400 likes | 977 Views
เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนด มอก.1195-2536. นำเสนอโดย นายอาทิตย์ วัสนมงคล 25 พฤศจิกายน 2551. Scope. รู้จัก มอก.1195-2536 Product ที่อยู่ในขอบข่าย อันตรายจาก Product ข้อกำหนดที่สำคัญ ปัญหา และแนวทางแก้ไข. รู้จัก มอก.1195-2536. มอก.1195-2536 คือ
E N D
เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนด มอก.1195-2536 นำเสนอโดย นายอาทิตย์ วัสนมงคล 25 พฤศจิกายน 2551
Scope • รู้จัก มอก.1195-2536 • Product ที่อยู่ในขอบข่าย • อันตรายจาก Product • ข้อกำหนดที่สำคัญ • ปัญหา และแนวทางแก้ไข
รู้จัก มอก.1195-2536 • มอก.1195-2536 คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์เกี่ยวข้องที่ใช้กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และงานทั่วไปที่มีลักษณะคล้ายกัน เฉพาะด้านความปลอดภัย
รู้จัก มอก.1195-2536 • ความเป็นมา - สมอ. เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน - ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา มีผลวันที่ 29 ธันวาคม 2536 พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ อิเล็กทรอนิกส์ฯ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานได้ประกาศลงในราชกิจจา นุเบกษาเมื่อ 26 สิงหาคม 2544 โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 31 สิงหาคม 2545
รู้จัก มอก.1195-2536 • ที่มาของข้อกำหนด สมอ.ใช้เอกสารเป็นแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ IEC 65 (1985) Amendment No.1 (1987) Safety requirements for mains operated electronic and related apparatus for household and similar general use
รู้จัก มอก.1195-2536 • มอก.1195 VS IEC 65
Product ที่อยู่ในขอบข่าย • เครื่องรับวิทยุ • เครื่องรับโทรทัศน์ • เครื่องขยายสัญญาณ • ตัวแปลงรูปพลังงาน ด้านแหล่งกำเนิดสัญญาณและด้านโหลด เช่น ลำโพง ไมโครโฟน • เครื่องใช้ที่ขับด้วยมอเตอร์ เช่น เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี วีดีโอเกมส์ • เครื่องใช้อื่น เช่น เครื่องขยายสัญญาณสายอากาศ เครื่องจ่ายไฟฟ้า
Product ที่อยู่ในขอบข่าย • เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ • เครื่องประกอบเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องให้จังหวะ เครื่องกำเนิดเสียงดนตรี ครอบคลุมเฉพาะ Product ที่ใช้งานที่ระดับความสูงไม่เกิน 2000เมตรเหนือระดับทะเลปานกลาง ใช้กับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 433 Vrms ในกรณี 3 เฟส หรือไม่เกิน 250Vrms ในกรณีอื่น ๆ
อันตรายจาก Product • ไฟฟ้าช็อก (Electric Shock) • อุณหภูมิเกิน (Excessive Temperatures) • การแผ่รังสีที่ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน (Radiation) • การระเบิดเข้า (Implosion) • การไม่มีเสถียรภาพทางกล (Mechanical Hazards) • ไฟ (Fire)
