640 likes | 779 Views
งานแถลงข่าวโครงการติดตามเศรษฐกิจไทย (TEF) ครั้งที่ 1. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ประเด็นแถลงข่าว. นโยบายการคลัง : การใช้จ่ายภาครัฐและภาษี นโยบายการเกษตร นโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม นโยบายการก ระจาย อำนาจ.
E N D
งานแถลงข่าวโครงการติดตามเศรษฐกิจไทย (TEF) ครั้งที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประเด็นแถลงข่าว • นโยบายการคลัง: การใช้จ่ายภาครัฐและภาษี • นโยบายการเกษตร • นโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน • นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม • นโยบายการกระจายอำนาจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นโยบายการคลัง: การใช้จ่ายภาครัฐและภาษี ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัญหาโครงสร้างการคลังปัจจุบันปัญหาโครงสร้างการคลังปัจจุบัน • การจัดเก็บรายได้ไม่อาจเพิ่มได้ทันภาระรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มขึ้น • แม้ว่าฐานะการคลังของรัฐบาลยังมั่นคงที่ทำให้โอกาสการปฏิรูปด้านการคลังอาจทำได้ง่าย แต่ความเสี่ยงทางการคลัง (Fiscal risk) ยังต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน • โครงสร้างภาษีมีการกระจุกอยู่กับภาษีไม่กี่ประเภท ทำให้มีความเสี่ยงความผันผวนรายได้สูง • เป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการไม่อาจใช้มาตรการภาษีที่มีอยู่ในการแก้ไขปัญหาได้ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม (อาศัยภาษีสรรพสามิตเป็นหลัก) และเป้าหมายแก้ไขความเหลื่อมล้ำ • มีช่องว่างการจัดเก็บภาษีที่เป็นผลจากนโยบายรัฐอยู่ในระบบภาษีหลายประเภทที่ทำให้เกิดปัญหาความเป็นธรรมและเหลื่อมล้ำในสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาครัฐยังมี room ในการจัดหารายได้ภาษีให้สูงขึ้นได้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อเสนอแนะ: สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การปฏิรูปด้านรายได้ นโยบายที่ควรทำ • การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเพิ่มรายได้รัฐบาลมากขึ้นที่ควรดำเนินการมานานแล้ว แต่ควรคำนึงความสามารถในการจ่ายภาษีของประชาชนควบคู่กันด้วย • สนับสนุนการนำภาษีมรดกมาใช้ แต่อาจไม่ใช่มาตรการภาษีที่เร่งด่วน • พิจารณาการขยายการลดหย่อนต่างๆ สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อาทิ การลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ร้อยละ 40 ของเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่เกิน 60,000 บาท) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระรายจ่ายของประชาชน • ควรพิจารณาการยกเลิกหรือเลิกการลดหย่อนภาษีต่างๆ ที่อยู่ในระบบภาษีที่ควรมีเพดานจำกัด เช่น LTF เพราะเป็นประโยชน์กับผู้มีรายได้ระดับกลางถึงสูงมากกว่าช่วยผู้มีรายได้น้อย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การปฏิรูปด้านรายได้ นโยบายที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างควรได้รับความสำคัญมากกว่าที่เป็น • หากนำการคืนภาษีเงินโอนเพื่อผู้มีรายได้น้อย (Negative income tax) มาใช้จริง ต้องมีการกำกับตรวจสอบผู้รับประโยชน์อย่างจริงจัง • ควรพิจารณาสิทธิพิเศษการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ควบคู่กับการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล • ควรพิจารณาการนำกฎหมายมาตรการการคลังสิ่งแวดล้อมมาใช้เพื่อกำกับธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสังคม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การปฏิรูปด้านรายได้ นโยบายที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม • การพิจารณาภาษีที่มุ่งส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการไทยให้ลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม AEC ที่นำไปสู่การแก้ไขรายละเอียดของกฎหมายภาษีเพื่อป้องกันการโอนราคา (transfer pricing) ที่อาจเกิดจากช่องว่างของการเก็บภาษีที่แตกต่างกันระหว่างประเทศ • เมื่อมีการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ ต้องมีการพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บภาษีที่มอบให้แก่ อปท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การปฏิรูปด้านรายจ่าย นโยบายที่ควรทำ • การเร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของรัฐบาล เนื่องจากภาวะการขยายตัวเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าศักยภาพแท้จริง • การพิจารณาประเภทรายจ่ายเพื่อเป้าหมายแก้ไขความเหลื่อมล้ำควรมีความชัดเจนและตรงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง มองถึงประโยชน์ของผู้รับมากกว่าการทำแบบเหวี่ยงแหครอบคลุมทั้งหมด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การปฏิรูปด้านรายจ่าย นโยบายที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม • นำเป้าหมายสัมฤทธิผลการทำหน้าที่ของหน่วยราชการ (Key Performances) ที่ไม่ใช่ผลสำเร็จของการทำหน้าที่ (Process) มาใช้ในการพิจารณาตัดลดงบประมาณที่ฟุ่มเฟือย • พิจารณานำกฎหมาย พรบ. การเงินการคลัง พ.ศ. ... ที่เคยยกร่าง มาใช้เพื่อเป็นการวางรากฐานกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลังของภาครัฐในระยะยาว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อเสนอปฏิรูปการบริหารราชการข้อเสนอปฏิรูปการบริหารราชการ • ปรับการทำหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความซ้ำซ้อนการทำงาน เพิ่มโอกาสการเพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของรัฐบาลมากขึ้น • ลดภาระภาคเอกชนจากกฎระเบียบราชการที่ไม่จำเป็น • กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์หรือ KPIs แท้จริงจากการทำหน้าที่ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้าง accountability ของหน่วยงาน ที่ต้องเชื่อมโยงกลับสู่การใช้ทรัพยากรของประเทศ ทั้งที่อยู่ในรูปของงบประมาณ และไม่ใช่งบประมาณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นโยบายการเกษตร รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล (ซูซูกิ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมไทยความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมไทย • ประเภทของเกษตรกร • เกษตรชลประทาน เกษตรนาน้ำฝน • เกษตรกรเจ้าของที่ เกษตรกรผู้เช่าที่ แรงงานเกษตร • เกษตรกรในเขตชลประทานจะทำการเกษตรเต็มเวลา แต่นอกเขตชลประทานส่วนใหญ่หารายได้จากแหล่งอื่นด้วย และมีรายได้กว่าครึ่งจากนอกภาคเกษตร • ภาคเกษตรขาดแคลนแรงงาน, ขนาดไร่นาเฉลี่ยต่อครัวเรือนใหญ่ขึ้น • ประสบทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม • แนวโน้มเกษตรพันธะสัญญาสูงขึ้น และมีการรวมตัวในแนวดิ่งของธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป้าหมายของข้อเสนอทางนโยบายเป้าหมายของข้อเสนอทางนโยบาย • ให้เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพเกษตรโดย • เพิ่มมูลค่าผลผลิตต่อแรงงานและรายได้สุทธิของครัวเรือน • ลดความเสี่ยงด้วยการลงทุนในข้อมูล เทคโนโลยี และการจัดการน้ำ • มีระบบสวัสดิการ คนมีแนวโน้มออกจากภาคเกษตรอยู่แล้ว หากไม่มีการแทรกแซงของรัฐ สิ่งที่รัฐควรทำคือ ทำอย่างไรให้คนที่ยังอยู่ในภาคเกษตรสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยรัฐมีแผนและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเกษตรให้ถูกทิศทางอย่างเพียงพอโดยไม่ต้องบิดเบือนราคา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อเสนอแนะ: สิ่งที่รัฐบาลไม่ควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.1. อย่าโฆษณาโครงการเกินจริง • เพราะ “รายได้” ในโครงการของรัฐ มักหมายถึง “รายรับ” ที่ลืมหักค่าใช้จ่ายของเกษตรกร และของสังคม “รายได้สุทธิ = รายรับ – รายจ่าย” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. อย่าติดกับดักนโยบายแทรกแซงราคาผลผลิต • เพราะยากที่จะจัดการราคา และยากที่จะควบคุมปริมาณการผลิตและคุมราคาตลาด(โลก)ได้ (ตัวอย่างเช่น ข้าว ยาง) ราคาแทรกแซงสูงเกินไป เกษตรกรปลูกมากขึ้น (อาจปลูกนอกพื้นที่โซนนิ่ง) ราคาตก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. อย่ามุ่งส่งเสริมการขยายการผลิตโดยไร้ขอบเขต • เพราะเมื่อผลิตมาก ราคาที่ไร่นาจะตกต่ำ (เช่น ยางพารา) รัฐบาลจำเป็นต้องมีแผนพัฒนาการเกษตรทั้งระบบที่ไม่ใช่เพียงแผนแยกรายสินค้า และมีข้อมูลในการตัดสินใจเชิงนโยบายที่ดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. หลีกเลี่ยงนโยบายที่กระทบฐานการผลิตของเกษตรกรยากจนผู้ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก • เช่น ทำให้ไร้ที่ทำกิน/ต้องอพยพ /ดินและน้ำเสื่อมเพราะให้ตั้งโรงงานใกล้ๆ (สิทธิของผู้อยู่ก่อน) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อเสนอแนะ: สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. ดูแลราคาปัจจัยการผลิต • โดยกำกับกติกา ลดการผูกขาดและอำนาจตลาดของผู้ขายพันธุ์ ขายปุ๋ย ขายยา ไม่ใช่โดยการอุดหนุนปัจจัยการผลิต (รัฐซื้อมาแจกหรือขายราคาถูก) เพราะเป็นช่องทางคอรัปชั่นและเกษตรกรได้ของคุณภาพต่ำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. รัฐลงทุนด้านข้อมูล,ติดตามข้อมูล และให้ข้อมูลแก่เกษตรกร • ข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์ ครบถ้วน และเห็นแนวโน้มในอนาคต จะทำให้เกษตรกรตัดสินใจได้ดีขึ้นและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา • เน้นเพิ่มคุณภาพผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยง (เช่น การพัฒนาพืชพันธุ์ดี การพัฒนาเครื่องจักรทดแทนแรงงานที่หายาก) 2 1 เมล็ดพันธุ์ เพิ่มมูลค่าโดยเพิ่มคุณภาพ และการแปรรูป 3 เครื่องจักร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. พัฒนาประสิทธิภาพและลดต้นทุนการตลาด • เช่น การพัฒนาการขนส่งทางราง ระบบเก็บรักษาพืชผล การแปรรูป การพัฒนาคุณภาพความปลอดภัยด้านอาหาร คัดเกรด สินเชื่อ และประกันภัย 2 1 เมล็ดพันธุ์ เพิ่มมูลค่าโดยเพิ่มคุณภาพ และการแปรรูป 3 4 เครื่องจักร ประสิทธิภาพบริการการตลาด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. การจัดการน้ำ การจัดการน้ำสัมพันธ์กับการใช้ที่ดินต้นน้ำและการเติบโตของเมือง 1 2 เพิ่มมูลค่าโดยเพิ่มคุณภาพ และการแปรรูป เมล็ดพันธุ์ 3 เครื่องจักร 4 ประสิทธิภาพบริการการตลาด 5 น้ำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยระบบสวัสดิการ พัฒนากลไกองค์กรการเงินฐานรากและส่งเสริมบทบาทของ อปท. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความเห็นต่อนโยบายโซนนิ่งความเห็นต่อนโยบายโซนนิ่ง • ระบบโซนนิ่ง (เพื่อ..?) จะไม่ได้ผลถ้าในพื้นที่โซนนิ่งไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆทั้งระบบดังที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของเกษตรกร การจัดการน้ำ การเข้าถึงเทคโนโลยีและการตลาด (การจัดการตั้งแต่ไร่นาถึงผู้บริโภค) ดังที่กล่าวมาข้างต้น
นโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานนโยบายพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน ศ.ดร. พรายพล คุ้มทรัพย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อเสนอแนะ: นโยบายพลังงานที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1.ปรับโครงสร้างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันและแก๊สให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง1.ปรับโครงสร้างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันและแก๊สให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง • ลดหรือยกเลิกการอุดหนุนก๊าซหุงต้มและ NGV • ปรับภาษีของน้ำมันดีเซลให้สูงขึ้นเพื่อให้น้ำมันดีเซลและกลุ่มน้ำมันเบนซินมีราคาใกล้เคียงกันมากขึ้น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.เร่งตัดสินใจเรื่องแหล่งปิโตรเลียมได้แล้ว2.