340 likes | 488 Views
24 ธันวาคม 2 556. NIDA Macro Forecast แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงการเมืองและเศรษฐกิจโลก. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. Key Assumptions. Key Assumptions.
E N D
24ธันวาคม2556 NIDA Macro Forecast แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงการเมืองและเศรษฐกิจโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Key Assumptions • การใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะรายจ่ายด้านการลงทุนชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 2556 ตามปัญหาในการเบิกจ่ายงบประมาณ และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลในไตรมาสที่ 4/2556 การเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งจะทำให้การชะลอตัวของการเบิกจ่ายงบประมาณต่อเนื่องยังปี 2557 • ดังนั้น จากเดิมที่คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อเนื่องยังปี 2557 จึงไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันทำให้สมมุติฐานเกี่ยวกับการใช้จ่ายภาครัฐปรับลดลงทั้งในปี 2556 และ 2557 เมื่อเทียบกับปี 2555
Key Assumptions • มูลค่าการค้าโลกชะลอตัวลงในปี 2556(คาดว่าจะขยายตัว 2%) ต่อเนื่องจากปี 2555 (ขยายตัว 0.4%) โดยการขยายตัวร้อยละ 2 นี้จะสูงกว่าช่วง 3 ไตรมาสแรกซึ่งขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.5แต่คาดว่ามูลค่าการค้าโลกจะฟื้นตัวในปี 2557 ตามการดีขึ้นของเศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรป ทำให้คาดว่ามูลค่าการค้าโลกในปี 2557จะเติบโตใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีต (10%) • ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในปี 2557 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสที่ 4/2557 จะอยู่ระดับประมาณ 128 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าระดับในปี 2556 อยู่ร้อยละ 25
GDP Growth Outlook: 2556-2557 • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 2.7 (YoY Seasonal Adjusted data) ซึ่งลดลงจากครึ่งแรกของปีซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.2 แต่การส่งออกเริ่มอยู่ในระดับทรงตัวและกระเตื้องขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เล็กน้อย • คาดว่าแนวโน้ม GDP Growth ในไตรมาสที่ 4 จะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (อัตราการขยายตัวร้อยละ 0) • ปัจจัยด้านอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวตามปัญหาการเมืองรวมถึงการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนภาครัฐ
GDP Growth Outlook: 2556-2557 ดังนั้น NIDA Macro Forecast ประมาณการว่า • เศรษฐกิจในปี 2556 จะขยายตัวร้อยละ 2.7ลดลงจากค่าพยากรณ์ครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนมิถุนายนซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.3 และการพยากรณ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.7 • เศรษฐกิจในปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 4.4ลดลงจากค่าพยากรณ์ครั้งที่ผ่านมาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 4.9 โดยปัจจัยหลักมาจากการชะลอตัวของรายจ่ายภาครัฐ และการชะลอตัวของรายรับทางท่องเที่ยวโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 1/2557
GDP Growth Component: 2556-2557 • ในปี 2557 คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ฟื้นตัวจากในปี 2556 ที่คาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 หากความวุ่นวายทางการเมืองคลี่คลาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ • นอกจากนี้การลงทุนก็มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าในปี 2556 ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.5 โดยในปี 2557 คาดว่าการลงทุนจะขยายตัวประมาณร้อยละ 7.4 หากปัญหาการเมืองเริ่มคลี่คลาย จะทำให้โครงการลงทุนที่ชะลอตัวไปในปี 2556 ตามเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการเมืองมีความไม่แน่นอนปรับตัวเพิ่มขึ้น
Inflation Outlook: 2556-2557 • เงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2556 ชะลอตัวลงโดยเฉพาะในช่วงเดือน มิ.ย.- ต.ค. ซึ่งโดยเฉลี่ยช่วง ม.ค.- พ.ย. อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.24 • คาดว่าทั้งปี 2556 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 2.3 และ 2.4 ในปี 2557 • ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ในระดับที่ต่ำต่อเนื่องเช่นเดียวกันโดยคาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.17 และ 1.4 ในปี 2556 และ 2557 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย (ร้อยละ 0.5 – 3.0, ค่ากลางของร้อยละ 1.75)
International Trade: 2556 - 2557 • ในช่วงเดือน ม.ค.- ต.ค. มูลค่าการส่งออกของไทยอยู่ในระดับทรงตัว (หดตัวร้อยละ -0.02) คาดว่าในช่วงพ.ย. มูลค่าการส่งออกจะกระเตื้องขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการส่งออกของจีนในเดือน พ.ย. ที่ดีขึ้น แต่การดีขึ้นนี้จะยังเห็นไม่ชัดในช่วง พ.ย. –ธ.ค.56 โดยคาดว่าการขยายตัวของมูลค่าการส่งออก (US$) น่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 • ในปี 2557 คาดว่าการค้าโลกจะปรับตัวดีขึ้นจากเดิมคาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2 ในปี 2556 เป็นร้อยละ 10 ในปี 2557 ทำให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.6 ในปี 2557 ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2557
