470 likes | 1.3k Views
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บทที่ 1. อำนาจหน้าที่และบทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551. การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ จะมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติไว้ในมาตรา 34 ได้แก่
E N D
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บทที่ 1 อำนาจหน้าที่และบทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 การปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ จะมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติไว้ในมาตรา 34 ได้แก่ 1. เข้าไปในที่ทำการของผู้ผลิต นำเข้า หรือขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สถานที่เก็บเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาทำการของสถานที่นั้น 2. ยึดหรืออายัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ผลิต หรือผู้ขายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ 3. มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำเพื่อประกอบการพิจารณา หากผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำหรือไม่ยอมให้ถ้อยคำโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ยอมส่งเอกสารหรือวัตถุอื่นใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ตามข้อ 3 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000บาท
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บทที่ 1 อำนาจหน้าที่และบทบาทของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 (ต่อ) การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ละครั้ง ต้องมีการแสดงบัตรประจำตัว ซึ่งบัตรประจำตัวดังกล่าว หมายถึงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2551 เท่านั้น จะใช้บัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรอื่นใดแทนไม่ได้ ข้าราชการส่วนภูมิภาค และหน่วยงานของส่วนราชการซึ่งเป็นราชการส่วนกลางหรือส่วนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น ผู้มีอำนาจออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น มาตรา 36 บัญญัติว่าในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 34 ให้บุคคลที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร หากผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 44 วรรคสาม) อนึ่ง ในมาตรา 37 บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีอำนาจจับ ขัง ค้น ปล่อย ชั่วคราว เนื่องจากเป็นอำนาจของพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บทที่ 2 มาตราต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ควรทราบ มาตรา 26เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้แก่ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุรา (พ.ศ.2552) ซึ่งข้อ 6 (2)กำหนดว่าฉลากของสุรา ต้องแสดงข้อความคำเตือน ดังต่อไปนี้(จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ) 1. ห้ามจำหน่ายแก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 2. การดึ่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง 3. บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20ปีบริบูรณ์ ไม่ควรดึ่ม มาตรา 27 บัญญัติว่า ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ หรือบริเวณดังต่อไปนี้(จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) 1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา 2. สถานที่บริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา 3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้า หรือสโมสร 4. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บทที่ 2 มาตราต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ควรทราบ (ต่อ) 5. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ 6. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 7. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป มาตรา 28 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันหรือเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด” ได้แก่ (จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) 1. วันมาฆะบูชา(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) 2. วันวิสาขบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) 3. วันอาสาฬบูชา(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) 4.วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) มาตรา 29 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคลดังต่อไปนี้”(จำคุก ไม่เกิน 1ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) 1. บุคคลซึ่งมาอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 2. บุคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บทที่ 2 มาตราต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ควรทราบ (ต่อ) มาตรา 30 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการ หรือลักษณะดังต่อไปนี้” (จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) 1. การใช้เครื่องขายอัตโนมัติ 2. การขายเร่ มาตรา 31บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ดังต่อไปนี้(จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) 1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาเว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา(มีเพียงพิธีทางศาสนาคริสต์เท่านั้น) 2. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐสถานพยาบาลตามกฎหมาย และร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา 3. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาของชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี 4. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บทที่ 2 มาตราต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ควรทราบ (ต่อ) 5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม” มาตรา 32 วรรคสอง บัญญัติว่า “การโฆษณาหรือการประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” (จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากมีโทษตามวรรคหนึ่งแล้วผู้ฝ่าฝืนยังมีโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้อง)
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง ข้อ 1 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่หรือในขณะโดยสาร อยู่ในรถ หรือบนรถ มาตรา31(7) จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ข้อ 1 ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้า หรือสโมสร ข้อ 2 ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นในบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี ข้อ 3 ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับองค์การสุรา มาตรา 27(8) และมาตรา 31(7) จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติม เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน ข้อ 1 ห้ามผู้ใดขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ข้อ 2 การห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามข้อ 1 ไม่ใช้บังคับกับโรงงานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดำเนินการเป็นปกติธุระในทางการค้าของโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (2) การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นขั้นตอนของการผลิตหรือการรักษามาตรฐานการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตารา 27(8) และมาตรา 31(7) จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