180 likes | 295 Views
Moodle. Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment. บทนำ. ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แต่เดิมการออกแบบและพัฒนาเว็บไปสู่การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บจะต้องอาศัยโปรแกรมในการพัฒนาหลายแบบ ได้แก่
E N D
Moodle Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment
บทนำ ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์แต่เดิมการออกแบบและพัฒนาเว็บไปสู่การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บจะต้องอาศัยโปรแกรมในการพัฒนาหลายแบบ ได้แก่ 1. การพัฒนาโดยอาศัยภาษาโปรแกรมสำหรับการเขียนเว็บ (Web Programming) เป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในลักษณะที่จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรม เช่น HTML , Perl , CGI, ASP, PHP, JSP , XML ฯลฯ 2.การพัฒนาโดยอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการเขียนเว็บ (Web Authoring)เป็นการพัฒนาระบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่ผู้ปฏิบัติสามารถสร้างเว็บได้ด้วยตนเอง อาศัยโปรแกรมสำเร็จรูปได้แก่ Macromedia Dreamweaver, Microsoft Frontpage , Namo Web Editor ฯลฯ
บทนำ ดังนั้นจึงได้มีความพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแต่เดิม โดยจัดทำเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย พร้อมทั้งมีโปรแกรมการสร้างเว็บสำเร็จรูปติดตั้งมาด้วยกับระบบในรูปแบบของการออนไลน์ ทำให้การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นสิ่งที่สำคัญก็คือระบบการจัดการเรียนการสอนแบบ LMS เกือบทั้งหมดพัฒนาขึ้นโดยการใช้โปรแกรมเว็บในลักษณะที่เป็นแบบเปิดเผยซอร์สโค้ด หรือที่เรียกว่า Open Source Code ทำให้ผู้ที่ประสงค์จะทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมระบบใด ๆ เข้าสู่ LMS ก็สามารถทำได้โดยอิสระ
LMS : Learning Management System เป็นการจัดระบบกระบวนการเรียนการสอนตั้งแต่เนื้อหาการลงทะเบียนการเก็บข้อมูลการจัดกิจกรรม การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเช่นกระดานข่าวห้องสนทนาอภิธานศัพท์ วิกิ เป็นต้นซึ่งจะมีส่วนของระบบฐานข้อมูลที่สนับสนุนการจัดการเนื้อหาวิชามีคลังข้อสอบและระบบบริหารจัดการรายวิชา โดยจะเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนผู้สอนและผู้ดูแลระบบ โปรแกรมประเภทนี้อาทิ Moodle , Atutor , Learn Square , Caroline , WebCT
CMS : Content Management System เป็นระบบจัดการเนื้อหาและนำมาใส่ไว้ในระบบฐานข้อมูลเหมือน LMS ผู้ดูแลสามารถจัดการบริหารเพิ่มเติมเนื้อหาติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือบางส่วนได้ด้วยตนเองเช่น Mambo , Joomla, Drupal, Xoops, PHP Nuke, Post Nuke, Thai Nuke etc..
ความแตกต่างระหว่าง LMS/CMS • LMS • ระบบสมาชิก • Admin • Teacher • Student • ระบบการเรียนการสอน • ระบบแบบทดสอบ • ระบบกิจกรรม • CMS • ระบบสมาชิก • Admin • Author • User • ระบบการจัดการเนื้อหา
ระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ • การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ Web-Based Instruction • E-Learning : Web • LMS : Moodle , Caroline • CMS : Mambo , Joomla, PHP nuke, Xoops , Drupal • LCMS : A-Tutor
Moodle • Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment เป็นชุดโปรแกรมสำหรับ ช่วยผู้สอน สร้างหลักสูตร และเปิดสอนบนเว็บไซต์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ
Moodle • ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas โปรแกรมชุดนี้เป็น Open source ภายใต้ข้อตกลงของ GNU.ORG (General public license) สามารถ download ได้ฟรี
Moodle ความสามารถของ moodle โดยสรุป • เป็น open source ที่ได้รับการยอมรับ • สามารถเป็นทั้ง CMS และ LMS ช่วยสร้างเนื้อหาโดยครูและบริการให้นักเรียนเข้ามาเรียนได้ • สามารถนำเอกสารที่ทำไว้เพิ่มเข้าไปได้ เช่น word, power point, excel, webpage, pdf หรือ image เป็นต้น • มีระบบติดต่อสื่อสารกับนักเรียน หรือระหว่างครูด้วยกัน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น • มีระบบแบบทดสอบและรับการบ้านสามารถตรวจการบ้านและให้คะแนนโดยอัตโนมัติ • สามารถเก็บงานทั้งหมดที่อาจารย์ลงแรงทำไปเป็น .zip แฟ้มเดียว อนาคตสามารถนำไปติดตั้งเครื่องที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่