International Trade: 2556 - 2557 • ด้านมูลค่าการนำเข้าคาดว่าจะทรงตัว (อัตราการขยายตัวร้อยละ -0.2) ในปี 2556 และขยายตัวร้อยละ 4.1 ในปี 2557 • ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าในปี 2556 จะขาดดุล ประมาณ 6.9 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP แต่ในปี 2557 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะปรับตัวดีขึ้นเป็นเกินดุลตามการฟื้นตัวของการส่งออก
Fiscal Policy Outlook: 2556-2557 • ในไตรมาสที่ 3/2556 ถึงแม้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาครัฐจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงต่อเนื่อง (ร้อยละ 7.4) แต่การลงทุนภาครัฐมีการปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว (ร้อยละ -16.2) ซึ่งต่างที่เคยคาดหมายไว้ว่าน่าจะมีการขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งแนวโน้มไตรมาสที่ 4/2556 การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มชะลอตัวในด้านการลงทุนตามความล่าช้าในการเบิกจ่ายในช่วงเดือน ต.ค.- พ.ย. ที่ผ่านมา และในเดือน ธ.ค. ปัญหาการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าจะทำให้การใช้จ่ายภาครัฐ ชะลอตัวลงทั้งรายจ่ายด้านการบริโภคและการลงทุน • ส่วนแนวโน้มในปี 2557 มีความไม่แน่นอนสูงตามความไม่แน่นอนทางการเมืองโดยจะกล่าวถึงในส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยที่สำคัญในปี 2557 • ในปี 2557 ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยที่มาจากทั้งภายในและภายนอกประเทศประกอบด้วย 1. Domestic risk factor: • Political stability 2. International risk factor • US recovery **** Both domestic and international risk factor depends on the political situation in both Thai and US government ***
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภายในประเทศไทยในปี 2557 • ปัญหาทางการเมืองในเดือน พ.ย. – ธ.ค. 2556 ไม่เพียงส่งผลต่อเสถียรภาพรัฐบาล และนำไปสู่การยุบสภาและเลือกตั้งใหม่เท่านั้น หากยังมีการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีทางออกที่ชัดเจนในการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งหรือการปฎิรูปทางการเมือง ซึ่งผลของความไม่แน่นอนนี้เพิ่มความเสี่ยงทั้งในด้านทิศทางของการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดความวุ่นวายและความรุนแรงตามมา
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภายในประเทศไทยในปี 2557 • ดังนั้น ผลจากปัจจัยทางการเมืองปัจจุบันจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจมหภาคในช่องทางต่อไปนี้ • การชะงักงันในการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะงบด้านการลงทุนตามการยุติของพรบ.กู้ยืม 2 ล้านล้านบาท และตามการเบิกจ่ายในโครงการลงทุนอื่นๆ ซึ่งจะมีความล่าช้าตามมา • การชะลอการใช้จ่ายของภาคเอกชนทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยการลงทุนจะได้รับผลกระทบแรงกว่าเพราะเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่างๆ โดยตรง • การลดลงของนักท่องเที่ยวต่างประเทศซึ่งเป็นรายได้หลักของไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2556
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภายในประเทศไทยในปี 2557 • ในการวิเคราะห์จะทำการประเมินผลจากความเสี่ยงของปัญหาการเมืองดังต่อไปนี้ • สถานการณ์ปกติ คาดว่าการเมืองจะเริ่มคลี่คลายในช่วงไตรมาสที่ 1/2557 โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง และมีแนวทางในการปฎิรูปในช่วงนั้น - ผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลจะยังมีอยู่เนื่องจากมีความล่าช้าตามการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง - แต่ผลสืบเนื่องต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนในปี 2557 จะมีอยู่ในวงจำกัด - ผลการวิเคราะห์ของสถานการณ์นี้จะสะท้อนในข้อสมมุติพื้นฐานและผลการพยากรณ์ดังกล่าวถึงข้างต้น
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภายในประเทศไทยในปี 2557 • สถานการณ์รุนแรงกว่าที่คาดการณ์ (Bad scenario) - สถานการณ์รุนแรงขึ้นและมีการชุมนุมอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 1/2557 - ผลกระทบจากสถานการณ์นี้ไม่เพียงส่งผลต่อความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ แต่จะทำให้การเบิกจ่ายชะงักอย่างรุนแรง โดยกำหนดให้รายจ่ายเพื่อการบริโภคภาครัฐขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 และรายจ่ายเพื่อการลงทุนภาครัฐหดตัวร้อยละ -0.5 - นอกจากนี้ผลกระทบยังต่อเนื่องยังการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ชะงักงันต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี 2557
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภายในประเทศไทยในปี 2557 • สถานการณ์ดีขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ (Good scenario) - สถานการณ์ยุติลงในไตรมาสที่ 1/2557 - รัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพในเวลาที่เร็วกว่าที่คาดการณ์ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยกำหนดให้รายจ่ายเพื่อการบริโภคขยายตัวได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.8 และรายจ่ายเพื่อการลงทุนขยายตัวร้อยละ 10
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภายในประเทศไทยในปี 2557 • ผลจากสถานการณ์ความเสี่ยงทางการเมืองทั้งด้านแย่และดี สามารถแสดงได้ดังข้อสมมุติประกอบการพยากรณ์ดังต่อไปนี้
