1 / 62

การเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ

การเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ. รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณบดี คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 2 ธันวาคม 2548. บทความทางวิชาการ.

liesel
Download Presentation

การเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพการเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณบดี คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 2 ธันวาคม 2548

  2. บทความทางวิชาการ • บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ และมี การสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่างๆมาวิเคราะห์ โดยผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการของตนได้อย่างชัดเจน

  3. ชนิดของบทความวิชาการ การเลือกชนิดของบทความมีความสำคัญมากและต้องทำควบคู่กันไปกับการเลือกวารสารสำหรับเสนอผลงาน ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานของผู้เขียนได้เป็นที่ทราบกันแพร่หลายในหมู่บุคคลในวงอาชีพตามที่ต้องการ

  4. ชนิดของบทความวิชาการ ผู้เขียนจะต้องตั้งจุดหมายหลักของบทความว่าคืออะไร เป็นการเสนอผลงานวิจัยใหม่ เป็นการวิเคราะห์ผลงานของผู้อื่น หรือเป็นการแสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ฯลฯ

  5. ชนิดของบทความวิชาการ บทความวิจัยต้นเรื่อง ผู้เขียนจะต้องรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ทั้งที่มีอยู่เดิมแล้วและที่ตนได้มาใหม่ และเลือกเฟ้นเฉพาะข้อมูลที่ตรงกับจุดมุ่งหมายของบทความเท่านั้น ข้อมูลและการวิเคราะห์เหล่านี้จะต้องเป็นตัวชี้บ่งว่าสมควรตีพิมพ์เป็นบทความชนิดใด และในวารสารใด

  6. การเลือกวารสารวิชาการการเลือกวารสารวิชาการ ในการเลือกวารสารนั้นผู้เขียนจะต้องทราบแนวทางของวารสารและประเภทของผู้อ่าน กล่าวคือจะต้องได้เคยอ่านวารสารนั้นๆมาบ้างแล้ว และทราบความสำคัญและประเภทของงานวารสารนั้นลงพิมพ์ ผู้เขียนจะต้องพิจารณาว่างานของตนอยู่ในระดับความสำคัญขนาดไหน และจัดเป็นประเภทใด เหมาะกับวารสารนั้นหรือไม่ เมื่อเทียบกับบทความอื่นๆในวารสารนั้นแล้ว

  7. งานวิจัย • การทำให้เกิดสิ่งใหม่ (to create new thing) • การทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วดีขึ้น (to improve existing thing) • การทำให้เข้าใจดีขึ้น (to understand better)

  8. Effective research Total research Publish Effective research Researchwritten Research written Publish Research read

  9. การให้ความสำคัญของผู้อ่านและผู้เขียนการให้ความสำคัญของผู้อ่านและผู้เขียน ผู้อ่าน (reader) ผู้เขียน (author) Title Title Abstract Abstract Contents Contents

  10. ลักษณะของงานวิจัยที่ดีลักษณะของงานวิจัยที่ดี • S = Scientific value มีคุณค่า • E = Ethically oriented มีจริยธรรม • A = Accuracy มีความถูกต้อง • T = Traceability ตรวจสอบซ้ำได้

  11. การวิจัยและพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์และการศึกษาการวิจัยและพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์และการศึกษา Research and Development (R&D) คือ งานสร้างสรรค์ที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนองค์ ความรู้ของมนุษย์ วัฒนธรรมและสังคม และการใช้ความความรู้ดังกล่าวในงานประยุกต์ใหม่ๆ

  12. การวิจัยและพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์และการศึกษาการวิจัยและพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์และการศึกษา Research and Development (R&D) คือ งานสร้างสรรค์ที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนองค์ ความรู้ของมนุษย์ วัฒนธรรมและสังคม และการใช้ความความรู้ดังกล่าวในงานประยุกต์ใหม่ๆ

