D
SSC290 Environment and Development มนุษย์ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การบรรยายครั้งที่ 1 ผศ. ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
มนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์กับธรรมชาติมีสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น โดยในยุคแรกธรรมชาติจะมีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างมากมายโดยเฉพาะในช่วงที่มนุษย์มีความรู้และเทคโนโลยีไม่มากนัก แต่ในยุคปัจจุบันมนุษย์ มีความรู้/เทคโนโลยีสูง และก้าวหน้า ทำให้มนุษย์กลับมามีอิทธิพลเหนือธรรมชาติ มากมายมหาศาล และด้วยความโลภหรือความรู้เท่าไม่ถึงการ หรือความรู้น้อยด้อยปัญญาของคนบางกลุ่ม/บางสังคม ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
ทำให้เกิดความผิดพลาดในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เช่น ตัดไม้ทำลายป่าอย่างขนานใหญ่ ทำลาย แร่ธาตุ ทำให้เกิดมลพิษต่างๆ อาทิ น้ำเสีย ดินเป็นพิษ หรือเสื่อมคุณภาพ อากาศเสีย ฯลฯ ทำให้ธรรมชาติขาด ความสมดุล ซึ่งส่งผลเสียถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และธรรมชาติ ทำให้มนุษย์ไม่เพียงแต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้อย่างเคยเท่านั้นหากแต่ธรรมชาติ ยังเป็นพิษภัยแก่มวลมนุษย์อีกด้วย ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มนุษย์ดั้งเดิมดำรงชีวิตที่ผสมผสานกับธรรมชาติ มีอะไรก็กินอย่างนั้น ไม่มีการสะสมทรัพยากร เพราะทรัพยากรมีมาก แต่จำนวนคนมีน้อย ต่อมามนุษย์เริ่มพัฒนาความคิดทำให้มีเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ เกิดขึ้น เช่น มีด หอก ฯลฯ ใช้ในการล่าสัตว์ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
เมื่อเข้าสู่ยุคเกษตรกรรมมีการจับสัตว์ต่างๆ มาเลี้ยง ทำให้มีของเหลือกินเหลือใช้ในครัวเรือน จึงเกิดการแลก เปลี่ยนทรัพยากรกันขึ้น ด้านระบบเศรษฐกิจ มีการพัฒนาจนถึงขีดจำกัด ทำให้มีการแย่งชิงและทำลายทรัพยากรกันมากขึ้น ผลที่ตามมาก็คือสภาพแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
ความหมายของสิ่งแวดล้อมความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมมีอิทธิพล เกี่ยวโยงถึงกันเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบ จากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้าง หรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฎจักรที่เกี่ยวข้องกัน ไปทั้งระบบ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมมีองค์ประกอบที่สำคัญๆ ดังนี้ 1. ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ 2. เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม 3. มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ 4. อำนวยประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิตฯ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
ลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อมลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมโดยธรรมชาติจะมีลักษณะเฉพาะตัวดังนี้ :- 1. มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น ต้นไม้ ดิน น้ำ ฯลฯ2. ไม่อยู่โดดเดี่ยวในธรรมชาติ3. มีความต้องการสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เสมอ4. อยู่กันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า ระบบนิเวศ5. มีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์ต่อกันเป็นลูกโซ่6. มีลักษณะทนทานและความเปราะแตกต่างกัน7. มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
ประเภทของสิ่งแวดล้อม 1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ 1.1 สิ่งที่มีชีวิต (Biotic Environment) 1.2 สิ่งที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) 2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น 2.1 สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อมที่สามารถมองเห็นได้ 2.2 สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมความสำคัญของสิ่งแวดล้อม 1.การดำเนินชีวิตของมนุษย์ :มนุษย์ต้องพึ่งพิงสิ่งแวดล้อมเพื่อสนองความต้องการด้านปัจจัย 4 อาทิ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และสุขภาพอนามัย 2. การตั้งถิ่นฐานของประชากร 3. ส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ : สีของผิวหนัง ขนาดของร่างกาย และระบบการหายใจ เป็นต้น 4. ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและกิจกรรมทาง ด้านการเมือง ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 1. ความจำกัดในตัวมนุษย์ 2.มนุษย์กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 3.มนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม 4.การจัดการสิ่งแวดล้อม ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
ความจำกัดในตัวมนุษย์ ความจำกัดในตัวมนุษย์ - มนุษย์ยังไม่สามารถหาคำตอบในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ทั้งหมด เพราะมนุษย์เองมีความจำกัดในระบบประสาทที่จะรับรู้ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ทั้งที่อยู่ใกล้ตัวหรือไกลตัวออกไป ดังนั้นจึงมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างในธรรมชาติหรือในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ยังไม่มีความรู้- ความจำกัดในตัวมนุษย์นี่เองทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อมผิดพลาด. ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
มนุษย์กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 1. ยุคเริ่มล่าสัตว์2. ยุคใช้เครื่องมือล่าสัตว์และเก็บของป่า3. ยุคเกษตรกรรม 4. ยุคอุตสาหกรรม 5. ยุคเทคโนโลยีและการสื่อสาร ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
1. ยุคเริ่มล่าสัตว์ - มนุษย์เร่ร่อนอยู่ตามธรรมชาติที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต - จำนวนประชากรในแต่ละบริเวณ จะถูกควบคุมโดยอาหาร - ยุคนี้มนุษย์มีจำนวนน้อย - อาหารและทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ จึงมีให้บริโภคอย่างสมบูรณ์ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
2. ยุคใช้เครื่องมือล่าสัตว์และเก็บของป่า -สามารถประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ ที่เป็นหิน - มนุษย์สามารถล่าสัตว์ขนาดใหญ่ได้ และสามารถเก็บ ของป่ามาบริโภคได้มากขึ้น - มีการตั้งถิ่นฐานรวมกันเป็นสังคมและแบ่งปันอาหารกัน - มนุษย์ยุคนี้ล่าสัตว์ได้มากจนสัตว์บางชนิดเกือบสูญพันธุ์ - เริ่มรู้จักการใช้ไฟ และสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ได้มาก ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
3. ยุคเกษตรกรรม -มนุษย์เริ่มรู้จักการจับสัตว์ป่ามาเลี้ยงและการเพาะปลูก - พื้นที่ป่าไม้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เพาะปลูก - ประชากรเพิ่มมากขึ้น - มีการสร้างหมู่บ้าน เมือง และสังคมแบบใหม่เกิดขึ้น - ยุคนี้การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นลักษณะของ การเปิดพื้นที่ป่าไม้ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
4. ยุคอุตสาหกรรม - เป็นยุคที่มนุษย์พยายามแปรรูปทรัพยากร/วัตถุดิบต่างๆ ให้เป็นสินค้า เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีเพิ่มมากขึ้น - การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 ทำให้มนุษย์มีความเชื่อว่า วิทยาการมีอำนาจเหนือธรรมชาติ และสามารถควบคุมโรคภัยได้หลาย ชนิด จึงทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น - ทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิดรวมทั้งพลังงานถูกนำมาใช้อย่างมากมาย - ด้านเกษตรกรรม มีการผลิตเพื่อเป็นการค้ามากขึ้น ปุ๋ยเคมี และยาฆ่า แมลงถูกนำมาใช้ในการเพิ่มผลผลิตอย่างเต็มที่ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
5. ยุคเทคโนโลยีและการสื่อสาร สังคมปัจจุบันเราสามารถติดตามสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลกด้วยการ “กดปุ่ม” เราสามารถติดต่อซื้อขายโดยผ่านคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายได้ ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้อาจไม่เคยปรากฏเมื่อ 5-10 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อพูดคุยกับคนทุกทั่วโลก เราสามารถส่งสารไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยเครื่องโทรสาร เราสามารถดูทีวีได้ถึง 200 กว่าช่อง เดิมเราไม่เคยมีใครรู้จัก โรคเอดส์ โรคซาร์ส ในปัจจุบันคนตายจากโรคเอดส์ในแต่ละปี จำนวนไม่น้อย ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
