320 likes | 765 Views
สื่อหลายมิติ ( HyperMedia ). จัดทำโดย. นายก่อเกียรติ สงกรานต์เสงี่ยม หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187150. นางสาวกนกพร ภิญโญ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187102. นางสาวจุฑา ภรณ์ มยุรพงศ์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187147. นางสาวธนัช ภัค รัตน สิงห์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187163.
E N D
จัดทำโดย นายก่อเกียรติ สงกรานต์เสงี่ยม หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187150 นางสาวกนกพร ภิญโญ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187102 นางสาวจุฑาภรณ์มยุรพงศ์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187147 นางสาวธนัชภัค รัตนสิงห์ หมู่เรียน 53/28 รหัส 534187163
ความหมายของสื่อหลายมิติ (HyperMedia) • สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ น้ำทิพย์ วิภาวิน กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ)ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ) วิเศษศักดิ์ โคตรอาชา กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและอุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ)ความหมายและลักษณะของสื่อหลายมิติ(ต่อ) กิดานันท์มลิทอง กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม
ลักษณะของข้อความหลายมิติ (Hypertext) ข้อความหลายมิติ (Hypertext) เป็นระบบย่อยของ สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการนำเสนอสารสนเทศที่ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเนื้อหาในมิติเดียวเรียงลำดับกันในแต่ละบทตลอดทั้งเล่ม โดยผู้อ่านสามารถข้ามไปอ่านหรือค้นคว้าข้อมูลที่สนใจในตอนใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับเรียง
ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา เพราะข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า “ จุดต่อ” (nodes) และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า “การเลือกอ่าน” (browse)
ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) การติดต่อกันของจุดต่อนี้เกิดจากการ “เชื่อมโยง” (link) ซึ่งผู้อ่านสามารถกระโดดข้ามจากจุดต่อหนึ่งไปยังอีกจุดต่อหนึ่งได้โดยการคลิกเมาส์ที่ “ปุ่ม” (button) ซึ่งอาจทำไว้ในลักษณะตัวอักษรดำหนา ตัวอักษรสี ตัวขีดเส้นใต้ แถบดำ จุดดำ สัญลักษณ์ เช่น อาจเป็นรูปตาถ้าต้องการแสดงจุดต่อของรูปภาพ หรือทำเป็นรูปลำโพง หรือไมโครโฟนเพื่อเสนอเสียงพูดหรือเสียงดนตรีก็ได้
ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) ข้อมูลที่บรรจุในข้อความหลายมิติอาจเปรียบเทียบได้เสมือนกับเป็นบัตรหรือแผ่นฟิล์มใสหลายๆ แผ่นที่วางซ้อนกันเป็นชั้นๆ (stacks) ในแต่ละแผ่นจะบรรจุข้อมูลแต่ละอย่างลงไว้ โดยที่แผ่นแรกจะเป็นข้อมูลเริ่มต้นเพื่อให้อ่านและสามารถใช้เป็นรายการเพื่อพาดพิงหรือค้นคว้าไปถึงข้อมูลในแผ่นอื่น ๆ ต่อไป
ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) ข้อมูลเพิ่มเติมย่อย ๆ หรือจุดต่อนี้จะปรากฏในกรอบเล็กหรือหน้าต่างเพื่ออธิบายข้อมูลเริ่มต้นนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะดึงออกมาได้มากน้อยเท่าไรก็ได้ตามความต้องการ ต่อจากนั้นผู้อ่านก็สามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาข้อมูลที่สนใจต่อไปได้ และสามารถดึงจุดต่อออกมาใช้ได้ทุกเวลาตามต้องการ
ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ)ลักษณะของข้อความหลายมิติ(ต่อ) ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาข้อความหลายมิติให้สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลายประเภทขึ้นจึงได้ชื่อว่าเป็น “ไฮเปอร์มีเดีย” (Hypermedia) หรือตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานว่า “สื่อหลายมิติ”
1.ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น (Browsing) สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia) • 2.ใช้เพื่อการเชื่อมโยง (Linking) โดยเชื่อมโยงภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก • 3.ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring) สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอนสื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน ตัวอย่าง การใช้สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน เช่น โรงเรียนฟอเรสต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์แรพิดส์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ได้ใช้สื่อหลายมิติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา โดยใช้ในลักษณะบทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูกทำลายของป่าฝนในเขตร้อน
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ)สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ) โดยเริ่มต้นด้วยการค้นคว้าหาเนื้อหาข้อมูลจากห้องสมุดแล้วรวบรวมภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากแหล่งค้นคว้าต่าง ๆ มาเป็นข้อมูล แล้วทำการสร้างบทเรียนโดยการใช้ Hypercardและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการบันทึกข้อมูล
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ)สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ) เช่น ใช้เครื่องกราดภาพในการบันทึกภาพถ่าย ส่วนภาพเคลื่อนไหวและเสียงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อกับเครื่องเล่นแผ่นวีดีทัศน์ และเนื้อหาบางส่วนบันทึกจากแผ่นซีดี – รอมเนื้อหาถูกเชื่อมโยงโดย “ปุ่ม”
สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ)สื่อหลายมิติกับการเรียนการสอน(ต่อ) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยการเลือกเรียนและศึกษาเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการ ยังมีการเขียนบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในลักษณะสื่อหลายมิติโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น ToolBookและ AuthorWareด้วย
การผลิตสื่อหลายมิติ การจัดทำสื่อหลายมิติในการผลิตเรื่องราวและบทเรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้หลายโปรแกรม แต่ที่รู้จักกันดี เช่น
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน • 1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที • 2.ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ - ดูแผนภาพหรือภาพวาด • - ภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดีทัศน์ • - ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ)ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ) • 3.ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน • 4.ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ)ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน(ต่อ) • 5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก • 6.ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
http://web.yru.ac.th/~sittichai/innovation/fram/contents/software/hyper5.htmlhttp://web.yru.ac.th/~sittichai/innovation/fram/contents/software/hyper5.html แหล่งที่มา http://images.minint.multiply.multiplycontent.com/ http://ninlawan15.blogspot.com/2009/03/hypertext-vannevar-bush-hypertext-3.html http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm http://web.yru.ac.th/~sittichai/innovation/fram/contents/software/hyper5.html