  13. ชนิดของงานวิจัย • การวิจัยพื้นฐาน(basic research) หมายถึง งานด้านทฤษฎีหรือด้านปฏิบัติการ ที่ทำเพื่อการแสวงหาความรู้ใหม่จากพื้นฐานของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและการสังเกตข้อเท็จจริงโดยมิได้คำนึงถึงการประยุกต์ใช้มาก่อน • การวิจัยประยุกต์ (applied research) เป็นการค้น เพื่อแสวงหาความรู้ใหม่เช่นกัน แต่มีความมุ่งหมายในการนำไปใช้ที่จำเพาะ

  14. ชนิดของงานวิจัย • การพัฒนาเชิงปฏิบัติการ (experimental development) เป็นงานที่กระทำอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความรู้ที่มีอยู่จากการวิจัยและ/หรือจากประสบการณ์ ซึ่งม่งไปสู่การผลิตวัสดุ ผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ การติดตั้ง กระบวนการ ระบบและบริการใหม่ หรือการปรับปรุงสิ่งที่ผลิตแล้ว ให้ดีขึ้นอย่างเป็นแก่นสาร

  15. ค่าใช้จ่าย R&D ค่าใช้จ่าย ร้อยละของผลิตภัณฑ์ ประชาชาติเบื้องต้น (GNP) ประเทศที่พัฒนาแล้ว 2-3 ประเทศอุตสาหกรรม 1-2 ประเทศกำลังพัฒนา <0.5 ประเทศไทย <0.3

  16. ชนิด รูปแบบและลักษณะของบทความและรายงาน • บทความสำหรับผู้อ่านทั่วไป (general articles) • บทความปริทัศน์ (review articles) • บทความวิจัยหรือบทความทางเทคนิค (research or technical articles) • บันทึกสั้นหรือสารติดต่อสั้น (shot notes or brief communications) • สารติดต่อเบื้องต้น (preliminary communications)

  17. ชนิด รูปแบบและลักษณะของบทความและรายงาน • หมายเหตุ หรือ จดหมายถึงบรรณาธิการ (remarks or letters to the editor) • บทบรรณาธิการ (editorials)

  18. บทความสำหรับผู้อ่านทั่วไป (general articles) เป็นบทความซึ่งพิมพ์ในนิตยสารหรือวารสารซึ่งจัดทำสำหรับผู้อ่านที่ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นโดยเฉพาะ มีเนื้อหาที่อ่านเข้าใจง่าย ถึงแม้ว่าอาจจะขาดความละเอียดลึกซึ้งไปบ้าง

  19. บทความปริทัศน์ (review articles) คือ บทความซึ่งรวบรวมนำเอาความรู้ทางศาสตร์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากที่ได้ตีพิมพ์แล้วในวารสารต่างๆมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกันเพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นยิ่งขึ้น

  20. บทความวิจัยหรือบทความทางเทคนิค (research or technical articles) คือบทความซึ่งเสนอผลงานวิจัยใหม่ๆในด้านทฤษฏีหรือด้านปฏิบัติ ซึ่งทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่งมากขึ้นกว่าเดิม ข้อมูลและเนื้อหาจากบทความวิจัยจะต้องอยู่ในลักษณะที่จะทำให้ผู้อ่านที่มีความเชี่ยวชาญในวิทยาศาสตร์สาขานั้นสามารถทำการทดลองหรือการสังเกตเช่นเดียวกันได้ให้ผลออกมาเหมือนกัน สามารถติดตามการคำนวณและแนวความคิดของผู้เขียน และสามารถตัดสินใจได้ว่าบทความมีความสำคัญเพียงใด

  21. บันทึกสั้นหรือสารติดต่อสั้น (short notes or brief communications) คือบทความหรือรายงานการวิจัยแต่มีความกะทัดรัด กล่าวคือมีอารัมภบทและการวิจารณ์เพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ของเนื้อหาเป็นผลงานใหม่ๆ ซึ่งมีรายละเอียดเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น บทความหรือรายงานสั้นนี้เหมาะสำหรับเผยแพร่งานวิจัยที่เป็นงานสั้นที่จบในตัวเอง

