100 likes | 371 Views
FTA. Free Trade Area Bilateral Agreement. FTA ; Free Trade Area. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA)
E N D
FTA Free Trade Area Bilateral Agreement
FTA ; Free Trade Area • เขตการค้าเสรี(Free Trade Area : FTA) • หมายถึงการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่มการทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลังๆนั้นรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (services) และการลงทุนด้วยเขตการค้าเสรีที่สำคัญในปัจจุบันคือ NAFTA และ AFTA และขณะนี้สหรัฐฯอยู่ในระหว่างการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of Americas : FTAA) โดยตั้งเป้าหมายที่จะให้การเจรจาเสร็จสิ้นในปีพ.ศ. 2548 ที่มา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ http://www.dtn.moc.go.th/web/147/index_th.asp?G_id=147
FTA ; Free Trade Area • เขตการค้าเสรี(Free Trade Area : FTA) • เป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มให้เหลือน้อยที่สุด และเก็บภาษีสูงกับประเทศที่อยู่นอกกลุ่มที่มิได้มีการเปิดการค้าเสรีระหว่างกัน โดยจะมีลักษณะเป็นการเจรจาการค้าในแบบ “ทวิภาคี” (รายประเทศ) ไม่ใช่แบบ “พหุภาคี”(หลายประเทศ) เช่น WTO การทำเขตการค้าเสรี ในปัจจุบันจะมุ่งเสรีการบริการและการลงทุนด้วย ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (http://www.dbd.go.th)
FTA ; พันธมิตรการค้า หุ้นส่วนอนาคต • หลังการประชุมเอเปคก่อให้เกิดการเจรจาทวิภาคีเพิ่มเติมมากมาย • ความเชื่อของภาครัฐ • เมื่อสินค้าส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่สัญญาไม่ต้องเสียภาษี สินค้าไทยราคาจะต่ำลง ส่งผลให้ความต้องการซื้อมากขึ้น ภาคการผลิตจะขยายตัว เมื่อความต้องการซื้อมากขึ้น ราคาสินค้าจะปรับขึ้นเองตามกลไก • FTA จะช่วยให้ภาคการผลิตปรับทิศทางสู่มาตรฐานมากขึ้น • ความจริงที่ต้องเผชิญ • ความได้เปรียบเสียเปรียบขึ้นอยู่กับการเจรจาของภาครัฐเท่านั้น • เมื่อเปิดเสรี ประเทศคู่สัญญาสามารถนำสินค้าเข้ามาจำหน่ายตัดราคาสินค้าท้องถิ่นได้ ถ้าหากรัฐขาดการเจรจาเพื่อการปกป้องที่ดี
FTA ; ไทยได้หรือเสีย บทความโดย วิษณุ บุญมารัตน์ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จันทร์ที่ 5 เมษายน 2547 หน้า 15) • “เป็นกับดักเศรษฐกิจที่สามารถเปลี่ยนโฉมหน้าการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างมากมายในอนาคตได้ หากกระทำไปด้วยความไม่รอบคอบ มองประโยชน์เพียงแค่ระยะสั้น โดยขาดการศึกษาให้รอบคอบ และรัดกุมทั้งผลดีผลเสียตลอดจนขาดการเปิดเผยผลการศึกษาต่อสาธารณชน” • FTA อาจเป็นนโยบายการค้าที่รัฐเข้ามามีบทบาทแทรกแซงน้อยที่สุดโดยปล่อยให้เอกชนดำเนินการค้าระหว่างประเทศโดยปราศจากสิ่งกีดขวางและข้อจำกัดเสรีภาพทางการค้า เช่น การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดโควต้าสินค้านำเข้า และการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยรัฐจะไม่ควบคุมหรือกระทำการใดที่เป็นอุปสรรคกีดขวางการค้าระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศดำเนินและขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะช่วยจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและเป็นผลดีกับสวัสดิการเศรษฐกิจและเกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคส่วนรวม
FTA ; ไทยได้หรือเสีย • ภายใต้หลักการ FTA น่าจะมีส่วนเกื้อกูลผลประโยชน์ให้ประเทศมหาอำนาจมากกว่าประเทศที่อ่อนแอกว่า เพราะโลกทุนนิยมไม่ได้มีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ • ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Infant Industry) จะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีความชำนาญและมีปริมาณการผลิตมากกว่าเพราะต้นทุนต่ำกว่าได้ • ก่อให้เกิดปัญหากับอาชีพสงวนบางอย่างของคนไทยได้ • ประเทศมหาอำนาจบางประเทศสร้างกฎหมายภายในและกำแพงการค้าต่างๆ ที่มีลักษณะคุ้มครองการค้าภายในประเทศตนเองเป็นกับดักอยู่แล้ว ในขณะที่ไทยไม่มีกฎหมายดังกล่าวอย่างเข้มข้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ • ตัวอย่าง FTA ที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับจีน • ตัวอย่าง FTA ที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับญี่ปุ่น • จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าประเทศไทยเจรจา FTAA กับอเมริกาสำเร็จ