อันตรายจาก Product • ไฟฟ้าช็อก (Electric Shock) เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย แค่ milliampere ก็มีผลต่อคนที่สุขภาพแข็งแรง การใช้แรงดันไฟฟ้าต่ำตามข้อกำหนด โดยทั่วไป ถือว่าไม่เกิดอันตราย การใช้ระดับป้องกันอย่างน้อย 2 ชั้น ระหว่าง ผู้ใช้กับส่วนที่มีไฟฟ้าอันตราย
อันตรายจาก Product • อุณหภูมิเกิน (Excessive Temperatures) ความร้อนบนชิ้นส่วนที่ผู้ใช้เข้าถึงต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ตามประเภทของวัสดุนั้น ๆ ความร้อนข้างในผลิตภัณฑ์ทำให้ฉนวนเสียหายได้
อันตรายจาก Product • การแผ่รังสีที่ทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน (Radiation) รังสีไอออนจากจอภาพ CRT ต้องไม่เกิน 0.5 mR/h หรือ 36 pA/kg ปกติจอชนิด LCD จะไม่มีรังสีประเภทนี้
อันตรายจาก Product • การระเบิดเข้า (Implosion) ผลจากการระเบิดของหลอดภาพชนิด CRT
อันตรายจาก Product • การไม่มีเสถียรภาพทางกล (Mechanical Hazards) เครื่องใช้ออกแบบโดยมีขอบ มุม ที่แหลมคม สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ มีส่วนเคลื่อนไหวได้ในขณะทำงานโดยไม่มีการป้องกัน รูปทรงไม่เสถียร สามารถล้มทับได้
อันตรายจาก Product • ไฟ (Fire) การทำงานที่โหลดเกิน (Overloads) ส่วนประกอบล้มเหลว (Components failure) ฉนวนชำรุด (Insulation breakdown) การอาร์ค (Arcing)
ข้อกำหนดที่สำคัญ • เครื่องหมายและฉลาก สิ่งที่พบบ่อย 1) คุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้รวมทั้งการพิมพ์ เมื่อถูด้วยน้ำ และน้ำยา ปิโตรเลียมสปิริตแล้วข้อความลบเลือน 2) รายละเอียดไม่ครบ เช่น - ไม่มีประเทศที่ทำ / ประกอบ - ไม่มีสัญลักษณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ
ข้อกำหนดที่สำคัญ 3) แสดงเครื่องหมายที่ตัวยึดฟิวส์ไม่ถูกต้อง รูปแบบที่ถูกต้อง เช่น ระบุบนแผ่น PCB ใกล้ฟิวส์ T3.15AL 250V~ หรือ F3.15AH 250V~ โดยที่สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลาก่อนการอาร์ก T = denote time lag F = denote quick lag
ข้อกำหนดที่สำคัญ ลักษณะสมบัติทางกระแสไฟฟ้าของตัวฟิวส์ L = denoting low breaking capacity E = denoting enhancedbreaking capacity H = denoting high breaking capacity
ข้อกำหนดที่สำคัญ 4) สัญลักษณ์บนตัวสวิตช์ประธานไม่ถูกต้อง / ไม่มี มาตรฐานระบุว่าต้องมีชื่อผู้ทำ / เครื่องหมายการค้า แรงดันไฟฟ้าที่กำหนด กระแสไฟฟ้าที่กำหนด และกระแสไฟฟ้าเสิร์จค่ายอดที่กำหนด หรืออัตราส่วนระหว่างกระแสไฟฟ้าเสิร์จค่ายอดที่กำหนดกับกระแสไฟฟ้าที่กำหนด ตัวอย่าง 2A / 8A 250V~
ข้อกำหนดที่สำคัญ • การเกิดความร้อนในภาวะการใช้งานตามปกติ ส่วนประกอบที่พบปัญหามากในการเกิดความร้อนเกินได้แก่ 1) เปลือกหุ้ม (enclosure) ที่เป็นโลหะและแตะต้องถึง ซึ่งมาตรฐานระบุ ว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นต้องไม่เกิน 30 K (อาจจะยอมได้ถึง 55 K) แต่มีบาง Product ใช้ Heat sink ต่อออกมาข้างนอกและไม่มีการป้อง กันการสัมผัสกับผู้ใช้ โดย Heat sink จะถือว่าเป็นส่วนภายนอกที่แตะ ต้องถึง
ข้อกำหนดที่สำคัญ 2) หม้อแปลง ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของ Product การวัดอุณหภูมิที่ เพิ่มขึ้นของหม้อแปลงจะใช้วิธีการคำนวณค่าความต้านทานของ ขดลวด โดยขดลวดที่เป็นชนิดที่เคลือบด้วย polyvinyl-formaldehyde or polyurethane resins มาตรฐานยอมให้ถึง 75 K