  22. สารติดต่อเบื้องต้น (preliminary communications) คือรายงานซึ่งเสนอผลงานวิจัยใหม่ที่ผู้วิจัยจะเขียนบทความอย่างสมบูรณ์ในภายหลัง รายงานเบื้องต้นเป็นรายงายซึ่งวารสารจะตีพิมพ์ให้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจะต้องมีใจความสั้น มีรายละเอียดเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

  23. หมายเหตุ หรือ จดหมายถึงบรรณาธิการ (remarks or letters to the editor) อาจเป็นบันทึกหรือสารติดต่อสั้นและ/หรือสารติดต่อเบื้องต้นซึ่งวารสารจัดพิมพ์ในรูปจดหมาย วารสารทางวิทยาศาสตร์บางฉบับอาจตีพิมพ์จดหมายถึงบรรณาธิการซึ่งมีเนื้อหาต่างไปจากผลงานวิจัยก็ได้ เช่นจดหมายแสดงความคิดเห็นในสาขาวิชาชีพนั้นๆ

  24. บทบรรณาธิการ (editorials) อาจเป็นบทความซึ่งวิเคราะห์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่มีความสำคัญในสาขาวิชาของวารสารนั้น หรืออาจเป็นบทความแสดงความคิดเห็นเสนอแนะในเรื่องที่ไม่ใช่ผลงานวิจัยโดยตรงแต่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้นในทางอื่นๆ

  25. บทความวิจัยหรือบทความทางเทคนิค (research or technical articles) Echinacea purpurea

  26. ส่วนประกอบบทความวิจัยส่วนประกอบบทความวิจัย • ชื่อเรื่อง (Title) และข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน (By-line) • บทคัดย่อ (abstract or summary) • บทนำ (introduction) • วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ (materials and method) หรือภาคทดลอง (experimental) • ผล (results) • บทวิจารณ์ (discussion) • บทสรุป (conclusion) • คำขอบคุณ (acknowledgement) • เอกสารอ้างอิง (references or literature cited)

  27. ชื่อเรื่อง (Title) และข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน (By-line) • ส่วนใหญ่มักจะคิดเรื่องไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัย แต่บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงชื่อเรื่อง โดยเฉพาะเมื่อเขียนรายงานสำหรับตีพิมพ์ในวารสาร ชื่อเรื่องควรจะสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และไม่เยิ่นเย้อ • ชื่อเรื่องควรมีจำนวนคำที่น้อยที่สุดจะสามารถให้อรรถาธิบายเนื้อเรื่องทั้งหมดที่ตามมาได้อย่างดี

  28. ชื่อเรื่อง (Title) และข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน (By-line) • ผู้เขียนควรตามหาหัวเรื่อง (running head) ซึ่งวารสารส่วนใหญ่นิยมพิมพ์ไว้ด้านบน(หรือล่าง) ของหน้าขวามือ หัวเรื่องนี้มักเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเรื่องที่ทำให้สั้นลงเหลือประมาณ 40 อักษร(รวมมรรคด้วย) อาจเป็นเพียงวลีสำคัญ (key phrase) ของชื่อเรื่อง ตัวอย่าง

  29. ชื่อเรื่อง (Title) และข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน (By-line) • ชื่อเรื่อง : “การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการผลิตและการใช้ปุ๋ยแบคทีเรียเพื่อผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.2” • หัวเรื่อง : “การผลิตและการใช้ปุ๋ยแบคทีเรียกับถั่วเหลือง สจ.2”

  30. ชื่อเรื่อง (Title) และข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน (By-line) ข้อความเกี่ยวกับผู้เขียนได้แก่ชื่อของผู้เขียน (และคณะ หากมีผู้ช่วยงานหลายคน) และสังกัด ชื่อของผู้เขียนไม่จำเป็นต้องมีคำนำหน้า ควรระบุชื่อทุกคน