แนวโน้มเศรษฐกิจภายใต้ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมืองแนวโน้มเศรษฐกิจภายใต้ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมือง • ในกรณีที่การเมืองแย่กว่าที่คาดการณ์จะส่งผลให้การขยายตัวของ GDP ในปี 2557 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.3 จากการลดลงของการบริโภคและการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการลงทุนจะอยู่ในระดับติดลบทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนการบริโภคมีการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าปกติ (ร้อยละ 2) • ในกรณีที่การเมืองดีกว่าที่คาดการณ์จะส่งผลให้การขยายตัวของ GDP ในปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ซึ่งใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากการการใช้จ่ายภาครัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เร็ว และผลกระทบไม่ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง
ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกในปี 2557 • ในการวิเคราะห์จะทำการประเมินผลจากความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกดังต่อไปนี้ • สถานการณ์ปกติ คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2557 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยมูลค่าการค้าโลกจะขยายตัวประมาณร้อยละ 10 และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 117.8 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในช่วงปลายปี 2557 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2556
ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกในปี 2557 • สถานการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า - หากเศรษฐกิจโลก มีการฟื้นตัวช้าเนื่องจากการเศรษฐกิจสหรัฐฯ เกิดความชะงักงันในการฟื้นตัวเป็นช่วงๆ เช่นเดียวกับในปี 2556 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดตามมาจากปัญหาความขัดแย้งในรัฐสภาสหรัฐฯ ได้แก่ปัญหา Fiscal Cliff ในช่วงต้นปีและปัญหาเพดานหนี้สาธารณะในช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหากเกิดขึ้นอีกในปี 2557 จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าลง ทำให้มูลค่าการค้าโลกเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7 และราคาน้ำมันดิบในช่วงปลายปี 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 110 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในช่วงปลายปี 2557
ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกในปี 2557 • สถานการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเร็ว - หากเศรษฐกิจโลก มีการฟื้นตัวเร็วเนื่องจากการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่นให้ฟื้นตัว จะทำให้มูลค่าการค้าโลกขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยจะส่งผลให้มูลค่าการค้าโลกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13 และราคาน้ำมันดิบในช่วงปลายปี 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 140 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลในช่วงปลายปี 2557
ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกในปี 2557 • ผลจากสถานการณ์ความเสี่ยงจากปัญหาเศรษฐกิจโลกทั้งด้านแย่และดี สามารถแสดงได้ดังข้อสมมุติประกอบการพยากรณ์ดังต่อไปนี้
แนวโน้มเศรษฐกิจภายใต้ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกแนวโน้มเศรษฐกิจภายใต้ปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก • ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์จะส่งผลให้การขยายตัวของ GDP ในปี 2557 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 3.6 จากการลดลงของปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าปกติ (ร้อยละ 4) • ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์จะส่งผลให้การขยายตัวของ GDP ในปี 2557 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ซึ่งใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากการปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ (ร้อยละ 8.1)
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจโลกในปี 2557 • หากเกิดปัจจัยทั้งจากการเมืองและเศรษฐกิจโลกทั้งในด้านดีและและด้านแย่ (กำหนดตามที่กล่าวถึงข้างต้น) ข้อสมมุติประกอบการพยากรณ์จะแสดงได้ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจโลกในปี 2557 • ผลการพยากรณ์ทั้งในกรณีที่แย่และดีที่สุดแสดงได้ดังนี้
แนวโน้มเศรษฐกิจภายใต้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดแนวโน้มเศรษฐกิจภายใต้ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด • ในกรณีที่แย่ที่สุดทั้งจากปัญหาการเมืองภายในประเทศและเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าการขยายตัวของ GDP ในปี 2557 ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2.5 • ในกรณีที่ดีที่สุด ทั้งจากปัญหาการเมืองภายในประเทศและเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าการขยายตัวของ GDP ในปี 2557 จะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5.7
Monetary Policy: 2556-2557 • ในปลายปี 2556 กนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงิน (RP1) ในเดือน พย. เพื่อพยุงเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาดการณ์ในไตรมาสที่ 3 • ในปี 2557 คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินจะทรงตัวที่ระดับร้อยละ 2.25 เช่นกัน แม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มกระเตื้องขึ้นเพราะแรงกดดันเงินเฟ้อยังมีอยู่ต่ำ โดยโอกาสปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายการเงินมีได้ทั้งในด้านที่เพิ่มขึ้นและลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตามกรณีที่ดีและแย่ที่กล่าวถึงข้างต้น