ข้อกำหนดที่สำคัญ • ความต้านทานของฉนวนและความทนแรงดันของไดอิเล็กทริก ทดสอบภายหลังจากที่ตัวอย่างผ่านการ Humiditytreatment ที่อุณหภูมิ 40oC ความชื้น 90 – 95 %RH เป็นเวลา 120 Hour Test voltage 2120 Vpeak / d.c. หรือ 1500 Vrms สำหรับ Basic insulation Test voltage 4240 Vpeak / d.c. หรือ 3000 Vrms สำหรับ Reinforced insulation Insulation resistance 2 M สำหรับ Basic insulation และ 4 M สำหรับ Reinforced insulation
ข้อกำหนดที่สำคัญ • ภาวะผิดพร่อง จำลองการเกิด single fault บนชิ้นงานโดยการ short circuit / open circuitบนส่วนประกอบต่าง ๆ ของตัวอย่างทดสอบ เพื่อดูผลที่เกิดขึ้น เช่น ความร้อนบนส่วนประกอบต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ไม่เกิดก๊าซที่ติดไฟ กระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกินข้อกำหนด และไม่เกิดการติดไฟขึ้นมา ถ้าตัวอย่างชำรุดเสียหาย แต่ยังเป็นไปตามข้อกำหนดข้างบนถือว่าตัวอย่างยังเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอยู่
ข้อกำหนดที่สำคัญ • การทดสอบการสั่นสะเทือน ประเภทของ Product ที่ต้องผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดนี้ คือ - มีเปลือกหุ้มเป็นโลหะ (metal enclosure) - หยิบยกได้ (portable apparatus) - ประสงค์ให้ย้ายที่บ่อย ๆ (transportable apparatus)
ข้อกำหนดที่สำคัญ Vibration test สั่นในแนวดิ่ง เวลา 30 นาที Amplitude 0.35 mm Frequency: 10 Hz 55 Hz 10 Hz Sweep rate: 1 octave / minute ภายหลังการทดสอบ ต้องไม่มีการหลุดหลวมของชิ้นส่วนซึ่งการหลุดหลวมนั้นทำให้เกิดอันตรายตามข้อกำหนดได้
ข้อกำหนดที่สำคัญ • ส่วนประกอบ การตรวจสอบส่วนประกอบให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่จะต้องตรวจสอบวัตถุดิบก่อนที่จะเลือกมาใช้ในการผลิต โดยเจ้าหน้าที่สมอ. จะประเมินคุณภาพของส่วนประกอบจากเอกสารรับรองคุณภาพหรือรายงานผลการตรวจสอบวัตถุดิบแทนการทดสอบ
ข้อกำหนดที่สำคัญ • การแยกโดยฉนวนระหว่างส่วนที่มีไฟฟ้าและส่วนที่แตะต้องถึง ข้อกำหนดระบุว่าต้องมีการแยกสำหรับเครื่องใช้ประเภท II ด้วย double insulation หรือ reinforced insulation ฉนวนระหว่างตัวนำที่มีไฟฟ้าในสายไฟฟ้ากับส่วนที่แตะต้องถึง หรือ ระหว่างส่วนที่มีไฟฟ้ากับตัวนำในสายไฟฟ้าที่ต่อกับส่วนที่แตะต้องถึงต้องมีฉนวน 2 ชั้น โดยที่มีฉนวน 1 ชั้นต้องหนาอย่างน้อย 0.4 mm
ข้อกำหนดที่สำคัญ • เต้าเสียบและสายอ่อนป้อนกำลังไฟฟ้า Plug ต้องเป็นไปตาม มอก.166-2549 สายไฟระบุ มอก.11 หรือ IEC 227 สำหรับ PVC และ IEC 245 สำหรับยาง
ปัญหาและแนวทางแก้ไข • มาตรฐานเก่า • ผู้ผลิต/จำหน่าย ไม่ทราบข้อกำหนด • ขออนุญาตผ่าน แต่ตรวจติดตามตก • เวลาในการทดสอบ • ค่าใช้จ่าย
Good Luck นายอาทิตย์ วัสนมงคล ผู้จัดการกลุ่มทดสอบเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ Tel.: 02-709-4860-8 ext. 118 Fax.: 02-324-0917-8 E-mail: tron@thaieei.com