  31. บทคัดย่อ (Abtract) • หลังจากที่ผู้เขียนเรื่องทั้งหมดจบลงแล้ว ควรอ่านบททบทวนและบันทึกสาระสำคัญในเรื่องลักษณะของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการ ผล สรุปผล และข้อเสนอแนะสำหรับงานขั้นต่อไป แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นบทคัดย่อในภายหลัง

  32. บทคัดย่อ (Abtract) ในบทคัดย่อ ไม่ควรระบุสิ่งใดที่มิได้มีปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่อง และนำเอาชื่อเรื่องมากล่าวซ้ำ ควรกล่าวถึงวัตถุประสงค์และวิธีการหรือแนวการศึกษา สำหรับวิธีการใหม่ควรกำหนดหลักการ แนวทางการปฏิบัติ และขอบเขตของความแน่นอน ไม่ควรอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ และตารางใดๆในบทคัดย่อ ควรพยายามเน้นถึงสิ่งที่มีชีวิตหรือสารพิษใหม่ๆ หากผู้เขียนต้องอ้างอิงเอกสาร ก็ต้องให้แหล่งของเอกสารอ้างอิงในบทคัดย่อนั้นเองโดยใส่ในวงเล็บ ต้องไม่มีบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิงอยู่ในบทคัดย่อ ควรพยายามรักษาบทคัดย่ออยู่ในความยาวไม่เกิน 200 คำ หรือประมาณ 3% ของเนื้อเรื่อง

  33. บทนำ(Introduction) บทนำมีหน้าที่ 2 ประการ คือ • บอกลักษณะของปัญหาที่นำมาทดลองหรือศึกษาวิจัย โดยเน้นถึงสถานภาพของความรู้ในตอนเริ่มการวิจัย • บอกถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขต และวิธีการดำเนินการวิจัย บทนำที่ดีไม่ควรยืดยาวเกินไป ควรเป็นข้อเขียนที่อ่านเข้าใจง่าย ไม่ว่าผู้อ่านจะอยู่ในสาขาวิชานั้นโดยตรงหรือไม่ก็ตาม

  34. วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods) การทดลอง (experimental) ตอนนี้อาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • วัสดุอุปกรณ์ (materials) • วิธีการ (methods) ควรให้มีข้อความละเอียดพอที่นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆที่อยู่ในสายงานเดียวกัน จะสามารถนำไปทำการทดลองซ้ำได้

  35. ผล (results) เป็นการนำเสนอผลของการทดลองหรือศึกษาวิจัยโดยที่ผู้เขียนควรนำมาเลือกเฟ้น จำแนก จัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์เพื่อให้สามารถตีความหมายและวิจารณ์ได้สะดวก แต่ไม่มีการออกความเห็นหรือวิจารณ์ผลนั้นๆในตอนนี้ ควรให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่ได้แจ้งไว้ในวัตถุประสงค์ แต่ไม่ควรอธิบายอย่างยืดยาว ถ้าเป็นไปได้ ควรเสนอในรูปของตาราง กราฟ หรือรูปภาพ

  36. บทวิจารณ์ (Discussion) การวิจารณ์ผลนั้นผู้เขียนควรแยกเอาผลที่ได้มาจากการทดลองมาวิจารณ์ ไม่ใช่นำมาแสดงเฉยๆ แต่ควรอ้างอิงถึงผลต่างๆเหล่านั้นตามที่ปรากฏในกราฟ ตาราง หรือรูปภาพ ในบทวิจารณ์อาจมีตาราง กราฟ หรือรูปภาพซึ่งได้มาจากวิเคราะห์ผลในแง่ต่างแล้ว