เร่งตัดสินใจเรื่องแหล่งปิโตรเลียมได้แล้ว • ควรเร่งเปิดประมูลการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยใช้ระบบสัมปทานในปัจจุบัน และอาจกำหนดเงื่อนไขให้ผู้สนใจลงทุนสามารถยื่นข้อเสนอการแบ่งปันผลผลิตแก่รัฐ (production sharing) เพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายก็ได้ • ควรเร่งพิจารณาแนวทางในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมสำหรับสัมปทานในพื้นที่ผลิตที่ไม่สามารถต่อระยะเวลาได้อีกตามกฎหมาย เพื่อให้ได้ข้อยุติอย่างน้อย 5 ปีก่อนการสิ้นสุดสัมปทาน • ควรเร่งเจรจาหาข้อยุติกับกัมพูชาในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมบริเวณพื้นที่ทับซ้อนไทย – กัมพูชาในอ่าวไทย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียน • ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ต้นทุน และศักยภาพของวัตถุดิบในประเทศ โดยมีเป้าหมายให้กิจการพลังงานหมุนเวียนสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่มีการอุดหนุนในที่สุด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. เพิ่มการแข่งขันในกิจการพลังงาน • เพิ่มระดับการแข่งขันในกิจการพลังงานเพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับบทบาทของ ปตท. ในกิจการท่อก๊าซ และโรงกลั่นน้ำมัน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5.จัดทำแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ5.จัดทำแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ • ควรจัดทำแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้า (Power development Plan หรือ PDP) ของประเทศที่เป็นที่ยอมรับได้โดยทั่วไป • ควรมีการกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ โดยเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาดและพลังงานหมุนเวียนต่างๆ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อเสนอแนะ: นโยบายโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลควรทำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. ลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง • เน้นการลงทุนเกี่ยวกับการขนส่งทางรางและทางน้ำ รวมทั้งการเชื่อมโยงจุดผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน • เลือกดำเนินโครงการที่มีการศึกษาในรายละเอียดแล้ว เช่น รถไฟทางคู่, รถไฟฟ้าในเขต กทม., ท่าเรือและถนนมอเตอร์เวย์บางแห่ง • ควรทบทวนโครงการที่ยังไม่มีการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ เช่น รถไฟความเร็วสูง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ • ควรริเริ่มแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งอย่างเป็นระบบ • ให้ผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมนโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ผศ.ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปัญหาของนโยบายเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของไทยปัญหาของนโยบายเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมของไทย • มีการกล่าวถึงในทุกๆ รัฐบาลและเป็นมักครอบคลุมทุกๆ เรื่อง แต่ขาดจุดโฟกัสที่ชัดเจนอะไรคือลำดับๆ ต้นๆ ที่ต้องดำเนินการ • ภายใต้สถานการณ์ปกติการแก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไม่มีการเอาจริงจังเท่าที่ควร • ทั้งๆ ที่ปัญหาในเรื่องความสามารถในการแข่งขันเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะผลลัพธ์ของมาตรการเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะเห็นผล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ข้อเสนอแนะทางนโยบาย: สิ่งที่รัฐบาลควรสนับสนุนเพื่อยกขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. การยกระดับความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานต้องทำควบคู่ทั้งทางด้านกายภาพและด้านคุณภาพ (Quality Infrastructure) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์ทดสอบ (Testing Centers) • เพิ่มประสิทธิภาพขบวนการออกใบรับรองต่างๆ (มีการกล่าวถึงและเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอย่างมาก) • การยกระดับและ/หรือพัฒนาห้องทดสอบที่กระจัดกระจายตามสถาบันการศึกษาต่างๆ และให้ใบรับรองเพื่อให้ผลการทดสอบตามห้องแล็ปเป็นที่ยอมรับในระดับสากล • ให้แรงจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนเครื่องมือทดสอบ และ/หรือการจัดตั้งห้องแล็ปขนาดเล็กภายในโรงงาน (มีการกล่าวถึงและเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุนอย่างมาก) • พัฒนาศูนย์ทดสอบกลางในบางผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์แก่อุตสาหกรรมในวงกว้าง และเกิดกำลังที่ภาคเอกชนรายหนึ่งจะทำได้ด้วยตัวเอง เช่น การมีสนามทดสอบรถยนต์ภายในประเทศเป็นต้น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. เปิดกว้างในเรื่องกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D และนำเอาระบบแรงจูงใจทางด้านภาษีแบบขั้นบันไดมาใช้ • อย่าปิดตัวเองว่า R&D หมายถึงการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ (Scientific-based Breakthrough) เท่านั้น • ควรให้ความสำคัญกับกิจกรรมอื่นๆ ด้วย อาทิ • กิจกรรมการนำระบบจัดการโรงงานใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต • การพัฒนาในลักษณะดัดแปลง • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน • การลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การนำเอาระบบแรงจูงใจในลักษณะขั้นบันไดเข้ามาใช้แทนการใช้อัตราเดียวไปพร้อมๆ กับการลดความยุ่งยากและลดอคติในเรื่องการฉวยโอกาสของผู้ประกอบการ เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม หรือ SMEs ควรมีแยกออกจากกันระหว่างผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก • ผู้ประกอบการขนาดกลาง (M) และ ขนาดเล็ก (S) มีจุดเด่น-จุดด้อยที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรมีแยกมาตรการที่จะบรรเทาปัญหาของแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน • นอกจากนั้นต้องระมัดระวังการยึดติดกับคำจำกัดความของ SMEs ตาม พรบ.วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(SME หมายถึง กิจการขนาด ไม่เกิน 50 คน และ 50-200 คน ตามลำดับ) ซึ่งอาจทำให้มาตรการความช่วยเหลือที่ตั้งใจไม่ได้ถูกส่งผ่านไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. บูรณาการที่นำเอาเรื่องการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ และการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเข้ามาอยู่ภายใต้บริบทของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน • นโยบายการส่งเสริมการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ • รัฐควรให้ข้อมูลแบบที่ Law Firm ทำได้ • อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการฐานการผลิตเดิมที่มีอยู่ในประเทศ • เชื่อมโยงกับการจัดตั้ง Regional Operating Headquarters • เชื่อมโยงกับแนวนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดน • แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่น่าจะมีมาตรการเสริมเพื่อป้องกันการพึ่งพาแต่แรงงานราคาถูกจากต่างชาติโดยไม่ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เช่น การทยอยปรับค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และมีการประกาศอย่างชัดเจน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5.นโยบายการใช้ประโยชน์จาก AEC • การใช้ประโยชน์จาก AEC ควรมุ่งไปที่การค้าชายแดนระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านในอินโดจีน โดยเฉพาะที่มีพรมแดนติดกับไทย เพราะกลุ่มนี้เป็นกลุ่มลูกค้าศักยภาพและเป็นช่องทางการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กของไทย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นโยบายการกระจายอำนาจ ผศ.ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทำไมต้องกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นทำไมต้องกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น • ท้องถิ่นต่างๆนั้นมีความหลากหลาย ทำให้ความต้องการของท้องถิ่นแต่ละแห่งแตกต่างกันไป การรวบอำนาจไว้ที่กรุงเทพจึงเป็นการบริหารรัฐกิจที่ด้อยทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล • การมีการปกครองส่วนท้องถิ่นจะช่วยลดภาระของรัฐบาลกลางไปได้มาก ทำให้รัฐส่วนกลางมีเวลามากขึ้นและมีจุดมุ่งหมายที่ชัดขึ้นในการกำหนดและขับเคลื่อนเฉพาะนโยบายระดับชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์