ส่วนประกอบของ Moodle Moodle จะประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ 1. การจัดการระบบ 2. ส่วนแสดงเนื้อหา 3. ส่วนกิจกรรม
Moodle • ผู้เข้าใช้ระบบมีบุคคล 4 ประเภท • ผู้ดูแล(admin)ติดตั้งระบบบำรุงรักษากำหนดค่าเริ่มต้นและกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน • ผู้สอน(teacher)เพิ่มเนื้อหาเพิ่มข้อสอบให้คะแนนตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียนตอบคำถามและสนทนากับนักเรียน • ผู้เรียน(student)เข้าเรียนหัวข้อต่าง ๆ ทำแบบฝึกหัดตามที่ได้รับมอบหมาย • ผู้มาเยี่ยม(guest)เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาตและไม่มีสิทธิ์ทำแบบทดสอบใด ๆ
Moodle ผู้สอนสามารถเพิ่มสิ่งต่อไปนี้ในแต่ละบทเรียนหรือสัปดาห์ • Chat (ห้องสนทนาพูดคุยกันได้) • Glossary (รวมคำศัพท์จัดหมวดหมู่ได้ยอดเยี่ยมสามารถสืบค้นได้) • Label (ป้ายประกาศไม่สามารถ click ได้) • Lesson (บทเรียนให้พิมพ์แยก page title, page contents, answer และ response) • กระดานสนทนา(กระดานข่าวหรือwebboard)
Moodle ผู้สอนสามารถเพิ่มสิ่งต่อไปนี้ในแต่ละบทเรียนหรือสัปดาห์ • 6. การบ้าน(ให้พิมพ์งานใส่ word มา upload ได้) • 7. ตัวเลือก(คือการลงคะแนน vote จากคำถาม 1 ข้อและมีตัวเลือกให้) • 8. สัมมนา(เน้นกิจกรรมและองค์ประกอบต่างๆหลายเรื่อง) • 9. วารสาร(ให้นักเรียนเข้ามาเขียนวารสารและมีคะแนนให้ตามหัวเรื่อง) • 10. แบบทดสอบ(สร้างคลังข้อสอบเป็น 1000 ข้อแล้วเลือกมาให้ทำ 100 ข้อระบบจะสุ่มให้นักศึกษาทำอัตโนมัติ) • 11. แบบสำรวจ(essay หรือ choice) • 12. แหล่งข้อมูล(text, html, upload, weblink, webpage หรือ program)
Moodle กิจกรรมของผู้สอน • 1. สมัครสมาชิกด้วยตัวเอง • 2. รออนุมัติการเป็นสมาชิกและสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง • 3. รอผู้ดูแลกำหนดสิทธิ์ในการเป็นผู้สอนหรือผู้สร้างคอร์ส • 4. ผู้สอนสร้างคอร์สและกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง • 5. เพิ่มเอกสารบทเรียนและลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม • 6. ประกาศข่าวสารหรือนัดสนทนากับนักเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • 7. สามารถสำรองข้อมูลทั้งหมดที่เคยใส่เข้าไปใน server เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้ • 8. สามารถนำข้อมูลที่สำรองกลับมากู้คืนที่ server เครื่องเดิมหรือเครื่องใหม่
Moodle กิจกรรมของผู้สอน • 9. สามารถ download คะแนนนักเรียนจากการทำกิจกรรมไปใช้ใน excel ได้โดยง่าย • 10. กำหนดกลุ่มให้กับนักเรียนเป็นกลุ่มเป็นห้องเป็นชั้นปีเพื่อสะดวกในการคิดเกรดคะแนนหรือสื่อสารเป็นต้น • 11. สั่งยกเลิกการเป็นสมาชิกในวิชาของนักเรียนที่มีความประพฤติไม่เหมาะสมหรือเข้าผิดวิชา • 12. ดูกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคนเช่นความถี่ในการอ่านแต่ละบทหรือคะแนนในการสอบแต่ละบทเป็นต้น • 13. ดูผลการทำแบบทดสอบของนักเรียนทุกคนหรือยกเลิกการทำข้อสอบในบางครั้งของนักเรียนบางคนได้
Moodle กิจกรรมของผู้เรียน • สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเอง • 2.สมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง • 3. อ่านเอกสารหรือบทเรียนที่ผู้สอนกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม • 4. ฝากคำถามหรือข้อคิดเห็นหรือนัดสนทนาระหว่างเพื่อนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • 5. ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายเช่นทำแบบฝึกหัดหรือส่งการบ้านเป็นต้น • 6. แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ • 7. อ่านประวัติของครูเพื่อนนักเรียนในชั้นหรือในกลุ่ม
วิธีการใช้งาน Moodle • แบบ Offline • การจำลองเครื่องด้วย AppServ • การติดตั้งฐานข้อมูลด้วย PHP MyAdmin • แบบ Online • การติดตั้ง Moodle ใน Server • การติดตั้งฐานข้อมูล • การติดตั้งค่าต่าง ๆ เพื่อใช้งาน