  37. การวิจารณ์ที่ดีควรยึดหลักต่อไปนี้การวิจารณ์ที่ดีควรยึดหลักต่อไปนี้ • เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามถึงความสัมพันธ์ของหลักการหรือกฎเกณฑ์ ที่แสดงออกมาจากผลการทดลอง • เพื่อชี้แนะให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของผลการทดลองนี้ที่ไปสนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานหรือทฤษฎีที่มีผู้เคยเสนอมาก่อน • เพื่อเปรียบเทียบผลการทดลองและการตีความหมายของผู้อื่น โดยพยายามเน้นถึงปัญหาหรือข้อโต้แย้งใสาระสำคัญของเรื่อง

  38. การวิจารณ์ที่ดีควรยึดหลักต่อไปนี้การวิจารณ์ที่ดีควรยึดหลักต่อไปนี้ • เพื่อสรุปสาระสำคัญและประจักษ์พยานของผลการทดลอง • เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่ใช้ • เพื่อเสนอแนะความคิดใหม่ๆที่ได้จากการทดลองนี้ สำหรับการทดลองในอนาคต • เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการทดลองนี้ • เพื่อชี้ให้เห็นลู่ทางนำผลไปใช้ให้เกิดประโยชน์

  39. บทสรุป (Conclusion) บทสรุปกล่าวถึงผลโดยย่อและข้อสรุปที่ได้จากการวิจารณ์ บทสรุปต่างกับบทคัดย่อ กล่าวคือบทสรุปจะมีความหมายก็ต่อเมื่อได้อ่านตัวบทความแล้ว จึงนิยมเอาไว้ตอนท้ายของบทความ ส่วนบทคัดย่อนั้น นอกจากจะยาวกว่าแล้วยังมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง สามารถอ่านเข้าใจได้ แม้ไม่ได้อ่านตัวบทความนั้น

  40. บทสรุป (Conclusion) • วารสารทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะละทิ้งตอนนี้ โดยที่เห็นว่าเป็นการกล่าวซ้ำกับบทคัดย่อ โดยเฉพาะถ้าบทความนั้นๆมีความยาวไม่มากนัก บ้างก็นำมารวมไว้กับบทวิจารณ์โดยเขียนหัวเรื่องว่าวิจารณ์และสรุป (discussion and conclusion) • แต่บางวารสรก็ยังมีตอน “สรุปผลการทดลอง” แยกต่างหากเพื่อนำผลการทดลองมาสรุปให้ผู้อ่านทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนับว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่จำนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์หรือนำไปอ้างอิงต่อไป

  41. คำขอบคุณ (Acknowledgement) • “กิตติกรรมประกาศ” บ้างก็ใช้คำว่า “คำนิยม” • การขอบคุณในเรื่องต่างๆที่ผู้เขียนได้รับระหว่างดำเนินการศึกษาทดลองอยู่ เช่นผู้ที่ช่วยเหลืองานวิจัย (ตรวจสอบผล ตรวจวัด จดบันทึก ฯลฯ) และจัดเตรียมเอกสาร (ถ่ายภาพ เขียนรูปประกอบ ฯลฯ) แต่บุคคลเหล่านี้ต้องมิใช่เป็นผู้ร่วมงานซึ่งมีชื่อปรากฏในเรื่องด้วย

  42. เอกสารอ้างอิง (References หรือ Literature Cites) • ตอนนี้นับว่าเป็นตอนที่สำคัญที่สุดตอนหนึ่ง แต่เป็นตอนที่ผู้เขียนละเลยมากที่สุด เพราะคิดว่าไม่สำคัญ • ต้องเป็นเอกสารที่ได้ถูกนำมาอ้างอิงไว้ในเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่งหากมิได้นำมาอ้างอิง อย่าได้ระบุชื่อเอกสารนั้นๆไว้ในตอนนี้