อย่างไรก็ตามในยุคเทคโนโลยีและการสื่อสารได้ทำให้ประชากรมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงในหลายๆ อย่างก็ได้ก่อให้เกิดปัญหา แม้ว่าคนบางคน บางองค์กรและบางสถาบันจะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ ในสภาวะเช่นนี้ได้นำไปสู่การไร้ระเบียบทางสังคมเป็นระยะๆ ไป วิถีชีวิตเก่าๆ ค่อยๆ ถูกทำลายและจางหายไป วิถีชีวิตใหม่ๆ ที่ได้รับการพัฒนาก็จะเข้ามาแทนที่ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
การเปลี่ยนแปลงความคิดและค่านิยม ได้นำไปสู่การเปลี่ยน แปลงในด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ในทำนองกลับกันการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ด้านบทบาทและความสัมพันธ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ในยุคเทคโนโลยีฯ มนุษย์จึงหันมาสนใจเรื่องมลภาวะที่จะนำไปสู่ความคิดใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เช่น รถที่ก่อมลพิษน้อยลง การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ก็จะได้รับความสนใจมากขึ้น เป็นต้น ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
มนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม กฏเกณฑ์ 1. การเปลี่ยนแปลงต้องคล้อยตามธรรมชาติ 2. คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับสัตว์และสิ่งแวดล้อม 3. สิ่งมีชีวิตมักจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดที่ดียิ่งขึ้น 4. มนุษย์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง 5. การเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงเกินไปสิ่งมีชีวิต อาจจะตายได้ ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
การจัดการกับสิ่งแวดล้อมการจัดการกับสิ่งแวดล้อม หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมอาจ มีหลายวิธี แต่วิธีที่เป็นหลักการทั่วไปมี 3 วิธีการคือ1.หลักการสงวน: เป็นหลักการที่ใช้กับทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังจะหมดไป ได้แก่ สัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ เช่น กระซู่ โคไพร ละมั่ง และเนื้อทราย เป็นต้น 2.หลักการอนุรักษ์:เป็นแนวทางในการนำทรัพยากรฯ มาใช้ด้วยวิธีการที่ฉลาด/เหมาะสม/ลดการสูญเสียให้น้อยที่สุด3.หลักการพัฒนา: เป็นหลักการช่วยให้มีการปรับปรุง/แก้ไขสิ่งแวด ล้อมให้ดีขึ้นจนเหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ให้มากที่สุด ผศ.ดร. ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
14 มกราคม วันทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ (National Forest Conservation Day) 2 กุมภาพันธ์ วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wet Land Day) 21 มีนาคม วันป่าไม้โลก 22 มีนาคม วันอนุรักษ์โลก 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก (Earth Day) 22 พฤษภาคม วันความหลากหลายทางชีวภาพ (International Biodiversity Day) วันวิสาขบูชา วันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติ 5 มิถุนายน วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) 17 มิถุนายน วันต่อต้านปัญหาภัยแล้งและฝนแล้งของโลก 11 กรกฎาคม วันประชากรโลก
1 กันยายน วันสืบ นาคะเสถียร (Seub Naksatien) 13 กันยายน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ ลำดับ 110 (2541) 16 กันยายน วันโอโซนโลก (Ozone Day) 21 ตุลาคม วันรักษ์ต้นไม้ประจำชาติ (National Annual Tee Care Day) 16 พฤศจิกายน วันพิทักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก 4 ธันวาคม วันสิ่งแวดล้อมไทย 5 ธันวาคม วันพ่อสร้างสรรค์ ป่าสวย น้ำใส สิ่งแวดล้อมไทยงดงาม 9-13 ธันวาคม สัปดาห์อนุรักษ์มรดกโลก 15 ธันวาคม45 ปีสากลว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่า