1 / 17

โครงการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2 , 500 กรัม จังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ 2554

โครงการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2 , 500 กรัม จังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ 2554. วัตถุประสงค์ พัฒนารูปแบบในการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย 1 โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2 โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย 3 โรงพยาบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

Download Presentation

โครงการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2 , 500 กรัม จังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จังหวัดหนองคาย ปีงบประมาณ 2554 วัตถุประสงค์ พัฒนารูปแบบในการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย 1 โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย 2 โรงพยาบาลสระใคร จังหวัดหนองคาย 3 โรงพยาบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 4 โรงพยาบาลพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ 5 โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ

  2. การประเมินผล • เกิดรูปแบบหรือนวตกรรมในการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในพื้นที่ • บรรลุเป้าหมายตัวชี้วัด - ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ลดลงร้อยละ 0.5 - หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 50 - แม่คลอดบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี ไม่เกิน ร้อยละ 18 • ประเมินความเหมาะสมของแผนงาน/ กิจกรรม จากการลงสนับสนุน ในพื้นที่ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมดำเนินงาน

  3. สถานการณ์ปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัมจังหวัดหนองคาย • จากผลการดำเนินงานการชั่งน้ำหนักทารกแรกเกิดในปีงบประมาณ 2553 พบว่าทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.75ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายแผนฯ 9 กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ7 เมื่อพิจารณาข้อมูลเป็นรายอำเภอ พบว่าข้อมูลในปีงบประมาณ 2554 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2553 ถึงเดือน มีนาคม 2554 มีพื้นที่ที่มีข้อมูลรายงานสูงเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5 อำเภอ คือ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอสระใคร อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอพรเจริญ และอำเภอเซกา คิดเป็นร้อยละ 11.53, 7.45, 8.12, 11.46 และ 9.12 ตามลำดับ

  4. ตารางที่ 1 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2547 – 2554 ที่มา : รายงาน ก- 2 ข้อมูล รพท./รพช.ปี 2547-2554

  5. อัตรา LBW ของพื้นที่ที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาในปี 2554

  6. กระบวนการวิเคราะห์และวางแผนงานโครงการกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนงานโครงการ 1.1.จัดประชุมการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กำหนดปัญหา พิจารณาและ จำแนกประเภทผู้ที่ควรเข้าร่วมโครงการ เช่นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อสม. หญิงมีครรภ์ สามีและญาติที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ 1.2.พื้นที่ดำเนินการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้ความรู้หรือกลุ่มบุคลในชุมชนที่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางด้านการส่งเสริมสุขภาพหรือมี ความน่าเชื่อถือในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย 1.3.จัดเวทีประชาคมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแสวงหาเครือข่ายในชุมชนเพื่อเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาในระดับอำเภอ 1.4.กำหนดกิจกรรม/โครงการเข้าในแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์อำเภอเพื่อ เป็นแผนพัฒนาสุขภาพอำเภอต่อไป

  7. กลยุทธ์ในการพัฒนางานโครงการกลยุทธ์ในการพัฒนางานโครงการ 1. วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพประชากรในพื้นที่ในปีที่ผ่านมา โดยใช้กระบวนการ SWOT 2. ฟื้นฟูความรู้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ทีมสุขภาพ และเครือข่าย 3. ประชาสัมพันธ์โครงการ ผ่านวิทยุชุมชน แผ่นพับ ป้ายและประสานเครือข่าย 4. กระตุ้นจิตสำนึกกลุ่มเป้าหมาย ด้วยสโลแกน “ฝากท้องไว เด็กไทยสุขภาพดี” 5. ใช้ภาคีเครือข่าย ในการขับเคลื่อน 6. นิเทศติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

  8. พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1. สสจ./ผู้บริหาร / หัวหน้างาน 2. โรงพยาบาล • ห้องฝากครรภ์ • ห้องคลอด • ห้องหลังคลอด • คลินิกเด็กดี 3. รพสต./สอ. 4. เครือข่าย ได้แก่ ท้องถิ่น ชุมชน ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว

  9. ปัจจัยความสำเร็จ 1) ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนาระบบคุณภาพบริการในโรงพยาบาล และสถานีอนามัย 2) มีคณะกรรมการงานอนามัยแม่และเด็กระดับอำเภอครบทุก รพสต. 3) มียุทธศาสตร์และตัวชี้วัดในการทำงานที่ชัดเจน 4) ทีมงานมีความมุ่งมั่น และเข้มแข็ง มีศักยภาพในการบริหารงาน บริหารทรัพยากร การประสานงานเมื่อรับทราบปัญหามีการศึกษาข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

  10. ปัจจัยความสำเร็จ 5) มีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจนสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน พัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากรและประชากรในพื้นที่เป้าหมาย 6) มีสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ การให้ความรู้ผ่านครอบครัว ผู้นำ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมารดาวัยรุ่น เกิดกระแสการตื่นตัวในการสนับสนุนส่งเสริมการดูแลมารดาวัยรุ่นในการแก้ปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยได้โดยใช้ต้นทุนต่ำ 7) ความตระหนักในความสำคัญของปัญหาจากภาคส่วนต่างๆ (อบต. อปท. รพ.สต.สาธารณสุขอำเภอ และประชาชนในชุมชน 8) แพทย์ประจำคลินิก ANC High Risk มีความตั้งใจในการดูแลคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเพื่อรับการส่งต่อที่รวดเร็ว 9) การสนับสนุนงบประมาณของ สป.สช.