  43. ภาคผนวก (Appendix) บทความบางเรื่องมีความจำเป็นต้องแสดงรายละเอียดในเรื่องของข้อมูลบางประการ การคำนวณ หลักการ หรือวิธีการ ตลอดจนตารางที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัยโดยตรง แต่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ในกรณีของข้อมูลดิบ (raw data) ผู้เขียนควรรวบรวม จัดหมวดหมู่ ย่อยย่อลงให้เหลือเท่าที่จำเป็นจริงๆ

  44. รายงานวิจัยเฉพาะเรื่องรายงานวิจัยเฉพาะเรื่อง • การเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบของรายงานวิจัยเฉพาะเรื่องมีความสำคัญ • ประกอบด้วยส่วนหน้า (front matter) กับส่วนเนื้อรายงาน(body report)

  45. ส่วนหน้า (front matter) • Cover • Report documentation page • Preface (background, purpose, acknowledgement) • Table of contents • List of illustrations • List of tables • List of abbreviations and symbols • Summary

  46. ส่วนเนื้อของรายงาน (body of report) 1. Project objectives 2. Purpose - Scientific progress - Progress towards achieving project objectives (and development) 3. References 4. Publications and patients resulting from this project 5. Financial statements - Personnel - Operating costs(patients, chemicals, animals, minor equipments, travel, ect.) - Investment costs (major equipment, facilities,ect.)

  47. ขั้นตอนที่สำคัญในการเขียนรายงานวิจัยเฉพาะเรื่องขั้นตอนที่สำคัญในการเขียนรายงานวิจัยเฉพาะเรื่อง 1. รวบรวมข้อมูลที่สำคัญ และตรงกับจุดประสงค์ของโครงการ 2. วางโครงร่าง และลำดับของการเสนอผลงานในตัวรายงาน (scientific progress) 3. ชี้ให้เห็นความสำคัญของผลงานในการบรรลุจุดประสงค์ของโครงการ รวมทั้งชี้แนวทางในการประยุกต์ และพัฒนาผลงานนี้ 4. เขียนรายงานย่อ (summary) อย่างสั้นๆ ให้ครอบคลุมประเด็นใน 2 และ 3 เป็นสำคัญ 5. เขียนรายงานการเงิน 6. เขียนรายละเอียดอื่นๆที่จำเป็น

  48. การเขียนบทความปริทัศน์และบทความทั่วไปการเขียนบทความปริทัศน์และบทความทั่วไป

  49. การเขียนบทความปริทัศน์และบทความทั่วไปการเขียนบทความปริทัศน์และบทความทั่วไป บทความปริทัศน์(review articles) เป็นข้อเขียนซึ่งรวบรวมนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตีพิมพ์แล้วในวารสารต่างๆมาวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบกัน เพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นๆยิ่งขึ้น บทความประเภทนี้มีประโยชน์ทั้งแก่นักวิจัยและผู้อ่านที่สนใจในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป เพราะเป็นการรวบรวมความรู้จักหลายๆแหล่งเข้ามาไว้ด้วยกัน และผู้เขียนเองก็อาจสอดแทรกความคิดเห็นหรือข้อวิจารณ์ของตนเข้าไว้ด้วย

  50. การเขียนบทความปริทัศน์และบทความทั่วไปการเขียนบทความปริทัศน์และบทความทั่วไป บทความประเภทนี้อาจปรากฏอยู่ในวารสารวิจัย(research journal) โดยแทรกอยู่เป็นหมวดหนนึ่ง หรือเป็นองค์ประกอบหลักของวารสารปริทัศน์(review journal) ก็ได้ แต่ถ้านำไปลงในนิตยสารหรือวารสารสำหรับผู้อ่านทั่วไปแล้วก็จะกลายเป็นบทความทั่วไป (general articles) ทั้งๆที่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังเหมือนกัน ผิดกันแต่วิธีการเรียบเรียงซึ่งทำให้ง่ายขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านที่ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์สาขานั้นๆ สามารถเข้าใจได้ง่าย

More Related