  11. ปัญหาอุปสรรค 1)มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยังไม่ชัดเจนคุณภาพในการให้บริการระหว่างตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ ฝากครรภ์ช้า 2)สถานบริการสาธารณสุขยังมีการดำเนินงานคลินิกบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นน้อย 3)ขาดแกนหลักในพื้นที่บางแห่งที่จะบริหารจัดการระบบให้มีการพัฒนาคุณภาพของระบบการส่งเสริมสุขภาพมารดาอย่างต่อเนื่อง

  12. ปัญหาอุปสรรค 4)อาชีพการทำสวนยางและการเดินทางเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด(GA37 wks) 5)หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์จากที่อื่นและเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้าน 6)ประชาชนบางส่วนขาดความตระหนักในเรื่องผลกระทบจากการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ทำให้ยังพบหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า ๓๕ ปี หรือต่ำกว่า ๒๐ ปี และมาฝากครรภ์ช้า 7)อปท.บางแห่งไม่เห็นความสำคัญของการสนับสนุน การดูแลหญิงตั้งครรภ์- หญิงหลังคลอดในชุมชน

  13. ข้อเสนอแนะ 1 ) กรมอนามัยควรเร่งพัฒนามาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งเนื่องจากเป็นสถานพยาบาลแห่งแรกที่ประชาชนเข้าถึง 2) สป.สช. ควรกำหนดให้ปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เป็นปัญหาที่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพท้องถิ่นทุกแห่งต้องดำเนินการแก้ไขในระดับชุมชน 3) กระทรวงสาธารณสุขควรมีนโยบายให้สถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ จัดตั้งคลินิกบริการสำหรับมารดาวัยรุ่นในโรงพยาบาลภายในปีงบประมาณ 2555 4) เนื่องจากการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นควรมีการพัฒนาแกนหลักระดับอำเภอ ให้สามารถบริหารจัดการระบบการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion System Manager) ได้อย่างต่อเนื่องและบูรณาการ โดยเฉพาะสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ที่จะเป็นตัวเชื่อมภาคีเครือข่ายในพื้นที่ จนถือเป็นงานประจำของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

  14. ข้อเสนอแนะ 5) ควรจะจัดประชุมวิชาการเฉพาะการฝากครรภ์คุณภาพให้เจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบการฝากครรภ์และมีการติดตามจากทีมจังหวัดโดยตรงกับรพ.สต.ถ้าฝากครรภ์ได้มาตรฐานก็จะช่วยลดปัญหางานอนามัยแม่และเด็กได้ 6) ระบบการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่พบภาวะเสี่ยงระหว่างโรงพยาบาลยังไม่มีการคืนข้อมูลกลับ 7) ควรจะมีสูติแพทย์ให้บริการสัญจรในโรงพยาบาลที่ไม่มีสูติแพทย์ดูแลหญิงตั้งครรภ์จะได้รู้ปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขได้ตามบริบทโรงพยาบาลนั้นๆ 8) ภาคประชาชนควรมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นต้นแบบมากขึ้น 9) เจ้าหน้าที่ควรนำข้อมูลไปใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อการแก้ปํญหาในอนาคตต่อไป 10) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้ามามีส่วนร่วมครอบคลุมทุกกิจกรรม

  15. แนวทางดำเนินการ ปี 2555 • ในส่วนของการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในปี 2555 ของจังหวัดหนองคาย เน้นหลักในงานยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะการเพิ่มคุณภาพการจัดการบริการ ในเรื่องของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ และการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด ประกอบด้วยกิจกรรมดำเนินการ ดังนี้ • - พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานฝากครรภ์ให้มีความรู้ในเรื่อง • - การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ • - การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด • - การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด • - สนับสนุนสื่อการสอนและการประเมินภาวะโภชนาการแก่คลินิกฝากครรภ์ โดยจัดทำแผ่นประเมินภาวะโภชนาการ(Vllop Curve) และการคาดคะเนการคลอดให้แก่สถานบริการทุกแห่งในจังหวัดหนองคาย

  16. สวัสดี

More Related